เพราะเหตุใดจึงต้องมีเครื่องมือการสืบค้นสารสนเทศ

ประโยชน์ของการสืบค้น from เทวัญ ภูพานทอง

http://elearning.msu.ac.th/ge/ge51/0012003/page09_01.html

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศด้วยเครื่องมือช่วยค้น
ประเภทอิเล็กทรอนิกส์

สาระการเรียนรู้
1. ฐานข้อมูล
2. เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์

ผลการเรียนรู้
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือช่วยค้นอิเล็กทรอนิกส์
2. สามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ค้นหาข้อมูลสารสนเทศได้

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและ ประโยชน์ของเครื่องมือช่วยค้นประเภทอิเล็กทรอนิกส์
2. สามารถสืบค้นข้อมูลด้วยเครื่องมือช่วยค้น ภายในห้องสมุดได้
3. สามารถสืบค้นข้อมูลด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้

ฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล หรือ (Database) มาจากคำ 2 คำ คือ Data และ Base
Data คือ ทรัพยากรที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงที่มีปริมาณมาก สามารถเพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้ในขณะที่ Base คือ สิ่งที่เป็นฐานให้สร้างต่อขึ้นไปได้ ดังนั้น เมื่อนำคำว่า Database มารวมกันและนำมาใช้ในวงการสารสนเทศ มีความหมายดังนี้
ฐานข้อมูล หรือ Database เป็นแหล่งที่จัดเก็บสารสนเทศซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประมวลผลอื่นในการเรียกอ่านข้อมูล ข้อมูลในฐานข้อมูลอาจจะเป็นตัวเลข รายการอ้างอิงทาง บรรณานุกรม บทคัดย่อ ข้อมูลเต็มรูปของบทความ รายงานทางวิชาการ บทความในสารานุกรม
ฐานข้อมูลจำแนกตามลักษณะการจัดเก็บ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ฐานข้อมูลเต็มรูป (Full Text) คือ ฐานข้อมูลที่ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลซึ่งเป็นเนื้อหาสาระสมบูรณ์ตามที่ปรากฏอยู่เต็ม โดยไม่มีการตัดหรือย่อจากฐานข้อมูลนี้ ผู้ค้นจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นสารานุกรม กฎหมาย ข่าวหนังสือพิมพ์ คุณสมบัติทางเคมี สิทธิบัตร ข้อมูลประชากร ฐานข้อมูลประเภทนี้ใช้ในการตอบคำถามทั่วไ ป ซึ่งจะให้ข้อมูลเนื้อหาเบื้องต้นแก่ผู้ใช้ และพบได้ทั้งในรูปออนไลน์และออฟไลน์ เช่น CHEMSEARCH , Academic American Encyclopedia รวมทั้งฐานข้อมูลที่พบในอินเทอร์เน็ต
2. ฐานข้อมูลอ้างอิง (Reference Database) เป็นฐานข้อมูลอักขระ ประกอบด้วย รายละเอียดทางบรรณานุกรม หรือดรรชนีแหล่งที่มาของสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นที่จะช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่า ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการสามารถหาได้จากสิ่งพิมพ์ใดบ้าง และสิ่งพิมพ์นั้นอยู่ที่ใด โดยผู้ใช้จะไม่ได้เนื้อหาของข้อมูลเหมือนกับฐานข้อมูลประเภทแรก ฐานข้อมูลประเภทนี้จึงถูกเปรียบเสมือนลายแทงให้เข้าไปถึงเนื้อหาทางภูมิปัญญา เช่น ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด ดรรชนีวารสารไทย MEDLINE, ERIC, LISA
3. ธนาคารข้อมูล (Data Bank) เป็นฐานข้อมูลเชิงตัวเลขในรูปของสถิติ กราฟ ตาราง และข้อมูลดิบฐานข้อมูลประเภทนี้ให้คำตอบโดยตรง โดยไม่ต้องอ้างอิงไปยังเอกสารต้นเหล่ง

ประโยชน์ของฐานข้อมูล
1. จัดเก็บสารสนเทศได้ในปริมาณสูงทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บมากกว่าเก็บในกระดาษ
2. จัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพกว่าการค้นด้วยมือ ทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดเวลาในการค้นหา
3. ปรับปรุงและแก้ไขสารสนเทศในฐานข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยเสมอ
4. เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกลได้โดยระบบออนไลน์ ทำให้ผู้ใช้เข้าถึง ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องเดินทางไปค้นหาจากหลายแหล่ง
5. มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัย ทำให้ฐานข้อมูลแพร่หลายและสามารถจัดหาได้ง่ายจากทั่วโลก

เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์
จากความก้าวหน้าทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และการพัฒนาทางเทคโนโลยี ทำให้การสืบค้น สารสนเทศจากบัตรรายการไม่เพียงพอ ห้องสมุดจึงได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือช่วยค้นประเภทอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศภายในห้องสมุด
2. เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. เครื่องมือช่วยค้นวัสดุสารสนเทศจากฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดเก็บสารสนเทศ จัดการระบบฐานข้อมูล และให้บริการภายในห้องสมุดเท่านั้น กล่าวคือผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้มีการเชื่อมโยงหรือติดต่อกับห้องสมุดอื่นๆ ซึ่งผู้ใช้ห้องสมุดจะถูกจำกัดแหล่งในการค้นหาข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ภายในห้องสมุดนั้น หรือใช้ข้อมูลที่บันทึกในสื่อต่าง ๆ ที่ห้องสมุดจัดให้บริการ เช่น แผ่นดิสก์ ซีดี-รอม เป็นฐานข้อมูลออฟไลน์ที่นิยมในปัจจุบัน คือ ซีดี-รอม เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลสำเร็จรูปที่มีการผลิตออกจำหน่ายอย่างแพร่หลายมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ในระยะเวลาสั้นด้วยเหตุนี้เองซีดี-รอม จึงเข้ามามีบทบาทในงานบริการของห้องสมุดอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดประเภทวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะบอกรับเป็นสมาชิกฐานข้อมูลซีดี-รอม
การค้นหาข้อมูลซีดี-รอม
ในการค้นหาข้อมูลในซีดี-รอมนั้น ผู้ค้นต้องเลือกฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องในสาขานั้น ๆ และต้องอาศัยดรรชนีเป็นตัวค้นหาบทคัดย่อ ซึ่งเก็บไว้เป็นข้อมูลประเภท ข้อความ(Text) แล้วจึงไปค้นหาในแผ่นซีดี-รอมที่มีบทความต้นฉบับอีกครั้ง ห้องสมุดบางแห่งให้ผู้ใช้ใช้ฐานข้อมูลซีดี-รอมด้วยตนเอง บางแห่งมีบรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศเป็นผู้ค้นให้
2. เครื่องมือช่วยค้นวัสดุสารสนเทศจากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างฐานข้อมูลของห้องสมุดขึ้นเอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ห้องสมุด ในการค้นหาสารสนเทศของห้องสมุดแห่งนั้น หรือกลุ่มห้องสมุดร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการสืบค้น สารสนเทศในห้องสมุดและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ดังนั้นห้องสมุดแต่ละแห่งจำเป็นต้องมีโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เช่นโปรแกรม CDS/ISIS, INNOPAC, HORIZON, VTLS หรือห้องสมุดบางแห่งอาจพัฒนา Microsoft Access Microsoft FoxPro เป็นต้น มาใช้ในการสร้างฐานข้อมูลเพื่อให้บริการในการสืบค้นซึ่งรู้จักกันทั่วไปในนาม โอแพค (OPAC) หรือระบบการสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดด้วยคอมพิวเตอร์ (On-line Public Access Catalog)ซึ่งจะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมแหล่งจัดเก็บและบริการสถานภาพของวัสดุสารสนเทศ ตลอดจนใช้ในการตรวจสอบการยืม-คืนของผู้ใช้ OPAC ของห้องสมุดแต่ละแห่งอาจจะมีรูปลักษณ์ภายนอกที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเลือกใช้ว่าเป็น CDS/ISIS หรือ HORIZON หรือ โปรแกรมใด ๆ ก็ตาม แต่ลักษณะของการสืบค้นสารสนเทศจะมีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากมีการกำหนดเขตข้อมูลสำหรับการสืบค้นในลักษณะ Field Searching คือค้นจากผู้แต่ง (Author) ชื่อเรื่อง (Title) และหัวเรื่อง (Subject) นอกจากนี้โปรแกรมส่วนใหญ่เน้นในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้มากขึ้น โดยสามารถค้นจากคำสำคัญ (Keywords) เลขหมู่ (Classification) ได้ด้วย ดังนั้นผู้ใช้จึงมีช่องทางในการสืบค้นสารสนเทศได้สะดวก รวดเร็ว และดีกว่าการใช้บัตรรายการแบบเดิม ในที่นี้จะยกตัวอย่างการสืบค้นจากโปรแกรม Library 2001 โปรแกรม Library 2001 เป็นเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศภายในวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาในระบบอินทราเน็ต

ขั้นตอนการสืบค้นสารสนเทศด้วยโปรแกรม Library 2001
1. ผู้ใช้บริการมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือ คำค้นที่ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเปิดหน้าจอ คลิกรายการที่ต้องการค้นโดยปฏิบัติตามคำแนะนำที่ปรากฏหน้าจอ ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ
1.1 ค้นแบบ (ทุกฟิลด์) กรณีทราบข้อมูลอย่างคร่าว ๆ
1.2 ค้นแบบ (เลือกฟิลด์) กรณีทราบข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือหัวเรื่อง
ตัวอย่างการค้นแบบทุกฟิลด์ มีขั้นตอนดังนี้
1. พิมพ์ข้อความที่ทราบหรือต้องการค้นหา เช่น คำว่า “ไฟฟ้า ”
2. เมื่อพบข้อมูลที่ต้องการกด Yes ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าทั้งหมดก็แสดงบนหน้าจอ
3. เลือกสารสนเทศที่ต้องการ โดยหน้าจอจะแสดงข้อมูล ดังต่อไปนี้ เลขทะเบียนหนังสือ, ชื่อผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง, หมวด, หมู่, ผู้แต่ง, ฉบับที่
4. นักศึกษาจดข้อมูลที่บอกตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุด ( เลขหมู่และอักษรผู้แต่ง ) แล้วนำไปค้นหาหนังสือที่ชั้นหนังสือ
5. กด Esc เพื่อออกจากโปรแกรม
ตัวอย่างการค้นแบบเลือกฟิลด์
1. กรณีทราบชื่อผู้แต่ง คลิกที่ชื่อผู้แต่งและพิมพ์ชื่อผู้แต่งที่ทราบ
2. คลิก ที่ค้นหา หน้าจอก็จะแสดงรายชื่อหนังสือของผู้แต่งที่นักศึกษาพิมพ์ เข้าไป
3. จากหน้าจอ ถ้าต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ คลิก ไปที่ตกลง
4. จดเลขเรียกหนังสือ และ หาหนังสือที่ชั้น
5. กด Esc เพื่อออกจากระบบ
6. กรณีทราบชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง ก็ดำเนินการเช่นเดียวกับการค้นหากรณีทราบชื่อผู้แต่ง

ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า INTERNATIONAL NETWORK แปลว่าเครือข่ายนานาชาติจัดเป็นอภิมหาเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกด้วยสายเคเบิลหรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา

เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
การเข้าถึงสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่ายและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบันได้แก่ โปรแกรมค้นดู (Browsers) เช่น Internet Explorer Netscape Communicator เป็นต้น
สารสนเทศโดยทั่วไปบนเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web – WWW.) อาจเป็นได้ทั้งตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ หรือแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ หน่วยงานต่าง ๆ ในปัจจุบันนิยมเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต หน่วยงานดังกล่าวมีทั้งที่เป็นส่วนราชการ สถาบันการศึกษา เอกชน และบุคคลทั่วไปและมีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้จำเป็นต้องพิจารณาความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อนนำสารสนเทศที่สืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตมาใช้
การค้นหาสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บนั้น มีเครื่องมือที่ใช้ในการสืบค้นสารสนเทศที่เรียกว่า โปรแกรมค้นหา (Search engines) การสืบค้นสารสนเทศด้วยโปรแกรมค้นหา แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การสืบค้นด้วยคำสำคัญ (Keyword) และการสืบค้นด้วยกลุ่มเนื้อหา (Directories)

การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบอินทราเน็ต
หอสมุดกลางวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา

การสืบค้นด้วยคำสำคัญ
การสืบค้นด้วยคำสำคัญเป็นการสืบค้นโดยใช้คำที่โปรแกรมค้นหาจัดทำดรรชนี และเก็บไว้ในรูปฐานข้อมูลซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละโปรแกรม เว็บไซต์ที่บริการเครื่องมือสืบค้นด้วยวิธีนี้ที่รู้จักกันดี เช่น Google (www.google.com) และ Lycos (www.lycos.com) เป็นต้น โปรแกรมค้นหาแต่ละโปรแกรมมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน ผู้ใช้ควรทราบว่าโปรแกรมค้นหาที่ใช้เน้นการทำดรรชนีประเภทใด มีการให้น้ำหนักสารสนเทศแต่ละเรื่องอย่างไรและควรใช้มากกว่าหนึ่งโปรแกรม เพื่อให้สืบค้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมค้นหาแต่ละชื่อได้จาก www.searchengines.com และเว็บไซต์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

ตัวอย่างโดเมนเนม หรือ ชื่อเรื่อง (Domain Name) ที่สามารถช่วยให้คาดเดาได้ว่าเป็นเว็บไซต์สังกัดหน่วยงานใด
gov (government)
หมายถึง
หน่วยงานของรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา
go.th (government Thailand)
หมายถึง
หน่วยงานของรัฐบาลไทย
edu (education)
หมายถึง
หน่วยงานสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐ
ac.th (academic Thailand)
หมายถึง
หน่วยงานสถาบันอุดมศึกษาไทย
org (organizatons)
หมายถึง
องค์กรอื่น ๆ ของสหรัฐ
or.th (organization Thailand)
หมายถึง
กลุ่มองค์กรอื่น ของไทย
com (commercial)
หมายถึง
กลุ่มองค์กรธุรกิจการค้า
co.th (commercial Thailand)
หมายถึง
กลุ่มธุรกิจการค้าของไทย
net (network services)
หมายถึง
กลุ่มเครือข่ายคอมพิวเตอร์
int (International)
หมายถึง
กลุ่มหน่วยงานระหว่างประเทศ
mil (Military)
หมายถึง
หน่วยงานทางทหารของสหรัฐ

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
1. การติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้สามารถส่งข่าวสารถึงเพื่อน นักศึกษาสามารถส่งรายงาน หรือถามข้อสงสัย หรือแสดงความคิดเห็นต่ออาจารย์หรือผู้สอนทาง E-mail ส่วนผู้สอนอาจจะมอบหมายงานแก่นักศึกษาทาง E-mail ได้เช่นกัน สามารถส่งบัตรอวยพรในเทศกาลต่างๆ ได้ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันเกิด วันคริสต์มาส ไปได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว หน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ ที่ต้องการแจ้งข่าวสาร ข้อมูลแก่สมาชิกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วโลก การส่งทาง E-mail จะสะดวกรวดเร็วและประหยัดมาก
2. จัดประชุมทางไกล สำหรับหน่วยงานที่มีสมาชิกในเครือข่ายทั่วโลกให้ได้ประชุมพร้อม ๆ กันทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางและประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าลงทะเบียน ค่าโรงแรม ค่าอาหาร
3. สามารถติดตามเรื่องที่สนใจเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นงานอาชีพ งานอดิเรก หรือสิ่งที่กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป หรือ เกมส์ต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ นั้นได้มาจากกลุ่มข่าวซึ่งมีอยู่นับหมื่นกลุ่ม จากกระดานสนทนาต่างๆ ข้อมูลเหล่านั้นได้มาจากความคิดเห็น ข้อแนะนำและข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกใส่ไว้
4. แหล่งความรู้ทุกรูปแบบ สามารถค้นหาข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ จากทั่วโลกได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลที่มีลักษณะเหมือนหนังสืออ้างอิงจำพวก พจนานุกรมภาษาต่าง ๆ สารานุกรม แผนที่ ข้อมูลที่เป็นบทความจากวารสาร ข้อมูลที่เป็นผลงานวิจัย ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นแหล่ง จากการค้นเพียงครั้งเดียวจะได้ข้อมูลในเวลาอันรวดเร็ว จึงทำให้มีงานวิจัยงานประดิษฐ์เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
5. ซื้อขายสินค้าและบริการ บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ตลอดจนคนทั่วไปสามารถโฆษณาสินค้าของตนทางอินเทอร์เน็ตในราคาถูกและให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่เผยแพร่ไปยังผู้บริโภคได้มากกว่าสื่อโฆษณาอื่น ๆ ในทางกลับกันผู้บริโภคก็สามารถสั่งสินค้าทางอินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน
6. รับข่าวสารล่าสุดได้ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา รายงานอากาศ ราคาหุ้น
7. เพื่อความบันเทิง (Entertainment) เล่นเกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง

บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่มุ่งให้สมาชิกได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าสูงสุด อินเทอร์เน็ตจึงมีศูนย์ให้บริการทั่วโลก ผู้ใช้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวางและมากที่สุด ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับล้านเครื่อง ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail = E-mail) ผู้ใช้สามารถติดต่อรับ – ส่ง ข้อความกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอื่น ๆ ทั่วโลกคล้ายกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ แต่มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าเพราะส่งผ่านระบบเครือข่าย ผู้รับและส่ง E-mail จะต้องมี
2. บริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File transfer Protocol = FTP) ผู้ใช้สามารถเคลื่อนย้ายแฟ้มข้อมูลโปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เสียง จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยให้กว้างขวางออกไป การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การ Download คือ การโอนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมายังเครื่องของเราและการ Upload คือการโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องของเรายังเครื่องอื่น
3. บริการเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในระยะไกล (Telnet) ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจากระยะไกล ซึ่งมีโปรแกรมหรือบริการนอกเหนือไปจากเครื่องที่ใช้อยู่ การสั่งให้โปรแกรมทำงานได้บนเครื่องอื่นทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปยังเครื่องนั้น โดยโปรแกรม Telnet จะจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ให้เสมือนเป็นจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ผู้ใช้ต้องการเข้าถึงทำให้รู้สึกเหมือนั่งทำงานหน้าเครื่องนั้นโดยตรง
4. บริการสนทนากับผู้อื่นแบบทันทีทันใด ผู้ใช้เครือข่ายสามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้อื่นในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน มี 4 ลักษณะคือ
4.1 การสนเทนาแบบคน 2 คน เป็นการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ระหว่างคน 2 คนผ่านทางจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองฝ่าย โดยใช้โปรแกรม Talk นับเป็นการพูดคุยทางออนไลน์แบบแรก ๆ ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม
4.2 การสนเทนาเป็นกลุ่ม เป็นการพิมพ์ข้อความโต้ตอบระหว่างกันได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความที่แต่ละคนพิมพ์ เหมือนกำลังนั่งอยู่ด้วยกันในห้องสนทนา โปรแกรมที่นิยมในปัจจุบัน คือ mIRC, PIRCH, Comic Chat
4.3 บริการเพจเจอร์ส่วนตัว เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถส่งข้อความของตนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังเครื่องผู้รับได้ไม่ว่าเครื่องผู้รับจะใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่หรือไม่ก็ตาม โปรแกรมที่นิยมใช้คือ ICQ
4.4 การโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถพูดคุยกันได้เหมือนการใช้โทรศัพท์ตามบ้าน โดยเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้โทรศัพท์ทางไกล ทั้งนี้โดยใช้โปรแกรม Internet Phone, Webphone, Cooltalk โดยผู้ใช้ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์มัลติมีเดีย (ไมโครโฟนและการ์ดเสียง) ติดตั้งไว้ด้วย หากต้องการพูดกันแบบเห็นหน้าและอิริยาบทของกันและกัน ให้ใช้โปรแกรม CU-See Me, Free Vue, Hind Site ใช้ประกอบกับกล้องวีดิโอขนาดจิ๋วซึ่งต่อกับการ์ดวีดิโอ
5. บริการบอร์ดข่าวสาร (User’s Network = Usenet) เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือความคิดเห็นของตนกับผู้อื่นตามความสนใจ โดยมีการจัดกลุ่ม เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup) ปัจจุบันมีกลุ่มข่าวมากกว่า 15,000 กลุ่ม การแลกเปลี่ยนข่าวสารมีลักษณะคล้ายการส่ง E-mail เพียงแต่ไม่ได้ส่งไปยังผู้รับโดยตรง แต่จะส่งไปยังศูนย์ที่เป็นข่าวแทน
6. บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เป็นการประกอบธุรกิจการค้าบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันสามารถทำนิติกรรมได้ เช่น การสั่งซื้อของและชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต การติดต่อทำนิติกรรมกับธนาคาร
7. บริการค้นหาแฟ้มและฐานข้อมูล (File and Database Searching) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญในแขวงวิชาต่าง ๆ เก็บข้อมูลไว้เผยแพร่จำนวนมากจึงเป็นเรื่องยากในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ในอินเทอร์เน็ตมีโปรแกรมเฉพาะที่อำนวยความสะดวกช่วยบริการค้นหาข้อมูลมหาศาลได้ เช่น Archive, Gopher, Hytelnet, WAIS, และ World Wide Web เป็นต้น
นิยามของการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศปัจจุบันโลกได้วิวัฒนาการเข้าสู่ “ยุคสารสนเทศ” (Information age) อย่างเต็มตัว การเพิ่มจำนวนของข้อมูลข่าวสารจนเกิดภาวะ “Information explosion” ทำให้มนุษย์ต้องหันมาพึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมาก ดังนั้นเพื่อความเข้าใจเบื้องต้น ผู้อ่านควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า “ข้อมูล” (Data) และ “สารสนเทศ” (Information) รวมถึงความแตกต่างของคำทั้งสองคำดังนี้ข้อมูล (Data) คือ ข้อความที่อาจจะเป็นตัวเลขหรือข้อความที่ทำให้ผู้อ่านทราบความเป็นไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ข้อมูลนักศึกษาในคณะต่างๆของสถาบันราชภัฎสวนดุสิตที่เข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้ หรือข้อมูลนักท่องเที่ยวในเมืองไทย ดังนั้น ข้อมูล (Data) จึงบอกเกี่ยวกับสภาพการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งปรากฏขึ้น และข้อมูลจะคงสภาพความเป็นข้อมูลนั้นไม่ว่าจะนำไปใช้หรือไม่ได้ใช้ก็ตามสารสนเทศ (Information) คือ ข้อความรู้ที่ได้จากการประมวลจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น จนได้เป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ สรุปได้ว่า ความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูล” (Data) และ “สารสนเทศ” (Information) นั้น “ข้อมูล” จะคงสภาพความเป็นอยู่เสมอ ส่วน “สารสนเทศ” เป็นข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ออกมาเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้นั้นๆ“ข้อมูล” และ “สารสนเทศ” นับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะ “สารสนเทศ”นั้น สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆ มากมาย เช่น1. ด้านการวางแผน การนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผน เช่น การนำไปใช้เกี่ยวกับการจัดองค์การ บริหารงานบุคคล การผลิตสินค้า การตลาด การวางแผนค่าใช้จ่าย เป็นต้น2. ด้านการตัดสินใจ การนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจทั้งนี้เพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา สารสนเทศที่ดีจะมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ช่วยให้การตัดสินใจเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพ เช่น การตัดสินใจที่รับบุคลากร3. ด้านการดำเนินงาน การนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงาน จะช่วยผู้บริหารในการควบคุม และติดตามผลทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎระเบียบ วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การจากรายละเอียดข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันอย่างชัดเจนระหว่าง “สารสนเทศ” กับ “สังคมมนุษย์”

แหล่งข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ และใหญ่ที่สุด
มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที ดังนั้นในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตควร
ดำเนินการดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น
ผู้สืบค้นหรือผู้วิจัยที่จะนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ควรตั้งวัตถุประสงค์การสืบค้นที่ชัดเจน ทำให้
สามารถกำหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่จะสืบค้นให้แคบลง กำหนดประเภทของเครื่องมือหรือ
โปรแกรมสำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Search Engine ให้เหมาะสม กำหนดช่วงเวลาที่
ข้อมูลสารสนเทศถูกสร้างขึ้น เช่น ช่วงปีที่ตีพิมพ์ของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการสืบค้นมี
ปริมาณไม่มากเกินไป มีความตรง (Validity) ตามวัตถุประสงค์ และมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) มากที่สุด
อีกทั้งยังสามารถสืบค้นได้ผลในเวลาอันรวดเร็ว
2. ประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้
ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายประเภท มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย คือ
มีทั้งที่เป็นข้อความ(Text) ภาพวาด (Painting) ภาพเขียนหรือภาพลายเส้น (Drawing) ภาพไดอะแกรม
(Diagram) ภาพถ่าย (Photograph) เสียง(Sound) เสียงสังเคราะห์ เช่น เสียงดนตรี (Midi) ภาพยนตร์
(Movie) ภาพเคลื่อนไหวอะนิเมชัน (Animation) จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสืบค้นที่เร็ว
ที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด และแพร่หลายที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศประเภทข้อความ สำหรับ
การสืบค้นข้อมูลที่เป็นภาพ (Pattern Recognition) และเสียง ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ใช้เวลานาน และยังไม่มี
ประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีการสืบค้นข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากประเภทข้อความในการให้บริการการสืบค้น
บนอินเทอร์เน็ต
3. การสืบค้นต้องอาศัยอุปกรณ์และความรู้
ก่อนที่ผู้สืบค้นจะสามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตได้ ต้องมีการจัดเตรียม
อุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตซึ่งอาจเป็น Modem ในกรณีที่ใช้คู่กับ
สายโทรศัพท์ หรือแผ่น LAN Card ในกรณีที่ใช้คู่กับระบบเครือข่ายที่ได้รับการติดตั้งไว้แล้ว ซอฟต์แวร์
การสื่อสาร (Communication Software) เช่น Dial-up Networking ในกรณีใช้ Modem หรือมีการติดตั้ง
Network Protocol ที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งอยู่และติดตั้ง Network
Adapter ที่เหมาะสมสำหรับ LAN Card นั้นๆ ต้องสมัครเป็นสมาชิกขององค์การหรือบริษัทผู้ให้บริการ
อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อเป็นช่องทางออกสู่อินเทอร์เน็ต นอกจากอุปกรณ์
ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์(Computer
Literacy) ความรู้ภาษาอังกฤษเนื่องจากข้อมูลสารสนเทศส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษ และยัง
ต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
4. บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถใช้ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีมากมายหลายบริการ
เช่น บริการเครือข่ายใยแมงมุมโลก หรือ Word-Wide-Web(WWW) บริการค้นหาข้อมูล Gopher บริการ
ค้นหาโปรแกรมใช้งาน Archie นอกจากนี้ อาจใช้บริการสอบถามผ่านทาง E-mail หรือ Chat กับผู้ใช้งาน
อินเทอร์เน็ตอื่นๆ หรือสอบถามผ่าน News Group หรือ Group/Thread Discussion ก็ได้ เมื่อค้นได้
แหล่งข้อมูลแล้วอาจ download หรือถ่ายโอนข้อมูลที่สืบค้นได้โดยใช้บริการถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลและ
โปรแกรม (File Transfer Protocol หรือ FTP)
โดยทั่วไปในปัจจุบัน การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต นิยมใช้โปรแกรม Web
Browsers เช่น Internet Explorer หรือ Netscape แล้วเรียกใช้บริการ www ประกอบกับการใช้ Search
Engine ซึ่งมีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ตในการสืบค้น เมื่อสืบค้นได้แล้ว โปรแกรม Web Browsers มักจะมี
บริการ Download ได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่นๆเข้าช่วย
5. เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น
เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการ
อยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูล
สารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ ไม่
เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง ตัวอย่าง
เว็บไซต์ของต่างประเทศ ได้แก่
http://www.yahoo.com http://www.google.com http://www.infoseek.com
http://www.ultraseek.com http://www.lycos.com http://www.excite.com
http://www.altavista.digital.com http://www.opentext.com http://www.hotbot.com
http://www.webcrawler.com http://www.dejanews.com http://www.elnet.net
เป็นต้น สำหรับเว็บไซต์ของไทย ได้แก่ http://www.sanook.com http://www.siamguru.com เป็นต้น
ที่มา http://research.bu.ac.th/news/f_list/news388/2.pdf

1.การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ2009-06-30 06:46:04
1. ให้นักศึกษาให้นิยามของการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
หมายถึง การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการค้นคืน ค้นหา หรือดึงข้อมูลและสารสนเทศเฉพาะเรื่องที่ผู้ใช้ระบุ แหล่งรวบรวมสารสนเทศไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อประโยชน์ด้านต่างๆเช่น การศึกษา สุขภาพ การประกอบอาชีพ

2. วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
1.เพื่อทราบถึงรายละเอียดของข้อมูล
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาหรือการทำงาน
3.เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเองและผู้อื่น
4.เพื่อตรวจสอบข้อมูล
5.เพื่อการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3. บอกความหมายของ search engine
Search engine หมายถึง เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ในระบบเครือข่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการชนิดของ Search engine
4. บอกประเภทของ search engine และตัวอย่างSearch engine สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือชนิดของการ Search engine
1.อินเด็กเซอร์ (Indexers)การทำงานของ Search Engines แบบอินเด็กเซอร์ จะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่อยู่กระจัดกระจายบนอินเทอร์เน็ต ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับชั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนกับการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ๆ คือ เราจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่เราต้องการค้นหาจากนั้น Search Engines ก็จะแสดงข้อมูลและเว็บไซต์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องออกมา2.ไดเรกทอรี่ (Directories)การค้นหาข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลโดยใช้อินเด็นเซอร์ (Indexers) โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกคัดแยกออกมาเป็นหมวดหมู่และจัดแบ่งแยกเว็บไซต์ต่าง ๆ ออกเป็นประเภท ๆ เช่น หมวดของเรื่องราวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์บันเทิง ข่าว กีฬา และศิลปะ เป็นต้น โดยเราสามารถที่จะคลิกเมาส์เลือกประเภทของข้อมูลที่ต้องการที่จะดูได้ทันที จากนั้นบนหน้าจอจะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฎขึ้นมาให้เราคลิกเมาส์เลือกอีก จากนั้นเว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเภทของข้อมูลนั้นออกมาหากเราสนใจจะดูเอกสารใดก็สามารถคลิกเมาส์ไปยังลิงก์ (Links) เพื่อขอเชื่อมต่อทางเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกันมากที่สุดมาไว้ในตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง3.เมตะเสิรช์ (Metasearch) Search Engines แบบเมตะเสิร์ชจะใช้หลาย ๆ วิธีการมาช่วยในการค้นหาข้อมูล โดยจะรับคำสั่งค้นหาจากเรา แล้วส่งต่อไปยังเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines หลาย ๆ แห่งพร้อม ๆ กัน ทำให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ Search Engines ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็จะสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาเมตะเสิร์ชจะเหมาะกับการค้นหาข้อมูลแบบธรรมดาที่ไม่ได้เน้นความสำคัญของตัวอักษร เช่น ตัวใหญ่ ตัวเล็กเท่าใดนัก ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหามีจำนวนมากจนเกินความต้องการก็ได้
5.เทคนิคการสืบค้นข้อมูล
การค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ค้นหานั้น เพื่อให้ขอบข่ายของการค้นหาแคบเข้า สามารถค้นหาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จะต้องใช้เทคนิคในการค้นหาดังนี้
1. บีบประเด็นให้แคบลง หัวข้อเรื่องที่คุณต้องการค้นหาต้องพยายามบีบประเด็นให้แคบลง เช่น คุณต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคุณอาจจะหาโดยใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ หรือ Computer นี้ค้นหา เพื่อลองดูเนื้อหากว้างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่ามีเรื่องใด
2. การใช้คำที่ใกล้เคียง ควรค้นหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่กำลังค้นหาด้วย เช่น คุณต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Computer คำที่เกี่ยวข้องที่สามารถใช้ค้นหาได้ คือ technology, IT เป็นต้น 3. การใช้คำหลัก ( Keyword) คำหลัก (Keyword) หมายถึง คำหรือข้อความที่เราจะนึกถึงเว็บไซต์นั้นเมื่อเอ่ยถึง เช่น สสวท. คุณจะนึกถึงเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://www.ipst.ac.th หรือ schoolnet คุณจะนึกถึงเว็บไซต์เครือข่ายโรงเรียนไทย http://www.school.net.th 4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ คุณก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98" 5. ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย ใช้เครื่องหมาย + และ - เพื่อช่วยในการค้นหา โดย + เพื่อใช้กับคำที่คุณต้องการใช้ในการค้นหา และ - เพื่อใช้กับคำที่คุณไม่ต้องการใช้ในการค้นหา เครื่องหมาย "+" หมายถึง การระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องมีคำนั้นปรากฎอยู่ในหน้าเว็บเพจ ข้อควรระวังคือ เราจะต้องใช้เครื่องหมายบวกติดกับคำหลักนั้นเสมอ ห้ามมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคำหลัก เช่น + เศรษฐกิจ +การเมือง หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำ หรือ + เศรษฐกิจ การเมือง สังเกตเห็นว่าที่คำว่า "การเมือง" ไม่ปรากฏเครื่องหมายบวก "+" อยู่ข้างหน้า เหมือนตัวอย่างบน หมายถึง การค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่จะต้องปรากฏ คำว่า " เศรษฐกิจ" โดยในหน้าเอกสารนั้นอาจจะปรากฏหรือไม่ปรากฏคำว่า "การเมือง" ก็ได้ เครื่องหมายลบ "-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฎคำนั้น อยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า รีสอร์ท อยู่ โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ + A -B โดย A และ B เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหา ตัวอย่าง + มะม่วง -มะม่วงอกร่อง - มะม่วงน้ำดอกไม้ หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า "มะม่วงอกร่อง" และ "มะม่วงน้ำดอกไม้" อยู่ในหน้าเดียวกัน
6. หลีกเลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้
7. Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์
6. การใช้งาน google
ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engire) โดยตัวค้นหา (Search Engire) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th
เมื่อเราพิมพ์ที่อยู่ www.google.co.th ลงในช่อง Addres แล้วกด Enter จะปรากฏหน้าแรกของ Web Site ซึ่งจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังรูป

รูปแสดงส่วนประกอบต่างๆ ในหน้าค้นหาของ www.google.co.th
โดยที่มีส่วนประกอบต่างๆ คือ
1) เป็น Logo ของ www.google.co.th
2) เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในเว็บ(Web Site)
3) เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหา ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ
4) เป็นประเภทของการค้นหาที่แยกตามกลุ่มข่าวเรียงตาม Usenet
5) เป็นประเภทของการค้นหาโดยจะแยกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น Arts, Home, Business, Gomes เป็นต้น
ซึ่งตัวเลือกในข้อ 2-5 เมื่อเรากดคลิกที่แถบใดแถบหนึ่งก็จะปรากฏเป็นแถบเข้มที่เราเลือกไว้ โดยปกติแล้วเมื่อเราเปิดหน้าแรกขึ้นมา Web Site google จะกำหนดการค้นหาให้ไว้ที่เว็บ
6) เป็นช่องสำหรับใส่ค่า (keyward) ที่เราต้องการค้นหา
7) เป็นปุ่มกดสำหรับเริ่มการค้นหา
8) เป็นปุ่มสำหรับค้นหาเว็บอย่างด่วน โดยการค้นหาจะนำเว็บที่อยู่อยู่ในลำดับแรกที่อยู่ในลำดับแรกที่ค้นหาพบ มาเปิดให้ในหน้าถัดไปเลย
9) เป็นตัวเลือกสำหรับการค้นหาแบบละเอียดโดยในตัวเลือกนี้จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาเพื่อให้ได้ผลการค้นหาที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น ภาษา, ชนิดไฟล์, วันที่ เป็นต้น
10) เป็นตัวเลือกสำหรับการปรับแต่งตัวเลือกใช้สำหรับการปรับแต่งรูปแบบเครื่องมือในการค้นหา เช่น จำนวน เว็ปที่แสดงในการค้นหาต่อหน้า
11) เป็นตัวเลือกสำหรับเครื่องมือเกี่ยวกับภาษาเพื่อใช้ในการค้นหา
การใช้งาน Google
ถ้าเราต้องการค้นหา คำว่าฟิสิกส์ เราทำได้โดยพิมพ์คำว่า ฟิสิกส์ ลงในช่องสำหรับใส่คำที่ต้องการค้นหา ( keyword) แล้วกดปุ่ม ค้นหาโดย Google

จะได้ผลการค้นหาต่อไปนี้
การค้นหาจะแจ้งจำนวนเว็บที่แสดง จำนวนเว็บที่พบ และเวลาที่ใช้ในการค้นหา ในกรณีที่การค้นหาพบข้อมูลมากกว่า ที่จะแสดงในได้หมดใน 1 หน้า ทาง www.google.co.th ก็จะแสดงหน้าถัดไปได้โดยเราสามารถแถบ ที่ตอนล่างของหน้า Web Site

การค้นหาของ www.goole.co.th จะมีคำสั่งในการค้นหาโดย
1) Google จะใช้เงื่อนไข “และ” (and) ในการค้นหาในรูปแบบของประโยคอยุ่เสมอ เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาประโยคที่ว่า “ฟิสิกส์ โมเมนตัม”

จะได้ผลการค้นหาต่อไปนี้
2) ถ้าเราต้องการใช้เงื่อนไข “หรือ” (OR) สำหรับเชื่อมคำที่ต้องการค้นหา คือ นำผลที่ค้นหาได้ของทั้งหมดมารวมกัน ซึ่งเราทำได้โดยใช้คำว่า OR เป็นตัวอักษรใหญ่ระหว่างค่าที่ต้องการค้นหา เช่น ถ้าเราต้องค้นหาว่าประโยคที่ว่า “ฟิสิกส์ OR โมเมนตัม“
จะได้ผลการค้นหาต่อไปนี้
3) การค้นหาของ google สามารถค้นหาแบบเป็นกลุ่มคำหรือเป็นวลีเราสามารถใช้เครื่องหมาย “ ” เช่น “physics momentum”

