ตัวอย่างนวัตกรรมด้านการเงิน

เผยแพร่: 25 ม.ค. 2564 11:07   ปรับปรุง: 25 ม.ค. 2564 11:07   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Show

ตัวอย่างนวัตกรรมด้านการเงิน

โดย พรทิพย์ บำรุงชาติอุดม
บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)

ในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอัตราการใช้โทรศัพท์มือถือต่อประชากรโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้การเข้าถึงสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์เป็นไปอย่างแพร่หลาย การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการเงิน หรือ “FinTech” เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และปฏิเสธไม่ได้ว่า Fintech กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนวิถีการทำธุรกรรมทางการเงินเดิมๆ และกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการเงินของโลกในอนาคต
Financial Technology Innovation “FinTech” คือเทคโนโลยีทางการเงินที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การเข้าถึงบริการทางการเงิน การลงทุน และการทำธุรกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับการเงินสามารถทำได้สะดวกสบายขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ FinTech มีขอบเขตการใช้งานที่ครอบคลุมในหลายมิติ ตั้งแต่การเป็นแพลตฟอร์มในการรับ-จ่ายเงินออนไลน์ (Payment Gateway) เช่น ระบบการรับ-จ่ายเงินออนไลน์แบบที่ไม่ต้องไปทำธุรกรรมที่ธนาคารเหมือนในอดีต

แพลตฟอร์มการให้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ (Digital Wallet) เช่น True money wallet หรือแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่ทางรัฐบาลใช้เป็นเครื่องมือในการโอนเงินให้แก่ประชาชน การเป็นแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการด้านการลงทุน เช่น แอปพลิเคชัน Stock Radar หรือ Steaming การเป็นแพลตฟอร์มสำหรับเทคโนโลยีประกันภัย (Insurtech) การเป็นตัวกลางทางระบบการเงินแทนธนาคารเพื่อปล่อยสินเชื่อออนไลน์ (Digital Lending) การเป็นเครื่องมือในการระดมทุนออนไลน์ (Crowd Funding) และการพัฒนาเงินสกุลดิจิทัล (Cryptocurrency) เพื่อทดแทนระบบเงินในปัจจุบัน เช่น Bitcoin ก็เป็นตัวอย่างของบริษัทในกลุ่ม FinTech

ปัจจุบันผู้นำในการพัฒนา FinTech คือกลุ่มบริษัท BigTech รายใหญ่ของโลก โดย FinTech ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการบริการที่ครบวงจรซึ่งจะเห็นได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น บริษัทที่พัฒนาระบบร้านค้าออนไลน์ (E-Commerce) มักจะพัฒนาระบบชำระเงินออนไลน์ (Digital Wallet) เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าสามารถทำธุรกรรมได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างของบริษัทที่เป็นทั้งบริษัท Bigtech และ FinTech ที่เป็นที่รู้จักได้แก่ บริษัท Alibaba ซึ่งพัฒนาระบบกระเป๋าเงินออนไลน์อย่าง Alipay หรือบริษัท SEA Ltd. ที่พัฒนา SHOPEE คู่กับระบบ AirPay ซึ่งไม่เพียงแต่รองรับธุรกิจร้านค้าออนไลน์แล้ว ยังเป็นการพัฒนาเพื่อรองรับการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์มเกมออนไลน์อย่าง Garena อีกด้วย

นอกจากนี้ ระบบสื่อสารออนไลน์ (Communication) ที่มีฐานข้อมูลลูกค้าจำนวนมากก็ยังมีการพัฒนาระบบธนาคารดิจิทัลเพื่อต่อยอดธุรกิจ อย่างบริษัท Tencent ที่พัฒนา WeChat ก็มีการพัฒนา WeBank เพื่อปล่อยสินเชื่อให้ผู้ใช้งานรายย่อย เป็นต้น ไม่เพียงแต่การพัฒนาเพื่อการทำธุรกิจที่ครบวงจรเท่านั้น FinTech ยังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าและใช้งานง่ายกว่าเมื่อเทียบกับระบบการเงินแบบเดิม เช่น บริษัท Square ซึ่งพัฒนาระบบรับ-จ่ายเงิน ระบบโปรแกรมขายหน้าร้าน (POS) และระบบบัตรเครดิตออนไลน์ที่คิดค่าธรรมเนียมต่ำกว่าผู้ให้บริการเดิม และยังพัฒนาระบบการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ (Cash App) สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง-เล็ก ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานกว่า 24 ล้านคนในสหรัฐฯ

ในอีกมิติหนึ่ง FinTech ยังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมสำหรับกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงระบบการเงิน (Unbanked) ซึ่งมีจำนวนสูงถึงร้อยละ 31 ของประชากรโลก (อ้างอิงสถิติจาก World Bank ปี 2017) จึงทำให้การพัฒนา FinTech ในรูปแบบของ Mobile Money (MM) ซึ่งเป็นเสมือนระบบธนาคารเคลื่อนที่ ช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินหรือเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด เช่น M-pesa ซึ่งเป็นบริการการชำระเงินผ่านมือถือยอดนิยมที่ประเทศเคนยา สำหรับประเทศไทยยังมีกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงระบบสถาบันการเงินสูงถึงร้อยละ 18 ของประชากร ก็มีความพยายามในการพัฒนาระบบการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ (Digital Lending) จากผู้ให้บริการทางการเงินหลายบริษัท ซึ่งหากดำเนินการสำเร็จนอกจากจะเป็นการเพิ่มอัตราการปล่อยสินเชื่อแล้วยังเป็นการช่วยลดการปล่อยกู้นอกระบบได้อีกด้วย

จากประโยชน์และจุดเด่นของ FinTech ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้งานอย่างตรงจุดนั้น ทำให้จำนวนผู้ใช้งาน FinTech เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในปีที่ผ่านมาการระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้บริษัทในกลุ่ม FinTech ได้รับความสนใจอย่างมากจากการขยายตัวของตลาด E-Commerce และแนวโน้มการชำระเงินที่ลดการสัมผัส (Contactless Payment) ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ของโลก ทำให้บริษัทในกลุ่ม FinTech ยังมีแนวโน้มการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องในอนาคต ดังนั้น การลงทุนในกลุ่มบริษัท FinTech จึงถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจในแง่ของการเติบโตในระยะยาว และเนื่องจากผลตอบแทนการลงทุนในกลุ่ม FinTech ให้ผลตอบแทนในเชิงลบ (Negative Correlation) กับการลงทุนในกลุ่ม Value Stock การลงทุนใน FinTech จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน

สำหรับนักธุรกิจ SMEs นั้นสิ่งที่ควรรู้และเข้าใจอย่างขาดไม่ได้ก็คือ การบริหารจัดการเงิน การรักษาสภาพคล่องของกิจการให้ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลสิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรเรียนรู้เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการก็คือ การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ หรือ e-banking และแม้แต่แอปพลิเคชันทางการเงินแจ่ม ๆ ที่จะช่วยให้ SMEs สะดวกสบายยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

นวัตกรรม e-banking คืออะไร


e-banking หรือ electronics banking คือ การทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ที่สามารถทำผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และใช้อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างเรากับทางธนาคาร สิ่งที่จะตามมาก็คือ เราไม่จำเป็นต้องไปเข้าคิวทำธุรกรรมทางการเงินที่สาขาธนาคารอีกต่อไป ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทั้งค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การวางแผนประกอบกิจการให้เจริญก้าวหน้าก็ทำได้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ นวัตกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ มีดังนี้

สำหรับระบบการโอนเงินออนไลน์ “พร้อมเพย์” ถือเป็น e-payment แบบใหม่ล่าสุดที่ทางรัฐบาล และธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งร่วมมือกันพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การโอนเงินแบบเก่าที่ยุ่งยาก โดยการโอนเงินแบบเก่าเราต้องบอกเลขที่บัญชียาว ๆ ให้กับคนที่เราต้องการให้โอนเงินมาให้กับตัวเรา แต่ด้วยระบบพร้อมเพย์นั้นเราแค่บอกหมายเลขโทรศัพท์ ก็สามารถรับเงินโอนเข้าบัญชีที่เราผูกเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราต้องการรับเงินโอนจากลูกค้าโดยตรง เราสามารถผูกบัญชีของบริษัทไว้กับเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนเอาไว้ แค่บอกเบอร์โทรศัพท์ เวลาลูกค้าโอนเงินก็แค่แจ้งเบอร์ของเราให้กับทางธนาคาร เท่านี้เงินก็เข้าสู่บัญชีที่เราผูกเอาไว้สบาย ๆ

นอกจากเรื่องความสะดวกในการโอนเงินแล้ว ยังประหยัดค่าธรรมเนียมได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากระบบพร้อมเพย์ไม่คิดค่าโอนเงินถ้าโอนไม่เกิน 5,000 บาท ฟรีทุกรายการ ส่วนค่าธรรมเนียมรายการอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้

  • ไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ ... ฟรี
  • มากกว่า 5,000 แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ... ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาทต่อรายการ
  • มากกว่า 30,000 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ... ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาทต่อรายการ
  • มากกว่า 100,000 บาท จนถึงวงเงินสูงสุดตามแต่ละธนาคาร ... ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ

จะเห็นว่าค่าธรรมเนียมถูกกว่าการโอนเงินแบบเก่ามาก ๆ ลองคิดดูว่าถ้าเราต้องโอนเงินเดือนละหลายแสน หรือหลายล้านบาท จะประหยัดเงินไปขนาดไหน นี่คือนวัตกรรมทางการเงินที่เราต้องใช้ประโยชน์จากมันให้เต็มประสิทธิภาพที่สุด

นอกจากระบบพร้อมเพย์ที่เป็นนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่แล้ว ยังมีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องที่ช่วยในการบริหารจัดการเงินภายในกิจการของเราอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางบัญชีสมัยใหม่ ที่มีการนำระบบขึ้นไปอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า Cloud Computing หรือการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลทางการเงินทางบัญชีสำหรับ SMEs ไว้ในระบบ Cloud หรือไว้ในอากาศ เวลาเราจะเรียกดูข้อมูลทางบัญชี ไม่ว่าจะเป็นสภาพคล่องทางการเงิน หรือ Working Capital บัญชีลูกหนี้ บัญชีเจ้าหนี้ ก็สามารถดูผ่านทางมือถือได้เลยทันที ทำให้เราบริหารงาน บริหารเงินได้รวดเร็ว ไม่ต้องเข้า office เพื่อตรวจสอบเอกสารตลอดเวลา จะได้มีเวลาไปหาลูกค้า เจรจาธุรกิจใหม่ ๆ หรือแม้แต่พักผ่อนให้สบายใจก็ทำได้

หรือแม้แต่ Mobile Application ที่เกี่ยวข้องกับภาษีธุรกิจ การคิดคำนวณ บริหารจัดการภาษีที่เราต้องจ่าย ก็มีให้เลือกอย่างมากมาย แม้แต่เรื่องของการขอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องจากแหล่งเงินกู้ หรือธนาคารพาณิชย์ก็มีมากมายเช่นกัน หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเข้าไปศึกษาได้ที่ Plearn เพลิน รับรองว่า มีคำตอบสำหรับทุกคำถามแน่นอน

สำหรับนวัตกรรมทางการเงินที่อยากแนะนำเพิ่มอย่าง Krungsri Biz online นั้นมี Feature โอนเงินเดือนได้ครั้งละหลาย ๆ บัญชีแค่คลิกเดียว ทำให้การนำเข้าเงินเดือนพนักงานทำง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่เสียเวลานาน ไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาของธนาคาร ทุกอย่างทำได้จบเหมือนไปทำเองที่สาขาธนาคาร เพียงแค่ “คลิก” เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่คิดทำธุรกิจ เนื่องจากช่วยประหยัดเวลาอันมีค่าเป็นอย่างมาก จะได้มีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์มากกว่า โดยรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากที่นี่

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางการเงินที่ผู้บริหารกิจการ SMEs ไม่ควรมองข้าม ในโลกของธุรกิจเราต้องเร็วกว่าคนอื่น เพียงเราหยุดนิ่งนั่นอาจหมายถึงเรากำลังถอยหลัง ในขณะที่คนอื่นกำลังก้าวไปข้างหน้า ดังนั้นนวัตกรรม e-banking รวมทั้งแอปพลิเคชันทางการเงินใหม่ ๆ จะช่วยตอบโจทย์เราได้อย่างแน่นอน อยู่ที่เราจะเลือกใช้มันให้เป็น ใช้ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน และนี่ก็คือหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของกิจการ SMEs ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว และมั่นคงนั่นเอง

อย่ากลัวที่จะก้าวไปข้างหน้า สิ่งใหม่ ๆ ที่ดี และมีประโยชน์รอคุณอยู่เสมอ

นวัตกรรมทางการเงิน มีอะไรบ้าง

ธุรกิจให้บริการชำระเงิน (Payment) ... .
ธนาคารดิจิตอล (Digital Banks) ... .
ธุรกิจสินเชื่อผู้บริโภค (Consumer Finance) ... .
ธุรกิจด้านการลงทุน (Investment and Exchanges) ... .
ธุรกิจประกัน (Insurance) ... .
ธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ และให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ (Software and Outsourcing Solutions).

นวัตกรรมทางการเงิน คืออะไร

นวัตกรรมทางการเงินเป็นกลไกการระดมเงินทุนที่แตกต่างจากรูปแบบการเงินแบบดั้งเดิม โดยอำนวยให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีความสนใจในการให้เงินทุนเพื่อการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น และสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ เพื่อการพัฒนา

การทําธุรกรรมทางการเงิน มีอะไรบ้าง

ธุรกรรมทางการเงิน คือ การดำเนินการเกี่ยวกับทางการเงินไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใด ๆ ที่ถือเป็นนิติกรรมสัญญา ที่มีผลทางกฎหมายอย่าเช่นการ ฝาก ถอน โอน จ่าย ลงทุน เปิดบัญชี ฯลฯ เหล่านี้ก็ถือเป็นธุรกรรมทางการเงินทั้งสิ้น ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวก็สามารถเดินทางเข้าไปทำที่สาขาได้ แต่อย่างไรก็ดีในยุคที่แพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาให้สามารถ ...

ข้อใดคือฟินเทค

ในโลกการเงินปัจจุบัน หนึ่งในคำที่ได้ยินบ่อย คือ ฟินเทค หรือ เทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งถ้าตีความกว้าง ๆ คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวก รวดเร็ว ความปลอดภัย ลดต้นทุนที่เกิดขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการได้ดียิ่งขึ้น BOT พระสยาม ...