สารเคมีกําจัดศัตรูพืช มีอะไรบ้าง

Bulletin (July - September 1999 Vol.7 No.3)

สารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicides)

          สารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicides) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ยาฆ่าหญ้า” ในประเทศไทยมีใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากแรงงานในภาค เกษตรกรรมมีลดลง จึงจำเป็นต้องนำสารเคมีเข้ามาทดแทนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีการพัฒนาสารเคมีกลุ่มนี้ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพใน การกำจัดวัชพืชที่เฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้
ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มของสารเคมีกำจัดวัชพืชหลายแบบ เช่น การแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ สารเคมีที่ใช้ในการเตรียมดินก่อนปลูกพืช (pre-planting), สารเคมีที่ใช้หลังหว่านพืช (pre-emer gence) และสารเคมีที่ใช้หลังจากพืชงอกพ้นดินแล้ว (post-emer gence) หรือการแบ่งตามกลไกการเกิดพิษต่อพืช ได้แก่ สารเคมีที่มีฤทธิ์เฉพาะเจาะจงในการทำลายพืชบางชนิด (selective), สารเคมีที่ทำลายพืชเมื่อสัมผัสถูกใบ (contact) และสารเคมีที่ทำลายพืชเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืช (translocated) นอกจากนี้ยังมีการแบ่งตามโครงสร้างของสารเคมี อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพของสารเคมีแต่ละชนิดที่มีผลต่อการทำงานของพืช บทความนี้จึงขอแบ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชออก เป็นประเภทต่างๆตามกลไกการออกฤทธิ์ในพืช และแบ่งย่อยตามโครงสร้างทางเคมี พร้อมทั้งตัวอย่างของสารเคมีกำจัดวัชพืชในแต่ละประเภทที่มีจำหน่ายในประเทศไทย รวมทั้งความเป็นพิษต่อมนุษย์ ที่เกิดจากสารเคมีกลุ่มนี้ด้วย

(A) Growth regulators: เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ออกฤทธิ์ต่อความสมดุลย์ของฮอร์โมน

  1. Phenoxy carboxylic acids: 2,4-D; 2,4-DB
  2. Benzoic acids: dicamba
  3. Pyridine carboxylic acids: picloram, triclopyr
  4. Quinoline carboxylic acids: quinclorac
  5. Phthalamates: naptalam (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)
  6. Semicarbazones: diflufenzopyr-Na (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
  7. Othes: benazolin-ethyl (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)

(B) Amino acid synthesis inhibitors: เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เฉพาะเจาะจง ในการป้องกันการสร้าง amino acid ซึ่งเป็นสารประกอบที่สำคัญในการเจริญ เติบโตของพืช ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่

  1. Imidazolinones: imazapyr, imazethapyr
  2. Sulfonylureas: bensulfuron-methyl, metsul furon-methyl, pyrazosulfuron-ethyl
  3. Triazolopyrimidines: diclosulam, metosulam (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  4. Pyrimidinyl (thio) benzoates: bispyribac-Na, pyribenzoxim (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  5. Sulfonylaminocarbonyl-triazolinones: flucarba zone-Na, procarbazone-Na (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  6. Glycine: glyphosate, sulfosate
  7. Phosphinic acid: glufosinate-ammonium

(C) Lipid synthesis inhibitors: เป็นสารเคมีที่มีผลต่อ การยับยั้งการสร้าง fatty acid ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ cell membrane

  1. Cyclohexanediones: alloxydim, butroxydim (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  2. Aryloxyphenoxypropionates: quizalofop, fenoxaprop, propaquizafop, haloxyfop-R-methyl
  3. Thiocarbamates: EPTC, benthiocarb, molinate
  4. Phosphorodithioates: bensulide (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
  5. Benzofuranes: benfuresate, ethofumesate (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  6. Chlorocarbonic acids: dalapon

(D) Seedling growth inhibitors: เป็นสารเคมีที่ออก ฤทธิ์รบกวนการงอกของพืช โดยยับยั้งการเจริญเติบโตของราก หรือลำต้น ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่

  1. Dinitroanilines: butralin, pendimethalin
  2. Phosphoroamidate: amiprophos-methyl, butamiphos (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  3. Pyridine: dithiopyr, thiazopyr (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)
  4. Benzomides: tebutam, pronamide (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
  5. Benzoic acids: chlorthal-dimethyl (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
  6. Carbamates: asulam
  7. Chloroacetamides: alachlor, butachlor, aceto- chlor, pretilachlor, propisochlor
  8. Acetamides: diphenamid, naproanilide (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
  9. Oxyacetamides: flufenacet, mefenacet (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
  10. Tetrazolinones: fentrazamide (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)
  11. Others: anilofos, piperophos

(E) Photosynthesis inhibitors: เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง่กระบวนการสังเคราะห์แสง โดยการจับกับ specific site ในคลอโรฟิล ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่

  1. Triazines: ametryn, atrazine, dimethametryn, hexazinone, matribuzin
  2. Triazinones: metribuzin (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)
  3. Uracils: bromacil
  4. Pyridazinones: pyrazon (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)
  5. Phenylcarbamates: desmedipham (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
  6. Ureas: diuron, linuron
  7. Amides: propanil
  8. Nitriles: bromoxynil (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  9. Benzothiadiazinones: bentazon
  10. Phenylpyridazines: pyridate (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)

(F) Cell membrane disrupters: เป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำลาย เนื้อเยื่อของพืช โดยการทำให้มีการแตกสลายของ cell membrane ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่

  1. Bipyridyliums: paraquat
  2. Diphenylethers: CNP, fomesafen, oxyfluorfen
  3. Phenylpyrazoles: fluazolate (ไม่มีจำหน่ายใน ประเทศไทย)
  4. N-phenyl phthalimides: flumioxazim (ไม่มี จำหน่ายในประเทศไทย)
  5. Thiadiazole: thidiazim (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)
  6. Oxidizoles: oxadiazon
  7. Triazolinones: carfentrazone-ethyl, sulfentra- zone (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  8. Triazolopyridinones: azafenidine (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
  9. Oxazolidinediones: pentoxazone (ไม่มีจำหน่าย ในประเทศไทย)
  10. Dinitrophenols: dinoseb, DNOC (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)

(G) Pigment inhibitors: เป็นสารที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้ง การสร้างรงควัตถุที่จำเป็นในการสังเคราะห์แสง สารเคมีกลุ่มนี้มีเพียง Nicotinan ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่

  1. Isoxazolidinones: clomazone (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  2. Pyridazinones: norflurazon(ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  3. Nicotinanilides: diflufenican
  4. Triketones: mesotrione, sulcotrione (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  5. Isoxazloes: isoxachlortole, isoxaflutole (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  6. Pyrazoles: benzofenap, pyrazolynate(ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  7. Triazole: amitole (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  8. Ureas: fluometuron (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  9. Diphenylether: aclonifen (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  10. Others: benflubutamid, fluridone (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)

(H) Cell wall synthesis inhibitors: เป็นสารที่ออกฤทธิ์ โดยการยับยั้งการสร้าง cellulose ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ cell wall ในประเทศไทยไม่มีสารเคมีกลุ่มนี้จำหน่าย ตัวอย่างของ สารเคมีในกลุ่มนี้ได้แก่

  1. Nitriles: dichlobenil, chlorthiamid
  2. Benzamides: isoxaben
  3. Triazolocarboxamides: flupoxam

(I) Unknown:

