ใบงาน เรื่อง อาชีพ มีหลากหลาย ให้เรา เลือก

คนเรามีความถนัด   ความสามารถ  และความสนใจในงานอาชีพแตกต่างกัน  บางคนเหมาะที่จะทำงานด้านหัตถกรรม   บางคนเหมาะที่จะทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล  หรืองานทางด้านวิทยาศาสตร์  ส่วนบางคนเหมาะกับงานทางด้านที่จะสอนดนตรี  แต่ละคนย่อมแตกต่างกัน   ข้อสำคัญคือต้องรู้จักตนเอง  และรู้จักงานอาชีพต่าง ๆ  อย่างกว้างขวาง  รวมทั้งพิจารณาดูว่า  มีงานอะไรบ้างที่ชอบและสนใจมากที่สุด  และงานนั้น ๆ เหมาะกับอุปนิสัยและบุคลิกภาพหรือไม่

Show

ใบความรู้ที่ 1 from paewwaew

การสอนให้เด็ก ๆ รู้จักอาชีพที่หลากหลายนั้นมีหลายวิธีมาก ๆ ตั้งแต่เล่นบทบาทสมมติ หาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ดูวีดิโอ ลองไปฝึกงาน จนถึงการเล่นเกม

Influencer และ insKru ได้ลองจัด workshop ชวนคุณครูแนะแนวมาลองออกไอเดียกันว่า จะสอนเด็กนักเรียนให้สนุกกับการเรียนรู้ยังไงดี ถ้ามีการ์ดอาชีพเป็นเครื่องมือตั้งต้น

มาดูกันดีกว่าว่า 12 ไอเดียที่คุณครูคิดนั้นเล่นยังไงกันบ้าง

วิธีเล่น

  1. แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม หรือมากกว่านั้นตามความเหมาะสม
  2. ให้แต่ละทีมส่งตัวแทนมาด้านหน้า
  3. ตัวแทนแต่ละทีมหยิบการ์ดอาชีพขึ้นมา 1 ใบ แล้วถือไว้เหนือหัว โดยห้ามเห็นว่าเป็นอาชีพอะไร
  4. ให้คนที่เหลือในทีมช่วยกันใบ้/แสดงท่าทางโดยห้ามมีชื่ออาชีพนั้นเพื่อให้คนที่ถือการ์ดทายให้ถูกว่าเป็นอาชีพอะไร
  5. ถ้าคนที่ถือทายถูกแล้วให้วิ่งมาสลับเพื่อนที่เหลือในทีมไปถือการ์ดและเป็นคนทายแทน
  6. ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ โดยอาจจะให้เวลา 3–5 นาที
  7. ทีมไหนทายได้มากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ

จำนวนผู้เล่น

6 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

7 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. คนนำเกมหยิบการ์ดอาชีพขึ้นมาทีละ 1 ใบ
  2. ให้ผู้เล่นทายว่าอาชีพนั้นคืออะไร
  3. หาคำศัพท์ภาษาอังกฤษของอาชีพนั้น ๆ
  4. ให้ผู้เล่นแข่งกันทายว่าอาชีพนั้นต้องทำงานที่ไหนบ้าง อย่างไร
  5. ทายไปเรื่อย ๆ เก็บคะแนนหาผู้ชนะ

จำนวนผู้เล่น

2 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

6 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. ให้ผู้เล่นหยิบการ์ดอาชีพขึ้นมาคนละ 1 ใบ
  2. หาว่าอาชีพนั้นต้องทำงานที่ไหน
  3. ดูว่าอาชีพอื่น ๆ ที่ทำงานในสถานที่นั้นมีอะไรบ้าง ให้หามาให้ได้มากที่สุดพร้อมอธิบาย

จำนวนผู้เล่น

1 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

10 ปีขึ้นไป

ไอเดียที่ 4 : เชื่อมโยงอาชีพ

วิธีเล่น

  1. แบ่งกลุ่มผู้เล่นตามความเหมาะสม
  2. ให้แต่ละกลุ่มสุ่มหยิบการ์ดอาชีพขึ้นมา 5–10 ใบ
  3. ดูว่าอาชีพที่ได้มามีอะไรบ้าง
  4. ให้หาความเชื่อมโยงว่าอาชีพที่ได้มานั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
  5. วาดภาพแสดงความเชื่อมโยงอาชีพนั้น ๆ
  6. นำเสนอแลกเปลี่ยนกัน

จำนวนผู้เล่น

6 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

12 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. แบ่งผู้เล่นเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมให้ได้เลขคู่
  2. ให้ 2 กลุ่มจับคู่กัน
  3. กำหนดว่ากลุ่มไหนเป็น A กลุ่มไหนเป็น B
  4. ให้กลุ่มที่เป็น A แสดงบทบาทสมมติเป็น “บริษัทจัดหางาน” และกลุ่มที่เป็น B เป็น “ลูกค้า”
  5. ให้ B ช่วยกันบอกคุณสมบัติของอาชีพที่อยากจะเป็น
  6. A จะต้องช่วยกันหาให้ได้ว่าอาชีพอะไรบ้างที่จะเหมาะกับ B
  7. สลับกันไปเรื่อย ๆ
  8. สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

จำนวนผู้เล่น

4 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

13 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. ให้ผู้เล่นหยิบการ์ดอาชีพขึ้นมาคนละ 1 ใบ
  2. ให้เวลาไปคิดการแสดงเพื่อแสดงถึงอาชีพนั้น ๆ เพื่อมาให้เพื่อน ๆ ทายว่าคืออาชีพอะไร
  3. ผลัดกันออกมาแสดงและให้เพื่อนทาย
  4. สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

จำนวนผู้เล่น

2 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

7 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. ให้ผู้เล่นจับคู่กัน
  2. กำหนดว่าใครเป็น A ใครเป็น B
  3. ให้ A เป็นฝ่ายเริ่มเล่าเกี่ยวกับความชอบ/ความถนัดของตัวเองให้ B ฟัง
  4. หลังจาก A เล่าจบให้ B หาอาชีพที่คิดว่าเหมาะกับ A ที่สุด
  5. ให้ B เล่าให้ A ฟังว่าเพราะอะไรถึงเลือกอาชีพนี้ให้ A และเหมาะกับ A อย่างไร
  6. สลับกันให้ B เป็นผู้เล่าความชอบ/ความถนัด และ A เป็นคนให้ความเห็นบ้าง
  7. สรุปการเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้

จำนวนผู้เล่น

2 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

15 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. แบ่งกลุ่มผู้เล่นตามความเหมาะสม
  2. ให้แต่ละกลุ่มสุ่มหยิบการ์ดอาชีพขึ้นมา 5–10 ใบ
  3. ให้นำเอาอาชีพเหล่านั้นมาทำเป็นหนังสั้นที่เชื่อมโยงกัน
  4. ให้ฝึกเขียน story board ของหนังสั้นว่าจังหวะไหนจะมีอาชีพอะไรปรากฎออกมาจากเหตุการณ์ใดบ้าง
  5. เมื่อเขียน story board เสร็จให้เตรียมถ่ายคลิป
  6. กำหนดความยาวของคลิปไม่เกิน 3–5 นาที
  7. ให้เวลาสำหรับการถ่ายทำ
  8. นำเสนอแลกเปลี่ยนไอเดียของแต่ละกลุ่ม

จำนวนผู้เล่น

10 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

15 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. ให้ผู้เล่นหยิบการ์ดอาชีพขึ้นมาคนละ 1 ใบ
  2. นำการ์ดอาชีพที่ชอบมาวางตรงกลางกระดาษ A4 แบ่งกระดาษเป็น 2 ฝั่ง
  3. เลือกหยิบการ์ดอาชีพใบอื่นขึ้นมาทีละ 1 ใบ แล้วดูลักษณะอาชีพ ทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพนั้น ๆ
  4. เขียนความเหมือนของอาชีพที่ชอบและอาชีพที่หยิบเพิ่มขึ้นมาที่ฝั่งซ้าย เขียนความต่างของอาชีพที่ชอบและอาชีพที่หยิบเพิ่มขึ้นมาที่ฝั่งขวา
  5. ให้ผู้เล่นหาอาชีพที่เหมือนและต่างกับอาชีพที่เราได้ให้ได้มากที่สุด
  6. กำหนดโจทย์ความเหมือนและต่างตามความเหมาะสม เช่น สถานที่ทำงาน ความถนัด การเรียน เป็นต้น

จำนวนผู้เล่น

1 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

15 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. ให้ผู้เล่นหยิบการ์ดอาชีพมา 1 อาชีพ
  2. ให้ผู้เล่นคิดว่า ถ้าทำอาชีพนั้นแล้ว สามารถทำอาชีพใดคู่กันได้อีก อย่างน้อย 1 อาชีพ
  3. แล้วให้นำมาเขียนว่าอาชีพใดควรเป็นอาชีพหลัก อาชีพใดเป็นอาชีพเสริมที่ทำคู่กับอาชีพหลักได้

จำนวนผู้เล่น

1 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

7 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. ให้ผู้เล่นสุ่มหยิบการ์ดมา 2 ใบ
  2. ให้ผู้เล่นลองวิเคราะห์ว่าแต่ละอาชีพที่ได้มาเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
  3. ให้ลองเอา 2 อาชีพนั้นมาผสมกันกลายเป็นอาชีพใหม่ หรืออาชีพแปลก ๆ ก็ได้

จำนวนผู้เล่น

1 คนขึ้นไป

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

7 ปีขึ้นไป

วิธีเล่น

  1. ให้แต่ละคนหยิบการ์ดอาชีพขึ้นมาคนละ 5–10 ใบ (ตามความเหมาะสมของจำนวนผู้เล่น)
  2. เปิดการ์ดอาชีพในกองที่เหลือขึ้นมา 1 ใบ
  3. เริ่มเล่นจากคนที่อายุน้อยที่สุด (หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ตามความเหมาะสม)
  4. ผู้เล่นจะต้องทิ้งการ์ดอาชีพในมือตัวเองที่มีสัญลักษณ์พหุปัญญา ตรงกับการ์ดที่ถูกเปิดใบล่าสุดโดยที่ตอนลงการ์ดต้องเอ่ยชื่ออาชีพ และสัญลักษณ์พหุปัญญานั้น ๆ ที่ตรงกันด้วย
  5. ให้เวลาในการคิด 3–5 วินาที ใครช้ากว่านั้นจะต้องจั่วการ์ดเพิ่ม
  6. ถ้าใครไม่มีสัญลักษณ์ที่ตรงจะต้องเอ่ยคำว่า “ผ่าน/ข้าม”
  7. เล่นวนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีคนการ์ดหมดมือเป็นคนแรก

จำนวนผู้เล่น

3–5 คน

อายุผู้เล่นที่แนะนำ

9 ปีขึ้นไป

.

กิจกรรมนี้จะง่ายขึ้น หากมีอุปกรณ์การเล่น นั่นก็คือ

การ์ดอาชีพ
การ์ดเกมเรียนรู้เรื่องอาชีพและค้นหาตัวตน

ซึ่งมีอาชีพกว่า 123 อาชีพให้เด็ก ๆ ได้รู้จักอาชีพที่หลากหลายในสังคม เรียนรู้คำศัพท์ บทบาทหน้าที่ของแต่ละอาชีพ และได้รู้ว่าอาชีพไหนต้องมีทักษะความรู้อะไรบ้าง จากสัญลักษณ์พหุปัญญา (Multiple Intelligences)