การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) คืออะไร

SWOT Analysis เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนกลยุทธ์เบื้องต้น เพื่อใช้วิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรและกระบวนการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (ความเสี่ยง) สำหรับพัฒนาความสามารถในการแข่งขันเพื่อหาข้อได้เปรียบในตลาด ไม่ว่าจะเป็นการปิดจุดอ่อน การลงทุนเพื่อส่งเสริมจุดแข็ง ไปจนถึงการหยุดลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) คืออะไร

ปัจจัยภายในองค์กร

S – Strength (จุดแข็ง)

การวิเคราะห์หาจุดแข็งที่ทำได้ดีหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดความแตกต่าง และสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร สินค้าและบริการ หรือการทำงานของทีมงาน เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ที่สูงกว่าคู่แข่ง เงินทุนจำนวนมากสำหรับการลงทุนและขยายกิจการ สถานที่ตั้งอยู่ใกล้ BTS/MRT มีผู้คนผ่านจำนวนมาก เป็นต้น

แนวทางการตั้งคำถามเบื้องต้นเพื่อหาจุดแข็งขององค์กร

  • อะไรคือสิ่งที่ธุรกิจของเราได้เปรียบมากกว่าคู่แข่ง
  • สินค้าและบริการของเรามีความแตกต่างอย่างไร
  • ทีมงานของเรามีความรู้เฉพาะด้านใดเป็นพิเศษ

W – Weakness (จุดอ่อน)

การวิเคราะห์ข้อด้อยที่ทำให้ธุรกิจเสียเปรียบในการแข่งขัน แล้วคิดหากลยุทธ์มาแก้ไขจุดด้อยที่พบเพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็นจุดเด่น

สำหรับการวิเคราะห์ Weakness นั้นจะมีความคล้ายคลึงกับ Strength เพราะเป็นด้านตรงข้ามกันเนื่องจาก Strength คือ สิ่งที่ทำให้เราชนะคู่แข่ง และ Weakness คือ สิ่งที่ทำให้เราแพ้คู่แข่ง ทำให้การตั้งคำถามหรือวิเคราะห์เบื้องต้นมีความคล้ายคลึงกัน เช่น

อะไรคือสิ่งที่ทำให้เราเสียเปรียบคู่แข่ง

  • ทำไมส่วนแบ่งทางการตลาดของเราน้อยกว่าคู่แข่ง
  • ทำไมแบรนด์และสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

ปัจจัยภายนอกองค์กร

O – Opportunities (โอกาส)

การหาทางค้นพบโอกาสทางธุรกิจที่จะส่งผลดีต่อการดำเนินงาน การสร้างรายได้และการทำกำไรเพิ่มขึ้น โดยโอกาสถือเป็นปัจจัยจากภายนอกที่เกิดขึ้นเอง และมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น

  • กระแสสังคมที่ทำให้สินค้าได้รับความนิยม
  • นโยบายรัฐที่ส่งเสริมการใช้จ่ายภายในประเทศ
  • ความต้องการของสินค้าที่ยังไม่เคยมีในตลาด
  • จำนวนผู้ใช้บริการของโซเชียลมีเดีย

ในการแสวงหาโอกาส การติดตามข่าวสารหรือเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้มีองค์ความรู้มากพอสำหรับคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังช่วยให้เราเตรียมตัววางกลยุทธ์สร้างโอกาสให้ธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

T – Threats (อุปสรรค)

การคาดการณ์ผลกระทบเชิงลบทางธุรกิจที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่เสี่ยงเกิดอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เช่น

  • โรคระบาดครั้งใหญ่ที่ทำให้ยอดขายลดลง
  • การชุมนุมที่ก่อให้เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจ
  • สินค้าทดแทนที่มีมากขึ้น
  • การปรับตัวของคู่แข่งหรือธุรกิจสายงานเดียวกัน

หากธุรกิจไม่ได้เตรียมตัวรับมือให้ดีพอ เสี่ยงส่งผลร้ายแรงถึงอาจทำให้การดำเนินงานหยุดชะงักหรือปิดตัวลง

จุดประสงค์หลักของการทำ SWOT Analysis เพื่อให้องค์กร ธุรกิจหรือแม้กระทั่งการประเมินการทำงานของพนักงานแต่ละคน ให้ออกมาเป็นภาพรวมของสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ โดยเมื่อเราเข้าใจ Strength ของเรามากขึ้น ก็จะทำให้มองเห็น Opportunities กว้างกว่าเดิม ขณะเดียวกัน เมื่อเราค้นหา Threats ได้มากขึ้นเท่าใด Weaknesses ของเราก็จะชัดเจนขึ้นเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก Greedisgoods, HardcoreCEO และ Ad Addict TH

   “SWOT” มาจากตัวอักษรย่อของคำ 4 คำคือ Strengths (จุดแข็ง), Weaknesses (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส), Threats (อุปสรรค) SWOT คือ เทคนิคการวิเคราะห์ทางการตลาดของบริษัทตัวเองเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการตลาด SWOT ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายครั้งแรกที่มหาวิทยาลัย Harvard ในสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1960

เมื่อผู้บริหารบริษัทนำเทคนิค SWOT มาประยุกต์ใช้เพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับบริษัท SWOT ได้แสดงผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัทเพิ่มขึ้นจึงมีการนำ SWOT มาใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายธุรกิจจนแพร่หลายไปทั่วโลก
            อีกเหตุผลหนึ่งที่ SWOT ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และยังนิยมมาจนถึงทุกวันนี้คือ SWOT นั้นสามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท แม้กระทั่งทุกวันนี้ในยุคที่ทุกอย่างถูกนำเข้าสู่ระบบออนไลน์ SWOT ก็สามารถนำมาใช้ได้กับธุรกิจออนไลน์ได้ รวมถึงมีบรรดาผู้ผลิต Software ผลิต Application ออกมาเพื่อช่วยให้การใช้งานเทคนิค SWOT ทำได้ง่ายมากขึ้น

ความหมายของตัวอักษร SWOT
1. Strengths จุดแข็ง
            วิเคราะห์จุดแข็งของบริษัทเพื่อนำมาใช้เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
2. Weaknesses จุดอ่อน

วิเคราะห์ข้อด้อยในทุกแผนกตามความเป็นจริง เพื่อนำมาลบจุดด้อย
3. Opportunities โอกาส
            วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ทำให้บริษัทได้เปรียบ เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจ สถานการณ์การเมือง เป็นต้น
โดยรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์จากข่าวสาร ผ่านสื่อต่าง ๆ
4. Threats อุปสรรค
            วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์กรที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ทำให้ธุรกิจดำเนินงานได้ไม่สะดวก

>> วิเคราะห์ SWOT ธุรกิจสามารถนำมาใช้ได้เมื่อไร?​
ข้อความที่เกี่ยวข้องภาษาไทย
บริการข้อมูลธุรกิจ,ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสินเชื่อ,การพัฒนา และบริหารจัดการฐานข้อมูล,การบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ,ประเมินความเสี่ยงการทำธุรกิจระหว่างประเทศ,การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ
ข้อความที่เกี่ยวข้องภาษาอังกฤษ
business information services,credit risk management solution,database building & management solution,Business Information & Credit Risk Management
ข้อมูลที่มา หนังสือ Bussiness Plus
-------------------------------------
AR GROUP : ตอบแทนสู่สังคมไทย

SWOT Analysis หมายถึงข้อใด

SWOT Analysis เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนกลยุทธ์เบื้องต้น เพื่อใช้วิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรและกระบวนการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (ความเสี่ยง) สำหรับพัฒนาความสามารถ ...

SWOT Analysis คืออะไร และมีวิธีการอย่างไร

SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหา จุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสาคัญในการดาเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้ Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ Opportunities - โอกาสที่จะดาเนินการได้ ...

Soar Analysis คืออะไร

SOAR Analysis เป็นเครื่องวิเคราะห์องค์กรที่คล้ายคลึงกับ SWOT แต่ต่างกันตรงที่ SOAR เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยซึ่งเป็นมุมมองเชิงบวกทั้งหมด (Positive Factors) และยังบอกถึงวิธีการหรือขั้นตอนที่นำไปสู่เป้าหมาย ซึ่งประกอบไปด้วย 1. Strengths (จุดแข็ง)

SWOT Analysis ใช้ตอนไหน

ในด้านธุรกิจ SWOT Analysis จะถูกนำมาใช้วิเคราะห์องค์กรว่าตอนนี้องค์กรมีสภาพเป็นอย่างไรบ้าง ดำเนินการเป็นอย่างไรบ้าง ตำแหน่งทางธุรกิจในตลาดเป็นอย่างไร องค์กรกำลังดำเนินการไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยเฉพาะ ธุรกิจในปี 2564 ที่เศรษฐกิจทั่วโลกมีความไม่แน่นอน การวิเคราะห์สถานการณ์ให้รอบด้านเป็นสิ่งสำคัญ