ใบ งาน เรื่อง มารยาท ใน การ สนทนา ม 3

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

มารยาทเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม  กิจกรรมทุกกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น          จะดำเนินไปด้วยความราบรื่น  จำเป็นต้องมีมารยาทในการกระทำ  การฟัง การดู และการพูดก็เช่นเดียวกัน    ถ้าฟัง ดู หรือพูดคนเดียวในสถานที่ส่วนตัว  ก็ไม่จำเป็นต้องรักษามารยาทเท่าใดนัก  แต่ถ้าเป็นการฟังการดู  และการพูดร่วมกับผู้อื่น  ควรมีและรักษามารยาทเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้อื่น  ทั้งผู้พูด  ผู้แสดง และผู้ฟังหรือผู้ดูด้วยกัน 

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ป.2/7   มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

จุดประสงค์

1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

   - บอกมารยาทในการฟัง การดู และการพูดได้

2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

     - จำแนกมารยาทในการฟัง การดู และการพูดที่ดีได้

3 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

     - มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

การวัดผลและประเมินผล

- ใบงานที่ 3 การฟัง การดู การพูด ที่ดี

หน่วยการเรียนรุ้ที่ 1

ใบ งาน เรื่อง มารยาท ใน การ สนทนา ม 3

ความเป็นไทย

        ชาติไทยมีเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ ทั้งทางด้านมารยาท ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญา บ่งบอกถึงความเป็นไทย

        ในฐานะที่นักเรียนเป็นคนไทย ควรมีความภาคภูมิใจและสืบทอดสิ่งดีงามเหล่านั้น เพื่อรักษาความเป็นเอกลักษณ์ที่ดีของชาติต่อไป

ผลการเรียนรู้

  1. มีส่วนร่วมในการอนุรักษณ์มารยาทไทย
  2. แสดงออกถึงความเอื้เฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละต่อสังคม
  3. เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลป วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย

ใบ งาน เรื่อง มารยาท ใน การ สนทนา ม 3

2.มารยาทในการสนทนา

        การสนทนาเป็นการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ ความรู้สึกความคิดเห็นระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรืในสิ่งที่สนใจร่วมกัน

        การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับมารยาทในการสนทนา เพื่อให้การสนทนาเป้นไปในทิศทางที่ดี สร้างมิตรภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการร่วมกัน

มารยาทในการสนทนาที่ดี

  1. สนทนาด้วยวาจาไพเราะ สุภาพ ไม่พูดแทรก ไม่พูดคำหยาบ ไม่กล่าวร้าย ข่มขู่ผู้อื่น
  2. ไม่ผูกขาด ไม่พูดเพียงผู้เดียว ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมสนทนาพูดบ้าง
  3. สนทนาเรื่องที่สนใจร่วมกัน และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น หากมีข้อขัดแย้งให้ใช้เหตุผลในการพูดคุย
  4. การสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ ต้องระวังข้อความที่ส่งออกไป อาจมีผลกระทบต่อตนเอง ผู้ร่วมสนทนาและสังคมในวงกว้างได้ รวมถึงข้อกฎหมาย
  5. ไม่ซักถามเรื่องส่วนตัว เพราะจะทำให้คู่สนทนาอึดอัดและไม่พูดเรื่องส่วนตัวของตัวเองมากเกินไป

        การสนทนามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าผู้พูดมีศิลปะในการพูด ก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง และเนื่องจากเราต้องติดต่อสื่อสารและพึ่งพาอาศัยกัน การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้น จำเป็นต้องเป็นคนที่พูดดี คือพูดไพเราะ พูดถูกต้อง พูดน่าฟัง และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ รู้จักกาลเวลา และที่สำคัญต้องคำนึงถึงมารยาทที่ดีของการพูดด้วย

        2.1. มารยาทในการแนะนำให้รู้จักกัน

                2.1.1.แนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง หากมีอาวุโสเท่าเทียมกัน

                2.1.2.แนะนำผู้อาวุโสน้อยกว่าให้รู้จักผู้อาวุโสมากกว่า

                2.1.3.แนะนำผู้มีตำแหน่งน้อยกว่าให้รู้จักผู้มีตำแหน่งสูงกว่า

                2.1.4.แนะนำผู้มีอายุ ยศ ตำแหน่งเสมอกัน จะแนะนำใครก่อนก็ได้ แต่ถ้าเป็นผู้หญิงกับผู้ชายต้องแนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง

        เมื่อแนะนำให้รู้จักกัน ผู้อาวุโสน้อยกว่า ต้องแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ส่วนผู้อาวุโสมากกว่า จะต้องรับไหว้ หรือค้อมศีรษะ เพื่อรับการแสดงความเคารพ.

        2.2.มารยาทในการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์

                2.2.1.ควรพูดเฉพาะเรื่องที่จำเป็นและไม่ช้เวลานานเกินสมควร

                2.2.2.ไม่ควรพูดคุยโทรศัพท์ในเวลาเรียน ขณะขับรถ ขณะรับประทานอาหาร ขณะเข้าห้องน้ำหรืออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น

                2.2.3.กรณีที่ผู้อาวุโสน้อยกว่าโทรศัพท์ไปหผู้ใหญ่ ต้องคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสม ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง

                2.2.4.เมื่อรับโทรศัพท์ ควนเริ่มต่นทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” ครับ/ค่ะ

                2.2.5.ถ้าต้องการจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ ควรใช้วิธีการบอกอย่างนุ่มนวล และสุภาพ

        2.3.มารยาทในการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

                การสนทนาบนเครือข่ายอินเทอรฺเน็ต ด้วยการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพ เพื่อการสนทนาที่ถูกต้อง ควรปฎิบัติดังนี้

                2.3.1.พิมพ์ข้อความด้วยภาษาที่สุภาพ

                2.3.2.ไม่สนทนาหรือส่งภาพ (โพสต์) เรื่องเป็นความลับ เรื่องส่วนตัว เรื่องที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เรื่องที่สร้างความขัดแย้ง

                2.3.3.ไม่สนทนานานเกินไป เพราะอาจรบกวนเวลาส่วนตัวของผู้อื่น

                2.3.4.ส่งข้อความขณะที่คู่สนทนาอยู่ในสถานะออนไลน์

                2.3.5.ก่อนส่งไฟล์ข้อมูลหรือรูปภาพควรแจ้งให้ผู้ติดต่อทราบ

2.4.การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทในการสนทนา

                การอนุรักษ์และเผยแพร่มารยาทในการสนทนาในระดับของนักเรียน ควรปฎิบัติดังนี้

                2.4.1.ปฎิบัติตนให้เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาที่ดี

                2.4.2.ไม่ใช้คำหยาบ คำที่ไม่สุภาพ คำพูดส่อเสียด ดูหมิ่นเหยียดหยาม

                2.4.3.แสดงกิริยาวาจาท่าทางที่นุ่มนวล สุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ

                2.4.4.ไม่ใช้คำพูด ข้อความที่ผิดเพี้ยนไปจากภาษาไทย ในการสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และการสนทนาทั่วไป

                2.4.5.ระลึกเสมอว่า การสนทนาของนักเรียนนั้นเป็นการใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ การสนทนากัน ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องชัดเจน ทั้งตัวควบกล้ำ ตัว ร ตัว ร ให้สมกับที่เกิดมาเป็นคนไทย

                สิ่งที่นักเรียนต้องคำนึงถึงในเรื่องมารยาทในการสนทนาคือ สำนวน สำเนียง ภาษา กิริยาท่าทางให้เหมาะสมกับความเป็นไทย

ใบ งาน เรื่อง มารยาท ใน การ สนทนา ม 3