เงินรับล่วงหน้าค่าสินค้า

การประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในบางกิจการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้ามักจะมีการเรียกเก็บเงินบางส่วนจากค่าสินค้าหรือบริการจากลูกค้า ซึ่งเงินบางส่วนที่เรียกเก็บนั้นมักจะมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ‘เพื่อเป็นหลักประกันในการซื้อสินค้าหรือบริการในภายหลัง’

เงินล่วงหน้า (Advanced Payment)

หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการได้จ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ มักจะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งอาจะมีการเรียกเก็บในอัตรา 5-15 % ของมูลค่าตามสัญญาหรือข้อตกลง อันเป็นเงื่อนไขว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการแก่กัน

เงินประกัน (Bail)

หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการให้ไว้เป็นการรับประกันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือสัญญา หากผิดเงื่อนไขหรือสัญญาจะมีการชดใช้ค่าเสียหายหรือสัญญา โดยวิธีการริบเงินประกันหรือเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาหรือข้อตกลง

เงินมัดจำ (Deposit)

หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่ให้ไว้ ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ อันจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหลักประกันว่าจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลง และอาจถือเป็นส่วนหนึ่งในการชำระค่าสินค้าหรือให้บริการ

เงินจอง (Reserve money)

หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้ก่อนที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงในภายหลัง อันเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่าจะมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่ง ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะมีการชำระเงินมัดจำค่าสินค้า หรือค่าบริการเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินจอง อย่างไรก็ดีหากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่มาทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะถูกริบ หรือยึดเงินจองดังกล่าวได้

 

วารสารเพื่อนักบัญชีรุ่นใหม่

ที่ติดตามความเคลื่อนไหวทางด้านบัญชีแบบไม่ตกเทรนด์ เหมาะสําหรับนักบัญชี และผู้ที่สนใจ เพื่ออัพเดทความรู้ความเคลื่อนไหว มาตรฐานทางด้านบัญชีที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนวปฏิบัติและการประยุกต์ใช้

เลขที่หนังสือ: กค 0706/4214
วันที่:18 พฤษภาคม 2549
เรื่อง:ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินเรียกเก็บล่วงหน้าจากการขายสินค้าข้อกฎหมาย:มาตรา 65 เกณฑ์สิทธิข้อหารือ:             บริษัท ก. แจ้งว่า ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิ์ในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ถือว่าวันที่รับรู้รายได้จากการขายสินค้าเกิดขึ้นเมื่อได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้านั้นให้แก่ผู้ซื้อ กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า ได้เรียกเก็บเงินล่วงหน้า (30%) กลางเดือนธันวาคม 2548 โดยการผลิตยังไม่เกิดขึ้นและยังไม่มีการส่งมอบสินค้า จะส่งมอบสินค้าเมื่อผลิตเสร็จปี 2549 จึงหารือว่า บริษัทฯ ต้องนำเงินรับล่วงหน้า (30%) ดังกล่าวเป็นรายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปีที่เรียกเก็บ (2548) หรือปีที่ส่งมอบสินค้า (2549) เนื่องจากการผลิตยังไม่เกิดขึ้นและความสำเร็จของเนื้องานยังไม่มี บริษัทฯ จะส่งมอบสินค้าเมื่อผลิตเสร็จ ดังนั้น บริษัทฯ ต้องนำเงินดังกล่าวรับรู้รายได้จากการขายสินค้าเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2549 ใช่หรือไม่ แนววินิจฉัย:             กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและขายสินค้า ต้องรับรู้รายได้โดยใช้เกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528ฯ ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 กล่าวคือ การรับรู้รายได้จากการขายสินค้าเกิดขึ้นเมื่อบริษัทฯ ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้านั้นให้แก่ผู้ซื้อ คือเมื่อบริษัทฯ ได้ส่งมอบสินค้าเมื่อผลิตเสร็จในปี 2549 ดังนั้น จึงต้องนำเงินล่วงหน้า (30%) มาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2549เลขตู้:69/34201

รายได้รับล่วงหน้า คือ (Deferred Incomes) เงินที่กิจการได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการจากลูกค้า แต่เมื่อถึงสิ้นงวดกิจการยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ซึ่งถือว่าจำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้สินหมุนเวียนของกิจการและเมื่อกิจการส่งมอบสินค้าหรือบริการเรียบร้อยแล้วจึงจะถูกบันทึกเป็นรายได้

 ณ วันสิ้นงวดซึ่งได้ให้บริการแล้วแต่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จทั้งหมด ดังนั้นหากยังคงบันทึกทั้งหมดเป็นรายได้จะทำให้การรับรู้รายได้ในงวดสูงเกินไป จึงต้องทำการปรับปรุงรายได้ให้แสดงรายได้ที่เกิดขึ้นจริงสำหรับในงวด แล้วนำส่งส่วนที่ยังไม่ได้ให้บริการไปไว้เป็นรายการรายได้รับล่วงหน้า

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม