แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ระดับรัฐบาล

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

        แนวทางการอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย

1. ส่งเสริมให้ชนทุกกลุ่มเห็นคุณค่า และร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น อันเป็นมรดกของชาติไม่ให้สูญหายไป

2. ขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม รณรงค์ให้ประชาชน เอกชน ตลอดจนหน่วยงานของรัฐเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมไทย นำไปสู่การประสานงาน การบริการความรู้ ตลอดจนการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เป็นต้น

3. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

4. สร้างทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวัฒนธรรมว่าเป็นทรัพย์สมบัติของทุกคน ดังนั้น ทุกคนจึงมีหน้าที่ในการดูแลรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบไป

5. ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เช่น สิทธิในการอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

6. จัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์งานต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ระดับรัฐบาล

แนวทางการอนุรักษ์


  1. เร่งรัดและกระตุ้นให้หน่วยงานของรัฐและประชาชนเอาใจใส่ ควบคุม ดูแล อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมและได้ผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง
  3. ป้องกันมิให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม
  4. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่บุคลากรในท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการคุ้มครองและรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีแก่แหล่งศิลปกรรม
  5. ส่งเสริมให้มีการอบรมและสร้างสามัญสำนึกให้ประชาชนเกิดความรู้สึกหวงแหนและเห็นคุณค่าของศิลปกรรมและ สิ่งแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งศิลปกรรม
  6. พัฒนาวิธีการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

  1. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม
    • ช่วยส่งเสริมคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรม (Cultural Resource) ให้เด่นชัดขึ้น
    • ช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในอารยธรรมอันเก่าแก่ของชาติ
    • ช่วยให้เกิดความสามัคคีในการร่วมมือร่วมใจ ดูแล ปกป้องและรักษาแหล่งศิลปกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ให้คงอยู่ต่อไป
    • ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงที่ดีงามทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประเทศชาติ
  2. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    • ช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่ชุมชน
    • ช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนในบริเวณนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    • ช่วยให้ชุมชนมีแหล่งสันทนาการเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขภาพอนามมัยจิตใจ
  3. ด้านการศึกษาและวิจัย
    • ช่วยยกระดับคุณภาพทรัพยากรบุคคลให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ทั้งทางด้านวิชาการและทัศนคติ
    • ช่วยให้เยาวชนของชาติมีแหล่งความรู้ทางวิชาการที่จะนำไปสู่การศึกษาและวิจัย ซึ่งจะมีประโยชน์มาสู่ท้องถิ่นในอนาคต

แนวทางในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมรมไทยเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และสั่งสมมานจนเป็นมรดกมาสู่อนุชนรุ่นหลัง

และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมไทย คนไทยทุกคนจึงมีหน้าที่ร่วมกันที่ต้อง

ช่วยกันอนุรักษ์สืบสานไปดังนั้นองค์ประกอบของภาคเอกชน จึงควรร่วมมือกันโดยแบ่งเป็นระดับดังนี้

1.ระดับชาติ องค์การของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบต่องาวัฒนธรรมของชาติโดยตรงต้องกำหนดโยบาย

ให้สนับสนุน ส่งเสริมเอาจริงเอาจัง รวมทั้งสื่อมวลชนต้องเผยแผ่ประชาสัมพันธ์ให้เห็นคุณค่าและ

ความสำคัญในวัฒนธรรมชาติ เพราะเป็นหน้าที่ของทุกคน

2.ระดับท้องถิ่น องค์กรในท้องถิ่นต้องส่งเสริประชาชนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทยโดยช่วยกัน

คิดค้น เผยแพร่ นำภูมิปัญญาหรือปราชญ์ท้องถิ่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีนอกจากนั้นยังเป็นประการ

ประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นตนด้วย

3.ระดับบุคคล บุคลากรทุกคนไมว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน แม้แต่ผู้ทำงานส่วนตัวสามารถ

ช่วยกันสอดคล้องดูแลถาวรวัตถุ โบราณสถาน  โบราณวัตถุ วันวาอารามฯลฯ ซึ้งเป็นสมบัติของชาติไม่

ให้ถูกทำลาย เป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ รวมทั้งพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้ของไทย ส่งเสริมของไทย

และส่งเสริมชาวต่างชาติให้ใช้ของไทยซึงนับว่าเป็นการช่วยอนุรักษ์วันธรรมไทยให้คงสืบต่อไป

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ได้ให้ความสัมพันธ์ในประเด็นของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้เช่นเดียวกันคือ

                1.  บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดี

ของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

และยั่งยืน

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ระดับรัฐบาล

                2.  บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ  รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรมพิทักษ์ ปกป้อง และสืบสาน

ศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ระดับรัฐบาล

                3.  รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา

แห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยว

กับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปะวิทยาการต่างๆเร่งรัด

พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติ

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ระดับรัฐบาล

                4.  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นและ

เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐซึ่งการจัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่นนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการบำรุง

รักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูปัญญาท้องถิ่นด้วย

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ระดับรัฐบาล

                5.  เผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยของทุกท้องถิ่นไปให้ประชาชนไทยทั้งประเทศได้รับรู้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพื่อให้

ประชาชนเข้าใจ เห็นคุณค่าและยอมรับวัฒนธรรมของท้องถิ่นซึ่งกันและกันอันจะนำไปสู่ความรักและหวงแหนในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย 

และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของกลุ่มชนทุกหมู่เหล่าภายในชาติ

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ระดับรัฐบาล

                6.  สนับสนุนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยกับต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชาติ

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ระดับรัฐบาล

                7.  วางมาตรการให้หน่วยงานของรัฐและของเอกชน ที่ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด 

โดยการระดมสรรพกำลังทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมให้มั่นคงเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตของประชาชน

ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม เพื่อให้วัฒนธรรมมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง 

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ระดับรัฐบาล

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย มีอะไรบ้าง

แนวทางการอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย.
1. ส่งเสริมให้ชนทุกกลุ่มเห็นคุณค่า และร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น อันเป็นมรดกของชาติไม่ให้สูญหายไป.
3. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน.

แนวทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมมีอะไรบ้าง

รักษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม หรืออัตลักษณ์นั้นๆ ให้ดำรงอยู่ตลอดไป.
1. การสร้างสรรค์โครงการ/กิจกรรมใหม่ (Innovation).
2. การสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ (Sponsorship).
3. การร่วมกันสร้างสรรค์งานกับพันธมิตร (Collaboration).
4. การบริหารเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม (Partnership).

เราจะอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยได้ด้วยวิธีการใดบ้าง

การอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญไทย ๑. สนใจศึกษาภูมิปัญญาไทยด้านต่างๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย อาจไปดูภูมิปัญญาในท้องถิ่นต่างๆ ๓. เผยแพร่ข้อมูลภูมิปัญญาไทยด้วยวิธีต่างๆ เช่น จัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ๔.ชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาไทย