รายงาน เชิงวิชาการ เรื่อง มลพิษทางอากาศ

  ความนำ

                ในปัจจุบันปัญหาควันหรือมลพิษทางอากาศมาคุกคามกับหมู่มวลมนุษยชาติตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่างๆ ก็อันเนื่องมาจากปัญหามลพิษจากควัน สร้างปัญหาให้กับ ตนเอง บ้านเรือน ชุมชน  ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศรวมไปถึงหลายๆสิ่งหลายๆอย่างที่ได้รับผลกระทบอันมหาศาลจากมลพิษควันทั้งจากที่มนุษย์ร่วมมือกันก่อมันขึ้นมาเองเช่นการเผาขยะการเผาเศษมลพิษต่างๆที่มาจากน้ำมือของมนุษย์ที่ไม่ยอมตระหนักถึง

                 ผลกระทบที่ตามมา จนทำให้รับผลพลอยได้ คือคำว่า ความเดือดร้อนของเหล่ามวลมนุษยชาติ  จนทำให้สิ่งต่างๆที่เราไม่อยากให้มันเกิดมันก็เกิดขึ้น เช่น สถานการณ์หมอกควันปกคลุมทั่วภูมิภาคต่างๆ ควันกระจายอยู่ทั่วบริเวณน่านฟ้าของเมือง

                ดังนั้นกลุ่มผู้ศึกษาเล็งเห็นว่าปัญหา เหล่านี้อาจจะทำให้มันคลืบคลานจนเป็นปัญหาใหญ่ คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำรายงานเรื่อง ควันร้ายอันตรายชีวิต  เพื่อให้รู้เท่าทันฤทธิ์อันมหาศาลของ

ควันร้าย อันตรายชีวิต

  • วัตถุประสงค์

    ๑.       ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับควันพิษ

    ๒.     เพื่อศึกษาสาเหตุของมลพิษทางอากาศ

    ๓.     ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและลดมลพิษทางอากาศ

                    ขอบเขตุของเนื้อหา

    ๑.       มลพิษทางอากาศ

    ๒.     สาเหตุของมลพิษทางอากาศ

    ๓.     แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ  

       ส่วนที่๒ เนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    ความหมายของควัน

    ควัน จัดเป็นคอลลอยด์ ที่เป็นอนุภาคของของแข็งหรือของเหลว กระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็นแก๊สที่มีอยู่ในอากาศ จะถูกปล่อยออกมาเมื่อมีการเผาวัสดุหรือเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน พร้อมกับปริมาณของอากาศหรือผสมในมวลสารชนิดอื่น ซึ่งเป็นส่วนเกินจากผลที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เตา, เทียนไข, ตะเกียงน้ำมัน และเตาไฟ แต่ก็อาจใช้สำหรับเป็นการกำจัดศัตรูพืช, การสื่อสารโดยใช้สัญญาณควัน, การป้องกันตัวโดยการสร้างฉากควัน, การทำอาหารเช่นแซลมอนรมควัน หรือเครื่องยาสูบชนิดต่างๆ ควันยังใช้ในพิธีกรรม, ธูปบูชา, ยางหอม ที่เผาเพื่อผลิตกลิ่น ในบางครั้งควันยังถูกนำไปใช้เป็นสารแต่งกลิ่น และเครื่องป้องกันสำหรับของกินต่างๆ ควันยังเป็นส่วนประกอบของไอเสียที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอเสียจากดีเซล

    การสูดควัน ถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของอัคคีภัยในอาคาร สถานที่ ควันสามารถสังหารผู้คนได้โดยความร้อน, สารพิษ และเข้าปอดจนเกิดการระคายเคืองโดยคาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้อื่นๆ

    อนุภาคของควันจัดเป็นละอองลอยหรือ หมอก ของอนุภาคของแข็งหรือหยดของเหลวที่แพร่กระจายไปในอากาศซึ่งมักมองเห็นได้ เมื่อถูกกระทบกับแสง โดยปกติแล้วหมอกควันไม่ได้ขัดขวางต่อการมองภาพ หากแต่มันเป็นอนุภาคที่มีความละเอียดจนบดบังการมองเห็นแบบปกติไป

    (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.[ ออนไลน์ ] . www.th.wikipedia.org/wiki/ควัน

    สาเหตุของมลพิษทางอากาศ

     ๑.ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ รถยนต์เป็นแหล่งก่อปัญหาอากาศเสียมากที่สุด สารที่ออกจาก รถยนต์ที่สําคัญได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และของกํามะถัน สารพวกไฮโดรคาร์บอนนั้น ประมาณ ๕๕% ออกมาจากทอไอเสีย ๒๕ % ออกมาจากห้องเพลา ข้อเหวี่ยง และอีก ๒๐ % เกิดจากการระเหยในคาร์บูเรเตอร์ และถังเชื้อเพลิง ออกไซด์ของไนโตรเจนคือ ไนตริกออกไซด์ (NO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO๒) และไน ตรัสออกไซด์ (N๒๐) เกือบทั้งหมดออกมาจากท่อไอเสีย เป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรง นอกจากนี้สารตะกั่วในน้ำมันเบนซินชนิดซุปเปอร์ยังเพิ่มปริมาณตะกั่วในอากาศอีกด้วย
    ๒.ควันไฟ และก๊าซพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
    - จากโรงงานผลิตสารเคมี ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน โรงผลิตไฟฟ้า โรงงานทําเบียร์ โรงงาน สุรา โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ โรงงานถลุงแร่ โรงงานย้อมผ้า โรงงานทําแก้ว โรงงานผลิตหลอดไฟ โรงงานผลิตปุ๋ย และโรงงานผลิตกรด
    - พลังงานที่เกิดจากสารเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ทําให้เพิ่มสาร ต่าง ๆ ในอากาศ อาทิ สารไฮโดรคาร์บอนต่าง ๆ ออกไซด์ของไนโตรเจน และ กํามะถันในบรรยากาศ
    ๓.) แหล่งกําเนิดฝุ่นละอองต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณที่กําลังก่อสร้าง โรงงานทําปูนซีเมนต์ โรงงาน โม่หิน โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตโซดาไฟ เหมืองแร่ เตาเผาถ่าน โรงค้าถ่าน เมรุเผาศพ
    ๔.)  แหล่งหมักหมมของสิ่งปฏิกูล ได้แก่ เศษอาหาร และขยะมูลฝอย
    ๕.)  ควันไฟจากการเผาป่า เผาไร่นา และจากบุหรี่
    ๖.)  การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ก่อให้เกิดละอองกัมมันตรังสี
    ๗.)  การตรวจและรักษาทางรังสีวิทยา การใช้เรดิโอไอโซโทป ที่ขาดมาตรการที่ถูกต้องในการ ป้องกันสภาวะอากาศเสีย
    ๘.)  อากาศเสียที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟป่า กัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ความเป็นพิษเนื่องจากสาเหตุข้อนี้ค่อนข้าง น้อยมาก เนื่องจากต้นกําเนิดอยู่ไกล จึงเข้าสู่สภาวะแวดล้อมของมนุษย์และสัตว์ได้น้อย

    ( สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางอากาศ. [ออนไลน์]. www.rmuti.ac.th )


                                    ผลกระทบของการเกิดหมอกควัน


    ผลกระทบที่เกิดจากหมอกควันอันมีสาเหตุมาจากการเผานั้น มีหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ บดบังวิสัยการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดี อย่างไรก็ตามนอกจากผลกระทบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลกระทบทางด้านนิเวศสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงอีกมาก ซึ่งสามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ได้ดังนี้

    ผลกระทบต่อสภาวะอากาศโลก
    - การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอุณหภูมิสูงขึ้น มีผลต่อสภาวะโลกร้อน
    - การเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก
    - หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า ทำลายสุขภาพต่อระบบทางเดินหายใจ (มีผลกระทบโดยตรงต่อ ชาวบ้าน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุในชุมชน)
    - สูญเสียสภาพความสวยงามของธรรมชาติ

