การบริหารงานคุณภาพในองค์การ PDF

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “การบริหารงานคุณภาพในองค์การ”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

การให้คะแนนของคุณ *

บทวิจารณ์ของคุณ *

ชื่อ *

อีเมล *

บันทึกชื่อ, อีเมล และชื่อเว็บไซต์ของฉันบนเบราว์เซอร์นี้ สำหรับการแสดงความเห็นครั้งถัดไป

3001-1001 การบริหารงานคุณภาพในองค์การ 3-0-3

(Quality Administration in Organization)

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้

1. เข้าใจเกี่ยวกับการจัดการองค์การ หลักการบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิต หลักการเพิ่ม

ประสิทธิภาพการทำงาน และการประยุกต์ใช้ในการจัดการงานอาชีพ

2. สามารถวางแผนการจัดการงานอาชีพ โดยประยุกต์ใช้หลักการจัดการองค์การ การเพิ่ม

ประสิทธิภาพขององค์การ และกิจกรรมการบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิต

3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการจัดการงานอาชีพด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ มีวินัย ขยัน

ประหยัดอดทนและสามารถทำงานร่วมกัน

สมรรถนะรายวิชา

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดการองค์การ การบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิต

การจัดการความเสี่ยง การจัดการความขัดแย้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

2. วางแผนการจัดการองค์การ และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การตามหลักการ

3. กำหนดแนวทางจัดการความเสี่ยง และความขัดแย้งในงานอาชีพตามสถานการณ์

4. เลือกกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตามหลักการบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิต

5. ประยุกต์ใช้กิจกรรมระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิตในการจัดการงานอาชีพ

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาเกี่ยวกับ การจัดองค์การ การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ การบริหารงานคุณภาพและ

เพิ่มผลผลิตการจัดการความเสี่ยง การจัดการความขัดแย้งในองค์การ กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

การนำกิจกรรมระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิตมาประยุกต์ใช้ในการจัดการงานอาชีพ

สมรรถนะที่ 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดการองค์การ การบริหาร                               งานคุณภาพและเพิ่มผลผลิต

ความหมายและขอบข่ายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร
1. ความหมายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร คือ กระบวนการบริหารงานที่ประกอบด้วย นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ คุณภาพ การวางแผนงานคุณภาพ ระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ ระบบการตรวจสอบหรือการประเมินผล และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ของพนักงานและของสังคม

หลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร
หลักการพื้นฐานของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ประกอบด้วย

1. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า คือการมุ่งเน้นที่ลูกค้า โดย
1.1 สำรวจตรวจสอบและทดสอบความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ความคาดหวังที่
ลูกค้าต้องการจากองค์กร ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ จนถึงความพึงพอใจเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการแล้ว
1.2 ตรวจาสอบความต้องการของลูกค้า โดยให้ความคาดหวังมีความสมดุลกับ
ความพอใจ 
1.3 ประเมนผลความพึงพอใจของลูกค้าเท่ากับความคาดหวังหรือไม่ ต้อง
ปรับปรุงในเรื่องอะไร 
1.4 สร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กร เพื่อให้องค์กรได้รับข้อมูล
ความต้องการที่ถูกต้อง โดยการจัดระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
1.5 สร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ให้ทั่วทั้งองค์กรร่วมตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้า (พนักงานทุกคนมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า)

2. บริหารงานอย่างเป็นผู้นำ (Leadership)
ผู้นำขององค์กรใช้หลักการบริหารอย่างเป็นผู้นำ เพื่อนำทางให้เพื่อนร่วมงานในองค์กรไปสู้เป้าหมายคุณภาพ ทั้งนี้ต้องคงไว้ซึ่งบรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วย แนวทางการบริหารงานอย่างเป็นผู้นำ ได้แก่
1. กำหนดวิสัยทัศน์ ให้ชัดเจนตรงตามความต้องการของลูกค้า
2. ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แล้วสร้างขวัญกำลังให้พนักงานมุ่งมั่นสู้เป้าหมาย
3. สร้างค่านิยมส่งเสริมคุณภาพในองค์กรด้วยการฝึกอบรม
4. สร้างคุณค่าการทำงานด้วยการส่งเสริมระบบความร่วมมือให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
5. สร้างจริยธรรมที่ดีในการทำงานด้วยการเป็นแบบอย่างให้พนักงานเห็น
6. สร้างความเชื่อมั่นขจัดความกลัวและความไม่มั่นคงขององค์กร ด้วยการสร้างความสามัคคี และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
7. สร้างความสำเร็จด้วยการจัดทรัพยากรอย่างพอเพียง
8. สร้างความเข้าใจระหว่างพนักงานกับผู้บริหารด้วยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

3. การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of people)
สมาชิกทุกคนขององค์กรมีความสำคัญ ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้โดย
เปิดโอกาสให้พนักงานร่วมคิด ร่วมสร้างสรรค์ หรือร่วมปรับปรุงแก้ไขปัญหาการทำงาน มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
3.1 องค์กรยอมรับความสามารถของพนักงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
3.2 พนักงานมีความตระหนักในความเป็นเจ้าขององค์กร
3.3 สร้างกิจกรรมให้พนักงานมีส่วนร่วม
3.4 สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
3.5 เปิดโอกาสให้พนักงานำได้เพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ ทั้งจากภายในองค์กร และภายนอกองค์กร 
3.6 ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของพนักงาน
3.7 ประเมินผลงาน โดยรวมเอาผลงานความคิดสร้างสรรค์ไว้ด้วยกัน

4. การบริหารโดยกระบวนการ (Process Approach to management)
กระบวนการประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า กระบวานการดำเนินการ และผลลัพธ์จากจากการาดำเนินงาน กระบวนการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ไ ด้แก่
4.1 ปัจจัยนำเข้า คือ ความต้องการของลูกค้า มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน วัดและประเมินตามข้อบ่งชี้ได้ นอกจากนี้ยังต้อง ให้ความสำคัญต่อปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ด้วย
4.2 กระบวนการดำเนินงาน มีการออกแบบกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน ให้การดำเนินงานเป็นไปโดยราบรื่น ต่อเนื่อง มีระบบการควบาคุมงาน การฝึกอบรม อุปกรณ์ และวัตถุดิบอย่างเพียงพอ มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดความรับผิดชอบและหน้าที่อย่างชัดเจน
4.3 ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน มีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและผลกระทบจากภายในและภายนอกขององค์กรที่ส่งผลต่อลูกค้า

5. การบริหารงานอย่างเป็นระบบ (System Approach to management)
คือ การมององค์กรจากโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะ แต่การบริหารงานอย่างเป็นระบบ คือความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันให้ระบบความทสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากพอจะสร้างผลงานคุณภาพขององค์กร การบริหาร ให้ระบบความสัมพันธ์เกิดประสิทธิภาพทำได้โดย
5.1 วางโครงสร้างขององค์กรให้เกิดระบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ แบ่งแยกหน้าที่แต่มีความเกี่ยวข้อง
5.2 สร้างระบบความสัมพันธ์ โดยตั้งจุดประสงค์คุณภาพร่วมกัน
5.3 กำหนดวิธีการดำเนินงาน ให้เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่น
5.4 การประเมินผลของฝ่ายและหน่วยงาน เป็นกาประเมินโดยมองการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงาน
5.5 การปรับปรุงงานของฝ่ายและหน่วยงานต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพโดยรวมขององค์กร

6. การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)

การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง คือ การสร้างมาตรฐาน่ให้เกิดขึ้น โดยการปฏิบัติดังนี้
6.1 กำหนดนโยบายการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.2 สร้างระบบการบริหารให้มีกระบวนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.3 จัดการฝึกอบรมให้พนักงานทุกระดับ ใช้ระเบียบวิธี PDCA ในการปฏิบัติงานและดำเนินการปรับปรุงงานทันทีที่เห็นปัญหา หรือจุดบกพร่อง
6.4 จัดกิจกรรมและปัจจัยสนับสนุนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
6.5 กระประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีแผนการประเมิน มีเกณฑ์การประเมิน และมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ย่อมทำให้พนักงานประจักร์ในความจำเป็นต้องปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง

7. ใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ
การตัดสินใจใดๆ ถ้าใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีระบบการจัดเก็บที่เชื่อถือได้ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และถ้าผ่านกระบวนการวิเคราห์มาแล้วอย่างเป็นระบบ ย่อมทำให้ การตัดสินใจ มีประสิทธิภาพ การใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานการตัดสินใจ ทำได้โดย
7.1 จัดให้มีการรวบรวม และเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
7.2 ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และใหม่เสมอ
7.3 มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางสถิติ
7.4 เลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและตรงประเด็น
7.5 การตัดสินใจนอกจากจะให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังต้องใช้ประสบการณ์และการคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำด้วย

8. สัมพันธภาพกับผู้ส่งมอบอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน
ผู้ส่งมอบหรือตัวแทนจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับองค์กร โดยมีผลประโยชน์ร่วม
ร่วมกันดังนั้น สัมพันธภาพระหว่างองค์กรกับผู้ส่งมอบจึงต้องส่งเสริมให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันสร้างคุณภาพเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน แนวทางการสร้างสัมพันธ์ภาพกับผู้ส่งมอบพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันได้แก่
8.1 คัดเลือกผู้ส่งมอบที่มีประสิทธิภาพ 
8.2 สร้างระบบความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
8.3 สร้างระบบการสื่อสาร หรือเครือข่ายการประสารงานที่มีประสิทธิภาพ 
8.4 ติดต่อสัมพันธ์กันด้วยความสื่อสัตย์โปร่งใส
8.5 ให้ความจริงใจกับการพัฒนาระบบความสัมพันธ์ โดยเน้นการสร้างคุณภาพให้กับทั้ง 2 ฝ่าย

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะที่ 1

สมรรถนะที่ 2.วางแผนการจัดการองค์การ และเพิ่มประสิทธิภาพของ                                  องค์การตามหลักการ

ความหมายของการวางแผน

องค์การจำเป็นต้องพิจารณาและมีการเตรียมการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างวดเร็วในทุกด้านองค์การที่ประสบกับความล้มเหลวส่วนใหญ่ เกิดจากการมราผู้บริหารมิได้ตระหนักถึงการวางแผนและมักจะละเลยสิ่งแวดล้อมขององค์การต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องแม้ว่าผู้บริหารจะตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนและเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ แต่ก็ต้องพิจารณาอีกว่าการวางแผนที่ได้ทำไปแล้วนั้นมีความถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด

หน้าที่ทางการบริหารต่างๆถ้าจะเปรียบเทียบกันแล้วอาจกล่าวได้วาการวางแผนเป็นหน้าที่การบริหารที่สำคัญที่สุดในทุกระดับขององค์การเพราะการวางแผนมีขอบเขตครอบคลุมถึงหน้าที่การบริหารด้านอื่น ๆ ทั้งหมดและเป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารทั้งปวง เพื่อที่จะมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์อันเป็นเป้าหมายหลักขององค์การร่วมกัน

ความหมายของการวางแผน

การวางแผน ( Planning ) เป็นกระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์สิ่งที่จะต้องกระทำเพื่อที่จะทำให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนด การวางแผนผังเป็นกาตัดสินใจล่วงหน้าเกี่ยวกับงาน

ที่จะทำในอนาคตเป็นการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจก่อนลงมือกระทำ เป็นการมุ่งป้องกัน ปัญหามากกว่าการคอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าการวางแผนเป็นการเชื่อมโยงจากปัจจุบันที่เป็นอยู่ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการวางแผน จึงเป็นกระบวนการในการคิด วิเคราะห์ เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องกาให้เกิดขึ้นทั้งนี้จะต้องมีการคิดพิจารณาถึงรายละเอียดของสิ่งที่ต้องทำพร้อมกับการระบุผลสำเร็จต่าง ๆ ที่ต้องการ ซึ่งจะนำไปสู่วัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งไว้

        สรุปได้ว่า การวางแผนเป็นกระบวนการมองภาพการดำเนินงานขององค์การในอนาคตว่า

What                  :   จะทำอะไร

Why                   :   ทำไปทำไม

How                   :   มีวิธีการขั้นตอนอย่างไร

When                 :    งานนั้นจะเริ่มต้นเมื่อไรและสิ้นสุดเมื่อไร

Resources           :    ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างและวัตถุดิบจะได้มาอย่างไร

By Whom            :    ใครเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย

Expected Output   :    ผลที่องค์การคาดหวังว่าจะได้รับ

Evaiuation           :    การวัดและประเมินผลขององค์การทำด้วยวิธีการใด

ประโยชน์ของการวางแผน

การวางแผนที่ดีจะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์การและการบริหารงานดังนี้

1. เป็นเกณฑ์การควบคุม การวางแผนจะช่วยให้ผู้บริหารได้กำหนดหน้าที่ควบคุมขึ้น

ทั้งนี้เพราะการวางแผนและควบคุมเป็นกิจกรรมที่ต้องดำเนินการคู่แข่งถ้าไม่มีการวางแผนก็ไม่สามารถที่จะควบคุมได้ การควบคุมเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผน ดังนั้นแผนจึงเป็นตัวกำมาตรฐานของการควบคุมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน

2. บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การวางแผนจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่

องค์การต้องการเป็นจุดเริ่มต้นเป็นงานขั้นแรกถ้าการกำหนดเป้าหมายนั้นมีความชัดเจนก็จะช่วยให้การบริหารจัดการแผนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

3. ลดความไม่แน่นอน การวางแผนเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ในอนาคตการ

วางแผนที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องมาจากพื้นฐานข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นแล้วทำการวิเคราะห์คาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งอาจจะเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดในแผนเพื่อลดความไม่แน่นอนลงการ วางแผนที่ดีจะต้องหาแนวทางที่ป้องกันหรือแก้ไขเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

4. ประหยัด การวางแผนที่ดีจะช่วยให้มีวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้งาน

ส่วนย่อยต่าง ๆ มีการประสานสัมพันธ์กันดีกิจกรรมที่ดำเนินการมีความต่อเนื่องกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการใช้ทัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์ออย่างเต็มที่และคุ้มค่า เป็นการลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ซ้ำซ้อนหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่ประสานกัน

5. พัฒนาการแข่งขัน กางวางแผนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น

เพราะการวางแผนจะเกี่ยวข้องกับการขยายขออบข่ายการทำงานการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

6. ทำให้เกิดประสานงานที่ดี การวางแผนได้สร้างความมั่นใจในการที่จะบรรลุ

จุดมุ่งหมายขององค์การ ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดวางไว้มุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายเดียว

กันและเป็นการหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในงานของแต่ละฝ่าย หรือแต่ละหน่วยงานย่อยขององค์การ

7. พัฒนาแรงจูงใจ การวางแผนที่ดีจะเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจ ในการ     

ทำงานของกลุ่มผู้บริหารในองค์การและยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในกลุ่มของพนักงานที่ทราบอย่างชัดเจนว่าองค์การคาดหวังอะไร

8. ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ กางวางแผนเป็นพื้นฐานด้านการตัดสินใจเป็น

สิ่งที่ช่วยให้เกิดแนวความคิดใหม่ ๆ และความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากการวางแผนจะต้องมีการระดมสมองจากคณะผู้ทำงาน ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ นำมาใช้ประโยชน์แก่องค์การข้อจำกัดของการวางแผน

