หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอ เพียง ที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนา อาชีพ ได้แก่

เศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพ

           

สรุปเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า  25  ปี  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ  พ.ศ. 2540  และภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น  และสามารถดำรงอยู่
ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

            เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่  และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนาบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าต่อยุคโลกาภิวัตน์ ทางสายกลาง  หมายถึง เส้นทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมที่ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่  ทั้งที่ตัวมนุษย์  และรอบๆ  ตัวมนุษย์

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  พิจารณาได้ดังนี้

            คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจ

            ธุรกิจพอเพียง หมายถึง  การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ในระยะสั้น  ดังนั้น  จึงต้องมีความรอบรู้ในธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่  และศึกษาข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้สามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  มีความรอบคอบในการตัดสินใจในแต่ละครั้ง  เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ  ไม่ให้เกิดขึ้น  และต้องมีคุณธรรมคือมีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพ  ไม่ผลิตหรือขายสินค้าที่ก่อให้เกิดโทษหรือสร้างปัญหาให้กับคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความขยันหมั่นเพียร  อดทนในการพัฒนาธุรกิจไม่ให้มีความบกพร่อง  และก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต  การปรับปรุงสินค้าและคุณภาพให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ  และในขณะเดียวกันต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม  และระบบนิเวศวิทยาทุกขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ  โดยการรักษาสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ  อย่างสมเหตุสมผล  ตั้งแต่ผู้บริโภค  พนักงาน  บริษัทคู่ค้า  ผู้ถือหุ้น  และสังคมวงกว้างรวมถึงสิ่งแวดล้อม
การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง
            การดำเนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประกอบอาชีพตามทรัพยากรที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้  ความสามารถ  เพื่อให้เกิด   ความพอเพียงในลักษณะพออยู่พอกิน  ก่อให้เกิดความสุขสบายภายในครอบครัว  หากเหลือจากการดำรงชีพสามารถนำไปขาย  เพื่อเป็นรายได้และเก็บออมเป็นเงินทุนต่อไป  การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ดังนี้
       ๑. ทำไร่ทำนาสวนผสมผสาน  เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
       ๒. ปลูกผักสวนครัว  เพื่อลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
       ๓. ใช้ปุ๋ยคอก  และทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี  เพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
       ๔. เพาะปลูกเห็ดฟางจากฟางข้าและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
       ๕. ปลูกผลไม้ในสวนหลังบ้านและปลูกต้นไม้ใช้สอย
       ๖. ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
       ๗. เลี้ยงปลาในร่องสวน  ในนาข้าวและสระน้ำ  เพื่อเป็นอาหารและรายได้เสริม
       ๘. เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่  เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริมโดยใช้ข้าวเปลือกรำปลายข้าวจากการทำนา  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่  พืชผักจากการปลูกในสวน
       ๙. ทำก๊าชชีวภาพจากมูลสุกร  หรือวัว  เพื่อใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน
     ๑๐. ทำสารสกัดชีวภาพจากเศษพืชผักผลไม้  และพืชสมุนไพรที่ใช้ในไร่นา


เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี      

 

ความพอประมาณ

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์

คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัทใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์ การมีรายได้หลายทางเพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่า พื้นฐานความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การพึ่งพาตัวเองได้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเมื่อทุกคนสามารถดูแลตัวเอง และครอบครัวได้แล้ว ขั้นต่อไปอาจทำการพัฒนาธุรกิจ โดยมีการรวมกลุ่มกันในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการรวมกลุ่มกันนั้น ไม่จำกัดเฉพาะการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เกษตรกร ในรูปของสหกรณ์ การทำงานในเมืองก็สามารถมีการรวมกลุ่มกันได้ เช่น การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน การแลกเปลี่ยนแนวคิดการลงทุน เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ รวมไปจนถึงการแบ่งปันความช่วยเหลือส่งกลับคืนสู่สังคม ไปสู่กลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ เช่น กิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

จะเห็นได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ด้วยการใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และเผื่อแผ่ไปถึงสังคม ซึ่งเราสามารถนำหลักการปฏิบัติไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตการทำงาน และการดำรงชีวิตครับ

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาชีพได้แก่อะไรบ้าง

แนวทางการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้  ยึดหลักสามพอ พออยู่พอกิน พอใช้  ประหยัด  ประกอบอาชีพสุจริต  เน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง  ทามาหากินก่อน ทามาค้าขาย  ใช้ภูมิป๎ญญาพื้นบ้าน ที่ดิน คืนทุนสังคม  ตั้งสติมั่นคง ทางานอย่างรู้ตัวไม่ประมาท  ใช้ป๎ญญาใช้ความรู้แท้  รักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งกายและใจ

นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาตนเองเข้าสู่อาชีพอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเอง.
- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้.
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ.
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต.
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย.
- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง.
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย.

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือที่เรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นของใคร

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลง ...