บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

1) คนที่ทำความดีย่อมได้รับผลดีตอบแทน ถ้าทำความชั่วก็ย่อมได้รับผลของความชั่วนั้น
2) 1. ความรักของพ่อกับลูกเป็นความรักที่บริสุทธิ์และไม่หวังผล 2.การหลงในอบายมุขและการทำกรรมชั่วนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคม 3.ความรักบริสุทธิ์สามารถเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลอื่นได้ 4.ทำความผิดแล้วสำนึกสมควรได้รับการอภัย 5. การพึ่งตัวเองเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติก่อนที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่น
3) เราไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ดี
4) ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข เพราะจะทำให้เราตกต่ำลง

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

 

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

 

ตัวบทที่ 1 

 

พระยาภักดี : ใครวะ

อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า ผมบอกว่าใต้เท้ายังไม่กลับจากออฟฟิศก็ไม่ยอมไป เดินเรื่อยขึ้นมาที่นี่ว่าจะคอยพบใต้เท้า

พระยาภักดี : แล้วยังไงล่ะ

 

บทสนทนานี้เป็นบทสนทนาของพระยาภักดีนฤนาถกับอ้ายคำบ่าวรับใช้ สิ่งที่เด่นชัดที่สุดคือระดับภาษาผ่านการสนทนาระหว่างนายกับบ่าวที่มีการใช้ภาษาแตกต่างกันตามสถานะของผู้พูด

 

ตัวบทที่ 2 

 

พระยาภักดี : (มองดู) ฉันไม่สู้แน่ใจ ดูเหมือนจะได้จำได้คลับคลา

นายล้ำ : ก็ยังงั้นซิครับ ใต้เท้ามีบุญขึ้นแล้วจะมาจดมาจำคนเช่นผมยังไงได้

พระยาภักดี : ฮือ! พิศ ๆ ไปก็ออกจะจำได้ นายล้ำไม่ไหม

 

บทสนทนาระหว่างพระยาภักนฤนาถกับอดีตเพื่อนเก่าอย่างนายล้ำที่เปลี่ยนไปจนแทบจำไม่ได้ ในบทนี้จะเด่นเรื่องของคำศัพท์และสำนวนเก่า ๆ ที่ไม่ได้เห็นบ่อยนักในยุคสมัยปัจจุบัน เช่น มีบุญขึ้นแล้ว หมายถึงมีชีวิตที่ดีขึ้น

 

ตัวบทที่ 3

 

แม่ลออ : …ถ้าใครบอกดิฉันว่าเป็นคนไม่ดี ดิฉันไม่ยอมเชื่อเป็นอันขาดเทียว แต่ท่านก็เป็นคนดีจริง ๆ อย่างทิ่ดิฉันนึกเดาเอาใจ คุณพ่อนี่ก็ได้บอกดิฉันว่างั้น จริงไหมคะคุณพ่อ

นายล้ำ : ถ้าใครบอกหล่อนว่าพ่อหล่อนที่ตายน่ะเป็นคนไม่ดีละก็หล่อนเป็นไม่ยอมเชื่อเลยเทียวหรือ?

แม่ลออ : ดิฉันจะเชื่อยังไง ดูในรูปก็เห็นว่าเป็นคนดี

 

บทสนทนาระหว่างแม่ลออกับนายล้ำ ซึ่งแม่ลออไม่รู้ว่านายล้ำคือบิดาแท้ ๆ จึงพูดถึงบิดาที่เข้าใจว่าเสียชีวิตไปแล้วในแง่ดีตามที่ได้ฟังมาจากพระยาภักดีนฤนาถ ซึ่งบทนี้โดดเด่นเพราะเป็นจุดที่ทำให้นายล้ำละอายแก่ใจจนในที่สุดก็ไม่บอกความจริงกับแม่ลออว่าเป็นบิดาแท้ ๆ เป็นที่มาของชื่อเรื่อง เห็นแก่ลูก

 

คุณค่า

 

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

 

คุณค่าด้านเนื้อหา

ช้อคิดในบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่พ่อแม่มีให้ลูกถึงแม้จะมีช่วงเวลาที่หลงผิด แต่สุดท้ายก็นึกถึงความสุของลูกเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นายล้ำกับพระยาภักดีเป็เพื่อนที่เคยรัชราชการตำแหน่งเดียวกัน แต่ชีวิตของนายล้ำดิ่งลงเหวหลังจากทำเรื่องไม่ดีจนเป็นเหตุให้ต้องติดคุก ผลกรรมคือหมดอนาคตและไม่ได้อยู่กับลูกอีกต่อไปได้

