ทำไมเลือกเรียนคณะเศรษฐศาสตร์

เกริ่นนำ
คือช่วงที่มาเรียนต่อปีแรกใหม่ๆ เคยคิดจะเขียนอะไรอย่างนี้ ที่จะอธิบายให้คนอื่นๆเข้าใจได้ว่า ทำไมเราถึงตัดสินใจอยากมาเรียนเศรษฐศาสตร์ ทั้งๆที่ไปเลือกเรียนอย่างอื่นเช่น หมอ วิศวะ นักวิทย์ฯ แต่สุดท้าย ก็ล้มเลิกความตั้งใจไป ด้วยเพราะรู้สึกว่าไม่รู้จะไปเขียนที่ไหนดี 
โชคดี ที่ช่วงนี้หางานอดิเรกใหม่เป็นการเขียนบล๊อกให้ตัวเอง เพราะเนื่องจากว่า ชีวิตช่วงที่ผ่านมา รับสารจากการดู การฟัง จากที่ต่างๆมากมาย แต่ output ที่คุยหรือเล่าต่อไป ก็มีแต่เพื่อนๆที่สนิทไม่กี่คนเท่านั้น คิดๆแล้วก็เสียดาย 



สิ่งสำคัญที่ทำให้หวนกลับมาคิดเขียนอะไรอย่างนี้ ก็เพราะเห็นกระทู้ตั้งคำถามเด็กโอลิมปิก(กระแสเดิมๆ) แล้วหลายๆคนก็โยงไปถึงความไม่พร้อมของระบบ ทำให้ไม่ค่อยมีใครเรียนวิทย์เพียวๆมากนัก ก็มีความรู้สึกนึกถึงครั้งตอนม.6 ที่ได้เลือกมาเรียนต่อเศรษฐศาสตร์ วิชาที่ถือว่าฉีกไปจากที่เด็กโรงเรียนวิทยาศาสตร์  ในตอนนั้นมีความรู้สึกสัมผัสได้ว่ามีคนอื่นๆไม่เข้าใจในตัววิชา และ เป้าหมาย ว่ามาเรียนทำไม อยู่หลายคน จริงๆให้ตอบตอนนั้นก็คงกระอักกระอ่วน ไม่ค่อยแน่ใจในคำตอบตัวเองเท่าไหร่ แต่คิดว่าหลังจากโตขึ้นมาอีกนิด เจออะไรมากขึ้น ก็ทำให้มั่นใจในคำตอบมากขึ้น 

ขอแบ่งบทความเป็น 3 ตอนแล้วกัน
Part 1 - ค่อนข้างจะ Personal คือจะพูดถึงว่าทำไมถึงหันมาสนใจเศรษฐศาสตร์ จากที่ตอนแรกๆก็สนใจเรียนวิทย์อยู่ดีๆ
Part 2 - พูดถึง Behavioral Economics สาขาในเศรษฐศาสตร์ที่ตั้งใจจะเรียนต่อ จะเล่าว่ามันคืออะไร มีประโยชน์ยังไง แล้วเรียนไปได้อะไร


Part 3 - พูดถึงไอเดียในเศรษฐศาสตร์ที่อยากให้หลายๆคนรู้ รวมถึงแก้ไขข้อเข้าใจผิดต่างๆที่ผู้คนมีต่อสาขานี้ 
อาจจะใช้เวลาซักนิดในการเขียนพาร์ท 2 และ 3 แต่สัญญาว่าจะต้องเขียนให้จบให้ได้แน่นอน

* ส่วนแรกนี้ยอมรับว่าอาจจะยาวไปหน่อย ต้องขอสารภาพตามตรงว่ายิ่งเขียนยิ่งอิน *

The beginning

ตอนอายุ 5 ปี.. 
"โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไรครับ..?"
"อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ครับ"
"ทำไมหล่ะ"
"ดูเก่งและฉลาดดี ผมชอบ"

ตอนอายุ 15 ปี
"จะเข้าโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จบมาเป็นนักวิทย์ชัวร์ๆใช่ไหม?"
"แน่นอนครับ"

ตอนอายุ 17 ปี (ม.5)
"จะเรียนวิทยาศาสตร์จริงๆอะ เพื่อนๆเรียนหมอ วิศวะ กันทั้งนั้นเลยนะ?"
"ก็คงจะอย่างนั้นหละครับ สองอย่างนั้นผมคงไม่ถนัดจริงๆ"

ตอนอายุ 18 ปี (ม.6)
"ตกลงสมัครเข้าเรียนที่ไหนหล่ะ"
"ยังไม่ทราบเลยครับ"
"อ้าว ทำไมหละ ?"
"ผมยังไม่ทราบเลยครับว่าตัวเองจริงๆอยากเรียนอะไร ..."

---------------------------------------------------------------------------

ส่วนตัวเชื่อว่า ช่วงเวลาจะเลือกเรียนต่อสาขาอะไร นี้เป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่วัยรุ่นหลายๆคนต้องผ่าน 
ต้องเกิดความลังเล ไม่แน่ใจ สับสน กับอนาคตของตัวเอง 
เจอมากับตัวเหมือนกัน
ไอเดีย ความเชื่อที่มีมาตั้งแต่เล็กๆ ที่มีอยู่ลึกๆ ว่าโตขึ้นไปเราจะไปเป็นนักวิทยาศาสตร์
กลับมาพังทลายเละ ในช่วงสุดท้ายของการเรียนมัธยมปลาย

ตอนนั้นจำได้ว่า ปัญหาที่เรามีคือไม่ใช่ไม่รู้ว่าอยากทำอะไรในอนาคต
แต่คือไม่รู้ว่าจะเรียนต่ออะไรให้เข้าไปถถึงจุดๆนั้น
ถึงแม้ว่าจะตัดทางเดินตัวเองทางด้านฟิสิกส์และชีวะ และเหมือนจะเบนความสนใจมาที่เคมี
ในช่วงต้นๆของม.ปลาย แต่สุดท้ายก็รู้ตัวลึกๆว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่เราอยากจะใช้ชีวิตไปกับมันตลอดชีวิต
โชคดี ที่อย่างน้อยเราสโคปได้ว่าเราอยากศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ 
คืออะไรได้ก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับการพยายามศึกษา และแก้ไขปัญหา
ที่ยังเป็นปริศนาอยู่

ทางนึงที่เป็นไปได้ตอนนั้น คือไปเรียน Neuroscience ศึกษาการทำงานของสมอง ที่มีผลต่อพฤติกรรมของคนเรา
ตอนแรกเป็นอะไรที่ดูดีและใช่มากๆ
จนกระทั่ง เรียนรู้กับความจริงว่า ด้านนี้ไม่มีสาขาที่สอนโดยตรงในไทย   และยิ่งไปกว่านั้น 
งานวิจัย ศูนย์วิจัยเรื่องด้านทางนี้ก็ไม่มี
ส่วนใหญ่คนที่เรียนด้านสมองในไทย จะต่อยอดจากการเรียนหมอมาก่อน จากนั้นก็มาพุ่งความสนใจให้กับสมองอย่างเดียว
จะเรียกว่า อคติก็ได้ แต่ยังไงตอนนั้น (รวมไปถึงปัจจุบัน) ยังไงก็ตัดสินใจไม่เรียนหมอล้านเปอร์เซน
ฉะนั้นถ้าอยากทำตามฝันเรียนด้านนี้ ก็ต้องหาทุนเรียนต่อเอาเอง

เอาจริงๆชีวิตก็ควรจะออกมาตามเส้นทางที่คิดไว้อย่างนั้น หาทุนกระทรวง หรือ ทุนอื่นๆ ไปเรียน เป็น Neuroscientist  จบ end of the story 
แต่ชีวิตจริงๆมันก็ไม่ง่ายอย่างนั้นเพราะเจอทางเลือกอีกทางนั่นคือ Economics

Why did I choose Economics 

ก่อนที่จะมาว่าทำไมถึงเลือก Economics อยากจะย้อนซักนิด ว่าทำไมจริงแล้วตัวเลือกนี้ถึงผุดขึ้นมาในสมอง
ลึกๆเลยที่ตัวเลือกนอกเหนือจากการเรียนสายวิทยาศาสตร์ผุดขึ้นมาในหัว  คือได้ไปเรียนพิเศษสังคมช่วงปิดเทอมขึ้นม.6
คือไปเรียนนี่ไม่ได้กะเอาไปสอบอะไร เพียงแต่รู้สึกว่าตัวเองโง่ความรู้ทางด้านนี้ เพราะโรงเรียนไม่ได้เน้นอะไร เรียนเหมือนไม่ได้เรียนอะไรเลย