  1. Arylaminopropionic acids: flamprop-M-methyl-isopropyl (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย)
  2. Pyrazolium: difluzoquat (ไม่มีจำหน่ายในประเทศ ไทย)
  3. Organoarsenicals: DSMA, MSMA
  4. Others: cinmethylin, dazomet, fosamine
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายของสารเคมีกำจัดวัชพืชมาก บ่อยครั้งที่มักเกิดความเข้าใจผิดของผู้ใช้ ผู้ที่ได้รับพิษ ตลอดจนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ให้การรักษาผู้ป่วย ในเรื่องเกี่ยวกับชนิดของสารเคมีพบว่า เมื่อกล่าวถึงยาฆ่าหญ้า ก็มักจะคิดว่าเป็น Gramoxone หรือ paraquat เสมอ เนื่องจากในอดีตสารดังกล่าวเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดที่นิยมใช้กันมาก ขณะเดียวกันก็มีความเป็นพิษต่อมนุษย์สูง จากความเข้าใจผิดดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ได้รับพิษได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือมากเกินความจำเป็น ถึงแม้ว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชจะมีหลายกลุ่ม แต่ในแง่ความเป็นพิษต่อมนุษย์แล้ว อาการเป็นพิษเฉียบพลันส่วนใหญ่มักเป็น local effects เช่น อาการทางระบบทางเดินอาหาร จะมีคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น ระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการระคายเคืองหายใจไม่สะดวก ส่วน systemic effects ที่เกิดจากสารเคมี กำจัดวัชพืชนั้นมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่รู้จักกันดีคือ paraquat และ 2,4-D paraquat นอกจากทำให้เกิดอาการระคายเคืองในทางเดินอาหารส่วนต้น และอาการบวมแดงในปากจากฤทธิ์กัดกร่อน ประมาณ 1-4 วันหลังได้รับ paraquat จะมีไตวายจาก acute tubular necrosis ต่อมาจะมีพิษต่อตับโดยเกิด hepatocellular damage และสุดท้ายมีพิษต่อปอด การเกิด lung injury ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ได้ตามปกติ มีภาวะ hypoxia จนเกิด respiratory failure ได้ ในรายที่ได้รับเข้าไปปริมาณมากจะเกิด multiple organ failure และเสียชีวิตในเวลาอันสั้น จากความเป็นพิษรุนแรงดังกล่าว จึงมีการผสมสีน้ำเงิน-ฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องดื่ม และยากระตุ้นให้อาเจียนลงในผลิตภัณฑ์ ในผู้ที่กิน paraquat เข้าไป จึงมักจะอาเจียนหลังกินและอาจจะตรวจพบมีสีน้ำเงินปนเปื้อนรอบๆ ปากให้เห็นได้ หรือ gastric content เป็นสีฟ้าๆ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยืนยันการวินิจฉัย 2,4-D แม้โดยทั่วไปจะมีอาการเฉียบพลันที่ไม่รุนแรงนัก แต่มีรายงานผู้ป่วยบางรายเกิดอาการรุนแรงจนชักและหมดสติได้ (ราย ละเอียดในเรื่อง Agent Orange (จุลสารพิษวิทยา ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2542) อย่างไรก็ตาม ยังมีสารเคมีกำจัดวัชพืชอีกหลายชนิดที่มีข้อมูลว่ามีความเป็นพิษในมนุษย์ต่ำ บางชนิดไม่ทราบกลไกการเกิดพิษที่แน่ชัดในมนุษย์ แต่มีรายงานการเกิดพิษรุนแรงได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ glyphosate, butachlor glyphosate เป็นสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง amino acid ในพืช ปัจจุบันในประเทศไทยมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มีชื่อการค้ามากมาย เช่น ราวด์อัพ, ทัชดาวน์, สปาร์ค, ไกลโฟเสท ฯลฯ โดยเป็นสารที่จัดว่ามีความเป็นพิษในมนุษย์ค่อนข้างต่ำ แต่มีการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับ glyphosate ที่มารักษาในโรงพยาบาล Changhau Christian ที่ไต้หวัน พบว่าจากจำนวนผู้ป่วย 93 รายเป็น ในกลุ่มแรก ไม่มีอาการผิดปกติหรือมีอาการเล็กน้อย กลุ่มหลังมีอาการตั้งแต่ เจ็บคอ, กลืนลำบาก, เลือดออกในทางเดินอาหาร, เกิดอันตรายต่อตับ ไต ปอด ระบบหลอดเลือด และระบบประสาท ในจำนวนนี้เสียชีวิต 7 รายด้วยความดันโลหิตต่ำ, pulmonary edema นอกจากนี้ยังมี รายงานการเกิด pneumonitis ในเกษตรกรที่สัมผัสกับสารชนิดนี้ด้วย สารเคมีอีกชนิดหนึ่งคือ butachlor มีรายงานว่าทำให้เกิด methemoglobinemia ขึ้นในผู้ป่วยรายหนึ่งที่กินสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีส่วนผสมของสารเคมีชนิดนี้เข้าไป จะเห็นว่าแม้สารเคมีกำจัดวัชพืชจะมีหลายประเภท หลายชนิด แต่ถ้าได้ศึกษาความหลากหลายนี้แล้ว คงจะพอเข้าใจถึงพิษภัยที่จะเกิดแก่มนุษย์ อย่างไรก็ตาม บางชนิดอาจจะไม่มีข้อมูลด้านความเป็นพิษต่อมนุษย์ หรือจัดว่าเป็นสารที่มีความเป็นพิษต่ำ ในเวชปฎิบัติพบว่าสามารถทำให้เกิดพิษรุนแรงในผู้ป่วยบางรายได้ ในกรณีเช่นนี้ถ้าได้มี การรายงานภาวะการเกิดพิษดังกล่าวขึ้น จะช่วยให้แพทย์ผู้รักษาได้ตระหนักถึงเมื่อมีผู้ป่วยได้รับพิษจากสารเคมีชนิดนั้นๆ เพื่อให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

