ยกตัวอย่างการปฏิบัติตนถูกกาลเทศะ 1 ตัวอย่าง

คือ รู้สึกว่า ไม่ค่อยมีใครสอนเรื่องมารยาท และกาลเทศะ ให้กับคนรุ่นใหม่


ดิฉันเห็นด้วยทีเดียว และเราก็มักจะถกกันว่า ใครคือผู้ที่ควรจะสอนสิ่งเหล่านี้ให้กับคนรุ่นใหม่


ผู้ปกครองมักจะตอบว่า ครูต้องเป็นผู้สอน โรงเรียนต้องสอน  ในขณะที่โรงเรียนบอกว่า ที่บ้านต้องสอน แต่ละครอบครัวต้องสอน  ดิฉันเห็นว่า เราไม่ควรจะมานั่งเกี่ยงกันหรอกค่ะว่าใครควรจะเป็นคนสอน  ทางที่ดีที่สุด คือ ต้องช่วยกัน ใครเห็นว่าสถานการณ์ไหนเหมาะสมที่จะสอน ก็ต้องสอน  มารยาทที่ดิฉันเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงในสังคมไทย คือ


1.การเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น


โปรดเอื้อเฟื้อต่อเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ สตรี และบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ


หลายครั้งที่เห็นคนนั่งในรถ ไม่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อเด็กหรือผู้สูงอายุ หรือคนที่มีข้าวของเยอะ เราเริ่มเป็นสังคม “ตัวใครตัวมัน”  ยิ่งหากเป็นคนที่เรารู้จัก ที่อยู่ในข่าย เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ สตรี และบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ  เรายิ่งควรจะเอื้อเฟื้อมากขึ้น  ต้องออกปากก่อน และเขาจะรับหรือไม่รับก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง การไม่ออกปากเอื้อเฟื้อเลย ถือเป็นมารยาทที่ไม่ดีอย่างยิ่ง
การเอื้อเฟื้อ สามารถทำได้ทั้งด้านน้ำใจ และด้านสิ่งของ  หากมีอะไรที่เกินพอกับความต้องการ ก็สามารถแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้


2. มีสัมมาคารวะ


หมายถึง ความเคารพนอบน้อม  ไม่ว่าจะเป็นการทักทาย การรู้จักบทบาทของตน หากรู้จักกัน คนไทยเราจะทักทายด้วยการไหว้ ผู้อ่อนอาวุโสกว่า ต้องเป็นฝ่ายเริ่มทักทายก่อน จะมียกเว้นบ้างในกรณีของหัวหน้างานกับลูกน้อง ลูกน้องต้องทักทายหัวหน้าก่อน ไม่ว่าหัวหน้าจะมีอายุมากหรือน้อยกว่าก็ตาม  อย่างไรก็ดี ในสังคมไทย เราใช้วัยวุฒิเป็นหลัก เพราะฉะนั้น โดยทั่วไปหากอายุน้อยกว่ามากพอสมควร แม้ว่าจะเป็นหัวหน้าก็ควรจะต้องเป็นฝ่ายเริ่มทักทายก่อน


ไม่ได้เสียหายอะไรที่เราจะเป็นฝ่ายเริ่มไหว้ก่อน จริงๆ แล้ว ดีด้วยซ้ำไป เพราะจะทำให้คนชื่นชม ว่า แม้จะมีตำแหน่งใหญ่โต แต่ก็ไม่หยิ่ง


การมีสัมมาคารวะ หมายถึง การมีมารยาทที่ถ่อมสุภาพด้วยค่ะ ดิฉันพบบ่อยค่ะ ที่คนรุ่นใหม่ เดินเรียงหน้ากระดานกันมา และพอสวนกับเราก็เบียดเราจนจะตกฟุตบาท  ดิฉันก็นึกในใจว่า แม้พวกเขาจะไม่รู้จักดิฉันเป็นการส่วนตัว แต่หากเห็นว่าดิฉันมีวัยอาวุโสเพียงพอต่อการเคารพ ก็ควรจะให้เกียรติ โดยการหลีกทางให้บ้าง พอให้เดินสวนกันได้  ไม่ใช่ต้องให้ดิฉันเลือกว่า จะหลบหรือไม่ หากไม่หลบ ก็ต้องเดินชนกับพวกเขา


3. รู้กาลเทศะ


เรื่องนี้มีประเด็นเยอะมาก  การรู้กาลเทศะ หมายถึง อะไรหลายๆ อย่าง เช่น การรู้ว่าสิ่งใดควรจะพูด สิ่งใดไม่ควรพูด


รู้จักสำรวม บ่อยครั้งที่เห็นคนคุยและหัวเราะด้วยความสนุกสนานในงานศพ เพราะไม่ได้เจอกันมานาน บางครั้งลืมตัวจนยิ้มแฉ่งถ่ายรูปหน้าศพด้วยซ้ำไป  ไปงานมงคล เรารื่นเริงได้  แต่ไปงานศพ ควรต้องสำรวมกิริยา ยิ้มให้กันได้ แต่ไม่ใช่นั่งหัวเราะเอิ้กอ้าก


เรื่องการใช้เสียงก็เป็นเรื่องที่บาดหูพอสมควร  คนสมัยนี้ รู้สึกว่าทุกแห่งเป็นที่ส่วนตัวไปหมด คุยกันเสียงดังได้ยินข้ามห้อง หรือบางคนคุยโทรศัพท์มือถือเสียงดังลั่นลิฟต์ เป็นต้น


การคุยโทรศัพท์ในขณะเข้าห้องน้ำ เป็นกิริยาที่แย่มากๆ ถือเป็นการไม่ให้เกียรติคู่สนทนา ดิฉันพบสาวๆ คุยโทรศัพท์ระหว่างทำธุระเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำตามโรงแรม ตามร้านอาหาร หรือแม้แต่สถานที่ทำงานทั่วๆ ไป  จนทำธุระเสร็จ กดชักโครกแล้ว ก็ยังคุยต่อเนื่อง  มีอยู่ครั้งหนึ่งอดรนทนไม่ไหว จึงออกปากถามว่า  ไม่รู้สึกอายที่คนอีกฝั่งหนึ่งจะได้ยินเสียงที่คุณทำธุระหรือคะ  ได้คำตอบจากสาวน้อยคนนั้นว่า “สนิทกันค่ะ ไม่เป็นไร”  ดิฉันก็ไม่รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งที่เขาฟังอยู่เป็นไรหรือไม่ที่ต้องฟังเสียงคู่สนทนาทำธุระในการขับถ่าย จนกระทั่งกดชักโครกเสร็จ


รู้กาลเทศะ ยังรวมถึง มารยาทในการไม่เห็นแก่ตัว หากเขาให้เกียรติเป็นผู้มีโอกาสเลือกก่อน ไม่ควรคว้าสิ่งที่ดีที่สุด ในบรรดาของที่มีอยู่ทั้งหมด ให้เลือกอันที่ดีน้อยที่สุด หรืออันกลางๆ  ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือของใช้  เว้นแต่ผู้มอบจะเจาะจงหยิบให้เท่านั้น  ข้อนี้ส่วนใหญ่ทำตรงกันข้าม  ถ้าได้เลือกก่อน ฉันจะเลือกอันที่โตที่สุด สวยที่สุด ดีที่สุด


การเข้าคิว ก็ถือเป็นการรู้กาลเทศะอย่างหนึ่ง

4. หัวหน้าต้องคิดถึง "คนอื่น" ก่อนคิดถึง "ตัวเอง"


คำแนะนำข้อนี้ เพื่อนร่วมงานเก่าเคยมาขอบคุณ เขาบอกว่า เขามาเข้าใจลึกซึ้งว่าคนเป็นหัวหน้าต้องเสียสละเพียงใด เมื่อเขาไม่มีหัวหน้าแล้ว และเขาได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการทำงาน ทำให้เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานทุกคน
 ดิฉันเชื่อและยึดหลักการนี้มาตลอด  “ผู้นำ” ต้องคิดถึงคนอื่นก่อนคิดถึงตัวเอง   เพราะโดยทั่วไปองค์กรจะ “จัดหา” สิ่งที่ดีกว่าให้หัวหน้าอยู่แล้ว โดยตำแหน่ง  แต่ถ้าหัวหน้าคว้าแต่สิ่งที่ดีๆ อื่นๆ ไปตลอดเวลา  ลูกน้องก็อาจจะไม่มีโอกาสได้อะไรดีๆ เลย  เพราะทุกคนรู้ดีว่า ทรัพยากรย่อมมีอยู่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นองค์กรในระดับเล็กหรือใหญ่ขนาดไหนก็ตาม


พอเป็นผู้ให้แล้ว จะมีความสุข  และเชื่อไหมคะ ยิ่ง “ให้” มาก ก็ยิ่ง "ได้รับ" มากค่ะ  ไม่ว่าจะเป็นความเคารพนับถือ ความร่วมมือ หรือความไว้วางใจ และที่สำคัญคือได้รับความสุขใจ


5.  ให้เกียรติผู้อื่น


อันนี้อาจจะคล้ายๆ การมีสัมมาคารวะ แต่เป็น การพูดดี คิดดี ทำดี มีกิริยาที่ดี เช่น หากเราไปถึงประตูก่อน ก็ต้องเปิดประตูให้ผู้อื่นผ่านเข้าไป แล้วตัวเราจึงจะเข้าไปทีหลัง  ยิ่งถ้าเป็นผู้ชาย ยิ่งต้องทำ  แต่สิ่งที่พบอยู่ทุกวันนี้กลับตรงกันข้าม เดินตามเข้าประตูไปแล้ว ยังอาจจะถูกบานประตูแกว่งมาใส่หน้าด้วยซ้ำไป


การรับฟังคนอื่นพูด ไม่ผูกขาดการสนทนาคนเดียว ถือเป็นการให้เกียรติคู่สนทนา การใช้เสียงและภาษา รวมถึงสรรพนามในการเรียกคู่สนทนา เราต้องถ่อมตัวเราลงมาเสมอ อย่าตีตัวเสมอคู่สนทนา โดยเฉพาะการสนทนาโดยยังไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน ไม่ทราบว่าคู่สนทนาอายุเท่าใด


การรู้จักมารยาทและกาลเทศะ เป็นการเปลี่ยนทัศนคติอย่างหนึ่งในการมองตัวเองในบริบทของสังคม ซึ่งเมื่อทำแล้วจะช่วยให้ชีวิตดำเนินไปได้ราบรื่นยิ่งขึ้น เมื่อพบอุปสรรค ก็จะสามารถก้าวผ่านไปได้อย่างไม่ยากลำบาก  ลองฝึกลูกหลาน หรือหากเมตตาก็ช่วยฝึกเยาวชนทั่วๆ ไปที่พบเห็นด้วยนะคะ แล้วเขาจะรู้สึกว่าชีวิตของเขาเปลี่ยนไปจริงๆ

การปฏิบัติตนถูกกาลเทศะหมายความว่าอย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง

การปฏิบัติตนตามกาลเทศะ คือ การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อ เวลาและสถานที่ เป็นวัฒนธรรมที่ดีงามที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา การฝึกฝนและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องจะแสดงถึงความเป็น ผู้มีมารยาทที่ดี

การปฏิบัติตนในโรงเรียนมีอะไรบ้าง

2.1 นักเรียนต้องรักษาความเป็นระเบียบในห้องเรียน ไม่ส่งเสียงดัง ไม่หยอกล้อกัน ต้องตั้งใจเรียน และฟังครู-อาจารย์ ด้วยความเคารพ ไม่ลุกจากที่นั่งโดยไม่ได้รับอนุญาต 2.2 นักเรียนทุกคนมีหน้าที่รักษาความสะอาด รักษาทรัพย์สินต่าง ๆ ของห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ 2.3 ห้ามนำวิชาอื่นขึ้นมาทำในคาบที่มิใช่วิชาประจำคาบนั้น ๆ

กาลเทศะ มีความสําคัญอย่างไร

กาลเทศะเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง กาลเทศะ คือความเหมาะสม ที่เราควรกระทำกับสถานที่นั้นๆ และเหตุการณ์นั้นๆ ชื่อเสียงต่างๆที่เราสะสมมาทั้งกระกูลก็ขึ้นอยู่กับกาลเทศะ ถึงแม้เราจะมีชื่อเสียง มีอำนาจ มียศถาบรรดาศักดิ์มากเพียงใด หากเราไม่มีกาลเทศะ ผู้อื่นก็จะมาติเตียนและมองเราไม่ต่างจากคนธรรมดาทั่วไปที่ไม่มีมารยาทในสังคม ...

การปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะมีอะไรบ้าง

มารยาทตามกาลเทศะ 1.1 ยืนแบบธรรมดา ส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ปล่อยตัวตามสบายแขนห้อยแนบลําตัว ตามองตรง ไม่กอดอก หรือล้วงกระเป๋า 1.2 ยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ ตัวตรงเท้าชิด แสดงความนอบน้อมด้วยไหล่ และศีรษะที่ก้มลงเล็กน้อย สองมือประสานไว้ข้างหน้า ไม่ยืนค้ําหัวผู้ใหญ่ไม่จ้องหน้าผู้ใหญ่ 2. การเดิน มีอยู่4 แบบ คือ