การกระทําที่เป็นจริยธรรมมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของจริยธรรม 
                กรมวิชาการ (2535 : 5 ) ได้จัดทำเอกสารการประชุมเกี่ยวกับจริยธรรมไทย สรุปว่า จริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 
                ด้านความรู้ (moral reasoning) คือ ความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม สามารถตัดสินแยกความถูกต้องออกจากความไม่ถูกต้องได้ด้วยการคิด 
                ด้านอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) คือ ความพึงพอใจ ความศรัทธาเลื่อมใส ความนิยมยินดี ที่จะรับจริยธรรมมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน 
                ด้านพฤติกรรม (moral conduct) คือการกระทำหรือหารแสดงออกของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากอิทธิพลของทั้งสององค์ประกอบข้างต้นเนื่องจากองค์ประกอบของจริยธรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ดังกล่าวข้างต้น การพัฒนาคนในด้านจริยธรรมจึงต้องพัฒนา 3 ด้านไปด้วยกัน ในการดำเนินชีวิตของคนนั้น องค์ประกอบทั้ง 3 ประการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและทางวาจานั้น จะมีความสัมพันธ์กับทางจิตใจและสติปัญญา คนที่มีอารมณ์โกรธจะแสดงพฤติกรรมออกมาทางการก้าวร้าวรุนแรง และยิ่งเป็นคนที่มีปัญญาน้อยด้วยแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกก็จะก้าวร้าวรุนแรงยิ่งกว่าบุคคลที่มีสติปัญญาซึ่งจะสามารถควบคุมจิตใจของตนได้โดยไม่แสดพฤติกรรมไม่ดีให้ออกมาปรากฏ นั่นก็แสดงว่าผู้มีสติปัญญาดีย่อมสามารถควบคุมอารมณ์และความประพฤติได้ดีกว่าผู้ด้อยปัญญานั่นเอง 
                แนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลโดยพัฒนาองค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ด้าน กล่าวคือ เริ่มจากการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญอันดับแรก ได้แก่ ปัญญาหรือความรู้ ด้วยเห็นว่า ปัญญาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในทางที่ถูกต้องและเป็นตัวควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้เป็นอิสระ เป็นสุขจากแรงกระทบกระทั่งทั้งปวงนั้น นักปราชญ์ทางการศึกษาได้เห็นพร้องกันดังนี้พระธรรมปิฎก ( 2539 : 15-21) กล่าวไว้พอนำมาสรุปความได้ว่า มนุษย์นั้นเมื่อรับรู้ประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะมีความรู้สึกหรือเวทนาเกิดขึ้น ความรู้สึกนี้อาจเป็นได้ทั้งสุข เวทนา หรือทุกขเวทนา เมื่อมีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมนุษย์ที่ยังมีอวิชชาก็จะมีปฏิกิริยาแตกต่างจากผู้มีปัญญา คือถ้าผู้มีอวิชชาก็จะมีความรู้สึกยินดียินร้ายต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า ตัณหาตัณหาจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม การใช้ตัณหาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ก็เพราะมนุษย์ยังไม่พัฒนา ยังไม่มีความรู้ ยังไม่มีปัญญา การใช้ตัณหาเป็นตัวนำพฤติกรรมอาจทำให้เกิดโทษหลายประการ คือ เป็นอันตรายต่อตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นอันตรายต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์หรือสังคม เป็นอันตายต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเกิดปัญหาเช่นนี้ เนื่องจากมนุษย์ปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวนำพฤติกรรมการแก้ปัญหา ก็คือ เราจะปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมไม่ได้ มนุษย์จะต้องกำหนดรู้อะไรเป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตของตนแล้วทำตามความรู้นั้น คือเอาความรู้เป็นตัวกำหนดนำพฤติกรรม
                ดังนั้น ในการศึกษา จึงต้องฝึกคนให้พัฒนาปัญญา เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วพฤติกรรมก็จะเปลี่ยนไป เช่นการบริโภคอาหาร ก็จะกำหนดรู้ด้วยปัญญาว่าเรากินเพื่อบำรุงร่างกายให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ให้มีความสุขภาพดี เพื่อให้เรามีชีวิตที่ผาสุก หรือเป็นเครื่องเกื้อหนุนชีวิตที่ดีงาม เพื่อการบำเพ็ญกิจอันประเสริฐคือการทำหน้าที่และประโยชน์ต่างๆ นั่นก็คือใช้ปัญญาในการทำหน้าที่รู้คุณค่าของอาหาร รู้ความประสงค์ในการกินการบริโภคและ ปัญญานี้จะมาเป็นตัวนำพฤติกรรมตัวใหม่ ปัญญาจะมากำหนดพฤติกรรมแทน ตัณหานี่ก็คือจุดเริ่มต้นของการศึกษาหรือการพัฒนาคน คือพัฒนาปัญญาหรือความรู้ก่อน นอกจากแนวคิดของพระธรรมปิฎกแล้ว