เอกสารประกอบการเรียบเรียง

  1. Ecobichon DJ. Toxic effects of herbicides: Herbicides. In: Klaassen CD, Amdur MO, Doull J, editors. Casarett and Doull’s Toxicology: The Basic Science of Poisons. 5th ed. New York: McGraw-Hill. 1996. p.670-6.
  2. Gunsolus JL, Curran WS. Herbicide Mode of Action and Injury Symptoms. [Online] North Central Regional Extension Publication No.377: Reviewed 1999. Available from: URL:http/ /www.extension.umn.edu/Documents/D/C/DC3832.html. [Access 1999 June 15].
  3. Schmidt RR. HRAC Classification of Herbicides accord- ing to Mode of Action. [Online] Brighton Crop Protection Conference Weeds 1133-1140,1997. Available from: URL: http://www.plant protection.org/HRAC/MOA.html. [Accessed 1999 July 2].
  4. Talbot AR, Shiaw MH, Huang JS, et al. Acute poisoning with a glyphosate-surfactant herbicide (Roundup): a review of 98 cases. Hum Exp Toxicol 1991:10:1-8.
  5. Tominack RL, Yang GY, Tsai WJ, Chung HM, Deng JF. Taiwan National Poison Center survey of glyphosate- surfactant herbicide ingestions. J Toxicol Clin Toxicol 1991;29(1):91-109.
  6. Satianrapapong Y, Wananukul W, Sriapha C. Severe methemoglobinemia: an uncommon presentation of poisoning of herbicide containing butachlor. Rama Med J 1997;20:169-173.
  7. รายชื่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว ์ที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย: สารเคมีกำจัดวัชพืช. (ข้อมูลชื่อการค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว จากกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชา การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2540) [โปรแกรม คอมพิวเตอร์]. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2541.

ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีชนิดใดบ้าง

สาหรับการแบ่งกลุ่มของสารกาจัดศัตรูพืชหากใช้ชนิดของศัตรูพืชที่ต้องการจะกาจัดเป็นเกณฑ์จะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. สารเคมีที่ใช้เพื่อการกาจัดแมลง (Insecticides) 2. สารเคมีที่ใช้เพื่อการกาจัดหนูและสัตว์ฟันแทะ (Rodenticides) 3. สารเคมีที่ใช้เพื่อการกาจัดเชื้อรา (Fungicides) 4. สารเคมีที่ใช้เพื่อการกาจัด ...

สารกำจัดศัตรูพืชคือสารที่ใช้ในด้านใดได้บ้าง

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticide: pest = ศัตรูพืช, -cide = การฆ่าหรือกำจัด) คือ สารเคมีสังเคราะห์ที่มีวัตถุประสงค์ในการกำจัด ขับไล่ หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นแมลง วัชพืช โรคพืช หรือสิ่งที่จะทำลายให้พืชผลเกิดความเสียหาย โดยทั่วไปเรียกว่ายาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้าตามวัตถุประสงค์ของการใช้ แต่การใช้คำว่า ...

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรนิยมใช้คือสารตัวใด

ได้แก่ สารที่ใช้ป้องกัน กำจัด หรือขับไล่ศัตรูพืช และสัตว์ เช่น สารในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน ออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมท ไพรีทรอยด์ ฯลฯ 2. สารกำจัดวัชพืช ได้แก่ สารที่ใช้ทำลายวัชพืช ที่แย่งน้ำแย่งอาหาร และ แสงสว่างจากพืชเพาะปลูก สารกลุ่มนี้ที่ใช้กันแพร่หลายได้แก่ พาราควอท ฯลฯ 3. สารกำจัดเชื้อรา

สารเคมีชนิดใดพบในสารป้องกันกำจัดวัชพืช

สารกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตรของประเทศไทย พาราคว็อท (Paraquat) เป็นยากำจัดวัชพืชที่มีการใช้มากที่สุดในประเทศไทย ทำงานโดยหยุดยั้งการเติบโตของเซลวัชพืช และทำให้เนื้อเยื่อของเซลนั้นแห้งตายลง ไกลโฟเสต (Glyphosate) เป็นยากำจัดวัชพืชโดยวิธีฉีดพ่นและดูดซึมทางใบ, วิธีฉีดเข้าลำต้น หรือหยอดที่ยอด