การนําเสนอข้อมูลสารสนเทศในสายงาน มีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง

Show

ความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน

 ในอดีตมนุษย์ได้พยายามใช้เทคโนโลยีในยุคนั้นนำเสนอข้อมูล สารสนเทศ การเล่าเรื่อง เช่น การเขียนภาพในผนังถ้ำ ถือเป็นการใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ ที่ใช้เขียน สลัก ขูดขีดให้เป็นรอย หรือแม้แต่ดินสีที่ใช้เขียน การนำเสนอนั้นยังเป็นหลักฐานคงทนให้มนุษย์ปัจจุบันได้ศึกษา ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนสนเทศสร้างคุณภาพชีวิต คุณภาพทางการศึกษา คุณภาพสังคม และคุณภาพของธุรกิจ ในบริษัทหรือองค์กร

ความหมายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน

เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน หมายถึง การถ่ายทอดความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์แน่ชัด ในกลุ่มเป้าหมายเข้าใจภายในเวลากำจัด โดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อกลางในการนำเสนองานไปสู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้นำเสนอ

วัตถุประสงค์ในการนำเสนองาน

 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบสื่อเพื่อการนำเสนองาน การใช้อุปกรณ์สารสนเทศที่สอดคล้องระหว่างสื่อกับวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ โดยสามารถจำแนกวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ ได้ดังนี้

     1.นำเสนอให้ทราบ เป็นการนำเสนอที่ต้องการบอกกล่าว บอกเล่าข้อเท็จจริง เพื่อแก้ข้อขัดแย้งที่มีอยู่เดิมหรือยืนยัน และการนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบเพิ่มเติม

    2.นำเสนอเพื่อการศึกษา เป็นการนำเสนอที่ต้องการให้เกิดความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย การนำเสนอข้อค้นพบในผลงานใหม่ เช่น ผลการทดลองโครงงาน ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมที่พัฒนา

   3.การนำเสนอเพื่อความบันเทิง เป็นการนำเสนอที่ให้ความสนุกสนานการผ่อนคลายเป็นหลัก โดยอาจจะเป็นการนำเสนอด้านเดียวจากผู้นำเสนอ เช่น การร้องเพลง การอ่านคำกลอน

   4.การนำเสนอเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการนำเสนนอที่ชักชวน ชวนเชื่อชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายคล้อยตาม ยอมรับและปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของผู้นำเสนอ ซึ่งเป็นหัวใจขององค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องการเพิ่มผลผลิตหรือกำไร

        การนำเสนอนั้นอาจจะมีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอมากกว่าหนึ่งวัตถุประสงค์ในการนำเสนอครั้งเดียวกัน เช่น การนำเสนอเพื่อการบันเทิงและเพื่อโน้มน้าวใจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอนั้นอาจไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ได้รับการนำเสนอก็ได้

ขั้นตอนการนำเสนองาน

    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำเสนองาน มีขั้นตอนดังนี้

 1.ศึกษาวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ เพื่อให้นำเสนอได้ตรงประเด็น กระชับ และรูว่าต้องมีข้อมูลในกานนำเสนอมากน้อยเพียงใด

 2.วิเคราะห์และเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เป็นการศึกษาเข้าใจธรรมชาติของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับการนำเสนอ โดยมีแนวการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการนำเสนอ ดังนี้

 1) กลุ่มเป้าหมายคือใคร เกี่ยวข้องกับเรื่องที่นำเสนออย่างไร

 2) แนวความคิดและประสบการณ์ของกลุ่มผู้ฟัง

3) ความคาดหวังของกลุ่มผู้ฟัง

4) ระดับความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในเนื้อหาที่นำเสนอของกลุ่มผู้ฟัง

5) ภูมิหลังหรือเรื่องราวที่อาจมีอิทธิพลต่อกลุ่มผู้ฟัง

6) ทัศนคติและสิ่งที่ผู้ฟังรับรู้เกี่ยวกับผู้นำเสนอ

7) ข้อมูลอื่นๆ เช่น จำนวนผู้ฟัง ช่วงเวลาในการนำเสนอ ระยะเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ ลำดับการนำเสนอ สถานที่ประชุม

  1. วางแผนการนำเสนอ เป็นการเตรียมเนื้อหาที่จะสื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และควรกำหนดขอบเขตเนื้อหาที่กลุ่มเป้าหมายควรรู้

4.ผลิตสื่อประกอบการนำเสนอ จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็นภาพรวมของข้อมูลและติดตามเนื้อหาได้ทัน

5.เตรียมบุคลิกภาพขณะนำเสนอ บุคลิกภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความมั่นใจในขณะพูดทำให้ผู้ฟังประทับใจ และสนใจติดตาม บุคลิกภาพขณะนำเสนอที่ควรทำมี ดังนี้

      1) ภาษา ต้องเหมาะสมกับระดับวัย การศึกษาของกลุ่มเป้าหมาย สื่อความเข้าใจ             ได้ดี

      2) การใช้เสียง ควรใช้เสียงให้เป็นธรรมชาติ ระดับเสียงดังสม่ำเสมอ

      3) การใช้สายตา เป็นสิ่งที่ดึงดูดสายตาผู้คน และควรสบตาให้ทั่วถึง

      4) การแต่งกาย เป็นสิ่งแรกที่ดึงดูดสายตาผู้คน สามารถบ่งบอกถึงบุคลิกภาพ นิสัย และทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจและน่าเชื่อถือ

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 

                   ได้แก่ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการนำเสนองาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อสำหรับการแสดงผล ผู้นำเสนอจะต้องเลือกใช้อุปกรณ์เหล่านี้ให้ตรงกับการใช้งาน หรือออกแบบสื่อที่ต้องใช้ประกอบกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างลงตัวโดยมีรายละเอียดดังนี้

1.1 เครื่องฉายภาพสามมิติ (Visualizer)

                          เป็นเครื่องมือนำเสนองานทำหน้าที่ขยาย โดยฉายภาพจากของจริง ส่งไปปรากฏบนจอรับภาพ โดยจะต้องทำงานร่วมกับโพรเจกเตอร์และจอรับภาพงานที่นำเสนออาจจะเป็นรูปภาพจากหนังสือ เอกสารสิ่งพิมพ์ ข้อความ แผนภาพ แผนภูมิ แผนผัง แผนที่จากเอกสารสิ่งพิมพ์ หรือการเขียนข้อความ วาดภาพหรือลายเส้นลงบนกระดาษที่วางอยู่บนจอรับภาพของเครื่องฉายภาพสามมิติ และยังเหมาะสำหรับผลงานที่เป็นผลผลิตขนาดเล็ก จำนวนน้อย ไม่สามารถแจกจ่ายให้ทุกคนเห็นได้ อีกทั้งวัตถุที่นำเสนออาจจะมีราคาแพง ไม่คุ้มค่า ไม่ปลอดภัยในการให้จับ สัมผัสจึงนำมาเสนอที่เครื่องฉายสามมิติ

                   1.2 คอมพิวเตอร์ (Computer)

                         เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้นำเสนอกับเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ โดยคอมพิวเตอร์

สามารถนำเสนอข้อมูลได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้อความเสียง รูปภาพ แผน๓มิ แผนภาพ ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นดีวิทัศน์ แอนิเมชัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เครื่องนำเสนอนี้ จะต้องมีความพร้อมในการรองรับการนำเสนอทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์โดยฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นต้องใช้ มีดังนี้

1) เครื่องอ่านซีดีรอมหรือดีวีดีรอม(CD/DVD ROM)

2) การ์ดรีดเดอร์ (Card Reader)

3) พอร์ตยูเอสบี (USB)

4) การ์ดเสียง (Sound Card)

5) การ์ดจอ (VGA Card)

                    1.3  โพรเจกเตอร์ (Projector)

                           เป็นอุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ โดนสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี และเครื่องกำเนิดภาพอื่นๆ โพรเจกเตอร์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในหน่วยงานราชการ สถานศึกษา สำนักงานหรือบริษัทเอกชน

               1.4 จอรับภาพ (screen)

                    เป็นอุปกรณ์สำหรับรับภาพฉายที่มาจากโพรเจกเตอร์ เครื่องฉายสไลด์จอรับภพจะมีคุณสมบัติในการสะท้อนและเกลี่ยแสงไม่ทำให้เกิดแสงจ้า หรือสะท้อนกลับจนรบกวนสายตาผู้ชม การนำเสนอจึงต้องตรวจสอบว่า จอภาพที่ใช้เป็นแบบดึงหรือแบบแสดงจอภาพด้วยไฟฟ้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสร้างความมั่นใจให้กับการนำเสนอ

                    1.5 กระดานอัจฉริยะ (interactive White Board)

                    เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศหนึ่งที่ถูกนำเข้ามาใช้เพื่อช่วยในการจัดการนำเสนอลดบทบาทชอล์ก กระดานดำ จนถึงไวท์บอร์ด ซึ่งเป็นสื่อพื้นฐาน โดยที่กระดานอัจฉริยะสามารถจัดการนำเสนอได้ตั้งแต่ข้อความรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อน

ไหว วีดีทัศน์ โดยจัดนำเสนอที่ด้านหน้าห้องประชุมหรือห้องเรียนผู้รับการนำเสนอสามารถมีส่วนร่วมกับอุปกรณ์เสริมที่มีมากับกระดานได้ เช่น การกดโหวต การเลือกตอบคำถามในระยะไกลแบบไร้สาย ผู้รับการนำเสนอผลงานด้านหน้าห้องเรียนหรือห้องประชุม โดยที่ผู้นำเสนอก็ปฏิบัติการนำเสนอที่หน้าห้องเช่นเดียวกันซึ่งจุดเด่นที่แตกต่างจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอ คือ ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่หน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งทำให้ขาดอิสระในการเคลื่อนไหว และมีข้อดีกว่าเมาส์รีโมต เนื่องจากสามารถปฏิบัติการผ่านหน้าจอรับภาพที่เป็นกระดานได้ทันที การเขียนข้อความ การลาก การคลิกปุ่ม

                     1.6 เมาส์ (mouse) 

                                               เป็นอุปกรณ์สำหรับการชี้ตำแหน่งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้สายตา หรือความสนใจของผู้นำเสนอนั้นเคลื่อนไหวตามตัวชี้เมาส์ เช่น ในการชี้ตำแหน่งไปที่ตาราง ตัวเลข ที่สำคัญจากการทดลอง หรือการรายงานนำเสนอ จึงมีการพัฒนาเมาส์ เพื่อการนำเสนอที่แตกต่างจากเมาส์ที่ใช้ในการทำงานปกติ ดังนี้

1) รีโมตเมาส์ หรือเมาส์พรีเซนเตอร์ (Present Mouse)

                              เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเสนอแบบไร้สาย ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำงานร่วมกับ Microsoft PowerPoint  มีปุ่มกดส่งสัญญาณบรูทูธไปที่เครื่องรับพอร์ต USB เพื่อการประมวลผล มีตัวชี้เป็นลำแสงเลเซอร์และทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนสไลด์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้นำเสนอ

                           2) แอร์เมาส์ (Air Mouse)

                              เป็นเมาส์ชนิดไร้สาย ทำงานในระยะไกล แตกต่างจากรีโมตเมาส์ คือ มีตัวชี้เป็นเมาส์ สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ได้เหมือนเมาส์ปกติ

                      1.7 ไมโครโฟน ( microphone)

                   เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ในการทำงานต้องมีเครื่องขยายเสียงและลำโพงด้วย ไมโครโฟนมีลักษณะ ดั้งนี้

– ไมโครโฟนแบบมีสาย

                              สามารถเคลื่อนที่ได้หรือติดตั้งอยู่กับโต๊ะ โดยมีสัญญาณเชื่อมต่อกับเครื่องขยายเสียง ส่วนใหญ่ใช้ในงานนำเสนอที่เป็นทางการ เน้นการบรรยาย

           – ไมโครโฟนไร้สายมีหลายลักษณะตามวัตถุประสงค์การใช้งานดังนี้

1. ไมโครโฟนแบบติดตามตัว

2. ไมโครโฟนสำหรับถือ

รูปแบบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์

 ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบ คือ

1.  การนำเสนอแบบ Web page 

     เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่าง ๆ ตลอดจน สามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบกันได้แต่ต้องใช้เวลาในการจัดทำ มากกว่า รูปแบบอื่นและผู้จัดทำต้องมีความรู้ความชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ

2.  การนำเสนอแบบ Slide Presentation 

     เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่ใช้ง่ายมากมีรูปแบบการนำเสนอให้เลือกใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสัน ทั้งสีพื้น สีของตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก ในปัจจุบันสื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentationหรือ สไลด์ดิจิทัล มักจะสร้างด้วยโปรแกรมในกลุ่ม Presentation เช่น Microsoft PowerPoint, OfficeTLE Impress เทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ความมีความโดดเด่น น่าสนใจ จะเน้นความคิด “ หนึ่งสไลด์ต่อ หนึ่งความคิด ” มีการสรุปประเด็น หรือสาระสำคัญโดยมีแนวทาง 3 ประการในการออกแบบ ได้แก่

     1) สื่อความหมายได้รวดเร็ว สื่อนำเสนอที่ดีต้องสามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟัง ผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบ สื่อนำเสนอในประเด็นนี้ผู้ออกแบบจะต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ สถานที่ และเวลาที่ต้องการนำเสนอเพื่อประกอบการออกแบบสื่อ เช่น กลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก สื่อควรมีให้ความสำคัญกับผู้ฟังมากกว่าเนื้อหา สามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของโปรแกรมสร้างสื่อมาใช้ได้อย่างเต็มที่ กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะโต้ตอบ เช่นการนำเสนอทางวิชาการ การบรรยาย หรือฝึกอบรม สื่อนำเสนอควรให้ ความสำคัญกับเนื้อหารวมทั้งยังสามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของโปรแกรมสร้างสื่อ มาใช้ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกิจ เช่นผู้บริหาร นักวิชาการ สื่อนำเสนอจะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาและตัว ผู้นำเสนอเป็นสำคัญเนื้อหาควรมุ่งเฉพาะเป้าหมายของการนำเสนอ ไม่เน้น Effect มากนัก กลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ การนำเสนอมักใช้ความสำคัญกับผู้บรรยายมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ ดังนั้น สื่อนำเสนอไม่ควรเน้นที่ Effect แต่ควรให้ความสำคัญกับขนาดตัวอักษร สีตัวอักษร และลักษณะของสีพื้นสไลด์

     2) เนื้อหาเป็นลำดับ สื่อนำเสนอที่ดีควรมีการจัดลำดับเนื้อหาเป็นลำดับ มีระเบียบ ดูง่าย ไม่สับสนสิ่งที่ จะช่วยให้การออกแบบสื่อนำเสนอที่ต้องการจัดลำดับเนื้อหาให้เป็นระเบียบ และดูง่าย คือ

          2.1) รูป แบบเนื้อหา สื่อนำเสนอแต่ละสไลด์ ควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอแบบย่อหน้า หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรใช้ เทคนิคการเน้นแนวคิดหลัก( Main Idea) ในแต่ละย่อหน้าด้วยสีที่โดดเด่น เช่น พื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำ ควรเน้นแนวคิดหลัก ( Main Idea)ด้วยสีแดงเป็นต้น แต่ละสไลด์เนื้อหาไม่ควรเกิน 6 – 8 บรรทัด ควรสรุปเนื้อหาให้เป็นหัวเรื่อง (Title) และหัวข้อ(Topic) หรือแนวคิดหลัก (Main Idea)

          2.2) แบบอักษร การควบคุมการแสดงข้อความในแต่ละสไลด์ ควรให้ความสำคัญ กับขนาดตัวอักษร ดังนี้

– หัวข้อใหญ่กำหนดขนาดตัวอักษรใหญ่กว่าหัวข้อย่อย

– เลือกใช้แบบอักษรที่เหมาะสม

– เปลี่ยนลักษณะของตัวอักษรนั้น ใช้ตัวหนาในข้อความที่ต้องการเน้น

– ใช้ช่องว่างในการจัดกลุ่มของเนื้อหา

– ข้อความที่ต้องการให้อ่านก่อน ควรจัดไว้ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของหน้า

– พิมพ์ตัวอักษรลงกรอบที่วางแบบไว้แล้ว

– ขึ้นหัวข้อก่อนแล้วจึงอธิบายอย่างละเอียด

– ใช้สีที่แตกต่างกัน หรือตัวอักษรสีสลับกัน

     3) สื่อนำเสนอต้องสะดุดตาและน่าสนใจ สื่อนำเสนอที่ดีนั้นจะต้องมีจุดเด่นน่าสนใจ สามารถดึงดูดสายตาของผู้ดู ผู้ฟังได้ ซึ่งจุดเด่นนี้ได้มาจากขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่ หรือจากการใช้สีที่แตกต่างออกไป รวมถึง การเลือกใช้ภาพ การใช้สี และการใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ที่เหมาะสมประกอบ การนำเสนอ

         3.1) การใช้ภาพ เนื่องจากภาพจะช่วยให้ผู้ชม ผู้ฟัง สามารถจดจำได้นานกว่าตัวอักษร ดังนั้น การแปลงเนื้อหาให้เป็นรูปภาพหรือผังภาพก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างความ น่าสนใจ ให้กับสื่อที่นำเสนอการเลือกใช้ภาพก็ควรเลือกใช้ภาพที่มีลักษณะที่เหมาะสม กันและกัน คือถ้าในสไลด์นั้นเลือกใช้ ภาพถ่ายก็ควรใช้ภาพถ่ายกับภาพทุกภาพในสไลด์ แต่ถ้าเลือกใช้ภาพวาด ก็ควรเลือก ภาพวาดทั้งสไลด์เช่นกันดังนั้นจึงไม่ควรใช้ภาพวาดผสมกับภาพถ่าย ใส่เทคนิคที่น่าสนใจให้กับภาพเพื่อสร้างจุดเด่น การเอียงภาพ การเว้นช่องว่างรอบภาพ