9. ช่วยให้การติดตามและประเมินผลงานขององค์การ เป็นไปได้อย่างเป็นระบบง่ายต่อ

การปฏิบัติและกระทำได้ตลอดช่วงการททำงาน เพราะแผนงานนั้นต้องระบุขั้นตอน กระบวนการ ทำให้องค์การทราบว่าจะต้องประเมินหรือตรวจสอบอะไรและเมื่อไร เมื่อพบปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างการปฏิบัติงาน จึงสามารถแก้ปัญหาหรือปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานได้ทันท่วงทีทำให้องค์การปฏิบัติงานไปจนถึงจุดหมายได้

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะที่ 2


สมรรถนะที่ 3.กำหนดแนวทางจัดการความเสี่ยง และความขัดแย้งในงาน                            อาชีพตามสถานการณ์

การบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด หรือ ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นและมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้

ดังนั้น ความเสี่ยงจึงถูกวัดได้ด้วยผลกระทบที่ได้รับ และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  

การบริหารความเสี่ยงขององค์กร คือ การบริหารความเสี่ยงของโครงการต่าง ๆ ตามแผนงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้การตัดสินใจโดยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ต่าง ๆ จะช่วยให้มีความมั่นใจในผลสำเร็จว่าจะสามารถจัดความเสี่ยงได้ และจะทำให้โครงการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การดำเนินการตามโครงการก็อาจเกิดความเสี่ยงได้อีก และอาจเกิดผลกระทบกับความสำเร็จของโครงการได้

ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงจึงครอบคลุม ความเสี่ยงด้านงบประมาณ ความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงด้านกำหนดการ และความเสี่ยงด้านเทคนิค หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในวางแผนปฏิบัติการแก้ไข  ติดตามประเมินผล  ผลเสียหายอย่างร้ายแรงย่อมเกิดขึ้นกับโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ได้

เมื่อความเสี่ยงสามารถถูกวัดด้วยผลกระทบที่ได้รับและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ที่มากระทบ จึงอาจจำแนกปัจจัยเสี่ยงที่ต้องการวัด ตามด้านต่างๆ ของผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร ดังนี้ ด้านกลยุทธ (S: Strategic ) ดานการปฏิบัติงาน (O : Operation ) ดานนโยบาย (P : Policy)  ดานการเงิน (F : Financial) และ ดานเหตุการณภายนอก (E : Event )

ความขัดแย้งเป็นประเด็นอมตะเพราะตั้งแต่เกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมาเราย่อมเจอความขัดแย้งเสมอ เพราะเมื่อมีคนที่มีความแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมกันโดยเฉพาะมาทำงานร่วมกัน มักเกิดความขัดแย้งขึ้น หากเอ่ยถึงความขัดแย้ง จะมีมุมมองด้วยกัน 2 มุมมอง คือ

1.   มองว่าตัวความคิดคือตัวเรา ถ้าใครคิดไม่เหมือนก็ไปอยู่ฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูกับเราโดยตรง มุมมองลักษณะอย่างนี้จะทำให้การบริหารความขัดแย้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเป็นมุมมองของการต่อสู้ ฟาดฟันกัน

2.  มองว่าจริงๆ แล้วมันมีความจริงอยู่ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกที่สุด คือทุกอย่างเป็นความจริงอันนี้ก็จริงอันนั้นก็จริง ไม่มีอะไรถูกทีสุด เพราะฉะนั้นเวลามีปัญหากันก็แค่เอามาแสดงออก แล้วสามารถทะเลาะกันบนโต๊ะได้ พอจบจากโต๊ะไปก็สามารถนั่งกอดคอ กินข้าวกันได้

สาเหตุของความขัดแย้งมีด้วยกันหลากหลาย ตัวอย่างเช่น

1.  ความขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ ทั้งส่วนบุคคล ส่วนสถาบัน  

2.  ความขัดแย้งในการยึดมั่นกับความคิดของตัวเองมากเกินไป 

3.  ความขัดแย้งที่เกินจากการแยกไม่ออกระหว่างเรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวม 

4.  ความขัดแย้งเรื่องไม่สามารถเข้าใจในวิธีคิด ระเบียบวิธีคิด และบุคลิกลักษณะนิสัยของแต่ละคนที่แตกต่างกัน 

5.  ความขัดแย้งที่เกิดจากการขาดสติ เวลาเกิดความผิดก็พยายามปกป้องหน้าตาตัวเองด้วยการแสดงออก สร้างความถูกต้อง ยกเหตุผลต่างๆ นานามาอ้างมากมายเพื่อให้ตัวเองถูก

การบริหารงานคุณภาพในองค์การ PDF

การบริหารงานตามแนวตะวันตก แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1.  แบ่งแยกแล้วปกครอง คือ เป็นการแบ่งแยกเพื่อสร้างความขัดแย้งในปริมาณที่เล็กน้อย ให้เป็นพลังขับดันในสิ่งที่ดีกว่า เหมือนกับว่าแตกแล้วโต โตแล้วแตกมีการแข่งขันกันภายในองค์กรเล็กๆ น้อยๆ แต่งานนี้ต้องอาศัย Project Manager  คือคนที่มาบริหารตรงจุดนี้ต้องเปลี่ยนพลังความขัดแย้งมาเป็นพลังทางบวก นี่คือวิธีบริหารงานแบบแรก

2.  ปกครองแบบทำให้สมาชิกในทีมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อมุ่งหน้าสู่ความสำเร็จให้จงได้

ในความจริงแล้วเราไม่อาจจะบอกได้ว่าองค์กรนี้ปกครองแบบนี้ องค์กรนั้นปกครองแบบไหน เพราะความจริงแล้วมันเป็นศาสตร์ และศิลปะของผู้นำองค์กรที่จะใช้สถานการณ์ไหนกับบุคคลแบบนี้ เหตุการณ์แบบนี้ ในการทำงานเป็นทีมนั้นจะมีสัญญาณในเวลาที่จะเกิดความขัดแย้งภายในขึ้นมา แล้วเราต้องบริหารความขัดแย้งในอยู่ในระดับที่เหมาะสม มันจะต้องมีตัวชี้วัดว่าเมื่อไหร่ที่เป็นสัญญาณอันตรายที่จะเกิดขึ้น

ข้อแรก คือ เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นอีกคนอยู่อีกคนต้องไป ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกันได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้แสดงว่ามันเกินเหตุไปแล้ว ต้องยุติเปลี่ยนวิธีใหม่ แล้วสร้างทีมขึ้นมาใหม่

ข้อที่สอง คือ เริ่มเกิดภาวการณ์นินทาภายในองค์กร แสดงว่าความขัดแย้งเกิดการควบคุมแล้ว

ข้อที่สาม คือ เริ่มมีปัญหาคนในองค์กรหมดขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งแสดงว่าทีมไม่ดีแล้ว

ข้อที่สี่ คือ ภายในองค์กรเริ่มมีการแบ่งก๊กแบ่งเหล่าเกิดขึ้น

ข้อที่ห้า คนในองค์กรเริ่มมีปัญหาปัดความรับผิดชอบ เวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วเดินหนีเลย ไม่ยอมรับความผิด

ข้อที่หก ไม่มีการตัดสินใจอะไรที่เป็นรูปธรรม ขัดแย้งกันจนขาดพลังที่จะทำให้องค์กรเดินต่อไปได้ ไร้ซึ่งผลงานที่มีคุณภาพ

การบริหารงานคุณภาพในองค์การ PDF
 

วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง

1.  เป้าหมายต้องชัด ต้องมากำหนดเป้าหมายกันใหม่ว่าจริงๆ แล้วเราจะเอาอะไรกันแน่ ว่าที่เราทะเลาะกันไปมานี่จริงๆ แล้วกลายเป็นเราเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ จนลืมเป้าหมายที่แท้จริงขององค์กรไปเลย

2.  กำหนดบทบาทของแต่ละคนให้ชัดเจนขึ้น จะได้รู้ว่าคนแต่ละคนในองค์กร ในทีมทำอะไร มีหน้าที่อะไรกันบ้าง แบ่งให้ทราบกันชัดๆ ไปเลย และผู้บริหารคาดหวังอะไร

3.  กำหนดหลักปฏิบัติพื้นฐานร่วมกัน คือเป็นกฎขั้นต้น เช่น เวลามีความขัดแย้งเกิดขึ้น ห้ามโยนความขัดแย้งนี้ให้บุคคลที่ 3 ตัดสิน เพราะเขาจะตัดสินความคิดของเขาเพราะใครจะมารู้ดีเท่าตัวเรา และอาจทำให้กลายเป็นเรื่องทีร้ายแรงกว่าเดิม และต้องไม่หันไปหาพวกเพื่อหากำลังเสริม ถ้าเป็นอย่างนี้องค์กรจะเริ่มแตกเป็น 2 ส่วนแล้ว หากเกิดปัญหาแล้วต้องไปปล่อยทิ้งไว้นาน ต้องแก้ให้เสร็จใน 2-3 วัน อย่าทิ้งไว้นานจนเกินปัญหาเรื้อรัง จนแก้ไม่ทันแล้ว

4. ห้ามพูดพาดพิงถึงบุคคลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่กำลังขัดแย้งกับเรา ในที่ประชุมตอนเขาไม่อยู่ ถ้าจะพูดก็ต้องพูดกันต่อหน้า

5.  ห้ามทำให้ความขัดแย้งทางความคิดกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะที่ 3


สมรรถนะที่ 4.เลือกกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตามหลักการ                            บริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิต

กลยุทธ์การบริหารเพื่อเพิ่มผลผลิตในองค์กร

แนวคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิต

                แนวคิดและความหมายของการเพิ่มผลผลิตนั้น จะเปลี่ยนไปตามความต้องการของกิจกรรมทางอุตสาหกรรมจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน คำว่า การเพิ่มผลผลิต” (Productivity) เริ่มต้นตั้งแต่ความหมายอย่างแคบ คือ ประสิทธิภาพ (Efficiency) มาถึงการแข่งขัน (Competitiveness) และปัจจุบันนั้น การเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องของการพัฒนา และยกระดับสังคม (Social Productivity)

