เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม เงินเดือน

สำนักงานศาลยุติธรรม เปิดรับสมัครสอบเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 32 อัตรา รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 11 - 31 มกราคม 2561

เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม เงินเดือน

ประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการ

ตำแหน่งที่เปิดรับสมัครสอบ

1. ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมปฏิบัติงาน

จำนวน ตำแหน่งว่างที่จะบรรจุครั้งแรก 22 อัตรา

2. ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน 15,000 - 16,500 บาท

จำนวนตำแหน่งว่าง 1 อัตรา

3. ตำแหน่ง นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน 15,000 - 16,500 บาท

จำนวนตำแหน่งว่าง 2 อัตรา

4. ตำแหน่ง บรรณารักษ์ปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน 15,000 - 16,500 บาท

จำนวนตำแหน่งว่าง 3 อัตรา

5. ตำแหน่ง นักจิตวิทยาปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน 15,000 - 16,500 บาท

จำนวนตำแหน่งว่าง 2 อัตรา

6. ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน 17,500 - 19250 บาท

จำนวนตำแหน่งว่าง 2 อัตรา

***ผู้สมัครสอบ ผ่านหรือยังไม่ผ่านภาค ก. ของ ก.พ. ก็สามามารถสมัครสอบได้ โดยมีเงื่อนใขดังนี้

- กรณีหากผู้สมัครรายใดเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ. หรือของสำนักงานศาลยุติธรรม ในระดับคุณวุฒิที่ใช้สมัครสอบ หรือในระดับวุฒิการศึกษาที่สูงกว่าแล้วสามารถใช้หนังสือรับรองผลดังกล่าวแทนการสอบภาค ก. ได้

- กรณีหากผู้สมัครรายใดที่ยังไม่ได้เป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ. หรือของสำนักงานศาลยุติธรรม ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี หรือในระดับวุฒิการศึกษาที่สูงกว่า จะต้องเป็นผู้สอบการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงานศาลยุติธรรม ในครั้งนี้ และหากผลการสอบดังกล่าวปรากฏว่าผู้สมัครเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ในครั้งนี้ สำนักงานศาลยุติธรรมจะขึ้นบัญชีและจัดทำทะเบียนเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงานศาลยุติธรรมต่อไป

การรับสมัครสอบ

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สามารถสมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 11 - 31 มกราคม 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ ที่เว็บไซต์ https://op.thaijobjob.com/ 

รายละเอียดเพิ่มเติม

- ไฟล์ประกาศรับสมัครสอบ  เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมปฏิบัติงาน

- ไฟล์ประกาศรับสมัครสอบ ตำแหน่งอื่นๆ

คู่มือเตรียมสอบ พร้อมแนวข้อสอบสำนักงานศาลยุติธรรม(ทุกตำแหน่ง) ใหม่ล่าสุดปี61

แนวข้อสอบ เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ ศาลยุติธรรม

1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานศาลยุติธรรม

2 ความสามารถด้านการคิดคำนวณ

3 ความสามารถทางด้านเหตุผล

4 ความสามารถด้านภาษาไทย

5 แนวข้อสอบความสามารถด้านการใช้ภาษา

6 แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ

7 แนวข้อสอบความรู้การเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ประชาคมอาเซียน

8 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551

9 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

10 แนวข้อสอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

11 แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง

P021 - แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง

แนวข้อสอบ เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรม

1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานศาลยุติธรรม

2 ความสามารถด้านการคิดคำนวณ

3 ความสามารถทางด้านเหตุผล

4 ความสามารถด้านภาษาไทย

5 แนวข้อสอบความสามารถด้านการใช้ภาษา

6 แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ

7 แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543

8 แนว รัฐธรรมณูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ปรนัย)

9 แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

10 ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม

11 ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม

12 แนวข้อสอบความรู้งานธุรการ

P040 - สรุปสาระสำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม เงินเดือน

เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม เงินเดือน

สนใจติดต่อได้ที่

เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม เงินเดือน

ตัวอย่างแนวข้อสอบสำนักงานศาลยุติธรรม

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543

1. ประธานศาลอุทธรณ์ หมายถึงข้อใด

 ก. อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข.  ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้รับเลือก

 ค. อธิบดีผู้พิพากษาศาลฎีกา ง. ไม่มีข้อถูก

 คำตอบ ก. “ประธานศาลอุทธรณ์” หมายความว่า อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วย

 ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลากร

2. ข้าราชการศาลยุติธรรม หมายถึงใคร

 ก. สมศรี เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 3 ข. สมชาย ผู้ช่วยผู้พิพากษา

 ค. สมเดช เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม 1 ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก

 คำตอบ ง. “ข้าราชการศาลยุติธรรม” หมายความว่า ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ

 ข้าราชการฝ่ายตุลาการ

3. ข้าราชการตุลาการ หมายถึงใคร

 ก. อนันต์ อธิบดีผู้พิพากษา ข. อรุณ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น

 ค. อดิศร ผู้ช่วยผู้พิพากษา ง. ถูกทุกข้อ

 คำตอบ ง. “ข้าราชการตุลากร” หมายความว่า ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ

 ฝ่ายตุลาการ

4. ข้อใดมิใช่ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม

 ก. กนิษฐา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข. กรกนก เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรม 3

 ค. กษมา ลูกจ้างชั่วคราว ง. ถูกทุกข้อ

 คำตอบ ค. “ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม” หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมาย

 ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

5. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรียกโดยย่อว่าอะไร

 ก. ก.ศ. ข. ก.บ.ศ.

 ค. ค.บ.ศ. ง. ค.บ.ศ.

 คำตอบ ข. “ก.บ.ศ.” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม

6. คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เรียกโดยย่อว่าอะไร

 ก. ก.ศ. ข. ก.บ.ศ.

 ค. ค.ข.ศ. ง. ก.ข.ศ.

 คำตอบ ก. “ก.ศ.” หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม

7. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสำนักงานศาลยุติธรรม

 ก. เป็นหน่วยงานอิสระ ข. มีฐานะเป็นนิติบุคคล

 ค. เป็นรัฐวิสาหกิจ 

 ง. การแบ่งส่วนราชการภายในและการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ทำเป็นประกาศ ก.บ.ศ.

 คำตอบ ค. ให้มีสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล

  การแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานศาลยุติธรรมและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ

 ส่วนราชการนั้น ให้ทำเป็นประกาศ ก.บ.ศ.

   ประกาศตามวรรคสอง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากประธานศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจา

 นุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

8. สำนักงานศาลยุติธรรมมีหน้าที่อะไร

 ก. งานธุรการของศาลยุติธรรม ข. งานส่งเสริมงานตุลาการ

 ค. งานวิชาการของศาลยุติธรรม ง. ถูกทุกข้อ 

 คำตอบ ง. สำนักงานศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการของศาลยุติธรรม งานส่งเสริม

 งานตุลาการ และงานวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่ศาลยุติธรรม รวมทั้ง

 เสริมสร้างให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

9. ข้อใดเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำศาลยุติธรรมที่จะต้องรับผิดชอบ

 ก. งานธุรการ ข. งานช่วยค้นคว้าทางวิชาการแก่ผู้พิพากษา

 ค. ประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ ง. ถูกทุกข้อ

 คำตอบ ง. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำศาลยุติธรรมทุกแห่ง ให้เพียงพอที่จะ

 รับผิดชอบงานธุรการ งานช่วยค้นคว้าทางวิชาการแก่ผู้พิพากษา รวมตลอดทั้งการประสานงานกับ

 ส่วนราชการต่างๆ และงานอื่นใดตามที่ศาลยุติธรรมมอบหมาย

10. ใครมีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการโดยทั่วไปของสำนักงานศาลยุติธรรม

 ก. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ ข. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

 ค. ผู้อำนวยการศาลยุติธรรม ง. จ่าศาล

 คำตอบ ข. ให้มีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา

 มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ

 ของทางราชการ รวมทั้งระเบียบ ประกาศ และมติของ ก.บ.ศ. และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการใน

 สำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ

11. บุคคลใดเป็นผู้แทนของสำนักงานศาลยุติธรรมในกิจการของสำนักงานศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก

 ก. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ ข. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

 ค. ผู้อำนวยการศาลยุติธรรม ง. จ่าศาล

 คำตอบ ข. ในกิจการของสำนักงานศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการสำนักงาน

 ศาลยุติธรรมเป็นผู้แทนของสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อการนี้ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมจะ

 มอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติราชการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ ก.บ.ศ.

 กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

12. ข้อใดเป็นประธานคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม

 ก. ประธานศาลฎีกา ข. อธิบดีศาลอุทธรณ์

 ค. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก

 คำตอบ ก. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.บ.ศ” มีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน

 กรรมการบริหารศาลยุติธรรม

13. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมข้อใดกล่าวถูกต้อง

 ก. เลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาได้

 ข. เลือกจากข้าราชการตุลาการในศาลฎีกา จำนวน 4 คน

 ค. เลือกจากข้าราชการตุลาการในศาลอุทธรณ์ จำนวน 4 คน

 ง. เลือกจากข้าราชการตุลาการในศาลชั้นต้น จำนวน 4 คน

 คำตอบ ก. ให้มีคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า “ก.บ.ศ.” ประกอบด้วย

(1) ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม

(2) กรรมการบริหารศาลยุติธรรมซึ่งข้าราชการตุลาการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา

 เป็นผู้เลือกจากข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล ดังต่อไปนี้

(ก) ศาลฎีกา ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลฎีกาในตำแหน่งที่ไม่

 ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 4 คน

(ข) ศาลอุทธรณ์ ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลอุทธรณ์

 และศาลอุทธรณ์ภาคในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หรือผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค

 จำนวน 4 คน

(ค) ศาลชั้นต้น ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการผู้มีอาวุโสสูงสุด 100 คนแรกที่ดำรง

 ตำแหน่งในศาลชั้นต้น และซึ่งมิใช่ข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส จำนวน 4 คน

(3) กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือ

 ด้านการบริหารและการจัดการซึ่งประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม และกรรมการบริหารศาลยุติธรรม

 (2) เป็นผู้เลือกจากบุคคลซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการหรือข้าราชการศาลยุติธรรม จำนวน

 ไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 4 คน

14. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี

 ก. 35 ปี ข. 40 ปี

 ค. 45 ปี ง. 50 ปี

 คำตอบ ข. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม

 ดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์

(3) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา

 สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

(4) ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง

(5) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน

 ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง

(6) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามกฎหมาย

 ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมหรือตามกฎหมายอื่น

(7) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(8) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด

 ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(9) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วย

 ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมหรือตามกฎหมายอื่น

15. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีวาระคราวละกี่ปี

 ก. 1 ปี ข. 2 ปี

 ค. 4 ปี ง. 5 ปี

 คำตอบ ข. กรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน

 สองวาระติดต่อกันไม่ได้

เจ้าหน้าที่ศาล คืออะไร

(ตฺระ-) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ศาล มีหน้าที่ชำระชี้ขาดข้อเท็จจริงในคดีความ เช่น ให้ผู้เปนตระลาการไต่สวนผู้เปนสักขิญานรู้เหน (สามดวง), กระลาการ ก็เรียก.

ศาล มีตําแหน่งอะไรบ้าง

สายงานเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม - มาตรฐานกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม ... .
สายงานเจ้าพนักงานคดี ... .
สายงานวิเทศสัมพันธ์ ... .
สายงานวิชาการพัสดุ ... .
สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน ... .
สายงานบรรณารักษ์ ... .
สายงานวิชาการเงินและบัญชี ... .
สายงานทรัพยากรบุคคล.

ผู้พิพากษาเงินเดือนกี่บาท

ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษา (ศาลชั้นต้น) จะมี อัตราเงินเดือน 21,800 57,190 บาท และมีเงินประจำตำแหน่งแตกต่างกันไป - ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคถึงประธานศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษา ศาลฎีกาถึงรองประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน 57,190 - 62,000 บาท และ มีเงิน ประจำตำแหน่งแตกต่างกันไป

เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมปฏิบัติการ สอบอะไรบ้าง

2.2 ตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรมปฏิบัติการ 1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3) กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน 4) ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม