สื่อการเรียนการสอนและแหล่ง เรียน รู้

ความหมายประเภทของแหล่งการเรียนรู้

1.1 ความหมายของแหล่งการเรียนรู้

        แหล่งการเรียนรู้  หมายถึง  แหล่งข่าวสารข้อมูล  สารสนเทศ  แหล่งความรู้ทางวิทยาการ
และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง 
ตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องจากแหล่งต่าง ๆ  เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้  และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้    (กรมสามัญศึกษา, 2544, หน้า 6)

1.2 ความหมายประเภทของแหล่งการเรียนรู้

ในการแบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้นั้น  พระพุทธทาสภิกขุ  (อ้างใน สุมน อมรวิวัฒน์ 2548: ออนไลน์) ได้แสดงธรรมเรื่อง “โรงเรียนที่ท่านยังไม่รู้จัก”มีความตอนหนึ่งว่า โรงเรียนมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง ตำหูตำตาของท่านทั้งหลายแต่ท่านก็ไม่รู้จัก การเรียนรู้จากธรรมชาติช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการต่อสู้ดิ้นรน มีปัญหา มีสุนทรียภาพ มีคุณค่า ทั้งความจริง ความงามและความดี ในทางตรงกันข้าม ธรรมชาติก็มีทั้งความเสื่อมสลาย และความโหดร้าย ทำลายล้าง มนุษย์จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ และอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ด้วยการอนุรักษ์ และยอมรับคุณค่าของธรรมชาติ ปรับตนเองได้ในความเปลี่ยนแปลง และทำอย่างไรจึงจะให้เด็กรู้  ด้วยตนเองมากขึ้น นั่นคือ ต้องสร้างแหล่งการเรียนรู้ให้เขา ต้องสอนให้เขารู้จักใช้แหล่งการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้แบ่งได้2 ประเภทดังนี้

1) แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน

2) แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน

หรืออาจแบ่งแหล่งการเรียนรู้ที่อยู่รอบตัวผู้เรียน  (ศิริกาญจน์  โกสุมภ์  และดารณี  คำวัจนัง,
2545, หน้า  33)

 เทคโนโลยี  ได้แก่  

                                - คอมพิวเตอร์   

                                - อีเมล์ (e-mail)  

                                - อินเทอร์เน็ต

- สิ่งแวดล้อม  ได้แก่   

                                - แหล่งน้ำ  เช่น  แม่น้ำ  ลำคลอง ห้วย  หนอง  บึง  วนอุทยาน ภูเขา เช่น  ถ้ำหินงอก  หินย้อย 

                                - สวนพฤกษศาสตร์  เช่น  สวนสมุนไพร  สวนป่าธรรมชาติ สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน  สวนสาธารณะ 

- สถานที่  ได้แก่ 

                                - สถานที่สำคัญทางศาสนา   เช่น  วัด  โบสถ์  มัสยิด  สุเหร่า   

                                - ปูชณียสถาน โบราณสถาน  

                                - โรงเรียน  

                                - โรงพยาบาล 

                                - ไปรษณีย์  

                                - สถานีตำรวจ  

                                - พิพิธภัณฑ์  

                                - ห้องสมุด  เช่น  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดในชุมชน

- สื่อสารมวลชน  ได้แก่ 

                                - หนังสือพิมพ์ 

                                -โทรทัศน์  ETV 

                                - วิทยุ  สารสนเทศ

- บุคลากร  ได้แก่  

                                - เพื่อน  เช่น เพื่อนในห้องเรียน  เพื่อนในชุมชน  

                                - ครู  เช่น ครูใหญ่  ผู้อำนวยการ  ครูวิชาต่าง ๆ  

                                - ผู้นำชุมชน  เช่น ผู้นำศาสนา  

                                - แพทย์  

                                - องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  

                                - ตำรวจ

                                - ภูมิปัญญาชาวบ้าน  เช่น  ดนตรี  ก่อสร้าง  ยารักษาโรค  การนวดแผนโบราณ

ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้

                การเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้บนพื้นฐานของความเป็นไทยและ ความเป็นสากลเป็นการเรียนรู้คู่ขนานระหว่างความรู้สากลกับความรู้ท้องถิ่น เพราะท้องถิ่นเป็นระบบความรู้ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านมิติสัมพันธ์การสั่งสมและถ่ายทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น ส่วนใหญ่เป็นชิ้นงาน เครื่องดนตรี เครื่องใช้ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย การละเล่น ของเล่น และความรู้ที่อยู่ในตัวของบุคคลที่เป็น ข้อควรปฏิบัติ บทสวด ภาษาเขียน นิทาน คำกลอน บทเพลง ตำรายาของปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มี ความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ และเทคโนโลยีพื้นบ้าน สอดคล้องกับสังคมการดำรงชีวิตของผู้เรียน ถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบคู่ขนานระหว่างความรู้ท้องถิ่นสู่สากล 

                2.1 เจเดด (Jedede 1995: 97-137) ได้เสนอว่ารูปแบบของการเรียนรู้คู่ขนาน ระหว่างความรู้สากล แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา ส่งผลต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มีความจำระยะยาวของผู้เรียน ทำให้สนใจ ใฝ่รู้ รักการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ และสามารถนำความรู้ท้องถิ่นไปปรับประยุกต์สู่สากล 

                2.2 ซินเวลี่และคอร์ซิงเลีย (Sinvely และCorsinglia 2001d:a6-34) กล่าวถึง กระบวนการผสมผสานความรู้ท้องถิ่นเข้ากับความรู้สากลในการจัดการเรียนการสอน โดยยึดแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น เป็นแกนหลักเสริมการเรียนรู้ทำให้เกิดการยอมรับ พูดคุยและรับฟังความเหมือนความต่างระหว่างวัฒนธรรม โครงสร้าง รูปแบบการคิดโดยที่วัฒนธรรมเดิมไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างตัวเองทั้งหมด ก่อนที่จะรับวัฒนธรรมใหม่เข้าไป 

                2.3 แอพเพิล (Apple 1990: 50-67) การนำวิทยาการพื้นบ้านมาใช้ในการเรียน การสอนจะช่วยให้เกิดความเจริญงอกงามทางสติปัญญา ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในท้องถิ่นอย่างปกติสุข บนพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ตามสภาพภูมิศาสตร์ นิเวศวิทยา ความเชื่อ ปรัชญา วิถีท้องถิ่น และวิถีแห่งการดำรงชีวิต 

                2.4 กิ่งแก้ว อารีรักษ์ (2548:118) ให้ความสำคัญของการศึกษาโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ไว้ดังนี้ 
                                1) กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่หลากหลาย
                                2) ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ลึกซึ้งขึ้น โดยใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลสะท้อนความคิดเห็นจากแหล่งการเรียนรู้
                                3) กระตุ้นมุ่งเน้นลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผลักดันให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น สามารถสร้างผลผลิตในการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูงขึ้น
                                4) เสริมสร้างการเรียนรู้ จนเกิดทักษะการแสวงหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการสร้างความตระหนักเชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธรรมชาติและความแตกต่างของข้อมูล
                                5) แหล่งการเรียนรู้เสริมสร้างการพัฒนาการคิด เช่น การแก้ปัญหา การให้เหตุผล และการประเมินอย่างมีวิจารญาณ โดยอาศัยกระบวนการวิจัยอิสระ
                                6) เปลี่ยนเจตคติของครูและผู้เรียนที่มีต่อเนื้อหารายวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                                7) พัฒนาทักษะการวิจัยและความเชื่อมั่นในตนเองในการค้นหาข้อมูล 
                                8) เพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการ ในด้านเนื้อหา เจตคติ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยอาศัยแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายในการเรียนรู้

                2.5 นเรนทร์ คำมา (2548 : ออนไลน์) ได้กล่าว ถึงความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ไว้ดังนี้ 
                                1) เป็นแหล่งที่รวบรวมขององค์ความรู้อันหลากหลาย พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล และเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                                2) เป็นแหล่งเชื่อมโยงให้สถานศึกษาและท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกัน ทำให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแก่บุตรหลาน

                                3) เป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดความสนุกสนานและมีความสนใจที่จะเรียนรู้ไม่เกิดความเบื่อหน่าย

                                4) ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการที่ได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และสร้างความรู้ ด้วยตนเอง ขณะเดียวกันก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

                                5) ทำให้ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังให้รู้และรักท้องถิ่นของตน มองเห็นคุณค่าและตระหนักถึงปัญหาในท้องถิ่น พร้อมที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของท้องถิ่นทั้งปัจจุบันและอนาคต

                2.6 ประเวศ วะสี (2536:1) กล่าวว่า ท้องถิ่นมีแหล่งการเรียนรู้ และผู้รู้ด้านต่างๆมากมาย มากกว่าที่ครูสอนท่องหนังสือ ถ้าเปิดโรงเรียนสู่ท้องถิ่นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากครูในท้องถิ่น จะมีครูมากมายหลากหลายเป็นครูที่รู้จริงทำจริง จะทำให้การเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง การเรียนสนุกไม่น่าเบื่อ ที่สำคัญเป็นการปรับระบบที่มีคุณค่า เดิมการศึกษามองข้ามคุณค่าเหล่านี้ เมื่อผู้รู้ในท้องถิ่นเหล่านี้เป็นครูได้ จะเป็น การยกระดับคุณค่า ศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจของท้องถิ่นอย่างแรง เป็นการถักทอทางสังคม แหล่งการเรียนรู้มีบทบาทในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียน ทั้งในระบบและนอกระบบ(กรมสามัญศึกษา 2544 : 7) ดังนี้

                                1) แหล่งการเรียนรู้สามารถตอบสนองการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการ (Process Of Learning) การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Learning By Doing) ทั้งจากท้องถิ่น ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ตนเองมีอยู่แล้ว

                                2) เป็นแหล่งกิจกรรม แหล่งทัศนศึกษา แหล่งฝึกงาน และแหล่งประกอบอาชีพของผู้เรียน
                                3) เป็นแหล่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยตรง

                                4) เป็นห้องเรียนธรรมชาติ เป็นแหล่งค้นคว้า วิจัย และฝึกอบรม

                                5) เป็นองค์กรเปิด ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเต็มที่และทั่วถึง

                                6) สามารถเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้เรียนในเชิงรุก เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึงประหยัดและสะดวก

                                7) มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

                                8) มีสื่อประเภทต่างๆ ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ เพื่อเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาอาชีพ

                        สรุปความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ได้ว่า แหล่งการเรียนรู้ช่วยเชื่อมโยงเรื่องราวในท้องถิ่นสู่การเรียนรู้สากล พัฒนาคุณลักษณะและความคิด ความเข้าใจในคุณค่า และทัศนคติ ค่านิยม ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการเรียนรู้ มีทักษะการแสวงหาความรู้ สามารถจัดการความรู้ ซึ่งมีความสำคัญและมีความหมายอย่างมากสำหรับผู้เรียน ดังนี้

                1) ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว ท้องถิ่น

                2) ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต ทำให้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียน

                3) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่ความรู้สากลสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวได้อย่างเป็นรูปธรรม 

                4) เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง

                5) มีส่วนร่วมในองค์กร ท้องถิ่น บุคคล และครอบครัวในการพัฒนาท้องถิ่น

                6) ได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้ เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

ขอบข่ายของอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลผ่าน Website การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

3.1 ขอบข่ายของอินเทอร์เน็ต

                ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์

                ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ  การศึกษา  ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น

                3.1.1 ด้านการศึกษา อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้

                                1) สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

                                2) ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
                                3) นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ

                3.1.2 ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้

                                1) ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ

                                2) สามารถซื้อขายสินค้า ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย

                                3) เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ โฆษณาสินค้า ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ

                                4) ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)

                3.1.3 ด้านการบันเทิง  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้

                                1) การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป

                                2) สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

                                3) สามารถดึงข้อมูล  (Download)  ภาพยนตร์มาดูได้

3.2 การสืบค้นข้อมูลผ่าน Website

                Search Engineเป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆ โดยมีการเก็บ รายชื่อเว็บไซต์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บาง search engine อาจไม่ได้มีการเก็บข้อมูลในserverของตัวเอง แต่อาจอาศัยข้อมูลจากเจ้าของ server นั้นๆ

                เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการอยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูล สารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ ไม่เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง 

                เว็บไซต์ Search Engine ยอดนิยม

                3.2.1 Sanook

                http://www.sanook.com

                เป็นเว็บไซต์ชื่อดังของไทยที่เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลของไทยที่มีข้อมูลให้ค้นหามากมายทั้งของไทยและทั่วโลกซึ่งมีทั้งแบบนามานุกรม และคำค้น ซึ่งจะบอกที่อยู่ของเว็บไซต์และมีคำอธิบายเว็บที่หาอย่างเข้าใจง่าย และยังสามารถส่งเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ทางอีเมล์ด้วย

                3.2.2 Google
                www.google.com

                Google เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก ในอดีตเป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านฐานข้อมูลเพื่อให้บริการแก่เว็บไซต์ค้นหาอื่นๆ ปัจจุบันได้เปิดเว็บไซต์ค้นหาเอง มีฐานข้อมูลมากกว่าสามพันล้านเว็บไซต์และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน จุดเด่นที่เหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ คือเป็นเว็บไซต์ค้นหาที่สนับสนุนภาษาต่างๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก(รวมทั้งภาษาไทย) และมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการในส่วนต่างๆ ของโลกมากถึง 36 ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยกฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด และแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย คือ  

                                - เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก 

                                - รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ 

                                - กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ

                                - สารบนเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่

3.3 วิธีการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 

                3.3.1 การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต  ด้วยการใช้ Search Engine 

                Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อ ๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที  Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป

                1) การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด ใช้ในกรณีที่ต้องการค้นข้อมูลโดยใช้คำที่มีความหมายตรงกับความต้องการ โดยมากจะนิยมใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องที่จะสืบค้นข้อมูล มีวิธีการค้นหาได้ดังนี้

                                1.1) เปิดเว็บเพจ ที่ให้บริการในการสืบค้นข้อมูล  ตัวอย่างเช่น

                                www.google.co.th เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นข้อมูลของต่างประเทศ ข้อดีคือ ค้นหาง่าย เร็ว

                                www.yahoo.com เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นที่ดีตัวหนึ่งซึ่งค้นหาข้อมูลง่าย และข้อเด่นคือภายในเว็บของ www.yahoo.com เองจะมีฟรีเว็บไซต์ ที่รู้จักกันในนาม http://www.geocities.com ซึ่งมีจำนวนเว็บมากมาย ให้ค้นหาข้อมูลเองโดยเฉพาะ

                                www.sanook.com เป็นเว็บของคนไทย

                                www.siamguru.com  เป็นเว็บของคนไทย
                                โดยพิมพ์ช่องเว็บที่ช่อง Address  ดังตัวอย่างซึ่งใช้  www.google.co.th

                                1.2) ที่ช่อง ค้นหา พิมพ์ข้อความต้องการจะค้นหา ในตัวอย่างจะพิมพ์คำว่า แหล่งท่องเที่ยวเมืองโคราช 
                                1.3) คลิกปุ่ม ค้นหาด้วย Google

                                1.4) จากนั้นจะปรากฏรายชื่อของเว็บที่มีข้อมูล

                                1.5) คลิกเว็บที่จะเรียกดูข้อมูล

                2) การสืบค้นข้อมูลภาพ ในกรณีที่นักเรียนต้องการที่จะค้นหาข้อมูลที่เป็นภาพ เพื่อนำมาประกอบกับรายงาน มีวิธีการค้นหาไฟล์ภาพได้ดังนี้ 
                                2.1) เปิดเว็บ www.google.co.th

                                2.2) คลิกตัวเลือก รูปภาพ  

                                2.3) พิมพ์กลุ่มชื่อภาพที่ต้องการจะค้นหา (ตัวอย่างทดลองหาภาพเกี่ยวกับ ปราสาทหินพิมาย)

                                2.4) คลิกปุ่ม ค้นหา

2.5) ภาพทีค้นหาพบ

  1. 6) การนำภาพมาใช้งาน ให้คลิกเมาส์ด้านขวาที่ภาพ > Save Picture as

                                2.7) กำหนดตำแหน่งที่จะบันทึกที่ช่อง Save in 

                                2.8) กำหนดชื่อที่ช่อง File Name 

                                2.9) คลิกปุ่ม Save

3.4 การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

                จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) คือ การส่งข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเหมือนกับการส่งจดหมาย แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปลี่ยนการนำส่งจดหมายจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม และเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางจราจรคมนาคมทั่วไปมาเป็นช่องสัญญาณรูปแบบต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตรงเข้ามาสู่ Mail Box ที่ถูกจัดสรรใน Server ของผู้รับปลายทางทันที

                - เมื่อต้องการส่ง E-Mail มีส่วนประกอบสำคัญที่ต้องให้รายละเอียด คือ

                1) To: ระบุ E-Mail Address ของผู้รับปลายทาง

                2) Subject: ใส่หัวเรื่องย่อๆของเนื้อหา

                3) CC (Carbon Copy): เป็นการระบุ E-Mail Address ของผู้ที่เราต้องการให้ได้รับสำเนาของจดหมายฉบับนี้ด้วย

                4) BCC (Blind Carbon Copy): เช่นเดียวกับ CC แต่ทำให้ผู้รับไม่ทราบว่าเราต้องการ ส่งใคร

                5) Attachment: เราสามารถแนบไฟล์ไปกับการส่ง E-Mail ด้วยก็ได้

                6) Body: เป็นเนื้อหาข้อความของจดหมาย

การส่ง E- Mail    

ขั้นที่ 1 นำ Mouse ไป Click ที่ Compose

ขั้นที่ 2 หลังจากเลือก Compose แล้ว หลังจากนั้นมีวิธีการ ดังนี้

                - หลังคำว่า To: ให้ใส่ชื่อ E-Mail ของคนที่เราต้องการจะส่ง Mail ไปหา หากต้องการส่งไปให้หลายคน ให้ใช้เครื่องหมาย Comma (,) คั่นระหว่าง E-Mail address ของแต่ละคน

                - หลังคำว่า Subject: ให้ใส่ชื่อเรื่องของ E-Mail ของเรา หรืออาจจะไม่ใส่ก็ได้

                - ในช่อง CC: เป็นการทำสำเนา (Carbon Copy ) ของ Mail ไปถึงผู้รับ โดยการใส่ชื่อ E-Mail ของคนที่เราต้องการส่ง Mail ไปให้ (เพิ่มเติมจากใน To:  )

                - ในช่อง Bcc: เป็นการทำสำเนาแบบ Blind Carbon Copy ใช้ในกรณีที่ต้องการส่ง E-Mail ถึงบุคคลอื่น โดยบุคคลที่เราส่ง E-Mail ไปให้ใน To: และ CC: จะไม่ทราบว่าเราส่งไปให้บุคคลนี้ด้วย

                - ในกล่องใหญ่ในส่วนล่าง จะเป็นพื้นที่ในการเขียนข้อความที่เราต้องการที่จะส่ง

                - เมื่อเขียนข้อความเสร็จแล้วให้นำ Mouse ไป Click ที่ปุ่ม “Send”

การส่ง File ข้อมูลใดๆ ไปกับ  E-Mail

ในกรณีที่เราต้องการส่ง File ใด ๆ ก็ตามแนบไปกับ E-mail ด้วย มีขั้นตอนการส่งดังนี้

                1) นำ Mouse ไป  Click  ที่ปุ่มที่มีคำว่า “Attachments”

                2) เลือก File ที่ต้องการจะส่ง โดยกดปุ่มที่มีคำว่า “Browse”

                3) เมื่อเลือก File ที่ต้องการส่งได้แล้ว กดปุ่มที่มีคำว่า “Open”  แล้วจะเห็นว่า ชื่อ File ที่เราเลือกจะปรากฏอยู่ในช่องว่าง

                4) ขั้นต่อมากดปุ่มที่มีคำว่า “Attachments” เพื่อแนบ File ไปกับ E-mail

                5) เห็นได้ว่าชื่อ  File ที่ต้องการจะส่งจะปรากฏบนช่องว่าง ถ้าเราเกิดลังเลเปลี่ยนใจจะเปลี่ยนแปลง File ที่จะส่ง สามารถทำได้โดยการนำ Mouse ไป Click ที่ปุ่ม Remove ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแล้วให้ Click ที่ปุ่ม Done (ในที่นี้ทาง Hotmail.com มีขีดความสามารถในการส่ง File มีขนาดสูงที่สุดได้ไม่เกิน 1 Mb  เท่านั้น)

                6) ขั้นตอนสุดท้ายคือ หลังจากที่เรากด Done แล้วจะกลับมายังหน้าจอเดิม การจะส่ง E-Mail ที่มีการแนบ File ใดๆ ไปด้วยนั้น ก็ให้ทำตามวิธีการส่ง E-Mail ตามปกติ จะเห็นได้ว่าในส่วนที่มีคำว่า Attachments จะมีชื่อ File ที่เราแนบไปด้วย

 ข้อดี และข้อจำกัดของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

4.1 ความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Mail)

                E-Mail   หรือ Electronic Mail   เป็นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ รับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ทำให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที โดยที่ เราสามารถรับและตอบจดหมายกลับได้ภายใน เวลาไม่กี่นาที ทำให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวด เร็ว ไม่ต้องเสียเวลารอคอยที่ยาวนานเหมือนกับ ไปรษณีย์ทั่วไป การติดต่อโดยใช้ไปรษณีย์ธรรมดาติดต่อภายในประเทศอาจใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน ถ้าหากเป็นจดหมายที่ส่งไปยังต่างประเทศ (Air mail) อาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ e-Mail ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าการใช้โทรศัพท์หรือการส่งจดหมายโดยวิธีปกติที่ใช้กันหลายเท่าตัวโดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการส่ง e-Mail ไม่ว่าจะส่งจากแห่งใดในทุกมุมโลกก็ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจดหมายนั้นจะสั้นหรือยาว จะส่งไปใกล้หรือไกล 

                 E-Mail เป็นช่องทางสำหรับการส่งข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง รูปแบบการใช้งานแตกต่างกันไป นักเรียน-นักศึกษา นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน หรือติดต่อ ส่งข้อมูล ข้อความ ขอคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอน องค์กรขนาดใหญ่ๆ ก็สามารถติดต่อกับบุคลากร หรือทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอีเมล์ เป็นต้น

4.2 ข้อดีของ E-mail

                - ประหยัดเวลา

                - ประหยัดเงิน

                - สามารถส่งในรูปแบบมัลติมีเดียได้

                - สามารถแนบไฟล์ที่เป็นเอกสารส่งได้

                - สามารถส่งต่อข้อมูลหรือที่เรียกว่า forward ได้

4.3 ข้อจำกัดของ E-mail

                - ไม่สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทุกคน

                - ไม่ได้รับต้นฉบับซึ่งควรค่าแก่การเก็บรักษา

                - อาจมีไวรัสมาพร้อมกับเอกสารที่ส่งมา

                - ถ้าเครือข่ายล่ม ทำให้การส่งหรือรับข้อมูลล้มเหลว

                - ถ้าข้อมูลใน mail box เต็มก็ไม่สามารถรับข้อมูลอื่นได้

                - Angun.จดหมายอิเล็กทรอนิกส์.

สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ คืออะไร

3. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอด ความรู้ เจตคติและทักษะไปยังผู้เรียน สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือทำให้บทเรียนง่ายขึ้น และในการจัดทำสื่อขึ้นใช้ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อที่ดี คือ น่าสนใจ ประหยัดช่วยให้เกิด ...

สื่อที่เป็นแหล่งเรียนรู้ มีอะไรบ้าง

แหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดเคลื่อนที่ มุมหนังสือในห้องเรียน ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องมัลติมีเดีย ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอินเทอร์เน็ต ศูนย์วิชาการ ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์โสตทัศนศึกษา ศูนย์สื่อการเรียนการสอน ศูนย์พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน สวนพฤกษศาสตร์ สวนวรรณคดี สวนสมุนไพร สวนสุขภาพ สวนหนังสือ สวน ...

แหล่งการเรียนรู้คืออะไร

แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน มีอะไรบ้าง

สื่อการเรียนการสอนแบ่ง ตามคุณ ลักษณะ ได้ 4 ประเภทคือ 1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ส ไลด์ แผ่น ใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่า ง ๆ และคู่ม ือ การฝึกปฏิบ ัต ิ 2. สื่อประเภทอุป กรณ์ ได้แ ก่ข องจริง หุ่น จำลอง เครื่องเล่น เทปเสียง เครื่องเล่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่น ใส อุป กรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