                ในสหรัฐอเมริกา ยุคของประธานาธิบดี บิล คลินตัน นี้ คำว่า “Productivity” กับคำว่า “Competitiveness” แทบจะกลายมาเป็นคำ ๆ เดียวกัน หรือใช้แทนกัน เพราะการเพิ่มผลผลิตนั้นเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการแข่งขัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี ยอร์ช บุช ที่สหรัฐอเมริกาสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เพราะการเพิ่มผลผลิตตกต่ำ (Productivity Stagnation) ทั้งนี้ปัญหาใหญ่ก็คือ เรื่องของคุณภาพ จึงมีการรณรงค์เรื่องคุณภาพกันอย่างหนัก และก็เริ่มมี Malcom Baldrige Award หรือรางวัลคุณภาพแห่งชาติขึ้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะให้ได้มาซึ่งระดับการเพิ่มผลผลิตที่สูงขึ้น อันจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ

                ถึงแม้จะใช้คำว่า การแข่งขันเป็นคำแปลของคำว่า การเพิ่มผลผลิต” แต่คำทั้ง นั้นแตกต่างกัน เพราะการแข่งขันนั้น เรามุ่งสร้างความได้เปรียบที่ราคาและคุณภาพ นั่นหมายถึงว่า ถ้าจะให้แข่งขันได้โดยต้องลดค่าแรง หรือให้คนงานออกบริษัทก็จะต้องทำ แต่สำหรับการเพิ่มผลผลิตแล้ว มีความหมายเหนือกว่าการแข่งขันมาก เพราะการเพิ่มผลผลิตเป็นปรัชญาที่เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และมุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของคน และคุณภาพชีวิตการทำงาน ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตจะคิดแต่เพื่อการแข่งขันอย่างเดียวไม่คำนึงถึงเรื่องคนนั้นไม่ได้ เพราะคนมีส่วนสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงคุณภาพ การลดต้นทุน หรือการลดความสูญเสียเพื่อให้ได้เปรียบในเรื่องราคา และคุณภาพ

     ผู้บริหารในองค์การหรือบริษัทต่าง ๆ จะต้องทำความเข้าใจในแนวคิดเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้ถูกต้อง รวมทั้งใช้ความพยายามในการวางกลยุทธ์ แนวทาง และการบริหารกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตในองค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายในองค์การ ซึ่งจะแตกต่างกันตามระดับของความเป็น       อุตสาหกรรม วัฒนธรรม ค่านิยม ตลอดจนบทเรียนที่ผ่านมาในอดีต และที่สำคัญยิ่งก็คือ ความจำเป็นในปัจจุบันและอนาคตขององค์การ

     ดังนั้น กลยุทธ์หรือวิธีการที่ประสบผลสำเร็จในองค์การหนึ่ง ก็ไม่อาจลอกเลียน หรือถ่ายทอดไปให้กับอีกองค์การหนึ่งแล้วประสบความสำเร็จเช่นเดียวกันได้

     ยิ่งไปกว่านั้น การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตเป็นกระบวนการของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวบุคคล สังคม วัฒนธรรม และค่านิยม จึงสำคัญมากต่อความสำเร็จของการบริหารการเพิ่มผลผลิต และเป็นที่มาของความหมายการเพิ่มผลผลิตที่ว่า “Social Productivity” เพราะการเพิ่มผลผลิตมีเป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิตของคนและสังคม

 การบริหาร

     คำว่า “Management” ที่เราพูดถึงกันอยู่ทุกวันนี้ คือ กุญแจแห่งความสำเร็จของญี่ปุ่น ซึ่งเปลี่ยนความหมายไปจากของเดิม ก็เพราะยุคของการค้าซึ่งมีแต่การเพิ่มผลผลิต เพิ่มการแข่งขัน และในปัจจุบันสิ่งที่ทุกคนนึกถึงก็คือ เรื่องของการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีหลายคำที่ถูกนำมาใช้ในการกำหนดนโยบายของบริษัทในยุคนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลง (Change) การปฏิรูป (Reform) การปรับปรุงใหม่ (Renovation) เป็นต้น ข้อคิดในเรื่องเหล่านี้ก็คือ

  1.คนส่วนใหญ่จะสนใจแต่คำศัพท์ (Terminology) เช่น การปฏิรูป (Reform) ก็ถูกนำมาใช้เพื่อปกปิดการปฏิรูปที่แท้จริง หรือแทนการปฏิวัติเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งใหม่ ๆ เรียกว่า ปฏิรูป ซึ่งฟังแล้วดูดี แต่ก็ไม่มีการปฏิบัติอะไรที่ต่างไปจากเดิม

  2.ผู้บริหารอาจจะพูดถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูป หรือปรับปรุงการบริหารภายในองค์การกัน แต่ส่วนมากไม่ได้ให้ความสนใจกับกฎเกณฑ์พื้นฐานว่าจะทำอะไร อย่างไร ไม่สนใจในปัญหาเล็ก ๆน้อย ๆ ซึ่งการปรับปรุงการบริหารนั้นควรเริ่มต้นตั้งแต่ในสายการผลิตเลยทีเดียว