    ผลกระทบต่อน้ำ
    - สมดุลของน้ำเปลี่ยนแปลง เกิดอุทกภัย และภัยแล้ง
    - คุณภาพน้ำเสีย น้ำที่เต็มไปด้วยตะกอน ขี้เถ้า จะไหลลงสู่ลำห้วยลำธาร เกิดการทับถมในแม่น้ำ ลำน้ำ  ตื้นเขิน เมื่อฝนตกน้ำเอ่อล้น – เกิดอุทกภัย เกิดความเสียหายด้านเกษตร (การเพาะปลูก)
    - หน้าแล้ง ดินที่มีกรวดทราย ชั้นดินแน่นจากไฟป่า ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ในฤดูฝนได้ จะเกิดสภาวะแห้งแล้ง ชุมชนขาดน้ำอุปโภค บริโภค รวมทั้งเกิดผลกระทบต่อการทำเกษตร การทำไร่ การเลี้ยงสัตว์

    ผลกระทบต่อดิน ธรรมชาติ ป่าไม้

    - ทำลายป่าไม้ ธรรมชาติ ป่าไม้
    - ทำให้ดินในป่าไม่สมบูรณ์ การอุ้มน้ำลดลง ไม่เก็บน้ำและธาตุอาหาร
    - ทำลายหน้าดิน สิ่งปกคลุมดิน เมื่อฝนตกดินถูกกัดเซาะ พังทลาย พาความสมบูรณ์ของดินไป
    - เกิดแผ่นดินถล่ม ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยๆ ในภาคเหนือตอนฝนตกหนัก (ชาวบ้านในชุมชนจะได้รับผลกระทบโดยตรง) ( มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. [ออนไลน์] . www.seub.or.th )    

    แนวทางการป้องกัน

    ๑.       กําหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ พร้อมทั้งทําการสํารวจและ ตรวจสอบคุณภาพอากาศตามแหล่งต่าง ๆ เป็นประจํา
    ๒. พยายามทําให้เกิดความเจือจางของอากาศประจําท้องถิ่น เพื่อควบคุมคุณภาพของอากาศ โดยอากาศที่ห่อหุ้มอยู่นั้นรับสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่ปล่อยออกสู่อากาศได้โดยไม่ทําให้อากาศ สกปรก หรือเป็นอันตราย ควบคุมการใช้ประโยชน์ของที่ดิน ควบคุมที่ตั้งแหล่งอุตสาหกรรม และควบคุมระบบการขนส่งไม่ให้ปล่อยสิ่งปฏิกูลออกมาในอากาศ
    ๓. ป้องกันและกําจัดสิ่งปฏิกูล โดยใช้วัสดุหรือวิธีการอื่นแทน เพื่อไม่ให้เกิดสารพิษที่เป็น อันตรายขึ้น เช่นกําจัดปริมาณซัลเฟอร์ของน้ำมันและถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งก่อให้ เกิดความสกปรกของอากาศ
    ๔. ลดปริมาณและชนิดของปฏิกูล ที่เกิดขึ้นจากการสันดาปในเตาเผาและเครื่องยนต์ ได้แก่ ควบคุมไอเสียจากท่อไอเสียของรถยนต์ เป็นต้น
    ๕. ป้องกัน ลดการเกิดและปล่อยออกมาของปฏิกูล อาจทําได.โดยการเปลี่ยนกระบวนการผลิต หรือเครื่องมือต่าง(การป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศ.[ออนไลน์].www.rmuti.ac.th)

                                    สารพิษต่างๆที่อยู่ในควันไฟที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ ที่สำคัญ

    1.คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CARBON MONOXIDE) เป็นแก๊สพิษที่มีอันตรายอย่างสูงต่อคนและเกิดขึ้นได้มากเสมอในการเผาไหม้ในบริเวณจำกัด อันตรายต่อคน คือ ถ้าผสมอยู่ในอากาศคิดเป็นเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ถ้าเกิน 0.05%มีอันตราย ถ้ามีอยู่ 0.16% ทำให้หมดสติ ใน 2 ชั่วโมง ถ้ามีอยู่ 1.26% จะหมดสติภายใน 1 ถึง 3 นาที ของการหายใจและอาจถึงชีวิตได้นอกจากความเป็นพิษแล้ว แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ยังเป็นแก๊สเชื้อเพลิงอีกด้วย เมื่อมีความเข้มข้นในอากาศสูง ๆ สามารถลุกไหม้และเกิดการระเบิดได้อย่างรุนแรง เพลิงไหม้ในบริเวณที่โล่งแจ้งจะมีอันตรายจากแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์น้อยลงไป

    2.แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CARBON DIOXIDE) เกิดจากการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์แบบไม่เป็นเชื้อเพลิง และไม่ก่ออันตรายแก่ร่างกายโดยตรง แต่จะไม่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ถ้าแก๊สนี้มีความเข้มข้นในอากาศเกินกว่า 5.0% โดยปริมาตร จะมีอันตรายและทำให้ผู้สูดดมหมดสติได้

    3.แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนต์ (HYDROGEN CYANIDE) เป็นแก๊สพิษที่มีความรุนแรงมากกว่าแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์มาก ส่วนผสมในอากาศ 100 ppm. มีผลให้ผู้สูดดมหมดสติและเสียชีวิตไดในเวลา 30-60 นาที แก๊สนี้เกิดจากการเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีองค์ประกอบของคลอรีน เช่น พวกพลาสติก ยาง เส้นใย ขนสัตว์ หนังสัตว์ ไม้ หรือผ้า ไหม เป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศ จึงมีอันตรายมากในการเผาไหม้ในอาคารหรือบริเวณจำกัดต่าง ๆ

    4.แก๊สฟอสจีน (PHOSGENE) เกิดจากการเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีส่วนประกอบของคลอรีน เช่นคาร์บอนเตตระคลอไรด์ ฟรีออน (น้ำยาทำความเย็น) หรือเอธิลีนไดคลอไรด์ เป็นแก๊สที่เป็นพิษสูงมาก ได้รับเพียง 25 ppm.ในอากาศในเวลา 30-60 นาที ก็อาจเสียชีวิตได้

    5.แก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ (HYDROGEN CHLORIDE) เป็นแก๊สพิษที่เกิดจากการเผาไหม้สารที่มีองค์ประกอบของคลอรีน มีสภาพเป็นกรดและทำอันตรายได้เช่นกัน แม้จะไม่รุนแรงเท่ากับแก๊สฟอสจีนหรือแก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ก็ตาม

    6.แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (HYDROGEN SULFIDE) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของวัสดุพวก ยาง พรม ไม้ ขนสัตว์ หรือวัสดุอื่นใดที่สมีกำมะถันผสมอยู่ เป็นแก๊สที่มีอันตรายมากเพียง 400-700 ppm. ในอากาศได้รับนาน 30-60นาที ทำให้เสียชีวิต นอกจากนั้นยังเป็นแก๊สเชื้อเพลิงซึ่งลุกติดไฟได้อีกด้วย แต่ไม่ถึงขั้นเกิดระเบิด มีกลิ่นคล้ายไข่เน่า

    มักจะเรียกว่า “แก๊สไข่เน่า” มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้มาก

    7.แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SULFUR DIOXIDE) เกิดจากการเผาไหม้สมบูรณ์ของกำมะถันในอากาศ เป็นแก๊สพิษความเข้มข้นเพียง 150 ppm. ในอากาศใช้สังหารคนได้ในเวลา 30-60 นาที เมื่อผสมกับน้ำหรือความชื้นที่ผิวหนัง จะเกิดกรดกำมะถัน ซึ่งมีฤทธิ์กัดอย่างรุนแรงผู้ได้รับแก๊สนี้จึงมีอาการสำลักและหายใจไม่ออกอย่างฉับพลัน

    8.แก๊สแอมโมเนีย (AMMONIA) เกิดจากการเผาไหม้ไม้ ขนสัตว์ ผ้าไหม น้ำยาทำความเย็น หรือสารอื่นที่มีสารประกอบของไนโตรเจน และไฮโดรเจน มีกลิ่นฉุนรุนแรง ทำให้เกิดความรำคาญ และทำลายเนื้อเยื่อ แต่ไม่มีตัวเลขส่วนผสมที่ทำให้เสียชีวิต

    9.ออกไซด์ของแก๊สไนโตรเจน (OXIDE OF NITROGEN) ได้แก่ แก๊สไนตริกออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ และไนโตรเจนเตตระออกไซด์ เกิดจากกากรเผาไหม้พวกไม้ ขี้เลื่อย พลาสติก ยางที่มีไนโตรเจนผสมสีและแลคเกอร์บางชนิด ปริมาณ100 ppm. ในอากาศทำให้เสียชีวิตได้ใน 30 นาที

    10.แก๊สอะโครลีน(ACROLEIN)เป็นแก๊สเกิดจากการเผาไหม้สารที่เป็นไขมันที่อุณหภูมิ 600๐ F และ อาจเกิดจากเผาไหม้สี และไม้บางชนิด เป็นแก๊สที่มีอันตรายสูงประมาณ 150-240 ppm. ในอากาศ ทำให้ผู้สูดหายใจเสียชีวิตได้ภายใน

    30 นาที เมื่อได้รับจะทำให้คนเจ็บสูญเสียอวัยวะสัมผัส เช่น ตา และหายใจไม่ออก ซึ่งทำให้ไม่สามารถจะหลบหนีออกจากบริเวณอันตรายได้ทัน

    11.ไอโลหะ (METAL FUMES) คือ ไอของโลหะหนักต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อโลหะนั้นได้รับความร้อนสูง เช่น ไอปรอท ไอตะกั่ว ไอสังกะสี ไอดีบุก ส่วนใหญ่เพลิงไหม้โรงผลิตหรือโรงเก็บอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ จะเกิดไอโลหะได้มากและไอเหล่านี้มีอันตราย

    12.เขม่าและควันไฟ (SOOT AND SMOKE) เขม่า คือ ก้อนหรือเศษของวัสดุที่ยังเผาไหม้ไม่หมด จะมีลักษณะเป็นผงหรือละออง ส่วน ควันไฟ เป็นสารผสมระหว่างเขม่า ขี้เถ้า และวัสดุต่าง ๆ ที่เกิดมาจากกองเพลิง รวมทั้งพวกแก๊สและไอต่าง ๆ ด้วย ผลของเขม่าและควันไฟ คือทำให้ผู้ป่วยสำลักและอาจถูกเผาที่ผิวหน้าหรือตามตัว รวมทั้งปิดบังทางออกต่าง ๆ ทำให้หนีออกจากบริเวณอันตรายไม่ได้

    (สารพิษต่างๆที่อยู่ในควันไฟที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่เกิดเพลิงไหม้. [ออนไลน์]. www.thaifire.com)

    ส่วนที่ ๓ วิธีการดำเนินการ

                    รายงานเชิงวิชาการเรื่อง  ควันร้าย  อันตรายชีวิต

    คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการตามที่ได้ปรึกษากับสมาชิกในกลุ่มและได้จัดมาทำป็นตาราง ดังนี้

    วิธีการดำเนินการ

    ที่

    รายการ

    วันที่ดำเนินการ

    ประชุมปรึกษาหารือ เสนอความคิดเห็น และคัดเลือกเรื่องที่จะทำรายงาน

    แบ่งหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มและหาข้อมูลในการดำเนินงาน

    รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า นำมาวิเคราะห์และเลือกใช้ส่วนที่สำคัญ

    เขียนเค้าโครงงานรายงาน

    นำโครงร่างของรายงานไปปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์

    นำข้อเสนอแนะจากอาจารย์มาปรับปรุงโครงงานให้ดีขึ้น


    ส่วนที่ ๔ ผลการศึกษา

                    รายงานเชิงวิชาการเรื่องควันร้ายอันตรายชีวิตคณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ

    มลพิษทางอากาศหรือควัน และได้สรุปมาเป็นผลการศึกษา ดังนี้

                    จากที่ได้สืบค้นข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับควันทำให้เราได้สรุปมาเป็นผลการศึกษาที่สรุปได้ว่าควัน

    คือมลพิษที่จัดอยู่ในรูปคอลลอยล์ พร้อมกับปริมาณของอากาศหรือผสมในมวลสารชนิดอื่น ซึ่งเป็นส่วนเกินจากผลที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เตา, เทียนไข, ตะเกียงน้ำมัน และเตาไฟ แต่ก็อาจใช้สำหรับเป็นการกำจัดศัตรูพืช, การสื่อสารโดยใช้สัญญาณควัน, การป้องกันตัวโดยการสร้างฉากควัน, การทำอาหารเช่นแซลมอนรมควัน หรือเครื่องยาสูบชนิดต่างๆ ควันยังใช้ในพิธีกรรม, ธูปบูชา, ยางหอม ที่เผาเพื่อผลิตกลิ่น ในบางครั้งควันยังถูกนำไปใช้เป็นสารแต่งกลิ่น และเครื่องป้องกันสำหรับของกินต่างๆ ควันยังเป็นส่วนประกอบของไอเสียที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายในท่อไอเสีย

    ผลกระทบที่เกิดจากหมอกควันอันมีสาเหตุมาจากการเผานั้น มีหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ บดบังวิสัยการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดี อย่างไรก็ตามนอกจากผลกระทบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลกระทบทางด้านนิเวศสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วง

    อย่างไรก็ดีเราก็มีแนวทางการแก้ปัญหาของเราคือ ไม่ทำการเผาเศษสิ่งวัสดุที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะทำให้เกิดควันร้าย ไม่ก่อสิ่งใดๆ ที่ทำให้เกิดควัน  หมั่นเฝ้าระวังไม่ให้มีการเผาขยะ  เป็นต้น

    ส่วนที่ ๕ สรุปและอภิปรายผล

                    จากการที่ได้ทำการสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ควันพิษ พบว่า มีควันพิษ เจือปนอยู่ในอากาศมาก

    ส่งผลให้ทุกคนได้รับมลพิษที่เสียๆ จนทำให้ร่างกายได้รับสารพิษเจือปน เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิต  ซึ่งปัญหาควันก็ส่งผลให้แก่สัตว์  และสิ่งแวดล้อม

                    สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษ คือ  ไฟป่า ซึ่งก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่มนุษย์ได้กระทำมันขึ้นมา

    และธรรมชาติได้ทำมันขึ้นมา    และสาเหตุต่อมาคือ การเผาเศษวัชพืช ทางการเกษตร เผาตอซังข้าว หลังการเพาะปลูกเสร็จสมบูรณ์  ซึ่งชาวนา และเกษตรกร ก็ได้ทำลายวัชพืชโดยการเผา และยังมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเศษอุปกรณ์รถยนต์ และอุปกรณ์นี้เองทำให้เกิดควันดำ ส่งกลิ่นเหม็นสู่อากาศ  และสาเหตุสุดท้าย คือ การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ และการเผาไหม้นี้ทำให้เกิดควันด้วยเช่นกัน

                    สาเหตุดังกล่าว ก็ย่อมมีการแก้ปัญหา โดยทุกคนสามารถแก้ปัญหาได้ดังนี้     จัดหาและพัฒนาระบบการตรวจคุณภาพในอากาศ ให้สามารถวิเคราะห์ปริมาณมลพิษทางอากาศชนิดต่าง ๆ เพื่อประเมินคุณภาพในอากาศ   หาทางลดปริมาณสารมลพิษทางอากาศจาแหล่งกำเนิด เพื่อให้สามารถควบคุมและรักษาคุณภาพอากาศให้ได้ตามมาตรฐาน  กระตุ้นให้ผู้ใช้รถยนต์ให้ความสำคัญในการดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในภาพดีเพื่อ ลดควันดำ และที่สำคัญควรออกมาตรการตรวจสอบและตรวจจับรถยนต์ที่มีควันดำ  รณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถยนต์มีวินัยและเคารพในกฎจราจร

    บรรณานุกรม

     “ความหมายของควัน” . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://th.wikipedia.org/wiki/

                    %E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99. สืบค้น ๗ ธันวาคม ๒๕๕๖

    “แนวทางการแก้ไข” . [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-