คุณค่าด้านสังคม

ในบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก สะท้อนค่านิยมวัฒนธรรมในยุคสมัยนั้นไดอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย และสภาพสังคม ทำให้เห็นถึงความเป็นอยู่ บ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ 6

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

วรรณศิลป์ที่โดดเด่นในวรรณคดีเรื่องนี้คือการใช้ถ้อยคำที่สมจริง ทำให้แสดงอารมณ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีการใช้ระดับภาษาที่เด่นชัดและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ในเรื่องยังมีทั้งสำนวนเก่า ๆ ที่หาฟังยาก การใช้คำเก่าที่ไพเราะและยังมีการทับศัพท์อีกด้วย

 

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

 

จบไปแล้วนะสำหรับบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกในส่วนของตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าข้อคิดที่อยู่ในเรื่อง น้อง ๆ อ่านแล้วคงจะสัมผัสได้ถึงความงดงามของภาษาที่เรียบง่ายและข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่อของครอบครัวที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ถือว่าเป็นวรรณคดีที่มีประโยชน์สามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยจริงค่ะ สุดท้ายนี้น้องๆ อย่าลืมไปรับชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเพิ่มเกี่ยวคำศัพท์ ตัวบทเด่น ๆ และเกร็ดความรู้อื่น ๆ อีกมากมาย ไปรับชมและรับฟังเลยค่ะ

 

ประเมินค่าบทประพันธ์

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ   Passive Modals คืออะไร   Passive Modals หรือ Modal Verbs in the Passive Voice คือ 

การเปลี่ยนแปลงคำ เรียนรู้วิวัฒนาการทางภาษาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน แต่ในเมื่อสังคมมนุษย์ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และมีความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากมาย การเปลี่ยนแปลงคำ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติของมนุษย์ จากครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประโยคกันไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ เจาะลึกอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงคำว่ามีอะไรกันบ้าง และมีคำใดที่เคยใช้ในสมัยโบราณแต่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงคำ   เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดและเขียนเมื่อถูกใช้ต่อกันมาเรื่อย ๆ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงคำต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้     1.

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

การตั้งประโยคคำถามแบบมีกริยาช่วยนำหน้าและ Wh-questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดู ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย มารู้จักกับกริยาช่วย   Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึง การแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณสองปริมาณแล้วนำมาเขียนแสดงเป็นกราฟ

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

ศิลาจารึก วรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญของคนไทย

ศิลาจารึก เป็นวรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปในสมัยสุโขทัยเพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก ที่เป็นการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ บนแผ่นดิน ถ้าอยากรู้แล้วว่าแผ่นหินที่ว่านี่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ศิลาจารึกหลักที่ 1 ประวัติความเป็นมา     ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกโดยพ่อขุนรามคำแหง ใช้อักษรไทย สุโขทัย หรือ ลายสือไทย

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกให้ข้อคิดอะไรบ้าง

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกมีจุดเด่นด้านใด

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกมีจุดเด่นด้านใด ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้ข้อคิดคติธรรมในการดำรงชีวิต ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพสุจริต

คุณธรรม เรื่อง ใดที่ สอดคล้อง กับ บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก แม้จะเป็นเรื่องสั้นๆ เพียงองก์เดียวแต่นับว่าเป็นบทละครที่แสดง คุณธรรมประการส าคัญ คือ ความรักอันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรของตน ไม่ว่าจะต้องล าบาก เพียงใด จะยอมทนเพื่อให้ลูกได้มีความสุขกาย สบายใจ เป็นความรักที่ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน 5 Page 14 ด้วยเหตุนี้บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกจึงได้รับ ...

ข้อคิดอันสำคัญที่สุดที่ได้จากเรื่องเห็นแก่ลูก คืออะไร *

ข้อคิดที่เด่นที่สุดจากบทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก ความเสียสละของพ่อเพื่อความสุขของลูก ความรักที่บิดามีต่อบุตร ทำให้บิดายอมเสียสละให้แก่บุตรโดยไม่หวังผลตอบแทน ใดๆทั้งสิ้น

เค้าโครงเรื่องบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกมีที่มาอย่างไร

บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร บทละครพูดที่มาจากตะวันตกแต่เป็นผลงานพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ไม่ใช่การแปล มีที่มาจากที่พระองค์ทรงชอบบทละครพูด และตั้งคณะละครขึ้นเพื่อช่วยอบรมจิตใจของประชาชน วรรณคดีเรื่องนี้เป็นบทละครพูดขนาดสั้น ปมเรื่องไม่ซับซ้อน แฝง ...