4) Google จะสามารถค้นหาไฟล์ในรูปแบบอื่น ๆ โดยประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
- Adobe Portable Document Format (มีนามสกุล เป็น pdf)
- Adobe Post Script (มีนามสกุลเป็น ps)
- Lotus 1-2-3 (มีนามสกุลเป็น wk 1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
- Lotus Wordpro (มีนามสกุลเป็น lwp)
- MacWrite (มีนามสกุลเป็น mw)
- Microsoft Word (มีนามสกุลเป็น doc)
- Microsoft Excel (มีนามสกุลเป็น xls)
- Microsoft Power Point (มีนามสกุลเป็น ppt )
- Text File (มีนามสกุลเป็น txt )
เราสามารถค้นหาโดยระบุชนิดของไฟล์ที่เราต้องการค้นหาได้โดยใช้ค่าว่า filetype : แล้วตามด้วยนามสกุลของไฟล์ที่เราต้องการค้นหา เช่น
คือเราต้องการค้นหา Website ที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์โดยมีรูปแบบไฟล์เป็นที่มีนามสกุล ppt คือเป็นไฟล์ Microsoft Power Point จะได้ผลการค้นหาต่อไปนี้
ที่มา http://amkotto.multiply.com/journal/item/5
http://mookda.212cafe.com/archive/
ประเภทของ search engine และตัวอย่าง
Search Engine มี 3 ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกันและการจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยเพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง 3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเองที่มีระบบการประมวลผล และการจัดอันดับที่เฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก2. ซอฟแวร์ คือ เครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ยกตัวอย่างได้แก่ Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog) ส่วนลักษณะการทำงาน และการเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และการจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกัน เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกัน
ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลือง ซึ่งจะมีการสร้างดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่อย่างชัดเจน
ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งจะขอยกตัวอย่างดังนี้
1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วย (URL : http://www.dmoz.org )
2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือบล็อกของตนเอง และอีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.
5. เทคนิคการสืบค้นข้อมูล 1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search) เป็นการค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่
1.1 ชื่อผู้แต่ง (Author) เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่าย ๆ ดังนี้
1.1.1 ผู้แต่งคนไทย เป็นการค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็นนามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ใ ห้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา ห รือสมณศักดิ์
ยกตัวอย่างเช่น
- นางกุลธิดา ท้วมสุข ชื่อที่ใช้ค้น คือ กุลธิดา ท้วมสุข (ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก)- ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมท ชื่อที่ใช้ค้น คือ คึกฤทธิ์ ปราโมท, ม.ร.ว.
(ให้เอาบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ มาต่อท้ายชื่อ)
- ร.ต.อ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ชื่อที่ใช้ค้น คือ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (ให้ตัดยศหรือตำแหน่งออก)
- พระยาอุปกิตติศิลปะสาร ชื่อที่ใช้ค้น คือ พระยาอุปกิตติศิลปสาร
- ว.วชิรเมธี ชื่อที่ใช้ค้น คือ ว.วชิรเมธี
- พระครูวิมลคุณากร ชื่อที่ใช้ค้น คือ พระครูวิมลคุณากร
1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น ยกตัวอย่างเช่น "Judith G. Voet" ชื่อที่ใช้ค้น คือ Voet, Judith G. หรือ Voet, Judith หรือ Voet
1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร ให้ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็มยกตัวอย่างเช่น -สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ - ททท. ชื่อที่ใช้ค้น คือ การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย
1.2 ชื่อเรื่อง (Title) เป็นการค้นหาข้อมูลด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้นต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือค้นหาตามชื่อนั้น ๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับยกตัวอย่างเช่น - เพลงรักในสายลมหนาว (ชอบดูมาก..ชึ้ง..แถมพระเอกหล๊อ..หล่อ) - อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น (เรื่องนี้ก็ชื่นชอบผู้แต่ง อ. ยืน ภู่วรวรรณ) - Engineering Analysis (เรื่องนี้ไม่อ่าน เพราะเดี๋ยวเจ็บหัว)
1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading) คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น มาจากที่ไหน ใครเป็นผู้กำหนดขึ้น โดยปกติแล้วคำหรือวลีที่กำหนดให้เป็นหัวเรื่อง จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ให้นึกถึงหัวเรื่องใหญ่และเรื่องย่อยเช่น หัวเรื่องที่ต้องการค้นหา คือ คณิตศาสตร์ คือหัวเรื่องใหญ่ ภายใต้หัวเรื่องใหญ่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จะมีเรื่องย่อย ๆ ซ่อนอยู่เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น 1.4 คำสำคัญ (Keywords) คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา จะกำหนดคำสำคัญง่าย ๆ คือ กำหนดมาจากคำที่อยู่ในชื่อเรื่องและหัวเรื่องที่เราต้องการค้นหานั่นเอง การค้นหาด้วยคำสำคัญนั้น ระบบจะทำการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะอยู่ต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่องยกตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ค้นหา เช่น รายงานการวิจัย เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิที่มีความสามารถในการทนแล้งโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม ผู้ค้นจะต้องดึงคำสำคัญที่อยู่ในชื่อเรื่องออกมา เพื่อใช้ค้นหา ซึ่งก็ไม่ยากหากดูข้อ 1.4 ประกอบ จากชื่อเรื่องดังกล่าว พบว่า มี Keyword หลัก ๆ อยู่ 3 คำ ด้วยกัน คือ ข้าวหอมมะลิ, เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม นี่คือตัวอย่างง่าย ๆ ของการกำหนดคำสำหรับใช้ค้นหา
2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
2.1 การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้ - AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่นต้องการค้นหาคำว่าส้มตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้ คือ ส้มตำ AND อาหาร หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร - OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น ส้มตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้ - NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ AND อาหาร NOT เพลง หมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า ส้มตำ ที่เป็นอาหาร ไม่เอาส้มตำที่เป็นเพลง เป็นต้น 2.2 เทคนิคการตัดคำ (Truncation) 2.3 เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit Search)
6. การใช้งาน google

วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีอะไรบ้าง

1. เพื่อการศึกษา 2. เพื่อหาข้อมูล หรือ ความรู้ใหม่ๆ 3. เพื่อความบันเทิงและการพักผ่อนหย่อนใจ 4. เพื่อประกอบการทางาน การค้า การประกอบธุรกิจ 5. เพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศคืออะไร

Information Retrievalหมายถึงกระบวนการหรือวิธีการใน การค้นสารสนเทศโดยมีเป้าหมายหรือเพื่อ ชี้ ระบุ และดึงสารสนเทศ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้ออกมาจากที่จัดเก็บ โดย อาศัยเครื่องมือในการสืบค้นสารสนเทศ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความ สะดวก รวดเร็วในการค้นหาสารสนเทศ

เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

ประเภทเครื่องมือสืบค้นสารนิเทศ 1.1 บัตรรายการ (Card Catalog) 1.2 บัตรดัชนีวารสาร (Card Index) 2. การสืบค้นสารนิเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันที่นิยมใช้มี 3 ระบบ คือ 2.1 การสืบค้นสารนิเทศด้วยระบบโอแพก (OPAC)

การสืบค้นฐานข้อมูลมีความสำคัญอย่างไร

ฐานข้อมูลถือว่าเป็นแหล่งให้ความรู้และสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยอย่างแท้จริงลักษณะเด่นของ ฐานข้อมูลคือสามารถสืบค้นได้รวดเร็วถูกต้องและมีประสิทธิภาพจึงทําให้ฐานข้อมูลมีความสําคัญต่อผู้ให้ และผู้ใช้บริการดังต่อไปนี้ 1.ช่วยให้ค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ ได้รวดเร็วและครอบคลุม 2.ช่วยให้การค้นคว้าสารสนเทศที่มีการจัดเก็บมาก ๆ สามารถดํา ...