ขั้นตอนการเลิกบริษัทมี 2 ขั้นตอนอะไรบ้าง

หลายๆท่านที่ต้องการปิดบริษัทหรือปิดห้างหุ้นส่วนอาจเกิดความสงสัยว่าทำไมตอนเปิดบริษัทนั้นง่ายใช้เวลาไม่นาน แต่ทำไมเวลาตอนปิดบริษัทนั้นถึงยากจัง ใช้ระยะเวลานานและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดบริษัท

สาเหตุหลักที่ทำให้การปิดบริษัทนั้นใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเนื่องจากขั้นตอนในการปิดบริษัทนั้นมีขั้นตอนที่ยุ่งนาก และใช้เวลาค่อนข้างมากครับ ในบทความนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังว่า ปิดบริษัทมีขั้นตอนอย่างไร?

ท่านใดต้องการจดทะเบียนเลิกบริษัท โดยผู้เชียวชาญ ดูรายละเอียดได้ที่ : จดทะเบียนเลิกบริษัท

ดูคำอธิบายบทความในรูปแบบ VDO ที่ :

ขั้นตอนการเลิกบริษัทมี 2 ขั้นตอนอะไรบ้าง

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ขั้นตอนการเลิกบริษัทมี 2 ขั้นตอนอะไรบ้าง

  • ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
  • Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
  • ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
  • ดูรีวิวจากลูกค้า
  • About me

สารบัญ

  1. ภาพรวมขั้นตอนการปิดบริษัท
  2. การจดทะเบียนเลิกบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  3. การจดทำงบการเงินและยื่นแบบภาษีต่างๆที่กรมสรรพากรก่อนปิดบริษัท
  4. การเลิกที่กรมสรรพากร (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  5. การจดเสร็จชำระบัญชีบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  6. สรุปขั้นตอนการปิดบริษัท

ภาพรวมขั้นตอนการปิดบริษัท

การปิดบริษัท ถ้าจะทำแบบครบถ้วนทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้นในอนาคต บริษัทควรที่จะต้องดำเนินการเลิกทั้งที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร ซึ่งผมขอแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลักๆดังนี้

  1. การจดทะเบียนเลิกบริษัท
  2. การจัดทำงบการเงินยื่นแบบภาษีต่างๆให้ครบถ้วน
  3. การเลิกที่สรรพากร (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  4. การจดเสร็จชำระบัญชี

ซึ่งขั้นตอนที่ 1 การจดทะเบียนเลิกบริษัท และขั้นตอนที่ 4 การจดเสร็จชำระบัญชี จะต้องดำเนินการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ส่วนขั้นตอนที่ 2 การจัดทำงบการเงินและยื่นแบบภาษีต่างๆให้ครบถ้วน และขั้นตอนที่ 4 การจดเสร็จชำระบัญชี จะต้องดำเนินการที่กรมสรรพากร เราจะมาดูรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนกันดังต่อไปนี้

อ่านรายละเอียดจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า : ขั้นตอนการปิดบริษัท

การจดทะเบียนเลิกบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ขั้นแรกสุดในการปิดบริษัท ทางคุณจะต้องจดทะเบียนเลิกที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนโดยแผนภาพขั้นตอนในการดำเนินการจะเป็นดังนี้

ขั้นตอนการเลิกบริษัทมี 2 ขั้นตอนอะไรบ้าง

  1. เมื่อผู้ถือหุ้นและกรรมการตกลงกันแล้วว่าจะเลิกบริษัท ขึ้นแรกสุดที่จะต้องทำคือจะต้องออกหนังสือนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีมติพิเศษในการเลิกบริษัท ซึ่งการออกหนังสือดังกล่าวจะต้องทำก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยจะต้องพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น
  2. เมื่อถึงวันประชุมให้จัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นจะต้องมีมติพิเศษให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุม และต้องมีการพิจาณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีด้วย
  3. หลังจากจัดประชุมเสร็จแล้วจะต้องประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง และส่งหนังสือบอกกล่าวเจ้าหนี้ภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท
  4. บริษัทต้องไปดำเนินการยื่นจดทะเบียนเลิกกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท

การจัดทำงบการเงินและยื่นแบบภาษีต่างๆที่กรมสรรพากรก่อนปิดบริษัท

หลังจากที่จดทะเบียนเลิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาที่ต้องทำนั่นคือการจัดทำงบการเงินและยื่นแบบภาษีต่างๆให้ครบถ้วน ซึ่งหน้าที่นี้ทางผู้ประกอบการจะต้องให้นักบัญชีเข้ามาช่วยจัดการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. งบการเงินที่จัดทำเป็นงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ จะต้องให้ผู้ทำบัญชีทำ และต้องมีผู้สอบบัญชีเซ็นรับรอง ทั้งกรณีบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด
  2. นำส่งแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยการยื่น ภงด.50 พร้อมงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ ภายใน 150 วันนับจากวันที่เลิก
  3. นำส่งแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยการยื่น ภงด.3 หรือ ภงด.53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากวันที่เลิก ให้ครบถ้วน เช่น การหัก ณ ที่จ่ายค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี เป็นต้น
  4. กรณีบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทจะต้องนำส่งแบบ ภพ.30 ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี” จากกรมสรรพากร
  5. นำส่งแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยการยื่น ภธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากวันที่เลิก ในกรณีที่มีบัญชีดอกเบี้ยค้างรับ หรือดอกเบี้ยรับ ในงบการเงิน

การเลิกที่กรมสรรพากร (กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

หากคุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางคุณจะต้องไปดำเนินการเลิก Vat ที่กรมสรรพากรด้วย โดยเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นมีดังนี้ (สรรพากรแต่ละพื้นที่จะขอเอกสารไม่เหมือนกัน ต้องโทรไปเช็คก่อน)

  1. แบบ ภพ.09 จำนวน 4 ฉบับ
  2. หนังสือรับรองบริษัท (เลิก)
  3. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน
  4. ภพ.01, ภพ.01.1, ภพ.09 และ ภพ.20 ตัวจริง ถ้าหายจะต้องใช้ใบแจ้งความหายแทน และในใบแจ้งความต้องระบุชื่อบริษัทด้วย
  5. หนังสือชี้แจงเหตุผลในการเลิก
  6. หนังสือมอบอานาจ (กรณีมอบอำนาจ)
  7. บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
  8. ภงด.50 ณ วันเลิกกิจการ
  9. งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ
  10. แผนที่แสดงที่ตั้งสานักงานของบริษัท
  11. ภพ.30 และใบเสร็จย้อนหลัง
  12. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ชำระบัญชีทุกคน
  13. ภงด.50 ภงด.51 และ งบการเงินย้อนหลัง

การจดเสร็จชำระบัญชีบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

หลังจากที่คุณได้ดำเนินการทุกขั้นตอนมาแล้ว และในกรณีที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี” คุณก็จะต้องดำเนินการขั้นตอนสุดท้ายนั่นคือการจดเสร็จชำระบัญชี สามารถดูรายละเอียดได้ตามแผนภาพดังนี้

ปิดบริษัทมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการปิดบริษัท การดำเนินการจดทะเบียนปิดบริษัทจะมี 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ 1. จดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 2. ชำระบัญชี จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเซ็นงบรับรองด้วย จัดทำหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และส่งเอกสารให้กับทุกท่าน หรือ ส่งให้กับผู้ถือหุ้นโดยตรง

ขั้นตอนในการชำระบัญชีเลิกบริษัท มีกี่ขั้นตอน

1.เมื่อเลิกบริษัทแล้ว 2.ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย 3.ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี) ขั้นตอนตาม 2-3 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท

การเลิกบริษัท มีกี่กรณี อะไรบ้าง

สาเหตุการเลิกกิจการของบริษัท มีหลายกรณี คือ.
โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น ก็คือผู้ถือหุ้นของบริษัท ได้ประชุมกันและลงมติว่า ต้องการเลิกบริษัท และถ้ามีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ สามารถตกลงกันเรื่องการชำระหนี้ได้และยินยอมเลิกกิจการได้.
เลิกโดยผลของกฎหมาย ได้แก่ • ... .
เลิกโดยคำสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทคือ •.

ปิดบริษัทกี่วัน

หลังจากจัดประชุมเสร็จแล้วจะต้องประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง และส่งหนังสือบอกกล่าวเจ้าหนี้ภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท บริษัทต้องไปดำเนินการยื่นจดทะเบียนเลิกกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท