หลักธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์คือหลักธรรมใด

#หลักคำสอน สำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธ #ศาสนา มุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ จึงมี (อิทัปปัจจยตา) จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตาม กฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้ #หลักธรรม ในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆ ไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา

หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม

#หลักจริยธรรม
ความกตัญญูกตเวที คือ #การรู้จักบุญคุณ และตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน

หลักศีลธรรม
คือ #หลักคำสอน สำคัญของ #ศาสนา ได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ คือ “ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี การทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์
#การทำสมาธิ #การนั่งสมาธิ   ด้วย #เบาะรองนั่งสมาธิ ที่ทำให้นั่งได้สบาย ช่วยให้จิตใจสงบ และช่วยให้มีสติ  รู้คิด รู้ทำ

หลักปรมัตถธรรม
พุทธศาสนา สอน “อริยสัจ 4” หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ
1. ทุกข์ที่ทำให้เราเข้าใจปัญหาและลักษณะของปัญหา
2. สมุทัยสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. นิโรธความดับแห่งทุกข์
4. มรรควิถีทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์ 
ความจริงเหล่านี้เป็นสัจธรรมอันจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติที่ตั้งอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ดังนั้นเมื่ออธิบายคำสอนสำคัญโดยลำดับตามแนวอริยสัจ ได้แก่

สภาพแห่งทุกข์ (ทุกข์)
ได้แก่ ไตรลักษณ์ (หลักอภิปรัชญาของพุทธศาสนา) ลักษณะสภาพพื้นฐานธรรมชาติที่เป็นสากลอย่างหนึ่ง จากทั้งหมด 3 ลักษณะ ที่ พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะสากลแห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปภายใต้กฎธรรมดา อันได้แก่
1. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป)
2. ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก)
3. อนัตตา (ความไม่มีแก่น สาระ ให้ถือเอาเป็นตัวตน ของเราและของใครๆ ได้อย่างแท้จริง)และได้ค้นพบว่า นอกจากการ แก่ เจ็บ และตาย เป็นทุกข์ (ซึ่งมีใน #หลักคำสอน ของศาสนาอื่น) แล้ว ยังสอนว่า การเกิดก็นับเป็นทุกข์ ในทาง #พระพุทธศาสนา นั้นปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และเชื่อว่า โลกนี้เกิดขึ้นจาก กฎแห่งธรรมชาติ ( นิยาม ) 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) หรือมีธาตุทั้ง 5 คือ

•ดิน

•น้ำ

•ลม

•ไฟ

อากาศ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่างๆ กลับไปกลับมา กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือ กฎสมตา กฎวัฏฏตาและกฎชีวิตา ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ ( เซลล์) กฎแห่งวิญญาน (จิตนิยาม) การมีนามธาตุต่างๆ ที่ประกอบกันตามกระบวนการเป็นจิต ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และ กฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) คือ
1. อนิจจัง (ความไม่แน่นอน) ทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัด ทำให้เกิด กฎแห่งวัฏจักร (วัฏฏตา) สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ เพราะกฎแห่งเหตุผลทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตนเหมือนพ่อแม่ตน ความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย กฎวัฏฏตาทำให้เกิดสันตติ การสืบต่อที่ปิดบังอนิจจัง

2. ทุกขัง (ความไม่เที่ยงแท้ ทนอยู่ในสภาพเดิมมิได้ตลอดกาล) คือ สิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องระเบิดอยู่ตลอดเวลา อย่าง ลมต้องพัด เปลือกโลกต้องเคลื่อน ทำให้มีกฎแห่งการปรับสมดุล (สมตา ) เช่น เรานอนเฉยๆ ต้องขยับ หรือวิ่งมากๆ ต้องหยุด ความทุกข์ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของสัตว์ พืช เช่น พืชที่ปลูกถี่ๆ ย่อมแย่งกันสูงเพื่อแย่งแสงอาทิตย์ในการอยู่รอด หรือการปรับสมดุลจึงเกิดชีวิต กฎสมตา ทำให้เกิดอิริยาบถที่ปิดบังทุกขัง

3. อนัตตา (สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนอย่างแท้จริง ดูเหมือนมีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการผสมผสาน ทำให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น อย่างร่างกายของเราย่อมเกิดจากความเกี่ยวข้องกันเล็กๆ น้อย และเพิ่มขึ้นซับซ้อนขึ้น เมื่อสิ่งต่างๆ มีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ ทำให้เกิดกฎแห่งหน้าที่ (ชีวิตา) เช่น ตับย่อมทำหน้าที่ของตับ ไม่อาจทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่ อันเป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายของเราย่อมแตกสลายไปราวกับอากาศธาตุ กฎชีวิตาทำให้เกิดฆนะ รูปร่าง หรือการเป็นก้อนๆ ที่ปิดบังอนัตตา
เมื่อย่อกฎทั้ง 3 แล้ว จะเหลือเพียง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งอิสรเสรีภาพ ด้วยการสร้าง “ปัญญา” ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อันสูงสุด คือ นิพพาน คือ การไม่มีความทุกข์ อย่างที่สุด หรือ การอยู่ในโลกอย่างไม่มีทุกข์ คือกล่าวว่า ทุกข์ทั้งปวงล้วนเกิดจากการยึดถือ ต่อเมื่อ “หมดการยึดถือ” จึงไม่มีอะไรจะให้ทุกข์ (แก้ที่ต้นเหตุของทุกข์ทั้งหมด)

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ควรนำไปปฏิบัติ ได้แก่

๑. อิทธิบาท ๔
อิทธิบาท ๔หมายถึง ข้อปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จ มี ๔ ประการ คือ
๑.๑ ฉันทะ ความพอใจในงานที่ทำหรือในสิ่งที่จะศึกษาเล่าเรียน
๑.๒ วิริยะ ความเพียรพยายามทำงานให้สำเร็จ ไม่ย่อท้อต่อการทำงาน
๑.๓ จิตตะ ความเอาใจใส่ในการทำงาน ตั้งใจทำงานอย่างสม่ำเสมอ
๑.๔ วิมังสา ความคิดรอบคอบ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองงานที่ทำว่ามีข้อบกพร่องอะไรที่ควรแก้ไขหรือควรเพิ่มเติมอะไรซึ่งจะทำให้งานนั้นดีขึ้น
หลักธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเหตุเป็นผลกัน นั่นคือ ความพอใจทำให้เกิดความขยันหมั่นเพียร ซึ่งทำให้เกิดความเอาใจใส่ และมีจิตใจจดจ่อต่อการทำงานนั้นและความเอาใจใส่นี้เองจะทำให้เกิดการพิจารณาไตร่ตรองงานที่ทำไปแล้วว่าดีหรือยัง มีข้อบกพร่องหรือไม่ ถ้ามีข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไขได้ทัน

*การปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท ๔ นั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๔ ประการ จึงจะทำให้งานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ*

๒. ฆราวาสธรรม ๔
ฆราวาสธรรม ๔ หมายถึง หลักธรรมที่ผู้ครองเรือนควรปฏิบัติ มี ๔ ประการ คือ
๒.๑ สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ ความจริงใจ ความซื่อตรงต่อกัน
คนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ควรมีความซื่อสัตย์ต่อกันทั้งกาย วาจาและใจ จะทำให้เกิดความไว้วางใจกัน ร่วมมือกันพัฒนาครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในฐานะที่เราเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว เราจึงควรแสดงความซื่อสัตย์ต่อพ่อแม่ พี่น้อง และสมาชิกทุกคนในบ้าน เช่น ไม่พูดปด มีความตั้งใจที่จะทำงานตามหน้าที่ด้วยความตั้งใจ เป็นต้น

๒.๒ ทมะ คือ การข่มใจ การฝึกฝนตนเองไม่ให้ประพฤติชั่ว
คนเราเมื่ออยู่ด้วยกัน ย่อมจะมีความขัดแย้งกันบ้าง สิ่งใดที่ไม่ตรงกับความคิดของเรา เราควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ ไม่ควรแสดงกิริยาอาการโต้แย้งออกมาทันที ถ้าเราสามารถข่มใจและพิจารณาปัญหาให้เข้าใจแล้ว เราก็สามารถแก้ปัญหานั้นด้วยความสงบเรียบร้อย

๒.๓ ขันติ คือ ความอดทน หมายถึง ความอดทนต่อสิ่งที่ไม่ดี อดทนต่อความยากลำบาก
การอดทนต่อความยากลำบากทางกาย อดทนต่อการพูดจาไม่สุภาพ และอดกลั้นจิตใจห้อยู่ในความสงบ ไม่โกรธ ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น ถ้าเรามีขันติในเรื่องต่าง ๆ แล้วจะทำให้เราอยู่ในครอบครัวได้อย่างมีความสุข

๒.๔ จาคะ คือ การเสียสละ การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
เราอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ควรสละสิ่งของ แบ่งปันของกินของใช้ให้กันและกันตามสมควรแก่ฐานะ การแบ่งปันกันจะทำให้เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ

๓. พรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร หมายถึง หลักความประพฤติอันเสริฐมี ๔ ประการ คือ
๓.๑ เมตตา ความรัก ความปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุข
๓.๒ กรุณา ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อิ่นให้พ้นทุกข์
๓.๓ มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีความสุข
๓.๔ อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียง โดยพิจารณาว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว

Cr.

site-phanuwat0369