แหล่งเงินทุนภาครัฐ มีอะไรบ้าง

ปี2014-04-09
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

รศ.ดร.ศาสตรา สุดสวาสดิ์
รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า
www.econ.nida.ac.th sasatra.blogspot.com

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติว่าร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ (พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท) ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ ในปัจจุบัน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง กำลังพิจารณาหาแหล่งเงินทุนที่จะใช้สำหรับโครงการลงทุนซึ่งถูกปรับให้มีขนาดเล็กลงจนเหลือ 1.18 ล้านล้านบาท (โดยตัดงบลงทุนในส่วนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและโครงการโครงสร้างพื้นฐานศุลกากรออกไป) ซึ่งทางเลือกของแหล่งเงินทุนของรัฐมีอยู่ด้วยกัน 4 แนวทาง คือ

หนึ่ง ผ่านการตั้งงบประมาณรายจ่ายในวิธีการงบประมาณแบบปกติ โดยหากรัฐบาลมีความจำเป็นในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับ กระทรวงการคลังก็สามารถกู้เงินมาใช้ได้ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 9 ทวิ และตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา21 ที่ได้กำหนดขอบเขตในการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินบาทได้ไม่เกินวงเงิน 1) ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วมา กับอีก 2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนต้นเงินกู้

สอง ผ่านการกู้เงินนอกเหนือไปจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา22 และ 23 ได้กำหนดให้การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี นอกจากนี้ มาตรา 25 ยังระบุให้กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินเป็นเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 22 เพื่อนำมาให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ กู้ต่อเพื่อเป็นการประหยัดและมีประสิทธิภาพขึ้นได้

สาม ผ่านการกู้ยืมเงินของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐซึ่งตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 มาตรา 27 และ 28 กำหนดให้ในปีงบประมาณหนึ่ง กระทรวงการคลังสามารถค้ำประกันการชำระหนี้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐ โดยจะค้ำประกันเต็มจำนวนหรือบางส่วนก็ได้ แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ตามหลักการแล้ว รัฐบาลไม่ควรค้ำประกันเต็มจำนวน โดยเงินกู้ส่วนหนึ่งควรเป็นเงินกู้ที่ไม่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มการตรวจสอบจากเอกชนหรือผู้ให้กู้เงิน และ

สี่ ผ่านการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนตามพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ตัวอย่างของโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่น่าจะผ่านช่องทางนี้ ได้แก่ งานระบบรถไฟฟ้า ที่เอกชนลงทุนเป็นผู้ลงทุนในเรื่องเครื่องจักรและการดูแลรักษา เป็นต้น

ทั้งนี้ ตามหลักการแล้ว การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนน่าจะช่วยทำให้การติดตามโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งจะช่วยลดภาระความเสี่ยงของโครงการลง นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดปัญหาของความไม่โปร่งใสของโครงการเนื่องจากภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบมากขึ้น

ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่า ทางเลือกของแหล่งเงินทุนทั้ง 4 แนวทางข้างต้นนี้ แม้จะมีกระบวนการในการเสนอโครงการที่คล้ายคลึงกัน โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องนำเสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการผ่านรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัด และผ่านการให้ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการอนุมัติของฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) เหมือนกัน แต่มีเพียงทางเลือกที่ 1 เท่านั้น (ผ่านการตั้งงบประมาณรายจ่ายในวิธีการงบประมาณ) ที่โครงการลงทุนจะต้องถูกนำเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติจะทำหน้าที่ในการกลั่นกรองและตรวจสอบตามกลไกของระบบรัฐสภาอีกขั้นตอนหนึ่ง เพื่อทำให้โครงการที่ผ่านการเห็นชอบออกไปนั้นมีความโปร่งใสและมีความคุ้มค่าที่สุด

ดังนั้น การพิจารณาแหล่งเงินทุนที่จะใช้สำหรับโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันสำหรับโครงการที่ไม่สามารถผ่านการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจไม่พร้อมที่จะเป็นผู้ดำเนินการกู้ยืมเพื่อดำเนินโครงการเอง โดยโครงการลงทุนยังจำเป็นต้องใช้แหล่งเงินทุนที่มาจากงบประมาณของรัฐบาลเป็นหลัก ในกรณีนี้รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณประจำปีแบบปกติก่อนเป็นลำดับแรก โดยรัฐบาลอาจจำเป็นต้องเลื่อนเวลาของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบสมดุลในปี พ.ศ. 2560 ออกไปบ้าง เพื่อทำให้โครงการลงทุนที่ถูกนำเสนอออกมานั้นมีความโปร่งใสและผ่านกระบวนการตรวจสอบจากระบบรัฐสภา ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่หลายฝ่ายมองว่าโครงการลงทุนส่วนหนึ่งถูกผลักดันออกมาอย่างรีบเร่ง ขาดความชัดเจนและความโปร่งใส


ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 7 เมษายน 2557

Text : เจษฎา ปุรินทวรกุล

แหล่งเงินทุนภาครัฐ มีอะไรบ้าง

     ในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจ ตลอดจนการขยายกิจการ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องวางแผนด้านการเงินอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดฝันร้ายเรื่องกระแสเงินสดและความคล่องตัวทางการเงินในระยะยาว ซึ่งในปัจจุบันช่องทางการหาแหล่งเงินทุนไม่ได้มีแค่เพียงสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีตัวเลือกอีกมากมายที่สามารถให้เงินทุนที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา เริ่มจาก

       1. FFF

     FFF นั้นย่อมาจาก Friends Family และ Fools สำหรับเพื่อนกับคนในครอบครัวคงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือเรา แต่คำสุดท้ายคือ Fools ซึ่งในบริบทนี้ไม่ได้หมายถึงคนโง่เลยแม้แต่น้อย แต่หมายถึงคนที่เราไปนำเสนอไอเดียแล้วเขาสนใจและให้ทุนเรามาพัฒนาต่อยอดธุรกิจต่างหาก

 

แหล่งเงินทุนภาครัฐ มีอะไรบ้าง

     2. เงินทุนสนับสนุนจากโครงการภาครัฐ

     ต้องบอกว่าการสนับสนุนเงินทุนและงบประมาณจากภาครัฐมีเยอะมากๆ แบ่งออกได้หลายระดับ เช่น

     ช่วงต้น เรามีแค่ไอเดียกับแนวคิด ก็จะมีโครงการลักษณะอบรมจัดทำแผนธุรกิจ (BMC) และ Pitching เพื่อชิงเงินทุนพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และทดลองผลิตเชิงพาณิชย์ออกสู่ตลาด

     ช่วงกลาง เริ่มวางขายแล้ว จะมีอีกหลายโครงการเข้ามาสนับสนุน เช่น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) หรือขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิก OTOP สมัครสมาชิกของ สสว. เพื่อรับสิทธิพิเศษในการช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น การอบรม ออกงานแสดงสินค้า ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินทุนในหลายๆ ด้านได้เป็นอย่างดี

     ช่วงติดปีก ใครมีผลิตภัณฑ์พร้อมต่อยอด พร้อมขยายธุรกิจ ก็มีอีกหลายหน่วยงานของภาครัฐที่จะมาช่วยเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการควรมี Link และ Facebook ของหน่วยงานเหล่านี้เพื่อติดตามข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

แหล่งเงินทุนภาครัฐ มีอะไรบ้าง

     3. Angel Investors

     

สำหรับ Angel Investors จะเป็นผู้ให้เงินทุนอิสระที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำธุรกิจ ซึ่งเห็นว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรามีความน่าสนใจ โดดเด่น และมีโอกาสทำกำไรได้ จึงพร้อมลงทุนควักเงินในกระเป๋าให้มาบริหารธุรกิจ แลกกับส่วนแบ่งกำไรหรือจำนวนหุ้น เรื่องนี้ต้องตกลงกันตอนเซ็นสัญญาอีกครั้ง ส่วนตัวเงินที่ Angel Investors จะสนับสนุนก็อาจไม่มากเท่ากับ Venture Capital

แหล่งเงินทุนภาครัฐ มีอะไรบ้าง

       4. Venture Capital

     Venture Capital เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนในรูปแบบองค์กรขนาดใหญ่ และพร้อมสนับสนุนธุรกิจที่ต้องการขยายการลงทุนที่ต้องใช้เงิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ถามว่ามีโอกาสเจอ  Angel Investors และ Venture Capital ได้ด้วยเหรอ คำตอบคือ มีแน่นอนถ้าเราหมั่นไปร่วมงานประกวดแผนธุรกิจ และการ Pitching จากหน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้พบกับผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้ทุนที่อาจเข้ามาสังเกตการณ์ หรือเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินในแต่ละเวทีด้วย

แหล่งเงินทุนภาครัฐ มีอะไรบ้าง

     5. ธนาคาร

     โดยส่วนมากแล้วผู้ประกอบการจำเป็นต้องดำเนินธุรกิจมาแล้วช่วงระยะเวลาหนึ่ง พร้อมทั้งมีแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ (แม้หลายๆ ธนาคารจะบอกว่าไม่ต้องมี) และสามารถนำเสนอได้ว่าธุรกิจจะสร้างรายได้อย่างไร มีเงินกลับมาชำระดอกเบี้ยได้อย่างไร นอกจากนี้ ถ้าจำเป็นต้องกู้เงินกับธนาคาร อย่าลืมมองหาสินเชื่อสำหรับ SME ที่ปลอดต้น ลดดอก และดอกเบี้ยต่ำ

  www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup

แหล่งเงินทุนของภาครัฐมีอะไรบ้าง

- เงินทุนระยะยาว มีระยะเวลาจ่ายคืนเกินกว่า 5 ปี เป็นการจัดหาเงินทุนสำหรับขยายกิจการ แหล่งเงินทุน ได้แก่ แหล่งเงินทุนภายใน เช่น การกู้ยืมจากหุ้นส่วน การออกหุ้นจำหน่ายแก่ประชาชน แหล่งเงินทุนภายนอก เช่น กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือการกู้ยืมจากรัฐบาล เป็นต้น

แหล่งที่มาของเงินทุน มีอะไรบ้าง

โดยส่วนใหญ่มาจาก 4 แหล่งใหญ่ๆ คือ แหล่งเงินทุนของตัวเอง ( Founder, Family, Friend ) การหาผู้ร่วมทุนหรือจากนักลงทุน ( Investor, Venture Capital ).
แหล่งเงินทุนของตัวเอง ... .
หาผู้ร่วมทุน หรือหาเงินจากนักลงทุน ... .
กู้ยืมจากสถาบันการเงิน ... .
เงินทุนจาก Creative Source..

เงินทุน มีความสําคัญอย่างไร

เงินทุน หมายถึง เงินตราที่องค์การธุรกิจจัดหามา เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจาการลงทุนอย่างคุ้มค่า เงินทุนมีความสำคัญต่อธุรกิจ เพราะเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มตั้งกิจการ และระหว่างดำเนินกิจการ เงินทุนทำให้การผลิต การซื้อขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ธุรกิจขยายตัวได้ ...

แหล่งเงินทุน แยกประเภทเป็นอะไรบ้าง

ประเภทของแหล่งเงินทุน.
1. แบ่งตามระยะเวลา 1.1. แหล่งเงินทุนระยะสั้น 1.2. แหล่งเงินทุนระยะยาว.
2. แบ่งตามวิธีการจัดหาแหล่งเงินทุน 2.1. แหล่งเงินทุนภายใน 2.2. แหล่งเงินทุนภายนอก.