หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Bookย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายหนังสือจริง สามารถเปิดอ่านได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีลักษณะพิเศษคือสามารถสื่อสารกับผู้อ่านในลักษณะของมัลติมีเดียได้ ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง แต่ยังคงรักษารูปแบบความเป็นหนังสือไว้ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หรือลักษณะการเปิดอ่าน

        E-Book สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่สนับสนุนการเรียนให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็วและดีขึ้น กล่าวคือ    เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือ สามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ มีลักษณะไม่ตายตัว สามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ความสามารถของไฮเปอร์เท็กซ์  และถ้าหากว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตจะทำให้การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขว้างสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา จาก งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการพัฒนาการเรียนการสอนที่ใช้ E-Book พบว่าการให้การแก้ปัญหาและพัฒนาเรื่องนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการได้ทุกเรื่อง

        สรุปแล้วหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ สื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของหนังสือที่มีลักษณะของหนังสืออยู่แต่ว่าสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  มีคุณสมบัติที่กระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน ซึ่งประกอบด้วย ภาพ เสียง มัลติมีเดีย และหนังสือสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้นั่นเอง

พัฒนาการของ E–Book

E-Book มีมาภายหลังปี ค.ศ. 1940 ซึ่งปรากฏในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง หนึ่ง เป็นหลักการใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์คือ Book Masterเนื้อหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในปี1980 และก่อน 1990 ในช่วงแรกมี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิงและการศึกษาบันเทิง ต่อมาเทคโนโลยีแล็บท็อปคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้ E-Book มีการรุดหน้าเร็วขึ้นจนสามารถ บรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบเพราะได้นําบางส่วนของแล็บท็อปมาประยุกต์ใช้จนทำให้E-Bookมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีได้ การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (Files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร(documents printing) รูปแบบของหนังอิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ หลังจากนั้นได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้

ลักษณะของ E- Book มี 4 รูปแบบ

1.   รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบด้วยกันดังนี้

                    1.1 รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามลักษณะการเข้าถึงข้อมูลและการอ่าน รูปแบบนี้ จะเป็นการแบ่งประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ชัดเจนมากที่สุดกว่าทุกๆ

            1.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อ้างอิง (Automated Reference Books) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อ้างอิงใช้การเข้าถึงข้อมูลในลักษณะการสุ่ม (Random) ผู้อ่านจะค้นหาคำที่ต้องการทราบและอ่านจนจบเนื้อหานั้น จากนั้นจึงค้นหาที่ต้องการทราบต่อไป

                        1.3 หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Automated Textbook Books) หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลส่วนใหญ่แบบแต่ละรุ่นไปตามลำดับ (Sequence) จากนั้นก็จะมีการอ่านเนื้อหาเหล่านั้นไปเรื่อยๆ จนจบบท และอาจอ่านบทต่อไปตามลำดับหรือเลือกหัวข้อใหม่ตามความสนใจของผู้อ่าน

2.   รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามช่องทางการสื่อสาร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

               2.1 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ช่องทางการสื่อสารทางเดียว เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถรับสารได้เพียงช่องทางเดียว

              2.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ช่องทางการสื่อสารหลายทาง เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถรับข่าวสารได้หลายช่องทาง เช่น ใช้ตาดู ใช้หูฟัง ใช้มือสัมผัสหน้าจอ

3. รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามหน้าที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ

                3.1 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับเก็บเอกสารสำคัญ (Archival) จะมีที่เก็บข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ในรูปแบบของฐานข้อมูล

        3.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ข่าวสารความรู้ (Information) จะมีลักษณะคาบเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบแรก แต่ข่าวสารจะกินความแคบกว่าแบบแรก และมีลักษณะเฉพาะมากกว่า มีความสัมพันธ์กับหัวข้อเรื่องใดหัวข้อเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น หนังสือเรียนแพทยศาสตร์ออกซฟอร์ดบนซีดีรอม หนังสือรายชื่อเพลงนิมบัส (Nimbus Music Catalogue) เป็นต้น

                3.3  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสอน (Instructional) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์มากในการถ่ายทอดความรู้ความชำนาญเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ตัวอย่างได้แก่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการออกแบบหน้าจอสำหรับคอมพิวเตอร์พื้นฐานการอบรม (Computer – Based Training) 

                3.4 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบตั้งคำถาม (Interrogational) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการทดสอบ สอบย่อย และประเมินผลกิจกรรม โดยวัดจากความรู้ที่ได้จากการศึกษาหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

 4.  รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามชนิดของข้อมูลข่าวสารและเครื่องอำนวยความสะดวก สามารถแบ่งออกได้เป็น 10 ประเภท

4.1 หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Text Books) ในระยะแรกจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงมีโครงสร้างเป็นตัวอักษร (Text) ต่อมาจะมีลักษณะทีเป็นมัลติมีเดียมากขึ้นโดยใช้คุณสมบัติของไฮเปอร์เท็กซ์ในการนำเสนอ

4.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books) มีโครงสร้างจากภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ (Animation Clips) หรือภาพวิดีโอ (Motion Video Segment) หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

4.3 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลายภาษา (Talking Books) จะมีลักษณะเป็นเนื้อหาประกอบคำบรรยาย เพื่อให้ง่ายต่อการรับรู้ของผู้อ่าน

4.4 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง (Static Picture Books) จะประกอบไปด้วยภาพนิ่งหลายๆ ชนิดรวมกัน ภาพแต่ละภาพจะมีคุณภาพที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของงาน

4.5 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม (Multimedia Books) เป็นการรวมช่องทางการสื่อสารสองทางหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกันเพื่อเข้ารหัสข่าวสาร เป็นการรวมตัวอักษร, ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวมารรวมไว้ด้วยกันตามโครงสร้างแบบเน้นตรง เมื่อผลิตเสร็จสื่อจะออกมาในรูปของสื่อเดียว ได้แก่ จานแม่เหล็กหรือ ซีดีรอม

4.6 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รวมสื่อ (Poly Media Books) มีลักษณะตรงกันข้ามกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม โดยใช้การรวมสื่อที่แตกต่างกัน ได้แก่ ซีดีรอม จานแม่เหล็ก กระดาษ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอื่นๆ เพื่อส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้ใช้

4.7 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia Books) จะมีลักษณะคล้ายกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม คือ ใช้การสื่อสารหลายช่องทาง แต่จะมีโครงสร้างเป็นแบบนอนลีเนียร์ โดยมีโครงสร้างแบบใยแมงมุม

4.8 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผู้เชี่ยวชาญ (Intelligent Electronic Books) มีการบรรจุเทคนิคปัญญาเทียม เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) และระบบเครือข่ายประสาท (Neural Networks) ซึ่งสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และประยุกต์ให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน

4.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทางไกล (Telemedia Electronic Books) ต้องอาศัยการสื่อสารทางไกลช่วยในการนำเสนอเนื้อหา เช่น การเรียนการสอนในระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ การส่งข้อความทางอีเมล์ ตลอดจนเป็นทรัพยากรในการสอนทางไกล เช่นในห้องสมุดดิจิตอล

4.10 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไซเบอร์บุ๊ค (Cyber book Books) ใช้เทคนิคของความจริงเสมือน(Virtual Reality) ในการสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในประสบการณ์จริง

ประโยชน์ของ E-Book

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

1. ช่วยให้สามารถย้อนกลับมาอ่านได้และสามารถเลือกอ่านได้ตามเวลา-สถานที่ที่ตนเองสะดวก

2.   การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพ และเสียง ทำให้เกิดความ ตื่นเต้นและไม่เบื่อหน่าย

3. สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี

4.   สามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษา

โปรแกรมที่ใช้สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

        โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่

        1. โปรแกรมชุด FilpAlbum

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง


        2. โปรแกรม DeskTop Author

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง


        3. โปรแกรม Flip Flash Album

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

        ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน (Reader) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ ประกอบด้วย

        1.1 โปรแกรมชุด FlipAlbumจะมีแฟ้มนามสกุล .opfต้องใช้โปรแกรม Flip Viewer

        1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author จะมีแฟ้มนามสกุล .dmlต้องใช้โปรแกรม DNL Reader

        1.3 โปรแกรมชุด Flip Flash Album จะมีแฟ้มนามสกุล .swfต้องใช้โปรแกรม Flash Player

โปรแกรม Flip Album 6.0 Pro

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

คุณสมบัติของโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro

        การพัฒนา Multimedia e-Book  มีซอฟต์แวร์ช่วยหลายตัว โดยซอฟต์แวร์ที่โดดเด่นตัวหนึ่งคือFlipAlbumซึ่งปัจจุบันได้พัฒนามาเป็น FlipAlbum 6.0 โดยความสามารถของโปรแกรมที่ทำให้การนำเสนอสื่อออกมาในรูปแบบ 3D Page-Flipping interface และมีชื่อเรียกเฉพาะว่า FlipBookผลงานที่ได้นี้สามารถนำเสนอได้ทั้งแบบ Offline ด้วยความสามารถ AutoRunอัตโนมัติ และ Online ผ่านโปรแกรมแสดงผลเฉพาะ FlipViewer

คุณสมบัติขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ 

•  ระบบปฏิบัติการ Windows® 98/2000/ME/XP
•  คอมพิวเตอร์ IBM® PC compatible หนวยประมวลผล Pentium® II
   300 MHz
      - หน่วยความจำแรมอย่างต่ำ 128 MB
      - พื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์อย่างต่ำ 100 MB
      - การ์ดแสดงผล 16-bit
      - จอภาพที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 800 × 600 pixels  

เตรียมความพร้อมก่อนสร้าง E-Book

ข้อมูลที่สามารถใส่ลงในโปรเเกรม Flip album ได้นั้นมีรูปเเบบที่หลากหลายทั้งข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว, ไฟล์วิดิโอเเละไฟล์เสียง ดังนั้นควรจัดเตรียมข้อมูล ตกเเต่งรูปภาพเเละอื่นๆ ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเเละจัดเก็บรวมกันไว้ใน Folder ที่กำหนดขึ้นเช่น  C:\my pic เป็นต้น ทั้งนี้ไฟล์ที่สามารถใช้ได้ ได้เเก่ (GIF, JPG, PNG, BMP, WMF, ICO, PCX, TIF, PCD, PSD); OEB Package Format (OPF); Sound Files (MID, WAV, MP3); Video Files (AVI, MPG)

วิธีการเข้าสู่โปรแกรม Flip Album 6.0 Pro มีขั้นตอนดังนี้

1.             คลิกเมนู Start > All Program > E Book System > Flip Album 6 Pro ดังภาพต่อไปนี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง
 

2. เลื่อกเมนู FlipAlbum Sample จะได้จอภาพดังนี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

 3. คลิก Cancleเพื่อเข้าสู่หน้าต่างการทำงานเพื่อสร้าง E - Book ดังนี้

 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

ส่วนประกอบของโปรแกรม

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

Tools และแถบเครื่องมือ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หมายเลข 1 แถบชื่อแฟ้ม ( ไตเติลบาร์ )  หมายถึงแถบแสดงชื่อโปรแกรมที่เปิดใช้งานอยู่

หมายเลข 2 แถบเมนู ( เมนูบาร์ )  หมายถึงแถบคำสั่งต่างๆ เมื่อคลิกแล้วจะมีคำสั่งย่อยให้เลือก

หมายเลข 3 แถบเครื่องมือ ( ทูลบาร์ )  หมายถึงแถบที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ต้องการใช้งาน

หมายเลข 4 แถบสถานะ  หมายถึงแถบแสดงรายละเอียดและสถานะการทำงานของโปรแกรม

หมายเลข 5 รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  หมายถึง อัลบั้มภาพหรือรูปแบบของหนังสือที่เลือกใช้งาน

                                                    การจัดรูปแบบหนังสือ

การเพิ่มหน้าเอกสาร

1. คลิกเมนู Edit

2. เลือกคำสั่ง Insert page

* เลือก Left Page ถ้าต้องการเพิ่มหน้ากระดาษทางด้านซ้ายมือ

* เลือก Right Page ถ้าต้องการเพิ่มหน้ากระดาษทางด้านขวามือ

* เลือก Multiple Page ถ้าต้องการเพิ่มที่ละหลาย ๆ หน้าพร้อมกัน

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การลบหน้าเอกสาร

1. คลิกเมนู Edit

2. เลือกคำสั่ง Delete page

* เลือก Left Page ถ้าต้องการลบหน้ากระดาษทางด้านซ้ายมือ

* เลือก Right Page ถ้าต้องการลบหน้ากระดาษทางด้านขวามือ

 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การพิมพ์ข้อความ

1. คลิกเมนู Edit

2. เลือกคำสั่ง Insert Annotation

3 เลือก หน้าที่ต้องการพิมพ์ว่าจะพิมพ์หน้าด้านขวาหรือด้านซ้าย

พิมพ์ข้อความและตกแต่งตามความเหมาะสม

การแทรกไฟล์ภาพและไฟล์มีลติมีเดีย

การแทรกไฟล์ Multimedia

1.เปิดไปที่หน้าที่ต้องการแทรกรูปภาพ/ภาพวิดีโอ หลังจากนั้นให้เลือกเมนูคำสั่ง Edit --> Insert Multi – Media Object

2. เปิดไปที่หน้าที่ต้องการแทรกรูปภาพ/ภาพวิดีโอ คลิกเลือกสัญลักษณ์ + ที่ล้อมรอบด้วยวงกลมสีเหลืองบนแถบเครื่องมือ

3.คลิกขวาบนหน้าที่ต้องการแทรกแล้วเลือกคำสั่ง Insert Multi – Media Object… หลังจากที่เลือกการแทรกรูปภาพ/ภาพวิดีโอ โดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง จะปรากฎหน้าต่างดังรูป

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หน้าต่างทางด้านซ้ายมีไว้ให้เลือกตำแหน่งที่เก็บรูปภาพ ส่วนหน้าต่างด้านขวาจะแสดงรายละเอียดของรูปภาพ หากต้องการให้แสดงตัวอย่างรูปภาพให้คลิกที่ปุ่ม Views as Thumbnail ชื่อไฟล์รูปภาพที่ปรากฏอยู่จะแสดงเป็นตัวอย่างรูปภาพออกมาเมื่อคลิกเลือกรูปภาพหรือภาพวิดีโอที่ต้องการได้แล้วให้ลากไปวางบนหน้าหนังสือที่ต้องการและสามารถปรับขนาดได้เช่นเดียวกันกับข้อความ

การแทรกไฟล์เสียงลงในหน้าเอกสาร
        สามารถทำแบบเดียวกับการแทรกรูปภาพ/ภาพวิดีโอ คือ

o    เปิดไปที่หน้าที่ต้องการแทรกเสียง

o    คลิกเลือกสัญลักษณ์ + ที่ล้อมรอบด้วยวงกลมสีเหลือง บนแถบเครื่องมือ

o    คลิกเลือกไฟล์เสียงที่ต้องการ แล้วลากไปไว้บนหน้ากระดาษที่ต้องการจะปรากฏเป็นสัญลักษณ์รูปตัวโน๊ต ดังรูป

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

        การทดสอบการเล่นไฟล์เสียงและวิดีโอที่แทรกเข้าในหนังสือนั้นสามารถทำได้โดยการคลิกที่ลูกศรสีม่วงบนแถบเครื่องมือให้เปลี่ยนเป็นลูกศรสีฟ้า แล้วนำเมาส์ไปคลิกที่รูปตัวโน๊ตหรือไฟล์วิดีโอที่อยู่บนหน้ากระดาษทั้งนี้อย่าลืมตรวจสอบระบบเสียงของเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยว่าสามารถฟังเสียงได้หรือไม่

การปรับแต่งรูปภาพ 

การแก้ไขรูปภาพ ให้คลิกขวาที่รูปภาพที่ต้องการแก้ไขเลือกคำสั่ง Edit จะปรากฏโปรแกรมFlip Album Editorสามารถเลือกใช้แถบเครื่องมือด้านล่างเพื่อปรับแต่งรูปภาพได้&  หากต้องการออกจากโปรแกรม นี้ให้คลิกปุ่ม ý  มุมขวาบนของโปรแกรม Flip Album Image Editor

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การใส่ Effect ให้กับภาพ


        ให้คลิกขวาที่รูปภาพที่ปรากฏในหน้ากระดาษเลือกคำสั่ง
Effects สามารถเลือกคำสั่งต่าง ๆ ได้ดังนี้

·       Transparent  เป็นการกำหนดพื้นโปร่งใสให้กับรูปภาพ

·       3D เป็นการกำหนดให้ภาพมีลักษณะเป็นสามมิติ

·       Shadow  เป็นการกำหนดเงาให้กับรูปภาพ

·       Select Crop Shape/Remove Crop Shape เป็นการเลือก/ยกเลิก

การกำหนดรูปร่างให้กับรูปภาพ

·       Add/Edit Frame/Remove Frame เป็นการใส่กรอบ/ยกเลิก

การใส่กรอบให้กับรูปภาพ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การหมุนภาพ 
        ให้คลิกขวาที่รูปภาพที่ปรากฏในหน้ากระดาษ เลือกคำสั่ง Rotate สามารถเลือกคำสั่งย่อย ๆ ได้ดังนี้

·       Left by 90? หมุนไปทางซ้าย 90 องศา

·       Right by 90? หมุนไปทางขวา 90 องศา

·       By 180? หมุนภาพไป 180 องศา

·       By Other Angles หมุนภาพโดยกำหนดองศาตามที่ต้องการ

 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การปรับแต่งหนังสือ

การปรับแต่งหน้าเอกสาร 

        วิธีที่ 1  เปิดหน้าเอกสารที่ต้องการปรับแต่ง เลือกเมนูคำสั่ง Edit -->  Page Properties

        วิธีที่ 2  คลิกขวาบนหน้าเอกสารที่ต้องการปรับแต่ง เลือกคำสั่ง  Page properties

จะปรากฏหน้าต่าง Set Page Properties ดังรูป

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

                    การกำหนดพื้นที่ในการปรับแต่งหน้าเอกสาร สามารถกำหนดได้ 4 ลักษณะ ดังนี้

Centerfold  หมายถึง  การทำงานเฉพาะหน้าหนังสือที่เป็นสองหน้าติดกันเท่านั้น

  • Always on the left หมายถึง การทำงานเฉพาะหน้าซ้ายของหนังสือเท่านั้น
  • Always on the right หมายถึง การทำงานเฉพาะหน้าขวาของหนังสือเท่านั้น
  • No Fixed side หมายถึง การทำงานทั้งสองหน้าของหนังสือ ซึ่งเป็นค่าปกติของเอกสาร

การเลือกสีพื้นหลัง 


        หลังจากที่เลือก Color และคลิกที่ปุ่ม Choose Color จะปรากฏหน้าต่าง Color ให้เลือกสี หากสีที่มีให้เลือกไม่เป็นที่พอใจ ให้คลิกที่ปุ่ม Define Custom Color เพื่อเลือกสีใหม่ โดยใช้เมาส์คลิกเลือกตำแหน่งสี และปรับระดับความเข้มอ่อนของสีจากช่องทางด้านขวาสุดจนได้สีตามความพอใจ แล้วจึงคลิกที่ปุ่ม OK

การเลือกภาพพื้นหลัง 

หลังจากที่เลือก Texture และคลิกที่ปุ่ม Browse จะปรากฏหน้าต่าง Open ให้เลือกรูปภาพจากตำแหน่งที่ได้จัดเตรียมไว้ โดยการ Double Click ที่ชื่อไฟล์รูปภาพนั้น ๆ หากต้องการยกเลิกให้คลิกที่ปุ่ม Cancel

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การเลือกเสียงเพลงของหน้าเอกสาร 
        หลังจากที่เลือก File และคลิกที่ปุ่ม Browse จะปรากฏหน้าต่าง Open ให้เลือกเพลงจากตำแหน่งที่ได้จัดเตรียมไว้โดยการดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อไฟล์เพลงนั้น ๆ หากต้องการยกเลิกให้คลิกปุ่มCancel

การปรับแต่งปกหน้า/ปกหลังของหนังสือ 


        เลือกมนู Option --> Set Book Option -->เลือกรายการ Book Cover
Book Cover เป็นการกำหนดรูปแบบของปกหน้า (Front Cover)  และปกหลัง (Back Cover)  ของหนังสือ โดยสามารถเลือกว่า จะใช้สีเป็นพื้นหลัง (Color) หรือใช้รูปภาพ (Texture) เป็นพื้นหลัง

การปรับแต่งหน้ากระดาษของหนังสือ

เลือกเมนู  Options  --> Set Book Option -->  เลือกรายการ Page Background

Page Background เป็นการกำหนดรูปแบบให้กับพื้นหลังของหน้ากระดาษที่อยู่ภายในหน้าหนังสือทั้งหมด ซึ่งจะแตกต่างจากคำสั่ง Page Properties ที่จะมีผลเฉพาะหน้าที่เลือกเท่านั้น โดยสามารถเลือกว่า จะปรับแต่งที่หน้ากระดาษที่อยู่ด้านซ้ายทั้งหมด (Left Page), หน้ากระดาษที่อยู่ด้านขวาทั้งหมด (Right Page) หรือเฉพาะหน้ากระดาษที่มีสองหน้าติดกัน (Centerfold Page)  จากนั้นสามารถเลือกว่า จะใช้สีเป็นพื้นหลัง (Color) หรือใช้รูปภาพ (Texture) เป็นพื้นหลัง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง
การตั้งค่าหน้ากระดาษ

        เลือกเมนู  Options -->  Set Book Option -->  เลือกรายการ Page Margins
        เป็นการกำหนดขอบบน, ขอบล่าง, ขอบซ้าย และขอบขวาของหน้ากระดาษ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การแสดงรายละเอียดในหน้ากระดาษ
        เลือกเมนู  Option  -->  Set Book Option  -->  เลือกรายการ Display

เป็นการกำหนดรูปแบบการแสดงของเลขหน้าและชื่อไฟล์ในแต่ละหน้า โดยเลือกรูปแบบว่า จะแสดงชื่อไฟล์ (File name)  หรือเลขหน้า (Page number)  หรือแสดงทั้งสอง โดยคลิก þ  ในช่องDisplay page number จากนั้นรูปแบบการแสดงชื่อไฟล์ และเลขหน้า หากต้องการให้เป็นพื้นโปร่ง ให้คลิก þ  ในช่อง Transparent สามารถเลือกรูปแบบข้อความและตัวเลขจากปุ่ม Font, สามารถกำหนดตำแหน่งในการแสดงชื่อไฟล์และเลขหน้าในช่อง Position และกำหนดรูปแบบการจัดข้อความและเลขหน้าในช่อง Alignment

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การเลือกรูปแบบอัตโนมัติ

ในโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro มีรูปแบบของปกหน้า, ปกหลัง และหน้ากระดาษที่ใช้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้เลือก โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสร้างด้วยตัวเองทั้งหมด โดยสามารถตั้งค่าได้ดังนี้

1. เลือกเมนู File แล้วเลือกคำสั่ง New Book

2. เลือกเมนู Option เลือกคำสั่ง Set Themes จะปรากฏหน้าต่าง Theme

3. เลือกรายการตามต้องการ โดยสามารถดูภาพตัวอย่างได้จากช่อง Preview

4. คลิกที่ปุ่ม OK

หากต้องการเพิ่มรายการในส่วนของ Themes ให้ออกจากโปรแกรม Flip Album 6.0 แล้วทำการคัดลอกไฟล์ Themes โดยการคลิกขวาโฟลเดอร์ที่ต้องการ เลือกคำสั่ง copy (คัดลอก) แล้วเลือก Drive C: เข้าไปในโฟลเดอร์ Program Files  --> E – Book Systems --> Flip Album 6 Pro --> Template  -->  Theme  วางโฟลเดอร์ทั้งหมดที่คัดลอกมาโดยการคลิกขวาที่พื้นที่ว่างแล้วเลือกคำสั่งวาง Paste (วาง)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การแทรกเสียงทั้งเล่ม 

        เลือกเมนู  Options -->  Set Book Option  -->  เลือกรายการ  Audio

เป็นการกำหนดเสียงเพลงให้กับหนังสือทั้งเล่ม (ต่างจากคำสั่ง Page Properties ซึ่งมีผลเฉพาะหน้าที่เลือกเท่านั้น)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

·Enable  Flipping Sound  เป็นตัวเลือกในการเปิด/ปิด เสียงของหน้าเอกสารขณะเปิด

·Enable Audio  เป็นตัวเลือกในการเปิด/ปิด เสียงเพลง Background ของหนังสือทั้งเล่ม

·ปุ่ม Add ใช้เพิ่มรายการเพลงที่จะใช้เป็น Background ของหนังสือ

·ปุ่ม Remove ใช้ลบเพลงออก

การจัดการกับสารบัญ 
        ทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนหน้ากระดาษ โปรแกรมจะทำการกำหนดสารบัญ มาให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ดังนี้

การเปลี่ยนข้อความในหน้าสารบัญ 

1. เปิดไปยังหน้าสารบัญ (Contents)

2. คลิกขวา ตรงบรรทัด ที่ต้องการเปลี่ยนข้อความ 

3. เลือกคำสั่ง Rename

4. พิมพ์ข้อความที่ต้องการ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การซ่อนข้อความที่ไม่ต้องการให้แสดงในหน้าสารบัญ 

1.เปิดไปยังหน้าสารบัญ  (Contents)

2.คลิกขวาตรงบรรทัดที่ต้องการซ่อนข้อความ

3.เลือกคำสั่ง Hide บรรทัดที่ถูกเลือกจะถูกซ่อนไว้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

 การยกเลิกการซ่อนหน้าสารบัญ 

1.เปิดไปยังหน้าสารบัญ  (Contents)

2.คลิกขวาหน้าสารบัญ

3.เลือกคำสั่ง Unhide โดยมี 2 ทางเลือก คือ

·คลิกที่ All ถ้าต้องการยกเลิกซ่อนทั้งหมด

·คลิกเลือกเฉพาะบางข้อความที่ต้องการยกเลิกการซ่อน

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

การเปลี่ยนจากคำว่า Contents เป็นสารบัญ 

1.เปิดไปยังหน้าสารบัญ (Contents)

2.คลิกขวาหน้าสารบัญ

3.เลือกคำสั่ง Customize Contents

4.จะปรากฏหน้าต่าง Style

5.เลือกคำว่า Title แล้วคลิกที่ปุ่ม Modify  จะปรากฏหน้าต่าง Modify Style      ลบคำว่าContents เปลี่ยนเป็นสารบัญ  

6.สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ, ขนาด,ลักษณะและสีตัวอักษร ได้ตามต้องการ คลิกปุ่ม OK

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หากมีปัญหาเรื่องฟอนต์ภาษาไทยในสารบัญ

ให้คลิกเลือกที่คำว่า TOC1 หน้าต่าง Styleและทำการเปลี่ยนรูปแบบตัวหนังสือที่ตามท้ายว่า UPCส่วนหน้าดัชนี ก็สามารถคลิกขวาแล้วเลือกคำสั่ง Customize Index เพื่อแก้ไขฟอนต์ได้เช่นเดียวกัน

การสร้างแผ่นซีดีเพื่อเผยแพร่ผลงาน

การบันทึกหนังสือที่สร้าง/แก้ไขเรียบร้อยแล้ว

1.คลิกที่เมนู  File เลือกคำสั่ง Save As

2.เลือกตำแหน่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในช่อง Save As

3.พิมพ์ชื่อไฟล์ลงไปในช่อง File Name 

4.คลิกที่ปุ่ม Save เพื่อบันทึก 

·คำสั่ง Save As ใช้ในกรณีที่บันทึกไฟล์ใหม่

คำสั่ง Save ใช้ในกรณีที่บันทึกทับไฟล์เดิม

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หลังจากที่บันทึกไฟล์จากโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro

จะปรากฏไฟล์ข้อมูล 1 ไฟล์ (นามสกุล opf) และโฟลเดอร์ที่จัดเก็บวัตถุต่าง ๆ ที่ใช้ในหนังสืออีก 1 โฟลเดอร์ (ชื่อไฟล์ _opf_files) ซึ่งหากผู้สร้างต้องการย้าย/คัดลอกไฟล์ไปทำงานในที่อื่น ๆ ต้องนำ ไฟล์ข้อมูลและโฟลเดอร์ไปด้วยกัน

การเปิดหนังสือที่เคยบันทึกไว้มาแก้ไข 

1.คลิกที่เมนู File  -->  Open Book

2.คลิกเลือกปุ่ม Browse เพื่อค้นหาตำแหน่งที่เก็บหนังสือ

3.เลือกตำแหน่งที่บันทึกหนังสือในช่อง Look in:

4.Double Click เลือกไฟล์หนังสือที่ต้องการเปิด

การสร้างแผ่นซีดีเพื่อนำเสนอข้อมูล (CD Maker)

1.ตรวจสอบความถูกต้องและบันทึกไฟล์ข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน (เลือกเมนู File --> Save)

2.เลือกเมนู CD Maker แล้วเลือกคำสั่ง Create Album CD จะปรากฏ หน้าต่าง Create Album CD ดังรูป

3.คลิกเลือก Create a New Album CD และเลือกการสร้างแบบ Single Album on CDเป็นการสร้างชุดนำเสนอ 1 แผ่นซีดี ต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เรื่อง คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏหน้าต่างดังรูป

4.เลือกแหล่งเก็บข้อมูล 

5.ตั้งชื่อโฟลเดอร์ หรือชื่อห้องสำหรับเก็บชุดนำเสนอในช่อง Album CD Folder Name (ซึ่งโดยปกติ โปรแกรม จะตั้งชื่อว่า Album CD ทั้งนี้จะทำการแก้ไข หรือไม่ก็ได้แต่ข้อสำคัญจะต้องจำชื่อโฟลเดอร์และแหล่งเก็บข้อมูลให้ได้ว่าอยู่ ณ ตำแหน่งใด)

6.คลิกที่ปุ่ม Create จากนั้นโปรแกรมจะทำการคัดลอกไฟล์ข้อมูล และจัดเตรียมระบบ จะปรากฏหน้าต่าง Album CD Options Menu

7.คลิกเลือกเมนู Set Album Options จะปรากฏหน้าต่าง Set Album CD Options

8.ในรายการ Setting ให้คลิก  þ ในช่อง Start with no window frame เพื่อกำหนดว่าให้ แสดงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ปรากฏกรอบหน้าต่างใด ๆ และ User will be allowed to switch to window frame mode เพื่อกำหนดว่า ผู้ใช้สามารถ คลิกปุ่มที่ย่อ/ขยาย ปิดหน้าต่างได้เท่านั้น เมื่อกำหนด เรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม OK --> Next

9.จะปรากฏหน้าต่าง Burn CD Informationในส่วนนี้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งซีดีรอมแบบเขียนข้อมูลได้ให้ใส่แผ่นซีดีเปล่าแล้วคลิกเลือกที่ปุ่มBurn To CD เพื่อเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี ได้โดยทันที แต่ถ้าหากต้องการเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี ในภายหลัง ให้คลิกที่ปุ่ม OK

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

ข้อมูลที่ทำการจัดเก็บเป็นชุดนำเสนอ (Album CD) จะประกอบด้วยไฟล์ข้อมูลทั้งหมด 4 ไฟล์โดยผู้สร้างสามารถ Double Click ที่ไอคอน Start CD เพื่อตรวจสอบการนำเสนอก่อนการนำไปบันทึกลงแผ่นซีดีต่อไป หากเกิดข้อผิดพลาดให้ลบโฟลเดอร์ Album CD นี้ทิ้งก่อนแล้วทำการแก้ไขข้อมูลจากไฟล์ต้นฉบับที่มีนามสกุล opfแล้วจัดทำเป็นชุดนำเสนอใหม่อีกครั้ง

ในการเขียนหรือบันทึกชุดนำเสนอโดยใช้โปรแกรมอื่น ๆ ให้นำทั้ง 4 ไฟล์ที่ปรากฏนี้ไปทำการบันทึกลงแผ่นซีดี โดยไม่ต้องมีการสร้างโฟลเดอร์ใด ๆ จะทำให้ชุดนำเสนอนี้จะแสดงผลโดยทันที เมื่อใส่แผ่นลงในเครื่องอ่านซีดีรอม

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

ผู้ผลิตสามารถเลือกสร้าง E-Books ได้4 รูปแบบ คือ Hyper Text Markup Language (HTML) Portable Document Format (PDF) Peanut Markup Language (PML) Extensive Markup Language (XML) ซึ่งรายละเอียดของไฟล์แต่ละประเภทจะมีดังนี้

ข้อใดคือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E

e-Book ย่อมาจากค าว่า Electronic Book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะ เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็น แฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้า จอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถ เชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ...

E

E-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์

ประโยชน์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

1. อ่านที่ไหน เมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เนื่องจากพกไปได้ตลอดและได้จำนวนมาก 2. ประหยัดการตัดไม้ทำลายป่า เพราะไม่ต้องตัดไม้มาทำกระดาษ 3. เก็บรักษาได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ประหยัดค่าเก็บรักษา 4. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