นิยามศัพท์เฉพาะ เขียนยังไง

#การเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ (Definition) และ#การเขียนคำสำคัญ...

Posted by Dr. Ken คลินิกการผลิตผลงานทางวิชาการ on Monday, June 10, 2019

2.   นำเอาผลการวิเคราะห์ข้อมูลมากล่าวถึง  และแสดงความเห็นเพิ่มเติม  พร้อมทั้งระบุให้เห็นว่าผลการวิจัยมีความสัมพันธ์ หรือสอดคล้องไม่สอดคล้อง กับทฤษฎี หลักการ และงานวิจัยใดบ้าง  เพราะอะไร   แสดงเหตุผลประกอบ

การเขียนนิยามศัพท์

แนวคิด  หลักการหรือทฤษฎี

          นิยามศัพท์ หมายถึง  การให้ความหมายคำเฉพาะที่ใช้ในการวิจัย  เพื่อให้ผู้วิจัยและเข้าใจความหมายคำตรงกัน  คำนิยามต้องคำนึงถึงการนิยามตัวแปร เพราะจะช่วยให้การเก็บข้อมูลได้ถูกต้องและน่าเชื่อถือ นิยามศัพท์มี 2  ประเภท  คือนิยามเชิงความหมาย  เป็นนิยามศัพท์นั้น ๆ  โดยอธิบายความหมายและนิยามเชิงปฏิบัติการ  เป็นการให้ความหมายของคำ  โดยกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้หรือเครื่องมือชี้วัดบางอย่าง  เช่น  สติปัญญา หมายถึง  ความจำทางสมองที่จะคิดให้เหตุผลและแก้ปัญหาต่าง ๆ (นิยามเชิงความหมาย) และสติปัญญา  ซึ่งคะแนนที่ได้จากการวัดด้วยแบบทดสอบมาตรฐานสำหรับวัดสติปัญญา  (นิยามเชิงปฏิบัติ)  ในการให้คำนิยามนั้นควรให้ทั้งนิยามความหมายและนิยามปฏิบัติการ  ผสมผสานกันไปในทางเดียวกัน  หลักการเขียนนิยามคำศัพท์  คือ  ต้องเป็นคำศัพท์เฉพาะ  ไม่ต้องให้คำนิยามศัพท์ทุกคำศัพท์ที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกัน  และถ้าทีการอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย ก็จะทำให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

 หลักการเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ 

การให้นิยามศัพท์เฉพาะเป็นการให้ความหมายของคำที่มีความสำคัญในการวิจัยเรื่องนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่เป็นตัวแปรตามที่เป็นนามธรรม เช่น ตัวแปร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เชาว์ปัญญาทางอารมณ์ ความพึงพอใจในการบริการ เจตคติต่อสินค้า เป็นต้น ซึ่งจะต้องนิยามโดยอาศัยทฤษฎี หลักการ แนวคิดจากผู้รู้ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องนิยามให้อยู่ในรูปของนิยามปฏิบัติการ จึงจะสามารถสร้างเครื่องมือวิจัยที่มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงนิยามปฏิบัติการ (Operational Definition) เรียกสั้น ๆ ว่า O.D. คือ การให้ความหมายตัวแปรที่สำคัญ โดยเฉพาะตัวแปรตาม (Dependent Variable) ที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรอิสระที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งจะต้องนิยามให้เป็นคุณลักษณะพฤติกรรม และหรือกิจกรรมที่จะศึกษา ให้อยู่ในรูปที่วัดได้ สังเกตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีความเที่ยงตรง (Validity)

ประเภทของการเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ

นอกจากนี้การนิยามศัพท์เฉพาะก็เพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยมีความเข้าใจในตัวแปรที่ศึกษาและมีความเข้าใจตรงกันกับผู้วิจัย และเป็นการช่วยให้การเขียนเค้าโครงการวิจัยรัดกุมขึ้น
            1. คำนิยามศัพท์เฉพาะ ในการวิจัยทั่ว ๆ ไปมักจะต้องให้ความหมายของคำบางคำที่ใช้ในรายงานการวิจัยให้เฉพาะเจาะจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เพื่อให้ผู้วิจัยและผู้อ่านมีความเข้าใจตรงกัน ดังนั้นนักวิจัยจะทำการวิจัยเรื่องใดจะต้องนิยามศัพท์เฉพาะแต่ละตัวให้ชัดเจนก่อน ซึ่งจะช่วยให้งานวิจัยอยู่ในกรอบมากยิ่งขึ้นอีกด้วยสำหรับคำที่ควรให้นิยามนั้นอาจะเป็นคำย่อ ๆ หรือคำสั้น ๆ ที่ใช้แทนข้อความยาว ๆ เพราะถ้าเขียนข้อความยาว ๆ ซ้ำกันบ่อย ๆ จะทำให้เสียเวลาในการเขียน ผู้เขียนจึงกำหนดเป็นคำย่อหรือคำสั้น ๆ แทน ซึ่งคำเหล่านี้จะต้องให้นิยามศัพท์เฉพาะด้วย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกับผู้ วิจัยว่าคำนั้น ๆ หมายถึงอะไร ดังเช่นตัวอย่างข้างล่างนี้
                การก้าวร้าว หมายถึง การกระทำที่รุนแรงผิดไปจากปกติ เป็นการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด เสียหาย หรือมุ่งทำร้ายผู้อื้น ทั้งมีเจตคติและไม่มีเจตคติโดยตรง

              เกษตรกร หมายถึง ผู้ที่ประกอบอาชีพในการทำนา ทำไร่ ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ ในปี พ.ศ. 2554

สำหรับคำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงในการวิจัย ซึ่งอาจมีความหมายไม่ใช่ความหมาย ทั่ว ๆ ไป ผู้วิจัยจะต้องให้คำนิยามคำเหล่านี้ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้อ่านเข้าใจไปเป็นอย่างอื่น เช่น

             โฮสต์ (Host) หมายถึง คนหรือสัตว์ที่มีปรสิตอาศัยอยู่
             ครูบริหาร หมายถึง ครูใหญ่ ผู้ช่วยครูใหญ่ และครูหัวหน้าหมวดวิชา
คำอีกประเภทหนึ่งที่ควรให้คำนิยามก็คือ คำที่มีลักษณะเป็นนามธรรม มีความหมายไม่ชัดเจน เข้าใจยาก เช่นคำว่า ความมุ่งหวัง (Aspiration) เพทุบาย (Machiavellianism) ความเชื่อ แบบฝังใจ (Dogmatism) เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้วการให้นิยามศัพท์เฉพาะ อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การนิยมแบบทั่วไปกับ   การนิยามปฏิบัติการ
         2. การนิยามแบบทั่วไป เป็นการกำหนดความหมายโดยทั่วไปอย่างกว้าง ๆ อาจให้ความหมายตามทฤษฎี พจนานุกรม หรือตามผู้เชี่ยวชาญก็ได้ เป็นการนิยามในรูปมโนภาพซึ่งยากแก่การปฏิบัติ ไม่รู้ว่าจะวัดได้โดยวิธีใด และใช้อะไรวัด เช่น
              วรรณกรรม หมายถึง งานเขียนในรูปบทกวีนิพนธ์ ร้อยกรองและข้อเขียนทั้งหมดที่ใช้ภาษาร้อยแก้ว
              การตอบและการตรวจให้คะแนนวิธี 0-1 (Zero-one method) หมายถึง วิธีการที่ให้นักเรียนเลือกตอบเฉพาะตัวเลือกที่ถูก จะให้คะแนน 0 คะแนนถ้านักเรียนตอบผิด และให้คะแนน 1 คะแนนถ้านักเรียนตอบถูก
         3. การนิยามปฏิบัติการ (Operational definition) เป็นนิยามที่สามารถเอาผลมาใช้ปฏิบัติได้จริง หรืออธิบายได้ว่าพฤติกรรมหรือตัวแปรนั้นวัดได้หรือสังเกตได้ด้วยอะไร ซึ่งแสดงถึงคุณสมบัตินั้น ๆ เช่น
             เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกหรืออารมณ์ของนักเรียนว่าชอบหรือ  ไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ ต่อวิชาคณิตศาสตร์อันเกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ ซึ่งจะแสดงออกมาทิศทางใดทิศทางหนึ่ง วัดได้โดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นักเรียนคนใดที่ได้คะแนนมากก็มีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ดีกว่าคนที่ได้คะแนนน้อย
            ความสนใจทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกชอบหรือพอใจที่มีต่อวิทยาศาสตร์หรือกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เช่น สละเวลาให้กับวิทยาศาสตร์มากกว่าอย่างอื่น เข้าร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ด้วยความสมัครใจ

ตัวอย่าง

     หัวข้อการวิจัย  :  การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6

          นิยามศัพท์ 

               1.   ความสามารถในการอ่าน  หมายถึง  การออกเสียงให้ถูกต้อง  ชัดเจน  เฉพาะคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ

               2.   แบบฝึกทักษะ  หมายถึง  แบบฝึกทักษะในการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

               3.   แบบสอบ  หมายถึง  แบบสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อทดสอบนักเรียนก่อนและหลังการฝึก

               4.   ตัวอย่างประชากร หมายถึง  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ของโรงเรียนบ้านหนองฮี  สปจ. ขอนแก่น

 

หัวข้อการวิจัย : เรื่อง พฤติกรรมเลือกซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พฤติกรรมเลือกซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง พฤติกรรมของลูกค้าองค์กรของบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับการซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ด้าน ดังนี้ 
          1. ด้านความถี่ในการซื้อ หมายถึง ระยะห่างเฉลี่ยของรอบการสั่งซื้อลิขสิทธิ์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของลูกค้าองค์กรของบริษัท 
          2. ด้านสถานการณ์ที่ซื้อ หมายถึง เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการจัดซื้อและมีวิธีการจัดซื้อของลูกค้าองค์กรของบริษัท
          3. ด้านปริมาณที่ซื้อ หมายถึง ปริมาณไลเซ็นซ์ (Licenses) เฉลี่ยที่มีการจัดซ้อในกแต่ละครั้ง และปริมาณเงินเฉลี่ยของเงินที่ใช้ในการซื้อแต่ละครั้ง

 

หัวข้อการวิจัย : ระดับความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ (ตัวแปรตาม)
          ระดับความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ(ตัวแปรตาม) หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชประสบความสำเร็จในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 6 หลักการ ได้แก่ หลักนิติรัฐ หลักความรับผิดชอบ หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการตรวจสอบได้ และหลักการมีส่วนร่วมไปปฏิบัติ 
หลักนิติรัฐ หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้มีการประกาศใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่ชัดเจน และยึดประโยชน์ของราชการเป็นหลักสำคัญ

นิยามศัพท์เฉพาะ ทำยังไง

การให้นิยามศัพท์เฉพาะ เป็นการให้ความหมายของคำที่มีความสำคัญในหน่วยงานของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำที่เป็นนามธรรม เช่น แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, เชาว์ปัญญาทางอารมณ์ เป็นต้น ซึ่งจะต้องนิยามโดยอาศัยทฤษฎี หลักการ แนวคิดจากหน่วยงานของท่าน ซึ่งจะต้องนิยามให้เป็นคุณลักษณะของคำนั้นๆ

การเขียนคำจำกัดความ หรือ นิยามศัพท์เฉพาะมีประโยชน์อย่างไร

ประเภทของการเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ นอกจากนี้การนิยามศัพท์เฉพาะก็เพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยมีความเข้าใจในตัวแปรที่ศึกษาและมีความเข้าใจตรงกันกับผู้วิจัย และเป็นการช่วยให้การเขียนเค้าโครงการวิจัยรัดกุมขึ้น

นิยามศัพท์เฉพาะในงานวิจัยคืออะไร

การให้นิยามศัพท์เฉพาะเป็นการให้ความหมายของค าที่มีความส าคัญในการวิจัยเรื่องนั้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งค าที่เป็นตัวแปรตามที่เป็นนามธรรม เช่น ตัวแปร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เชาว์ปัญญาทาง อารมณ์ ความพึงพอใจในการบริการ เจตคติต่อสินค้า เป็นต้น ซึ่งจะต้องนิยามโดยอาศัยทฤษฎี หลักการ แนวคิดจากผู้รู้ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งจะ ...

การเขียนนิยามศัพท์ทีดีควรเป็นอย่างไร

ค านิยามศัพท์หรือค าจากัดความในการวิจัย เป็นการให้ความหมายของ ค าหรือข้อความ ที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น มีวิธีการเขียนค านิยามศัพท์ดังนี้ 1. เขียนตามพจนานุกรม ที่ให้ความหมายของคาไว้แล้ว 2. เขียนตามผู้เชี่ยวชาญ หรือตามทฤษฎีที่ก าหนดไว้ 3. เขียนตามแนวความคิดที่ผู้วิจัยต้องการสรุปประเด็นที่ศึกษา 4. ...