ข้อใด เป็นการ ลงทุน ทางตรงระหว่างประเทศ

 
ข้อใด เป็นการ ลงทุน ทางตรงระหว่างประเทศ

การลงทุนระหว่างประเทศ

               เมื่อกล่าวถึงเศรษฐกิจระหว่างประเทศนั้น การลงทุนระหว่างประเทศก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันเกิดการลงทุนระหว่างประเทศเกิดขึ้นมากมาย 
               ในยุคโลกาภิวัตน์ที่การติดต่อสื่อสารในประเทศต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายไปได้ทั่วโลก ยิ่งส่งผลให้การลงทุนระหว่างประเทศไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่ประการใดอีกต่อไป ซึ่งจะเห็นว่านับวันองค์กรธุรกิจในลักษณะบรรษัทข้ามชาติจะขยายการลงทุนไปทั่วทุกมุมโลก

               1. ความหมายของการลงทุนระหว่างประเทศ

               การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่ประเทศหนึ่งได้เคลื่อนย้ายทุนจาก ประเทศของตนมาลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง โดยคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศของตน และการลงทุนนี้อาจจะเป็นการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) หรือการลงทุนโดยอ้อม(Indirect Investment or portfolio Investment)

               2. การลงทุนโดยตรง
               การลงทุนโดยตรง หมายถึง การเคลื่อนย้ายทุนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง โดยเจ้าของทุนยังมีอำ นาจในการดูแลกิจการที่ตนเองเป็นเจ้าของ การลงทุนในลักษณะนี้คือ การลงทุนในรูปบรรษัทข้ามชาติ (multinational corporations) ที่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศที่เป็นเจ้าของทุนและมีบริษัทที่เป็นเครือข่ายสาขาอยู่ในหลายประเทศ โดยบรรษัทข้ามชาติส่วนใหญ่จะมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ และฝรั่งเศส และกิจการที่บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้เข้าไปลงทุนนั้นมีหลากหลายประเภท เช่น กิจการนํ้ามัน เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์ อาหาร และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

               หากพิจารณาบทบาทของบรรษัทข้ามชาติระหว่างประเทศ พบว่าในปัจจุบันการผลิตโดยบรรษัทข้ามชาติรวมกันมีร้อยละ 25 ของการผลิตทั้งหมดของโลก และหนึ่งในสาขาองการค้าโลกเป็นการค้าระหว่างบรรษัทในเครือเดียวกัน (intrafirm trade)

               สาเหตุที่ทำ ให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในอีกประเทศหนึ่งนั้น มีสาเหตุที่มาจากประเทศเจ้าของทุน (Income country) และประเทศผู้รับทุน (host country) เองดังนี้

               2.1 ปัจจัยที่เกิดจากประเทศเจ้าของทุน
                              1) ต้องการสร้างอำ นาจผูกขาดทางการตลาด เพราะถ้าผู้ผลิตเข้าไปลงทุนในต่างประเทศจะทำ ให้ทราบความต้องการของผู้บริโภคและสามารถขจัดคู่แข่งรายอื่นออกไป

                              2) ต้องการลดต้นทุนการผลิต ทั้งในเรื่องค่าจ้างในประเทศผู้ผลิตมีอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูง เนื่องจากบทบาทของสหภาพแรงงานที่มีอำนาจการต่อรองสูง ทำให้ผู้ผลิตต้องการโยกย้ายทุนไปผลิตในต่างประเทศ อีกทั้งยังสามารถใช้วัตถุดิบในประเทศที่เข้าไปลงทุน และยังประหยัดค่าขนส่งที่จะต้องส่งไปในประเทศผู้รับทุน

               2.2 ปัจจัยที่เกิดจากประเทศผู้รับทุน
                              1) เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบที่จูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน เช่น แร่ธาตุ นํ้ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติ โดยทรัพยากรเหล่านี้ยังไม่ได้ขุดมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากประเทศที่เป็นผู้รับทุนยังขาดแคลนเงินทุน วัตถุดิบและเทคโนโลยีอยู่ จำเป็นที่ต้องพึ่งพานักลงทุนจากต่างประเทศ

                              2) เป็นแหล่งแรงงานที่มีราคาถูก เนื่องจากประเทศผู้รับทุนจะมีจำ นวนประชากรมาก ทำให้อัตราค่าจ้างค่อนข้างตํ่าเมื่อเทียบกับประเทศเจ้าของทุน ซึ่งความแตกต่างที่เห็นอย่างชัดเจน คือ ในประเทศเจ้าของทุนจะคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ในขณะที่ในประเทศผู้รับทุนคิดเป็นรายวัน ซึ่งในบางประเทศอัตราค่าจ้างที่เป็นรายชั่วโมงในประเทศเจ้าของทุนสูงกว่าอัตราค่าจ้างที่เป็นรายวันในประเทศผู้รับทุน

                              3) เป็นแหล่งตลาดที่จะระบายสินค้าให้แก่ประเทศเจ้าของทุน โดยเฉพาะในประเทศที่มีจำนวนประชากรมาก เช่น ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้าไปลงทุนมาก ขณะเดียวกัน ในประเทศจีนเองก็มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงจึงเป็นแรงเสริมให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนมากยิ่งขึ้น

                              4) นโยบายของประเทศผู้รับทุนมีนโยบายสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในระยะเวลาหนึ่ง การลดอากรขาเข้าแก่เครื่องมือ เครื่องจักร การกีดกันสินค้านำ เข้าที่จะแข่งขันกับสินค้าที่ทำการผลิต การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลกำไรกลับคืนประเทศ

                              5) การต่อต้านสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ ในบางประเทศจะมีความเป็นชาตินิยมสูง อาจต่อต้านสินค้าที่มาจากต่างประเทศ

               3. การลงทุนโดยอ้อม หรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน
               การลงทุนโดยอ้อม หรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึง การลงทุนในรูปการซื้อขายตราสารทุน ตราสารหนี้ ทั้งในรูปพันธบัตร ตั๋วเงิน ในต่างประเทศ รวมทั้งการกู้เงินจากต่างประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยผู้ลงทุนจะไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการหรือควบคุมดูแลกิจการนั้น ๆ ผู้ลงทุนในลักษณะนี้มักจะเป็นปัจเจกบุคคล หรืออยู่ในรูปของกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนบำ เหน็จบำนาญ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทประกันและกองทุนรวม สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน คือ ผู้ลงทุนต้องการแสวงหาอัตราผลตอบแทนที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การลงทุนในการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจะมีความเสี่ยงในการลงทุน ซึ่งนักลงทุนจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้วย มิใช่คำนึงแต่ด้านผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว

               4. ผลกระทบของการลงทุนระหว่าปงระเทศ
               ในการลงทุนจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรง หรือการลงทุนโดยอ้อม สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดผลดีต่อประเทศผู้รับทุน คือ ทำ ให้ประเทศผู้รับทุนที่ขาดแคลนเงินทุนสามารถมีเงินทุนมาลงทุนในต่างประเทศได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นถกเถียงกันอยู่ว่าการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะการลงทุนทางตรงจะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศผู้รับทุนจริงหรือไม่ ดังประเด็นในเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงทุนทางตรง ดังนี้

                              4.1 การจ้างงาน ในทางทฤษฎี เมื่อมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าไผควรจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนชาวต่างชาติมักนิยมใช้เครื่องจักรมากกว่าทำให้การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นไม่มาก

                              4.2 การแย่งแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนท้องถิ่น บางครั้งบรรษัทข้ามชาติกู้ยืมเงินบางส่วนจากต่างประเทศที่เข้าไปลงทุน ทำให้เกิดการแย่งทุนจากนักลงทุนในประเทศ

                              4.3 การแข่งขันกับนักลงทุนในท้องถิ่น บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมักเป็นบริษัทยักษ์ ที่มีทั้งทุนและเทคโนโลยีเหนือกว่านักลงทุนในประเทศ ทำให้บริษัทต่างชาติเหล่านี้สามารถแย่งลูกค้าจากนักลงทุนในประเทศไป ดังกรณีห้างสรรพสินค้าข้ามชาติที่มาตั้งสาขาในประเทศไทย

                              4.4 การถ่ายทอดเทคโนโลยี สิ่งหนึ่งที่ประเทศผู้รับทุนคาดหวังคือ เมื่อมีการลงทุนจากต่างประเทศ นักลงทุนเหล่านี้คงจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนงานในประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีระดับสูงยังคงใช้แรงงานจากประเทศแม่ แรงงานในท้องถิ่นจะได้รับแต่เพียงเทคโนโลยีขั้นตํ่าเท่านั้นเช่น การคุมเครื่องจักร การใช้เครื่องมือในระดับพื้นฐาน

                              4.5 ปัญหาดุลการค้า และดุลการชำ ระเงิน การลงทุนจากต่างชาติ ประเทศผู้รับทุนต่างคาดหวังว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดุลการค้า หรือการขาดดุลการชำ ระเงินลง เนื่องจากจะลดการนำ เข้าสินค้าจากประเทศแม่ลง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่ได้บรรเทาปัญหาดังกล่าว เพราะเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบจากกานำ เข้าในรูปสินค้าสำ เร็จรูปมาเป็นวัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักร และสินค้าขั้นกลางแทน

                              4.6 เกิดภาวการณ์ผันผวนทางเศรษฐกิจ หากประเทศเจ้าของทุนถอนทุนออกไปจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศ หรือการที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศผู้รับทุนมากอาจจะส่งผลทำ ให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นได้ หากอุปทานของสินค้าไม่เพิ่มขึ้นตาม

องค์กรและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
               สืบเนื่องจากการทำการค้าของโลกมักจะมีปัญหายุ่งยากตามมาหลายประการ เมื่อแต่ละประเทศมุ่งแต่จะให้ปะเทศของตนรับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศให้มากที่สุด บางประเทศจะสร้างเงื่อนไขต่าง ๆเพื่อกีดดันการนำ เข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใน พ.ศ.2491 เป็นต้นมา ประเทศส่วนใหญ่เห็นว่า ระบบการค้าควรจะมีการสร้างกฎเกณฑ์ โดยกฎเกณฑ์สากลการค้าอย่างแรกที่มีประเทศยอมรับมากที่สุดคือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรการค้า (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ความตกลงแกตต์ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่ พ.ศ. 2491 จนถึงพ.ศ. 2537 และต่อมาพัฒนามาเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่ภายใต้การบริหารขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีผลตั้งแต่ พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน สำ หรับในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เฉพาะองค์การการค้าโลกนอกจากนี้จะกล่าวถึงกลุ่มการค้าที่มีการรวมกลุ่มกัน และเป็นกลุ่มการค้าที่มีความสำ คัญต่อเศรษฐกิจไทย อันได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน และเอเปค

               1. องค์การค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
               เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในเรื่องความตกลงด้านการค้าและบริการ และความตกลงทางด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ความตกลงต่าง ๆขององค์การค้าโลก คือ กฎหมายที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม ถ้าประเทศใดละเมิดผู้แทนของประเทศผู้เสียหายสามารถนำมาฟ้องร้องต่อที่ประชุมได้

               องค์การค้าโลกมีกลไกลการทำ งานและหน้าที่หลัก ดังนี้
    1) การบริหารจัดการให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงต่าง ๆ กลไกส่วนนี้คือ                เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกมีเวทีตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของความตกลงแต่ละฉบับของแระเทศสมาชิกอื่น ไม่ว่าประเทศนั้นจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
    2) กระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เมื่อประเทศสมาชิกเห็นว่าประเทศอื่นใช้มาตรการการค้าที่ขัดกับความตกลง และทำ                ให้การค้าของตนเสียหาย และประจักษ์ว่า เวทีการตรวจสอบไม่มีแรงกดดันพอที่จะทำ ให้ประเทศต้นเหตุปรับมาตรการการค้าให้ถูกต้อง ก็สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมยุติข้อพิพาท

   3) การทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก เป็นกลไกการตรวจสอบการ
               ปฏิบัติงานของประเทศสมาชิกตามความตกลง ซึ่งก็คือ กลไกทบทวนนโยบายการค้า (Trade PolicyReview Mechanism) องค์การการค้าโลกจะกำ หนดให้มีการทบทวนนโยบายของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศล่วงหน้าโดยระบบหมุนเวียน

   4) การจัดเวทีเพื่อให้มีการเจรจาเปิดเสรีการค้า การที่จะทำ ให้ทุกประเทศใช้
               นโยบายการค้าที่เปิดตลาดอย่างสมบูรณ์อย่างทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจาและยกเลิกมาตรการการจำกัดการค้าเป็นระยะ ๆ

        2. สหภาพยุโรป (European Union)
               สหภาพยุโรปก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยมีประเทศที่ก่อตั้งรวม 6 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักแซมเบอร์ก เยอรมันตะวันตก อิตาลี และฝรั่งเศส ร่วมกันจัดตั้งประชาคมถ่านหินและยุโรป (European Coal and Steel Community) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตและการจำ หน่ายถ่านหิน โดยยกเลิกภาษีศุลกากรและวิธีการเกี่ยวกับการขนส่งถ่านหินผ่านด่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: ECC) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการคือ (1) การจัดตั้งตลาดร่วม (common market) เพื่อให้สินค้าธุรกิจบริการเงินทุนและแรงงาน สามารถเคลื่อนย้ายโดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก (2) การกำหนดและยกเลิกภาษีศุลกากรและโควตาระหว่างประเทศสมาชิก และกำหนดให้ใช้พิกัดอัตราภาษีร่วม (common tariff) สำหรับประเทศที่มิใช่ประเทศสมาชิก (3) การกำ หนดนโยบายร่วมกัน(common policies) เรื่องการคลัง การเงิน อัตราแลกเปลี่ยน การเกษตร แรงงานสัมพันธ์โดยมีหน่วยงานสำคัญ คือ สภารัฐมนตรี คณะกรรมาธิการตลาดร่วม สภาเศรษฐกิจและสังคม และศาลสถิตยุติธรรม

               หลังจากการรวบรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำ ดับตั้งแต่เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วมหรือประชาคมเศรษฐกิจ จนในที่สุดเป็นสหภาพยุโรปนั้น มีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม จากความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิก ทำให้แก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ จนสำเร็จลุล่วงได้ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนสถานภาพจากประชาคมยุโรปมาเป็นประชาคมยุโรปตามข้อตกลงมาสทิกซ์ (Maastricht) ลงนามใน พ.ศ. 2534 0และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 สำหรับประเทศสมาชิกในปัจจุบันมี 15 ประเทศ เป็นสมาชิกก่อตั้งดั้งเดิม 6 ประเทศ และเป็นสมาชิกที่เพิ่มเติมอีก 9 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักรไอร์แลนด์ เดนมาร์ค เข้าร่วมในพ.ศ. 2516 กรีซเข้าร่วมใน พ.ศ. 2529 สเปนและโปรตุเกสเข้าร่วมใน พ.ศ. 2529 และออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดนเข้าร่วมใน พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายประเทศสมาชิกให้ครอบคลุมถึงก่อนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก 6 ประเทศในราว พ.ศ. 2548 อันได้แก่ โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค สโลวาเนีย เอสโทเนีย และไซปรัส รวมทั้งยุโรปเหนือและยุโรปกลางในช่วงต่อไป

               สหภาพยุโรปประกอบด้วย 3 สหภาพเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Union : EEU) สหภาพยุโรปการเงิน (European Monetary Union : EMU)
และสหภาพการเมืองยุโรป (European Political Union : EPU)ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 สมาชิกสหภาพยุโรป 11 ใน 15 ประเทศได้ตกลงใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือ ECU โดยมีธนาคารกลางแห่งยุโรปดูแลรับผิดชอบบริหารนโยบายการเงินและECU จะเป็นหน่วยนับในบัญชีทุนสำ รองระหว่างประเทศ และเป็นหน่วยอ้างอิงในตลาดเงินซึ่งประเทศสมาชิกจะใช้ควบคู่กับเงินตราสกุลเดิม และค่อย ๆ ถอนเงินตราสกุลเดิมออกจากระบบ

               3. เอเปค (Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC)
เอเปคเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก มีสมาชิกก่อตั้ง 12 เขตเศรษฐกิจ คือ มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย บรูไน แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ต่อมาใน พ.ศ. 2534 จีน ฮ่องกง และไต้หวัน เข้าร่วมเป็นสมาชิก ใน พ.ศ. 2536 เม็กซิโก และปาปัวนิวกินี เข้าร่วมเป็นสมาชิก ใน พ.ศ. 2537 ซิลี เข้าร่วมเป็นสมาชิก และใน พ.ศ. 2541 เวียตนาม รัสเซีย และเปรูเข้าร่วมเป็นสมาชิก

              หลักการและปรัชญาพื้นฐานของเอเปค ประกอบด้วย
  1) หลักฉันทามติ (Consensus) เป็นหลักที่สมาชิกจะใช้เจรจาเพื่อหาข้อยุติที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความเห็นพ้องร่วมกัน จะไม่ใช้หลักเสียงข้างมาก
  2) หลักความสมัครใจ (Voluntarism) ประเทศสมาชิกสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมแผนงานต่าง ๆ ของเอเปคด้วยความสมัครใจ ไม่เป็นการบังคับ
  3) ไม่มีข้อตกลงที่มีลักษณะบังคับ และไม่มีบทลงโทษ
  4) หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination) สมาชิกเอเปคจะไม่เลือกปฏิบัติต่อชาติที่ไม่ใช่สมาชิกเอเปค
  5) หลักความสอดคล้องกับองค์การการค้าโลก (WTO - Consistency) คือ การเปิดการค้าเสรีโดยไม่ขัดกับองค์การค้าโลก
  6) ความเชื่อมั่นในระบบการค้าเสรีและหลักกลไกตลาด
  7) หลักผลประโยชน์ร่วมกัน สมาชิกจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการเงิน ด้านวิชาการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นต้น

      4. เขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA)
               เขตการค้าเสรีอาเซียนจัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South – east Asian Nations : ASEAN) ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และบรูไน และกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ คือ เวียตนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้เริ่มดำ เนินงานมน พ.ศ. 2536 โดยมีความตกลง 2 ฉบับ มีสาระสังเขปดังนี้

         1) ความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนใช้เป็นกรอบการดำ เนินการเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ

           2) ความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีที่เท่ากันสำ หรับเขตการค้าเสรีอาเซียนโดยมีหลักการสำ คัญให้ประเทศสมาชิกลดอัตราภาษีศุลกากรลงตามลับ จนเหลือประมาณร้อยละ 0 – 5 ภายใน 10 ปี

ข้อใด เป็นการ ลงทุน ทางตรงระหว่างประเทศ

ที่มาภาพ  http://www.ekatim.com/tag/เศรษฐกิจ/

ข้อใด เป็นการ ลงทุน ทางตรงระหว่างประเทศ

 
ข้อใด เป็นการ ลงทุน ทางตรงระหว่างประเทศ

ข้อใดเป็นการลงทุนระหว่างประเทศทางตรง ได้

การลงทุนระหว่างประเทศทางตรง (Foreign Direct Investment) หมายถึง การลงทุนในการผลิตสิ้นค้าและบริการโดยตรง มีการนาหลักทรัพย์หรือเงินตราต่างประเทศเข้ามา ลงทุนในธุรกิจหรือกิจการในประเทศนั้น การลงทุนประเภทนี้จึงเป็นการลงทุนในภาคการผลิตหรือ ภาคเศรษฐกิจแท้จริง (Real Sector) ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานและสวัสดิภาพของประชาชนใน ...

การลงทุนระหว่างประเทศคืออะไร

การลงทุนในหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ (International Portfolio Investment) คือ การที่ธุรกิจหรือรัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่งมีการเคลื่อนย้ายเงินทุน เพื่อนำไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางการเงินในตลาดการเงินนอกประเทศของตน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น การลงทุนในลักษณะนี้ผู้ ...

เป้าหมายการลงทุนระหว่างประเทศทางตรงคือข้อใด *

​ความสำคัญของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ ช่วยให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนมีความสมดุลมากขึ้น อันจะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนและระบบการเงินของประเทศมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และประเทศสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น โอกาสทางการค้า หรือการมีส่วนช่วยในการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศ​​

การลงทุนในต่างประเทศ มีกี่ประเภท

การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงผลกำไรในอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การลงทุนโดยตรง และการลงทุนโดยอ้อม