ข้อใดคือการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยรัชกาลที่ 5

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและฝรั่งเศส ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต่างตกเป็นอาณานิคมของประเทศเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก ส่วนประเทศไทยถือเป็นประเทศเดียวที่มิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ จึงแข่งขันกันเพื่อเข้ามามีอิทธิพลเหนือประเทศไทย

สิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำคือ การปฏิรูปการปกครอง การปรับปรุงการปกครองให้ทันสมัย เพื่อทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เจริญแล้ว และสามารถปกครองดูแลพัฒนาบ้านเมืองได้

การปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ก่อให้เกิดการจัดระเบียบการปกครองที่สำคัญ คือ การปกครองส่วนท้องถิ่น พระองค์ทรงจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล ซึ่งมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบัน เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 (พ.ศ. ๒๔๔๐) ขึ้นบังคับใช้ในกรุงเทพฯ และขยายไปที่ท่าฉลอม ใน ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) ปรากฏว่าการดำเนินงานนั้นได้ผลดีเป็นอย่างมาก 

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ขึ้น โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น2ประเภท คือ สุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลตำบล ท้องถิ่นใดเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลประเภทใด ก็ให้ประกาศตั้งสุขาภิบาลในท้องถิ่นนั้น

ข้อใดคือการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยรัชกาลที่ 5
สมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411)
สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ เรียกว่า “การปฏิรูปการปกครอง”อันนำมาซึ่งความเจริญอย่างมากมายในปัจจุบัน
การปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่
1)การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมะลายู
กระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลในการจัดเก็บภาษี และหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น
2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น “มณฑล”ขึ้นกับ กระทรวงมหาดไทยมีสมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมือง เป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน
กำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน
3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง “สุขาภิบาล” ซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฎว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่ง
จึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆ
การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มปรับปรุงแผนการปกครองตามแบบอย่างคตินิยมตะวันตกไปบ้างแล้ว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411-2453) ได้ทรงปฏิรูปการปกครองให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

สาเหตุสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีสาเหตุสำคัญ ดังนี้ 1) เกิดจากภยันตรายที่มาจากการคุกคามของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ถ้าคนไทยไม่มีการปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ อาจเป็นข้ออ้างที่ทำให้ชาติตะวันตกเข้ามาปกครองประเทศไทยได้ 2) การปกครองในระบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้ามีการปฏิรูปแผ่นดินให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปทางการปกครองแล้ว จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงดำเนินการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกในทุกๆ ด้าน และทางด้านการเมืองการปกครองก็เป็นการปฏิรูปที่สำคัญประการหนึ่ง

พัฒนาการเมือง

รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้ คือ 1) การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาบริหารราชการแผ่นดิน (Council of State) ซึ่งประกอบด้วยขุนนางข้าราชการทั้งหมดเป็นสมาชิก จำนวน 12 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินแด่พระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ทางด้านตุลาการอีกด้วย งานสำคัญของสภานี้ คือการออก พ.ร.บ.เลิกทาสและปฏิรูปภาษีอากรแผ่นดิน 2) การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ (Privy Council) ประกอบด้วย สมาชิก 49 คน มีทั้งพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการ มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในพระองค์ทั้งสองสภา เริ่มได้ตั้งใน พ.ศ.2417

3) คำถวายบังคมทูลของเจ้านายและข้าราชการให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ร.ศ.103 (พ.ศ.2427) ต่อมาใน พ.ศ.2427 (ร.ศ.103) ได้มีเจ้านายและขุนนางและข้าราชการกลุ่มหนึ่งจำนวนทั้งสิ้น 11 คน ซึ่งล้วนแต่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก มองเห็นว่าตราบใดที่ยังไม่ปฏิรูปการปกครองให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกอย่างแท้จริงแล้ว ประเทศไทยไม่สามารถรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกได้ จึงได้เสนอคำกราบบังคมทูลความเห็น การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการแผ่นดิน แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชี้ให้เห็นว่าการป้องกันรักษาเอกราชของชาติที่ได้ผลดีที่สุดในขณะนั้น คือ จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับอันตราย และทรงเห็นด้วยกับการดำเนินการใดๆ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชาติบ้านเมืองแต่ต้องกระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเห็นว่าจะต้องทำการปฏิรูปการปกครองก่อนสิ่งใดทั้งหมด ถ้าการปกครองยังมิได้รับการปรับปรุงเรื่องอื่นๆ ก็จะดำเนินต่อไปไม่ได้ตลอด ต่อมาในปี พ.ศ.2430 พระองค์ทรงโปรดฯให้สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ เสด็จไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะเสนาบดีตามแบบยุโรปที่ประเทศอังกฤษ และหลังจากนั้นไม่นานก็มีการปฏิรูปการปกครองขึ้นในประเทศไทย

การปรับปรุงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

1) การปรับปรุงการปกครองส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศจัดตั้ง “เสนาบดีสภา” ขึ้นใน พ.ศ.2431 พระองค์ทรงเลือกคนที่มาดำรงตำแหน่งเสนาบดี มีการอบรมประชุมโดยพระองค์ทรงเป็นประธานในที่ประชุม ทรงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับราชการและการบัญชางานแก่เสนาบดีแบบใหม่พอสมควรแล้ว จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 โดยจัดสรรอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน มีด้วยกันทั้งหมด 12 กระทรวง ประกอบด้วย 1.กระทรวงกลาโหม 2.กระทรวงนครบาล 3.กระทรวงวัง 4.กระทรวงเกษตรพานิชการ 5.กระทรวงคลัง 6.กระทรวงต่างประเทศ 7.กระทรวงยุทธนาธิการ 8.กระทรวงโยธาธิการ 9.กระทรวงธรรมการ 10.กระทรวงยุติธรรม 11.กระทรวงมุรธาธิการ 12.กระทรวงมหาดไทย ภายหลังที่พระองค์ทรงประกาศจัดตั้งกระทรวงต่างๆ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 แล้ว ต่อมาทรงเห็นว่างานในกระทรวงต่างๆ ยังซ้ำซ้อนปะปนกันอยู่จึงทรงปรับปรุงใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวนี้ พอสิ้นรัชกาลก็มีกระทรวงต่างๆ รวม 10 กระทรวง คือ 1.กระทรวงมหาดไทย 2.กระทรวงกลาโหม 3.กระทรวงนครบาล 4.กระทรวงวัง 5.กระทรวงต่างประเทศ 6.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 7.กระทรวงโยธาธิการ 8.กระทรวงยุติธรรม 9.กระทรวงธรรมการ 10.กระทรวงเกษตราธิการ

2) การปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงเปลี่ยนแปลงจัดระเบียบการปกครองครั้งใหญ่ใน พ.ศ.2435 เหตุการณ์ระหว่างประเทศตามชายแดนมีทีท่าว่าจะทำความรุนแรงมากขึ้น จำเป็นจะต้องจัดการรักษาพระราชอาณาจักรให้ทันท่วงที ดังนั้นพระองค์จึงได้ทรงจัดรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญๆ ขึ้นเป็นเขตการปกครองเรียกว่า “มณฑล” โดยมุ่งที่จะป้องกันราชอาณาจักรให้พ้นจากการคุกคามจากภายนอกเป็นหลัก และในขณะเดียวกันก็เป็นการทดลองจัดระเบียบการปกครองอย่างใหม่ ซึ่งพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยที่จะจัดให้มีขึ้นในประเทศต่อไป พระองค์ได้ทรงเลือกบุคคลที่ทรงคุณวุฒิมีความสามารถสูง และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยออกไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑล บัญชาการต่างพระเนตรพระกรรณ กำกับว่าราชการซึ่งผู้ว่าราชการและกรรมการเมืองปฏิบัติอยู่ให้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยความยุติธรรมและรวดเร็ว ดูแลทุกข์สุขของราษฎรโดยทั่วถึงซึ่งเรียกว่า “เทศาภิบาล”

(1) การปกครองแบบเทศาภิบาล : มีหลักการและสาระสำคัญ คือ รัฐบาลทำการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงชั้นสูงสุด เริ่มต้นด้วยพลเมืองมีสิทธิที่จะเลือก “ผู้ใหญ่บ้าน” ผู้ใหญ่บ้านประมาณ 10 หมู่มีสิทธิเลือกตั้ง “กำนันของตำบล” ตำบลหลายๆ ตำบลมีพลเมืองประมาณ 10,000 คน รวมกันเป็น “อำเภอ” มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด หลายอำเภอรวมกันเป็น “เมือง” มี “ผู้ว่าราชการเมือง” เป็นผู้ดูแล หลายเมืองรวมกันเป็น “มณฑล”

การที่ตัวเสนาบดีจะดูแลบังคับบัญชาโดยตรงถึงหัวเมืองทั้งปวง ก็เป็นอันสุดวิสัยที่จะทำได้ตลอด จึงต้องติดหัวเมืองที่ใกล้ชิดติดต่อไปมาถึงกันได้ง่ายๆ หลายๆ เมืองรวมกันเป็น “มณฑล” หนึ่ง มีตำแหน่ง “ข้าหลวงเทศาภิบาล” บังคับบัญชามณฑลละ 1 คน แบ่งอำนาจและหน้าที่ของเสนาบดีเจ้ากระทรวงไปไว้ในตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลประจำมณฑลเป็นผู้ตรวจตราบังคับบัญชาในท้องที่ “เสนาบดี” เป็นผู้รับกระแสพระราชดำริคิดอ่านกับข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลทั้งปวง จัดวางแบบแผนการปกครองให้สำเร็จตลอดทั่วพระราชอาณาจักร

(2) การปกครองท้องที่ นอกจากปกครองแบบเทศาภิบาลแล้ว ใน พ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5 ยังได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องถิ่นสำหรับการจัดการปกครองระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เพิ่มขึ้นด้วย

3) การปรับปรุงการปกครองส่วนท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้ริเริ่มจัดการ “สุขภิบาล” ในเขตกรุงเทพฯ และตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทดลองให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นอีกด้วย

นอกจากการปรับปรุงการปกครองทั้งส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังเห็นความสำคัญของระบบสภาที่ปรึกษาซึ่งกำลังหมดบทบาทในภายหลังจากที่เคยมีมาแล้ว ดังนั้นใน พ.ศ.2435 พระองค์จึงได้ทรงจัดตั้ง “องคมนตรีสภา” (Privy Council) ทำหน้าที่คล้ายๆ สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์แต่เดิมอีกด้วย ครั้นต่อมาใน พ.ศ.2437 โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งรัฐมนตรีสภา (Legislation council) โดยมีจุดมุ่งหมายให้ทำหน้าที่ตรากฎหมายโดยเฉพาะ ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นเสนาบดีหรือผู้แทนเสนาบดี เป็นผู้ที่ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นพระองค์จึงโปรดฯให้โอนงานกฎหมายไปขึ้นอยู่กับเสนาบดีสภา เมื่อ พ.ศ.2443 ของรัฐมนตรีสภาเป็นอันหยุดชะงักลง

4) ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการเมืองการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้เกิดผลดังนี้ 1) ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในราชอาณาจักร ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐเดียว ทั้งนี้ เป็นผลคือจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์ราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ 2) รัฐบาลไทยมีกรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพทางการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดยั้งการถูกถามต่อบูรณภาพเขตแดนไทย ซึ่งเกิดจากมหาอำนาจตะวันตกในขณะนั้น 3) ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการเมืองการปกครองปฏิกิริยาต่อรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ดังจะเห็นได้จากกรณีขบถผู้มีบุญภาคอีสาน ร.121 กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ รพ.121 และขบถเขตเจ็ดหัวเมือง ร.ศ.121 แต่รัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

5) การปฏิรูปยุติธรรมและการศาล การปฏิรูปยุติธรรมและการศาลขึ้นใน พ.ศ.2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพยายามริ่เริ่มปฏิรูปการศาลให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งศาลรับสั่งซึ่งขึ้นตรงต่อพระองค์ เพื่อพิจารณาคดีความที่อยู่ในกรมพระนครบาล มหาดไทย กลาโหม และกรมท่า เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงรวมอำนาจไปขึ้นส่วนกลาง ทำให้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่พวกขุนนางเคยได้จากศาลลดลง และไม่เปิดโอกาสให้ใช้จ่ายทางการศาลในทางที่ผิดได้อย่างสะดวกสบายอีกตลอดไป นอกจากนี้ยังโปรดฯให้จัดตั้ง… “กระทรวงยุติธรรม” ขึ้นใน พ.ศ.2435

ภายหลังจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ.2435 แล้ว ก็โปรดฯให้จัดตั้ง “ศาลยุติธรรม” สำหรับพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งตามแบบใหม่ให้เรียบร้อยในกรุงเทพฯใน พ.ศ. 2437 และในหัวเมืองใน พ.ศ.2439-2440 โดยมอบให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งทรงสำเร็จกฎหมายจากประเทศอังกฤษดำเนินการ ต่อมาใน พ.ศ.2440 กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้ทรงคิดตั้งโรงเรียนกฎหมายเนติบัณฑิตสภา และวางระเบียบการสอบไล่เนติบัณฑิตไทยให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทรงได้ระบบก่อการกระทรวงยุติธรรม การศาล และการศึกษากฎหมายให้สมัยตามแบบตะวันตกจนสืบเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้

การปรับปรุงการเมืองการปกครองในรัชกาลที่ 6

ข้อใดคือการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยรัชกาลที่ 5

1) การเกิด “คณะพรรค ร.ศ.130” ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.2453 แล้วต่อมาใน พ.ศ.2454 รัฐบาลได้ดำเนินการกวาดล้างจับกุมคณะนายทหารและพลเมืองกลุ่มหนึ่งที่วางแผนจะใช้กำลังยึดอำนาจการปกครอง เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” เป็นการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2454 (ร.ศ.130) คณะนายทหารและพลเมืองกลุ่มนั้นเรียกตัวเองว่า “คณะพรรค ร.ศ.130” โดยมี ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ (ขุนทวยหาญพิทักษ์) เป็นหัวหน้า

สาเหตุที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศของ “พรรค ร.ศ.130” คือความปรารถนาอย่างแรงกล้าของคณะนายทหารที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศในทุกๆ ด้าน ด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ใช้ “กฎหมาย รัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ” แต่ต้องประสบความล้มเหลวในที่สุด

2) การจัดตั้ง “ดุสิตธานี” เมืองทดลองประชาธิปไตย ภายหลังเกิดกบฏ ร.ศ.130 ในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงริเริ่มทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วยการจัดตั้ง “ดุสิตธานี” เมืองประชาธิปไตยขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ.2461 ในการสร้างเมือง “ดุสิตธานี” นั้น พระองค์ทรงกำหนดแผนผังที่จะจัดขึ้นเป็นเมืองดุสิตธานีข้างหน้าพระที่นั่งอุดรด้านตะวันออก เป็นสถานที่สร้างเมือง มีการแบ่งเขตเป็นอำเภอ ตำบล แบ่งพื้นที่สร้างเป็นสถานที่ทำการรัฐบาล วัดวาอารามและบ้านเรือนราษฎร พร้อมทั้งตัวถนนหนทางและแม่น้ำ ลำคลอง ตลอดทั้งไฟฟ้า ประปาให้สมกับบ้านเรือนที่สร้างขึ้นตามผังที่ถูกต้องจริงๆ แล้วให้ประชาชนเข้าไปอยู่ในเขตเมืองดุสิตธานี โดยได้มีการใช้รัฐธรรมนูญรักษาการปกครอง ออกมาใช้ในเขตดุสิตธานี เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน
พ.ศ.2461

การปกครองดุสิตธานีก็ดำเนินตามแบบอย่างประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง “นครภิบาล” จึงเปรียบได้กับนายกเทศมนตรี นครภิบาลจะต้องได้รับเลือกเป็นเชษฐบุรุษมาก่อน “เชษฐบุรุษ” ซึ่งอาจเปรียบได้กับ “สมาชิกเทศบาล” ซึ่งต้องได้รับเลือกจาก “ทวยนาคร” หรือประชาราษฎรนั่นเอง จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเตรียมแผนพัฒนาประชาธิปไตยเบื้องต้นให้กับข้าราชบริพารของพระองค์เพื่อเป็นการทดลองก่อนที่เป็นประชาธิปไตยจริงในโอกาสต่อไป

3) การปรับปรุงการปกครองในส่วนกลาง รัชกาลที่ 6 ได้ทรงจัดตั้งกระทรวงใหม่ คือกระทรวงมุรธาธร กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์ ส่วนกระทรวงนครบาลได้ทรงยุบเลิก และเปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคม ด้านอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเหมือนรัชกาลที่ 5 กระทรวงต่างๆ ประกอบด้วย 1.กระทรวงมหาดไทย 2.กระทรวงกลาโหม 3.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 4.กระทรวงต่างประเทศ 5.กระทรวงยุติธรรม 6.กระทรวงวัง 7.กระทรวงทหารเรือ 8.กระทรวงเกษตราธิการ 9.กระทรวงพาณิชย์ 10.กระทรวงคมนาคม 11.กระทรวงศึกษาธิการ 12.กระทรวงมุรธาธร

4) การปรับปรุงการปกครองในส่วนภูมิภาค  ในส่วนภูมิภาค รัชกาลที่ 6 ท่านทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้นดังนี้ คือ มณฑลร้อยเอ็ด ทรงได้ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2455 โดยแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือมณฑลร้อยเอ็ดกับมณฑลอุบลราชธานี มณฑลร้อยเอ็ดมี 3 หัวเมือง คือ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ โดยมีผู้ปกครองที่ร้อยเอ็ดอีกมณฑลหนึ่งคือ มณฑลมหาราษฎร์ เป็นมณฑลที่แยกออกจากมณฑลพายัพ มี 3 หัวเมือง คือ ลำปาง น่าน และแพร่

นอกจากนี้เพื่อเป็นการประหยัด รัชกาลที่ 6 โปรดให้รวบรวมสองมณฑลหรือสามมณฑลเข้าเป็นภาคเรียกว่า “มณฑลภาค” สำหรับดำเนินการระหว่าง “มณฑล” กับ “กระทรวง” เป็นการแบ่งเบาภาระของกระทรวง งานสิ่งใดที่มณฑลจัดการได้ดีก็ไม่ต้องส่งถึงกระทรวง ให้มีข้าราชการชั้นสูงเป็นอุปราชประจำอยู่มณฑลภาค ดังบุคคลที่เป็นอุปราชไม่ตั้งคนใหม่คงเลือกจากข้าหลวงเทศาภิบาลที่เด่นกว่าโดยเกียรติคุณให้ดำรงตำแหน่งอุปราช

โปรดอ่านต่อฉบับหน้าเป็นยุครัชกาลที่ 7 ที่มีการปรับปรุงการเมืองการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างประเทศตะวันตกอย่างแท้จริง ไงเล่าครับ

ข้อใดไม่ใช่สาเหตุการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคที่เด่นชัดที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 5 คือข้อใด ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการปกครองประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคในลักษณะการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าอะไร การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 สรุป การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นสมัย ร.5 สอดคล้องกับหลักการบริหารราชการแผ่นดินในข้อใด บุคคลที่มีส่วนร่วมสำคัญในการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 คือใคร