การวางแผน การเงิน และการ ลงทุน

        การวางแผนทางการเงิน หมายถึง การกําหนดการใช้จ่ายเงินต่างๆ ให้สอดคล้องกับแผนงานที่ จัดทําขึ้น และระบุถึงแหล่งที่มาของเงินและการใช้ไปของเงินในกิจกรรมต่างๆ

การวางแผนทางการเงิน สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 

    1. การวางแผนการเงินส่วนบุคคล 

    2. การวางแผนการเงินสําหรับธุรกิจ

การวางแผนทางการเงินเป็นการจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ทางด้านการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต นํามากําหนดเพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินงาน การประสานข้อมูลต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าสิ่งที่ได้รับจะมีประสิทธิผลมากที่สุด

    1. การวางแผนการเงินส่วนบุคคล การวางแผนการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Planning) คือ การบริหารจัดการเงินหรือรายได้ที่ได้มา และใช้เงินนั้นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเป็นสิ่งที่จะนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าหมายทางการเงินได้ ซึ่งความสามารถในการหารายได้ของบุคคล แต่ละช่วงชีวิตจะแตกต่างกัน ดังนั้น บุคคลจึงต้องวางแผนการเงินให้สอดคล้องกับภาระความรับผิดชอบที่มี อยู่ เพื่อให้ทุกช่วงชีวิตมีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอและต่อเนื่องกับลักษณะการเงินในแต่ละช่วงของครอบครัว

    วัตถุประสงค์ทางการเงินส่วนบุคคล

    1. รายจ่ายประจําที่ต้องจ่ายอย่างสม่ำเสมอ คือ รายจ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเครื่องนุ่งห่ม ค่าพาหนะ ค่าประกันภัย ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมแซมที่อยู่ อาศัยและรายจ่ายอื่นๆ ที่จําเป็นในการครองชีพ ซึ่งสามารถประมาณการได้จากรายจ่ายที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ในอดีต บางครั้งอาจจะต้องลดงบประมาณรายจ่ายลงบ้าง เช่น ลดรายจ่ายค่าอาหาร หรือเปลี่ยนแปลง ประเภทอาหารที่บริโภคให้มีราคาถูกลง เช่น เปลี่ยนจากรับประทานเนื้อสัตว์มาเป็นผักแทน เป็นต้น

    2. เงินออมระยะสั้น คือ จํานวนเงินที่เตรียมไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง ภายในระยะเวลาไม่นานในอนาคต เช่น 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเป็นการออมไว้ใช้จ่ายระยะฟุ่มเฟือย เช่น การซื้อเครื่องวิดีโอ การซื้อรถยนต์ที่สามารถเลื่อนระยะเวลาในการซื้อไปได้ ดังนั้น เงินออมในระยะสั้นจึง ใช้เป็นเครื่องมือในการกําหนดลําดับก่อนหลังของความสําคัญในการใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ได้

    3. เงินออมระยะยาว คือ เงินที่เตรียมไว้เพื่อใช้จ่ายในระยะเวลานานอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป ได้แก่

        3.1 เงินทุนเพื่อโครงการภายหลังการเกษียณอายุ ควรมีการเพิ่มจํานวนเงินให้มากขึ้น เมื่อเทียบกับปัจจุบัน เพื่อรองรับภาวะเงินเฟ้อในอนาคต

        3.2 เงินทุนเพื่อการศึกษาของบุตร จํานวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแผนการศึกษา ที่ผู้ปกครองได้วางไว้ให้แก่บุตรของตน

        3.3 เงินลงทุนซื้อหุ้น พันธบัตร ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ไม่ได้เป็นเงินลงทุนเพิ่มเติมจากการ สะสมรายได้ในอดีต เพื่อลดผลกระทบหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต

    2. การวางแผนการเงินสําหรับธุรกิจ การวางแผนทางการเงินจําเป็นในการดําเนินงานธุรกิจ โดยจะวางแผนล่วงหน้าต่างๆ เช่น ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต การส่งเสริมการจัดจําหน่ายเพื่อเพิ่มการขาย การเพิ่มบุคลากรของแผนกต่างๆ เพื่อการขยายงาน เป็นต้น

การพยากรณ์เป็นส่วนสําคัญของกระบวนการวางแผน จะช่วยชี้ให้เห็นว่าแผนการเงินในอนาคต สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจหรือไม่ หรืออาจจะใช้การพยากรณ์เพื่อคาดคะเนปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และจะเป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหาด้วย ดังนั้นจึงควรเขียนแผนงานที่จะปฏิบัติการในอนาคตไว้ในงบประมาณ ทางการเงิน เพราะงบประมาณเป็นเครื่องมือที่สําคัญสําหรับฝ่ายบริหาร

    วิธีการวางแผนงานทางการเงินสําหรับธุรกิจมี 2 ลักษณะ คือ

    1. การกําหนดเป้าหมายรวมของธุรกิจ โดยเริ่มจากการกําหนดเป้าหมายรวมของธุรกิจ ในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในแผน แล้วจึงพิจารณาถึงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น บริษัทต้องการเพิ่มกําไรปีละ 20% เป็นเวลา 5 ปี จึงต้องพิจารณาถึงรายได้ที่จะได้รับเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นั้น แล้วนําเป้าหมายรายได้นั้นมากําหนดเป็นทุนและค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องใช้ทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องจัดทํา งบประมาณหรือแผนงานทั้งหมดของธุรกิจซึ่งจะสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจที่ได้กําหนดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น

    2. การพยากรณ์ของแต่ละฝ่าย โดยเริ่มจากแต่ละแผนกหรือส่วนงานพยากรณ์แยกกันใน การคาดคะเนประมาณส่วนประกอบของกิจกรรมต่างๆ โดยคิดเป็นงบประมาณของแต่ละแผนก แล้วจึง นํามารวมกันเป็นแผนการทางการเงินรวมของธุรกิจ

การควบคุมเกี่ยวกับงบประมาณ ต้องมีการจัดการโครงสร้างทางการเงินของธุรกิจ ซึ่งเป้าหมาย ส่วนหนึ่งคือการให้เกิดกําไรสูงสุด และการลดความเสี่ยงภัยของธุรกิจ โดยกําหนดสัดส่วนของการถือสินทรัพย์ ว่าควรอยู่ในรูปใด เช่น เงินสด การลงทุน เป็นต้น นอกจากนั้นควรมีการจัดโครงสร้างทางการเงินของธรกิจ เกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนที่ต้องการใช้ การจัดสรรเงินทุนหมุนเวียน การลดหนี้ผูกพัน การยึดเวลาชําระหนี้ การจัดสรรลงทุนสินทรัพย์ที่มีให้เหมาะสมกับทุนและเงื่อนเวลาที่จํากัด การกําหนดนโยบายการจ่าย ปันผลให้สัมพันธ์กับสินทรัพย์และโครงสร้างทางการเงิน ซึ่งวิธีการจัดการด้านการเงินเพื่อประโยชน์ใน การทํากําไร คือการควบคุมต้นทุนต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยที่งบประมาณควรจัดทํา ระบบบัญชีและสามารถวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆ และเสนอวิธีการลดต้นทุนให้สามารถมองเห็นภาพชัดเจน เพื่อพิจารณาได้ และมีการพยากรณ์ผลกําไรในอนาคต โดยมีการวางแผนการขาย การพยาก วางแผนการขยายงานในอนาคต เพื่อให้ทราบล่วงหน้าว่าจะสามารถทํากําไรเพิ่มขึ้นได้มากน้อยเพียงใด และต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าอย่างไรบ้าง หรือควรจะมีการตัดสินใจเพื่อการลงทุน

วัตถุประสงค์ของการวางแผนงานทางการเงินสําหรับธุรกิจ เพื่อให้เกิด (Liquidity) และเพื่อประโยชน์ในด้านการทํากําไร (Profitability)