ปรากฏว่าเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงมุมมองตัวเอง มากถึงมากที่สุด
ทำให้ตระหนักถึงความจริงที่ว่า 
งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญของประเทศก็จริง แต่ถ้าสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยยังไม่ดีขึ้นจากปัจจุบัน
ใครที่ไหนจะมาสนใจพัฒนาประเทศก่อนปากท้องของตัวเองกันเล่า
มีช่วงนึงที่อินมากๆ สนใจข่าวสาร บทวิเคราะห์มากเป็นพิเศษ แล้วก็บ่นๆกับตัวเองว่า ทำไมเพื่อนๆไม่ค่อยให้ความสนใจกับข่าวสารบ้านเมือง
หรือความเป็นไปในโลกมากเท่าที่ควรเป็นเลย ตอนนั้นสนใจมากๆจนเคยคิดว่าอยากทำงานกระทรวงต่างประเทศซะด้วยซ้ำ

อ่าว แล้วเศรษฐศาสตร์มันเข้ามาเป็นคำตอบได้อย่างไร ? 
ง่ายเลย ถ้าเอาเงี่อนไขที่อยากเรียนด้านการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ + ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย + การได้ใช้ความรู้ด้านโลจิคและคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ไปต่อยอด คำตอบมันก็คือ เศรษฐศาสตร์นี่หละ 
แต่ถ้าตอบให้ตรงกว่านั้น ก็เป็นเพราะ ตอนม.6 ในขณะที่กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อทางด้านพฤติกรรมมนุษย์
ได้เรียนรู้ว่ามันมีสาขา Behavioral Economics ที่ตอบโจทย์แบบตรงเป๊ะๆ ให้เราสามารถเรียนต่อได้
ซึ่งแน่นอนอีกว่า สาขานี้ยังไม่มีสอนในประเทศไทยอีกเช่นกัน ...

บทสรุปตอนนั้นก็เลย ทำยังไงก็ได้ให้ได้ไปเรียนต่อเมืองนอกให้ได้ก่อน 
ด้วยความที่อยากได้สัมผัสทั้งสองๆด้าน ทั้ง Neuroscience และ Economics ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกสาขาของตัวเอง
ก็เลยตัดสินใจเรียนเข้า LAC ( Liberal Arts College) ที่อเมริกา ที่ให้โอกาสได้ลองเรียนก่อนแล้วค่อยเลือกสาขาที่จะเรียน 
ช่วงก่อนจะไปเรียนต่อเมืองนอกก็เลยรู้สึกกระอักกระอ่วนมากๆที่เวลาใครถามว่าไปเรียนต่อด้านไหน เพราะไม่รู้ว่าจะตอบด้านไหนดี
จริงๆแล้ว ตัวเองก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปจบที่ด้านไหน ได้แต่ซื้อเวลาให้ตัวเองไปตัดสินใจที่เมกา

และเมื่อได้เรียนจริงๆ ก็ชอบทั้งสองวิชาอย่างที่คิดไว้
แต่ตอนนั้นรู้สึกสนใจ Econ ขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก สนุกที่ได้เรียนมากกว่าที่คิด
เพราะเหมือนเป็นอะไรใหม่ๆที่ไม่เคยเรียนมาก่อนเลยแม้แต่น้อย
ยิ่งได้เรียนรู้ว่าหนทางการไปเรียนด้าน Behavioral Economics มีความเป็นไปได้ และไม่น่าจะยากเกินเอื้อมถึง
ก็เลยตัดสินใจเบนเข็มว่า เรียน Econ แล้วเอาความสามารถไปใช้ในอนาคตให้เกิดผลประโยชน์กับคนในวงกว้างน่าจะดีกว่า

TL DR  

สรุปง่ายๆคือ มาเลือกเรียนเพราะรู้สึกว่าเป็นอะไรที่ชอบ 
(บอกตามตรงว่ารู้สึกโชคดีที่ได้เรียน LAC ที่ได้ลองเรียนก่อน) 
และคิดว่าหนทางในอนาคตไม่ specific มากนัก สามารถไปทำงานได้หลายๆด้าน 
และก็ทำประโยชน์ได้ในวงกว้าง

ตอนหน้า จะมาอธิบายรายละเอียดของ Behavioral Economics 
สาขาหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ที่ผมคิดว่า ไม่น่าจะมีคนไทยเกิน 5 คน ณ ตอนนี้ที่เรียนจบโดยตรงทางด้านนี้