การ เปลี่ยนสีภาพให้แตกต่างจากปกติ ควรระวังการเลือกใช้ภาพเป็นพื้นหลังสไลด์ เพราะอาจจะทำให้ผู้ชมสนใจ พื้นสไลด์มากกว่าเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ หรืออาจทำให้ผู้ชมไม่สนใจมองสไลด์เลยก็ได้ เนื่องจากภาพทำให้ตัวอักษรไม่โดดเด่น ไม่น่ามอง หรืออ่านยาก

         3.2) การใช้สี การเลือกใช้สี ควรเลือกใช้สีที่ตัดกันระหว่างสีตัวอักษร สีวัตถุ และสีพื้น เช่น เลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีขาวหรือสีอ่อน ๆ สีตัวอักษรก็ควรจะเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข็มหรือสีแดงเลือดหมู กรณีเลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีเข็ม ควรเลือกใช้สีตัวอักษรที่มองเห็นได้ชัด ในระยะไกลเช่น สีขาว สีฟ้าอ่อน ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีในโทนร้อน เช่น สีแดงสด สีเหลือกสด สีเขียวสด สีวัตถุ สีแท่งกราฟหรือสีของตาราง ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับสีตัวอักษร และสีพื้นด้วย การเลือกใช้สีใด ๆ ก็ควรเป็นสีในชุดเดียวกันสำหรับสไลด์ทั้งหมด ไม่ควรใช้หนึ่งสี หนึ่งไลด์

         3.3) การใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ไม่ควรใส่ Effect มากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ผู้ชม ผู้ฟัง สนใจ Effect มากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ หรืออาจไม่สนใจการนำเสนอเลยก็ได้ และ Effect ที่มากนี้จะเป็น การรบกวนการจดจำ การอ่าน หรือการชมอย่างรุนแรง เลือกใช้ Effect ไม่ควรเกิน 3 แบบ ในแต่ละสไลด์ควรเลือกใช้ Effectแสดงข้อความที่เลื่อนจากขอบ ซ้ายมาขอบขวา ของจอ เนื่องจากธรรมชาติการอ่านของคนไทยจะอ่านข้อความจากกรอบบนลงมา และอ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวา

ที่มา : http://bigbangthemyfriand.blogspot.com/2013/02/3.html

https://sites.google.com/site/cherrysuju/thekhnoloyi-sahrab-na-senx-ngan

http://it63-13231.blogspot.com/p/3.html

การนำเสนอข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มี่กี่ลักษณะ

การน าเสนอข้อมูลสารสนเทศในสายงาน โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีลักษณะ ของการน าเสนอข้อมูล 4 ลักษณะ ดังนี้ คือ ข้อมูลกลุ่มตัวเลขทั้งที่เป็นจ านวนเต็ม ทศนิยม หรือ จ านวนจริง ข้อมูลลักษณะนี้ใช้กันในการศึกษา ค านวณทาง วิทยาศาสตร์การพยากรณ์อากาศ เศรษฐกิจ และข้อมูล ดัชนีหุ้นของตลาดหลักทรัพย์แสดงได้ดังภาพที่1.3.

ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอมีกี่ลักษณะอะไรบ้าง

ลักษณะการนำเสนอที่ดี.
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กล่าวคือ มีความต้องการที่แน่ชัดว่า เสนอเพื่ออะไร โดย ... .
2. มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม กล่าวคือ มีความกระทัดรัดได้ใจความ เรียง ... .
3. เนื้อหาสาระดี กล่าวคือ มีความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรง ถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน ... .
4. มี ข้อเสนอที่ดี กล่าวคือ มีข้อเสนอที่สมเหตูสมผล มีข้อพิจารณาเปรียบเทียบ.

การนำเสนอแบบ Slide Presentation มีกี่รูปแบบ *

รูปแบบการเลือกอุปกรณ์แสดงผลและอุปกรณ์สำหรับใช้ประกอบการนำเสนองาน ปัจจุบันมี 3 รูปแบบ 1. การนำเสนอแบบ Slide Presentation มี 3 รูปแบบ

ประเภทของการนำเสนอข้อมูลมีกี่รูปแบบ

ประเภทขอการนำเสนอ (Type of Presentation) 1. การนำเสนอโดยวิธีธรรมชาติ (Nature Presentation) เช่น ทำตัวอย่างให้ดู สาธิตให้เห็นโดยใช้พฤติกรรมตามธรรมชาติ 2. การนำเสนอด้วยการพูด (Oral Presentation) เช่น พูดและแสดงให้เห็นจริง 3. การนำเสนอด้วยสื่อต่างๆ (Presentation Media) เช่น สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ นิทรรศการ