ทรัพย์สินทางปัญญา มี กี่ ประเภท อะไร บาง

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้นหรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่าง ๆ หรือในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

ทรัพย์สินทางปัญญา มี กี่ ประเภท อะไร บาง

­

ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1. รูปแบบของสิ่งท่ีจับต้องได้ เช่น รูปทรง ปุ่มกด สีสัน  หน้าตาของสินค้า-ผลิตภัณฑ์ต่างๆ

2. รูปแบบของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดกรรมวิธี หรือกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม

ทรัพย์สินทางปัญญา มี กี่ ประเภท อะไร บาง

­

ในทางสากลทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม แบ่งออกได้ดังนี้

-สิทธิบัตร (Patent)

-เครื่องหมายการค้า (Trademark)

-ความลับทางการค้า (Trade Secret)

-ชื่อทางการค้า (Trade Name)

-สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indications)

2. ลิขสิทธิ์

ทรัพย์สินทางปัญญา มี กี่ ประเภท อะไร บาง

­

ความหมายระหว่างสิทธิบัตร (Patent)  กับ  ลิขสิทธิ์ (Copyright) 

สิทธิบัตร(Patent)  คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดเป็นสิทธิพิเศษที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้น หรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  นอกจากนี้ "สิทธิบัตร" ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของผู้คนไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่ในชีวิตประจำวันที่เกิดมาจากการประดิษฐ์คิดค้นทั้งสิ้นเช่น กลไกของเครื่องยนต์ ยารักษาโรค ผงซักฟอก  โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงวิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วจนเกินไป เป็นต้น

ทรัพย์สินทางปัญญา มี กี่ ประเภท อะไร บาง

­

ลิขสิทธิ์ (Copyright) คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนแบบงานของผู้อื่น ซึ่งงานที่สร้างสรรค์ ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครองที่สำคัญผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง ได้แก่ ...หนังสือ บทความ บทกลอน ท่าเต้น ท่าร่ายรำ ภาพวาด ภาพถ่าย เนื้อร้อง ทำนองเพลง วีซีดีคาราโอเกะ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ สิ่งบันทึกเสียง เช่น เทป ซีดีเพลง เป็นต้น

ทรัพย์สินทางปัญญา มี กี่ ประเภท อะไร บาง

หลายคนยังคงสับสนระหว่างคำว่า สิทธิบัตร กับ ลิขสิทธิ์ และยังไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนเองคิดค้นประดิษฐ์งานขึ้นมานั้น ผลงานของตนอยู่ในข่ายงานศิลป์หรือว่างานประดิษฐ์ และจำเป็นต้องจดสิทธิบัตรหรือว่าลิขสิทธิ์หรือไม่ เพราะถ้าหากมองเผินๆ ทั้งสองคำนี้อาจดูจะคล้ายกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีความแตกต่างกัน ดังนี้  

สิทธิบัตร  จะต้อง....

1. ยื่นคำขอ

2. จดทะเบียน

3. มีการตรวจสอบ

4. ระยะคุ้มครอง 10 ปี และ 20 ปี

5. เสียค่าธรรมเนีย

ในขณะที่ลิขสิทธิ์ นั้น....

1.ผลงานถูกคุ้มครองโดยอัตโนมัติ

2. ไม่ต้องจดทะเบียน

3. ไม่ต้องมีการตรวจสอบ

4. ระยะคุ้มครอง 50 ปีหลังผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต

5. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

ทรัพย์สินทางปัญญา มี กี่ ประเภท อะไร บาง

จะว่าไป “สิทธิบัตร” ก็เปรียบเสมือนอาวุธของนักประดิษฐ์ ตามความเข้าใจ

ของคนโดยทั่วไป การจดสิทธิบัตร กระทำขึ้นก็เพื่อเป็นการป้องกันมิ่ให้ ผู้อื่น

นำแนวคิดของเราไปทำการใดๆ ในเชิงพาณิชย์ แต่พวกเราทราบหรือไม่ว่า

การจดสิทธิบัตรยังมีความสำคัญอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่

­

1 เป็นกลไกสำหรับคุ้มครองเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และธุรกิจ ป้องกันมิให้ถูกผู้อื่นละเมิด หรือถูกกล่าวหาว่าไปละเมิดผู้อื่น

2 เป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรอง หรือสร้างพันธมิตรทางธุรกิจและเทคโนโลยี

3 เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่เทคโนโลยี

4 เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาร่วมทุน

5 ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้มีการพัฒนา ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น ส่งผลให้ราคาถูกลง สินค้ามีการส่งออกมากขึ้น

หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

การประดิษฐ์
1. เป็นการประดิษฐ์ใหม่ (ทั่วโลก)
2. มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
3. สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม

การออกแบบผลิตภัณฑ์
1. เป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ (ทั่วโลก)
2. เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม

ระยะเวลาคุ้มครอง

การประดิษฐ์
20 ปีนับจากวันยื่นคำขอ หรือเท่าระยะเวลาที่ชำระค่าธรรมเนียมรายปี

การออกแบบผลิตภัณฑ์
10 ปีนับจากวันยื่นคำขอ หรือเท่าระยะเวลาที่ชำระค่าธรรมเนียมรายปี

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

2.2 อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)

กฎหมาย

พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542

ความหมาย

หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) เป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคโนโลยีไม่สูงพอที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดี ใช้งานได้จริง ซึ่งเหมาะสมกับการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทย

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

1. เป็นการประดิษฐ์ใหม่ (ทั่วโลก)
2. สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม

ระยะเวลาคุ้มครอง

6 ปี และขอขยายเวลาคุ้มครองได้ 2 ครั้งๆละ 2 ปี (รวม 10 ปี)

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

2.3 เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)

กฎหมาย

พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2543 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2559

ความหมาย

เครื่องหมาย (ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คํา ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้ อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน) ที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง  และเครื่องหมายร่วม

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่
1. มีลักษณะเฉพาะ
2. ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายนี้
3. ไม่เหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว

ระยะเวลาคุ้มครอง

10 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียน และอาจต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

2.4 คุ้มครองการคุ้มครองพันธุ์พืช (Plants Varieties)

กฎหมาย

พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542

ความหมาย

การส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พืชขึ้นใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม  การส่งเสริมเกษตรกรรม การอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษา และจัดตั้งกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและครบวงจร

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

1. พันธุ์พืชใหม่
2. พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น
3. พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป
4. พันธุ์พืชป่า

ระยะเวลาคุ้มครอง

พันธุ์พืชใหม่และพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น
– พืชล้มลุก 12 ปี
– พืชยืนต้น 17 ปี
– พืชที่ใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ 27 ปี
(เฉพาะพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่ขอโดยชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกร ขยายเวลาการคุ้มครองได้อีกครั้งละ 10 ปี)
พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า รัฐเป็นผู้มีสิทธิ

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2.5 แบบผังภูมิวงจรรวม (Layout-Designs, Topography, Integrated Circuit)

กฎหมาย

พ.ร.บ. คุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวม พ.ศ. 2543

ความหมาย

แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้นในรูปแบบหรือวิธีใดๆ ที่จัดวางให้เป็นวงจรรวม เป็นแบบของวงจรไฟฟ้าที่ได้ออกแบบขึ้นมา (Layout Design) และตัวชุดหน้ากากหรือแผ่นบัง (Mask Work) ซึ่งเป็นตัวต้นแบบที่ใช้ในการสร้างให้เกิดแบบผังภูมิ

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

1. เป็นแบบผังภูมิที่สร้างสรรค์ขึ้นเองและไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมวงจรรวม
2. เป็นแบบผังภูมิที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยนำเอาชิ้นส่วน ส่วนเชื่อมต่อแบบผังภูมิหรือวงจรรวมอันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมาจัดวางใหม่ ทำให้เกิดเป็นแบบผังภูมิใหม่

ระยะเวลาคุ้มครอง

10 ปีนับตั้งแต่ยื่นคำขอจดทะเบียน

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

2.6 ความลับทางการค้า (Trade Secret)

กฎหมาย

พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558

ความหมาย

ข้อมูลทางการค้าที่เป็นความลับ

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

เป็นข้อมูลทางการค้าที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับนั้น และได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ

ระยะเวลาคุ้มครอง

ไม่มีกำหนดระยะเวลาตราบเท่าที่ยังเป็นความลับอยู่

การขอรับความคุ้มครอง

ไม่ต้องจดทะเบียน

2.7 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)

กฎหมาย

พ.ร.บ. คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546

ความหมาย

ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ป้องกันความหลงผิดหรือสับสนของสาธารณชน และเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับความคุ้มครอง

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญามีอะไรบ้าง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา.
สิทธิบัตร (Patent).
สิทธิบัตรการประดิษฐ์.
อนุสิทธิบัตร.
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์.
แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Design of Integrated Circuits).
เครื่องหมายการค้า (Trademark).
ความลับทางการค้า (Trade Secret).
ชื่อทางการค้า (Trade Name).

ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา แต่ละประเภท มีอะไรบ้าง

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ (2) ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 6 ประเภท ได้แก่ (1) สิทธิบัตร (2) อนุ ...

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม มีกี่ประเภท ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ได้แก่ สิทธิบัตร (Patent) , แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit), เครื่องหมายการค้า (Trademark) , ความลับทางการค้า (Trade Secrets) , ชื่อทางการค้า (Trade Name) และ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

ทรัพย์สินทางปัญญามีความสําคัญอย่างไร

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิดการประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพราะให้สิทธิผู้คิดค้นสามารถใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าจากเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเหล่านั้นได้ กลไกที่ใช้ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า