การใช้ภาษาพัฒนาความคิด สรุป

คีย์เวิร์ดยอดนิยมของ มัธยมปลาย

ค้นหาเนื้อหาที่ต้องการไม่เจอเหรอ? ลองค้นหาใน Q&A ดูสิ!

คำสำคัญ: ภาษากับความคิด

・ตรวจสอบความถูกต้องของการสะกดคำ
・ลองใช้คีย์เวิร์ดอื่น
・ค้นหาจากประเภทของสมุดโน้ตที่เผยแพร่ในหน้าบนสุด หรือจากอันดับรายสัปดาห์

พบ - เนื้อหาที่ตรงกันบน Q&A

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
    ภาษากับมีอิทธิพลต่อความคิดหรือความคิดควบคุมการใช้ภาษายังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่า
แท้จริงแล้วภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของมนุษย์หรือความคิดเป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
อย่างไรก็ตามนักภาษาต่างเห็นตรงกันว่า
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันมิได้
ในระหว่างที่มนุษย์คิดก็ต้องอาศัยภาษาและในขณะที่ใช้ภาษาก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่ไปด้วย
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ

1. ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด
มนุษย์ติดต่อกันโดยอาศัยภาษาซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์อาจเป็นการพูด การเขียน
การแสดงท่าทาง และอื่นๆ ถ้ามนุษย์ไม่มีภาษาแล้วก็คงติดต่อกันด้วยความลำบากเพราะ
“การที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบความคิดให้มนุษย์คิดเป็นภาษา
และใช้ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิดให้เป็นระบบระเบียบ” เช่น
การบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ทำให้คนรุ่นใหม่รู้เรื่องราวของคนรุ่นเก่าได้

2. ภาษาเป็นสิ่งสะท้อนความคิดให้ปรากฏ
ไม่ว่ามนุษย์จะใช้ภาษาลักษณะใดก็ตามในขณะที่ใช้ภาษาถ่ายทอดความต้องการของตนนั้น
จะทำให้ผู้รับสารรับรู้ว่า ผู้ส่งสารคิดอะไรอย่างไร
“ภาษาย่อมเป็นเครื่องสะท้อนความคิดอ่านของคนเรา ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียนเราย่อม

ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อบอกสิ่งที่ต้องการให้ผู้อื่นได้เข้าใจหรือได้รับทราบสิ่งที่ต้องการนี้”
แต่ใน

บางครั้งการใช้ภาษาของมนุษย์ก็อาจไม่ได้สะท้อนความคิดที่แท้จริงออกมาก็ได้
ทั้งนี้เพราะมนุษย์รู้จักปกปิดบิดเบือนความคิดที่แท้จริงของตนเอง

3. ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและความคิดก็มีอิทธิพลต่อภาษา
แม้ว่าภาษาจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่มนุษย์กำหนดขึ้นใช้
แต่ส่วนหนึ่งมนุษย์ก็เข้าใจว่าภาษาคือสิ่งที่แทนนั้น
ทำให้การใช้ภาษามีส่วนช่วยกำหนดความคิดของมนุษย์ได้ด้วย
ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงมีอิทธิพลต่อความคิด เช่น
การตั้งชื่อของคนไทยจะต้องเลือกชื่อที่มีความหมายดีเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในทางตรงข้ามความคิดก็เป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
เมื่อมนุษย์ต้องการถ่ายทอดความต้องการของตนให้ผู้อื่นรับรู้
ก็จะต้องเลือกเฟ้นถ้อยคำที่มีความหมายสื่อความให้ตรงกับความคิดของตน

4. ภาษาช่วยพัฒนาความคิดและความคิดก็ช่วยพัฒนาภาษา
สมรรถภาพในการคิดและสมรรถภาพในการใช้ภาษาของบุคคลจะมีผลต่อเนื่องกันเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
ขณะที่มนุษย์คิดนั้นจะต้องอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดและจะต้องเลือกถ้อยคำนำมาเรียบเรียงถ่ายทอด
ซึ่งการทำเช่นนี้ความคิดจะถูกขัดเกลาให้ชัดเจนเหมาะสม
ความคิดก็จะพัฒนายิ่งขึ้นด้วยและขณะที่มีความคิดกว้างไกลก็จะรู้จักใช้ภาษาได้กว้างขวางขึ้น
ความคิดจึงช่วยพัฒนาภาษาเช่นกันเราจะเห็นอย่างชัดเจนว่าภาษาสัมพันธ์กับความคิด

แนวทางปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อช่วยสร้างเสริมความคิด อาจทำได้ดังนี้

1. ใฝ่ใจค้นคว้า ในเวลาที่คิดนั้นปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้น คือ คิดไม่ออก
ไม่รู้จะคิดว่าอย่างไร สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดีพอ
ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความคิดจะต้องเป็นผู้ใฝ่ใจศึกษา ค้นคว้าหาความรู้
เก็บข้อมูลต่างๆ สะสมไว้ในสมอง ความรู้จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราว
เกิดความคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ ได้
ซึ่งการค้นคว้าหาความรู้อาจทำได้โดยการฟังหรือการอ่าน

2. หมั่นหาประสบการณ์ ประสบการณ์เป็นวัตถุดิบเบื้องต้นที่จะช่วยทำให้เกิดความ
คิดการได้สัมผัสกับสภาพความจริงจะช่วยก่อกำเนิดความคิดได้ดี
การมีความรู้คู่ประสบการณ์จะทำให้คิดได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ดังนั้นจึงควรสนใจหมั่นหาประสบการณ์อยู่เสมอเพื่อจะได้รู้จริง
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคิดอย่างมาก

3. มีความสามารถทางภาษา การรู้จักจัดลำดับความคิดให้เป็นระเบียบ
เลือกเฟ้นถ้อยคำที่เหมาะสมถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
ก็จะช่วยพัฒนาความคิดขึ้นโดยลำดับและขณะเดียวกันก็พัฒนาความคิดของผู้รับสารด้วย

4. ใช้ปัญญาสร้างภาพ วิธีที่จะช่วยสร้างความคิดอีกวิธีหนึ่ง คือ
การนึกเห็นภาพในใจก่อนภาพนี้ไม่ใช่ภาพประเภทเพ้อฝันไร้สาระ
แต่เป็นภาพที่ใช้ข้อมูลมาประกอบการสร้างความคิดจะทำให้สายตากว้างไกล
การสร้างภาพจะช่วยทำให้ความคิดแจ่มแจ้งชัดเจน เช่น
ในการแก้ไขปัญหาถ้าสร้างภาพนึกเห็นไว้ก่อนว่าสถานการณ์อย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร
วิธีใด ความคิดก็จะบังเกิดควบคู่ไปกับการเห็นภาพ

        หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีพื้นฐานที่สำคัญจากปรัชญาพิพัฒนาการ ที่มีความเชื่อว่าสาระสำคัญและความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายนั้นไม่ได้หยุดนิ่ง ฉะนั้นวิธีการทางการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ

กลุ่มที่ 2 ความสามารถด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย และมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล (Digital Governance, Standard, and Compliance)

DG100 ปฏิบัติตามกฎหมาย กรอบธรรมาภิบาล (Governance Framework) และหลักปฏิบัติ (Principles) ที่ดี ด้านดิจิทัล - 3 หลักสูตร

องค์ประกอบความสามารถหลักสูตรสรุปหลักสูตรแหล่งการเรียนรู้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร (Driving Innovation in Organization)เรียนรู้ ความหมายของนวัตกรรม ประเภทของนวัตกรรม องค์ประกอบ ระบบ และคุณค่าของนวัตกรรม กระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรมทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมสำนักงาน ก.พ.ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมนวัตกรรมกับการทำงานภาครัฐนวัตกรรมคือการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อก่อให้เกิดคุณค่าต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ข้าราชการจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมกับการทำงานภาครัฐสำนักงาน ก.พ.