  3.คนส่วนมากมักจะเห่อ หรือนิยมศัพท์ใหม่ ๆ ที่มีผู้คิดขึ้น อย่างเช่น Reengineering ของ Michael Hamer ในญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน หลังจากเรื่องของ Hamer ออกมาไม่นาน ก็มีหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เกินกว่า 10 เล่ม คนก็หลงและเห่อเหมือนกันว่า เป็นเทพธิดาการบริหารองค์ใหม่ เพราะนักบริหารของญี่ปุ่นเป็นนักอ่าน และหนังสือก็ขายดีมาก ๆ แต่ไม่ได้มีการนำความคิดอะไรไปใช้ จะเห็นได้ว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะยอมรับแต่ศัพท์ใหม่ ๆ และเพิกเฉยต่อตัวเทคโนโลยีที่แท้จริง

 แนวคิดพื้นฐานของการบริหาร

       การบริหารนั้น ไม่เพียงแต่เป็นผลรวมของทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ทำขึ้น เพื่อให้องค์การหรือบริษัทมีมูลค่าสูงขึ้น แต่ผู้บริหารจะต้องสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้น ทั้งต่อตนเองและในงาน รวมทั้งในหมู่พนักงานด้วย และต้องขยายขอบเขตออกไปถึงการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าทั้งหลาย ซึ่งเลือกซื้อหรือใช้บริการของเรา หรือทำธุรกิจกับเรา อีกทั้งเป็นที่พึงพอใจของสังคมด้วย

 แนวทางในการปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร

        สำหรับผู้บริหารองค์การทั้งหลาย ก็จำเป็นต้องยกระดับความคิดของตนเองใหม่ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดย

  1.คุณต้องเป็นผู้นำกระบวนการปรับปรุงคุณภาพของบริษัท

  2.คุณต้องมีเรื่องของคุณภาพอยู่ในสายเลือด

  3.คุณต้องเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

  4.คุณต้องให้โอกาสพนักงานทุกคนโดยการอบรม หาวิธีการจูงใจตลอดจนสร้างวัฒนธรรมในองค์การ ให้พนักงานรู้สึกว่าตนเป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์การ และเมื่อพนักงานเกิดความพึงพอใจ นั่นคือตัวบ่งชี้ว่าลูกค้าก็จะพึงพอใจต่อไป

  5.คุณต้องบริหารงานบนพื้นฐานของความเป็นจริง (Managing by Fact)

  6.คุณต้องส่งเสริมเรื่องของการปรับปรุงกระบวนการ

  7.คุณต้องใช้กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อทำในสิ่งที่องค์การมุ่งหวัง

  8.คุณต้องพยายามกระตุ้นพนักงานให้ใช้ความรู้ พลัง ความกล้า และความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง

  9.คุณต้องมองการณ์ให้กว้างไกล และใส่ใจในรายละเอียดด้วย

  10.คุณต้องรอบคอบ และกล้าตัดสินใจ

        การยกระดับความคิด (Shift in Thinking) นั้นเป็นหัวใจของการบริหารการเพิ่มผลผลิต และแม้แต่เรื่องของการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ TQM ที่กำลังเป็นแฟชั่นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งถือเอาลูกค้าเป็นเป้าหมายนั้น การจะให้ได้มาซึ่ง Total Customer Focus จำเป็นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรม ค่านิยม (Cultural Change) ซึ่งเป็นรากเหง้าที่ฝังลึกโดยต้องเปลี่ยนความคิด ดังนั้นหากไม่สามารถเปลี่ยนหรือยกระดับความคิดได้ก็หวังผลทุกอย่างได้ยาก

        การบริหารการเพิ่มผลผลิตในองค์การนั้น จะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบมีระเบียบ และต่อเนื่อง

        การบริหารการเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์การ ดังนั้น ทุกคนต้องมีเป้าหมายร่วมกัน มีแรงจูงใจมีการทำงานเป็นทีมในทุกระดับ มีวินัย และความมุ่งมั่นในทิศทางเดียวกัน

        การบริหารการเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องของการบริหารข้อมูลข่าวสาร ทุกคนในองค์การควรพูดภาษาเดียวกันข่าวสารถูกต้องเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วม  ดังนั้น ข่าวสารต้องมีการสื่อให้รู้ทั่วกันอย่างถูกต้องถูกเวลา และสามารถนำมาเปรียบเทียบให้เห็นได้ถึงผลต่างระหว่างความจริงกับสิ่งที่คาดหวังหรือตั้งเป้าไว้

        การบริหารการเพิ่มผลผลิตเป็น Concerted Action คือ ต้องมีการจัดโครงสร้างที่ดี มีการแบ่งความรับผิดชอบ ฝ่ายบริหารและพนักงานเข้าใจ และไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำงานเป็นเสมือนหุ้นส่วนกัน เคารพและยอมรับกันเปรียบเสมือนการบรรเลงดนตรีคลาสสิคของวงออเคสตราวงใหญ่ ซึ่งมีความพร้อมเพรียง และต่างคนต่างรู้หน้าที่ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ one man show

        การบริหารการเพิ่มผลผลิต ไม่ใช่กิจกรรม แต่เป็นกระบวนการบริหารที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ มีระเบียบ และต่อเนื่อง ดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบที่จะวางแผน ประสาน ตรวจสอบ ส่งเสริม ผลักดัน ให้เกิด Productivity Movement ของการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตในองค์การ ผู้ที่จะทำหน้าที่บริการการเพิ่มผลผลิต จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ทัศนคติ และศรัทธาในปรัชญาของการเพิ่มผลผลิตซึ่งแสดงออกโดยการกระทำเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต

         ความก้าวหน้าในการพัฒนาอุตสาหกรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทั้งในประเทศ และต่างประเทศอาจทำให้เกิดปัจจัยใหม่ ๆ ที่เป็นอุปสรรคและปัญหาในการเพิ่มผลผลิตในองค์การ ดังนั้น ผู้บริหารจึงต้องติดตามและหาทางปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารการเพิ่มผลผลิต เพื่อคงไว้ซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขัน และระดับการเพิ่มผลผลิตที่สูงขึ้นตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ดังนั้น ความพยายามในการเพิ่มผลผลิตจึงไม่มีที่สิ้นสุด

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะที่ 4

สมรรถนะที่ 5.ประยุกต์ใช้กิจกรรมระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิตใน                                   การจัดการงานอาชีพ


การนำกิจกรรมระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิตมาประยุกต์ใช้ในการจัดการอาชีพ

แผนผังความคิด (Mind Mapping)

การบริหารงานคุณภาพในองค์การ PDF

กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ

          กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC) หมายถึง กิจกรรมกลุ่มคุณภาพเป็นเทคนิคการทำงานที่มุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการทำงานโดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน โดยกลุ่มที่เหมาะสมก็คือ 3 - 10 คน และผู้ปฏิบัติงานจะต้องอยู่ในหน่วยงานหรือสายงานเดียวกัน ในการทำกิจกรรมกลุ่ม QCC จะต้องเป็นไปโดยอิสระและมีการดำเนินการตามหลักการ PDCA กลุ่มที่รวมตัวกันขึ้นนั้นจะต้องศึกษา และแก้ไขปัญหาประจำวันหรือปัญหาในการทำงานที่ทำอยู่โดยใช้วิธีการด้านการควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC) และเทคนิคต่างๆ

- ส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตในการทำงานดีขึ้น

- เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสามารถแก้ปัญหาในการทำงานที่ทำอยู่ได้

- เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาวิธีคิด และดึงความเฉลียวฉลาดความสามารถของตนเองออกมาใช้

- เพื่อปรับปรุงการประกันคุณภาพ

เพื่อลดต้นทุนในการผลิต

มีการพิจารณาผลที่เกิดขึ้นและผลกระทบโดยทั่วไป


    หลักการดำเนินการของกลุ่มคุณภาพ
   การดำเนินการของกลุ่มคุณภาพ  มีหลักการสำคัญได้แก่

   1.การจัดกิจกรรมกลุ่มคุณภาพจะต้องไม่ขัดแย้งกับนโยบายขององค์การหรือหน่วยงาน            

   2.พนักงานทุกคนในกลุ่มจะต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องทั้งระหว่างพนักงานด้วยกัน และระหว่างฝ่ายพนักงานกับฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหาร

   3.การเข้าร่วมกิจกรรมของพนักงานจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจและมีอิสระ โดยผู้บริหารจะทำหน้าที่เพียงชักจูงใจพนักงานเกิดความสมัครใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น

   4.การดำเนินกิจกรรม สมาชิกกลุ่มจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาระบบเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ โดยที่ไม่สร้างภาระให้เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งหรือผู้นำของกลุ่มเท่านั้น

   5.จะต้องมีการจัดฝึกอบรมกิจกรรมของกลุ่มคุณภาพให้กับฝ่ายขององค์กร เพื่อให้พนักงานมีความรู้และวิธีการในการดำเนินกิจกรรมที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกันก็เพื่อให้ฝ่ายบริหารได้รับรู้และเข้าใจถึงบทบาทของตนเองที่จะต้องให้การสนับสนุนและส่งเสริมการทำกิจกรรมนี้ได้อย่างถูกต้อง

   6.ในการทำกิจกรรมของกลุ่มคุณภาพจะต้องส่งเสริมให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้สมาชิกมีการตื่นตัวและคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการทำงาน

   7.การทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ สมาชิกทุกคนจะต้องคอยควบคุมและติดตามผลการทำกิจกรรม ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  ขั้นตอนและวิธีการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ

การจัดตั้งกลุ่มคุณภาพ โดยทั่วไปหน่วยงานที่เริ่มต้นทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพในครั้งแรกจะให้ผู้ที่เป็นหัวหน้างาน ตามสายงานเป็นหัวหน้ากลุ่ม ซึ่งถ้ามีความเข้าใจการทำกิจกรรมดีขึ้น แล้วจึงมีการปรับเปลี่ยนเลือกหัวหน้ากลุ่มกันใหม่ เมื่อตั้งกลุ่มได้แล้วก็ต้องมีการจดทะเบียนกลุ่ม ปกติกลุ่มคุณภาพจะกำหนดให้มีการประชุมกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ หัวหน้ากลุ่มเลขานุการและสมาชิกกลุ่มจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนประชุม เพื่อให้การประชุมเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

รููปภาพที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะที่ 5