ยีงมีแนวคิดของนักการศึกษาตะวันตกที่เห็นพร้องต้องกันกับแนวคิดนี้คือ โคลเบิร์ก (Kohlberg, 1964 : 385-390) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาทางสติปัญญาและอารมณ์เป็นรากฐานของการพัฒนาทางจริยธรรม โคลเบิร์กเชื่อว่าจริยธรรมของมนุษย์มีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญา ซึ่งมีการเรียนรู้มากขึ้น ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กจะสอดคล้องกับทฤษฏีของเพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ พัฒนาการของมนุษย์มีความต่อเนื่องและเจริญขึ้นตามวุฒิภาวะ นักการศึกษาทั้งสองท่านเชื่อว่า จริยธรรมของมนุษย์มีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะ เพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญา ซึ่งมีการเรียนรู้มากขึ้น และจากการศึกษาและวิจัยของโคลเบิร์ก (Kohlberg) ยืนยันว่าจริยธรรมมีการพัฒนาการตามวุฒิภาวะและมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา 
                คุณธรรมถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี เพราะคุณธรรมเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั่วไป คุณธรรมตามแนวคิดของนักปราชญ์ทั้งหลายจึงจำแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนความรู้ความเข้าใจ ส่วนอารมณ์ความรู้สึกและส่วนที่เป็นพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงอกมา เช่น การปฏิบัติตามศาสนา การควบคุมตนเอง ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ฯลฯ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างถูกต้องดีงาม การที่ผู้บริหารจะพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม หรือการที่ผู้บริหารจะพัฒนาผู้อื่นที่แวดล้อมใกล้ชิดและเกี่ยวข้องอยู่ในความดูแล เพื่อให้เป็นบุคคลผู้มีคุณธรรมจึงต้องเริ่มจากการพัฒนาปัญญา พัฒนาจิตใจ อารมณ์ เพื่อให้ทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้นต่อไป 
                องค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ส่วน คือ ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรมนี้ คนส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่า จิตใจเป็นส่วนสำคัญที่สุด เป็นตัวที่ควบคุมพฤติกรรมของคนดังคำกล่าวที่ว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าวคำกล่าวนี้ไม่ผิด เพราะมีหลักฐานให้พบเห็นเสมอว่า ความอุตสาหะ ความกล้าหาญ ความรัก ความชัง ฯลฯ ล้วนเป็นความรู้สึกทางจิตใจที่มีผลให้คนแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน หากแต่ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว จิตใจของคนเราย่อมอ่อนไหวผันแปรได้ง่าย หากไม่มีปัญญาเป็นตัวกำกับ อาจมีสิ่งจูงใจให้จิตใจอ่อนไหวไปตามโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ เมื่อจิตใจผันผวนปรวนแปรพฤติกรรมของคนก็จะเปลี่ยนแปลง เพราะเกิดตัณหาเป็นตัวนำจิตใจ แต่ถ้าหากบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา รู้แจ้งในความเป็นจริงของโลกและชีวิต ปัญญาก็จะเป็นตัวชี้นำไม่ให้จิตใจอ่อนไหวไปตามสิ่งที่มากระทบ จิตใจก็จะเข้มแข็งไม่อ่อนไหวปรวนแปร จนเกิดผลกระทบไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เคยประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้ เพราะมีปัญญาเป็นตัวควบคุมจิตใจไว้อีกระดับหนึ่ง จึงสรุปได้ว่า ในองค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ส่วนนี้ ปัญญาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ที่จะชี้นำให้จิตใจและพฤติกรรมของคนดำเนินไปอย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม ดังพุทธพจน์ที่ว่า 
สพฺเพ ธมฺมา ปญฺญุตฺตา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีปัญญาเป็นเยี่ยมยอด” 

               ผู้บริหารควรเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งบุคคลที่อยู่รอบข้างและผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อการบริหารงานจะได้เป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ โดยธรรมชาติมนุษย์เป็นอย่างไร เกิดมาพร้อมที่จะเป็นคนดีหรือคนชั่ว หรือไม่ดี ไม่ชั่ว แต่มาดี ชั่ว เพราะการอบรมเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมทำให้เป็นในภายหลัง เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์นี้ สามารถศึกษาได้หลายแนวทาง เช่น แนวคิดทางปรัชญา แนวจิตวิทยา แนวมานุษยวิทยา แนวสังคมวิทยาเป็นต้น 
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา 
               สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงคำสอนให้เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีทั้งดีและชั่วติดตัวมาแต่ชาติก่อน (วศิน อินทสระ, 2541 : 81) กล่าวคือ พระพุทธศาสนายอมรับเรื่องชาติก่อน เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ช่วงเวียนว่ายตายเกิดก็ได้สั่งสมทั้งดีทั้งชั่ว ดี-ชั่ว เหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่ในจิตของเขา เขาเกิดมาพร้อมทั้งดีและชั่วอยู่แล้ว จะดีมากขึ้นถ้าได้มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้รับการฝึกฝนอบรมดี และอาจจะชั่วได้ ถ้าได้รับการกระตุ้นให้ชั่ว หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี 
               บุญมี ปาละวงศ์ (2537 : 99-100) กล่าวว่า มนุษย์ตามที่นักปราชญ์จำแนกไว้มีหลายประเภท โดยแบ่งตามคุณธรรมจริยธรรมที่มีอยู่ในจิตใจและการประพฤติปฏิบัติตน ดังนี้ 
               1. วิญญูชน ได้แก่ มนุษย์ผู้รับผิดชอบตามปรกติ เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ด้วยปัญญา หลุดพ้นจากกิเลส มีความคิดระลึกได้ตลอดเวลาทั้งก่อนทำ ก่อนพูด จัดบุคคลประเภทนี้เป็นอริยชน เป็นผู้ประเสริฐโดยแท้ 
               2. ปัญญาชน ได้แก่ บุคคลได้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ทางคดีโลก เช่น นักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ เป็นต้น แต่อาจมีความบกพร่องทางคดีธรรมคือไม่มีความอายแก่ใจในการทำความชั่ว ไม่เกรงกลัวผลของความชั่วหรือเห็นผิดเป็นชอบ นิยมวัตถุมากกว่าการแสวงหาคุณธรรม
               3. กัลยาณชน ได้แก่ บุคคลผู้มีคุณธรรมจริยธรรมดีงาม มีจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณา รู้บาปบุญคุณโทษ พวกนี้ไม่ค่อยคำนึงถึงวัตถุมากนัก แต่คำนึงถึงความดีทางด้านจิตใจ 
               4. กัลยาณปุถุชน ได้แก่ บุคคลธรรมดา เป็นผู้มากด้วยกิเลสตัณหา แต่ยังรู้ดีรู้ชั่ว รู้บาปบุญคุณโทษอยู่ เห็นคุณค่าทางวัตถุและจิตใจเท่าๆกัน มีความสำนึกและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง 
               5. ปุถุชน ได้แก่ บุคคลผู้หนาด้วยกิเลสตัณหา ติดอยู่ในความอยากความปรารถนาในรูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส ยังมีอวิชชาครอบงำ ยึดมั่นในตัวตน ยึดถือเรา ถือเขา มีทิฏฐิมานะ 
               6. พาลชน ได้แก่ คนชั่วร้าย คนเกเร คนไร้สติปัญญาไม่มีเหตุผล ไม่รู้ดีไม่รู้ชั่ว ไม่รู้ถูกรู้ผิด ชอบเกะกะระรานรังแกผู้อื่น 
               7. อันธพาลชน ได้แก่ คนชั่วร้าย โง่เขลาเบาปัญญา ชอบรังแกผู้อื่นทั้งต่อหน้าและหลับหลัง รวมกลุ่มกันเป็นแก็งค์ ชอบก่อกวนสร้างปัญหาให้สังคม 
               8. เปตชน ได้แก่ คนที่มีลักษณะคล้ายเปรตหรือคนไม่สมประกอบ อาศัยคนอื่นพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ ช่วยตัวเองไม่ได้ มีความทุกข์ ความเดือดร้อนอยู่เป็นนิจ ทั้งกายและใจ 
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของนักจิตวิทยา 
               แนวคิดนักจิตวิทยาเกี่ยวกับจริยธรรมของมนุษย์มีความคล้ายคลึงกันในบางส่วนและแตกต่างกันในบางประการดังนี้ (สมพร สุทัศนีย์ , 2541 : 42-43) 
               1. นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ เชื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีความเลวติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมต่างๆ เกิดจากสัญชาตญาณซึ่งอยู่ภายในตัวตน 
               2. นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาไม่ดีไม่เลว มนุษย์จะดีเลวขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ถ้ามนุษย์อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะเป็นคนดี ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลวก็จะเป็นคนเลว มนุษย์จึงเป็นผลผลิตของสิ่งแวดล้อม 
               3. นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม เชื่อว่ามนุษย์จะดีเลวขึ้นอยู่กับการปรับตัวในสภาพแวดล้อม มนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา 
               4. นักจิตวิทยากลุ่มมนุษย์นิยม เชื่อว่าเกิดมามาดีโดยกำเนิดพฤติกรรมของมนุษย์เกิดมาจากความต้องการพื้นฐาน มนุษย์เป็นหน่วยรวมของร่างกายและจิตใจ ซึ่งแสดงความคิด ความรู้สึกและการกระทำอย่างมีความเกี่ยวข้องกัน ถ้ามีความไม่ปรกติเกิดขึ้นในจิตใจ อาจก่อผลกระทบอารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมได้ 
               กล่าวโดยสรุป นักจิตวิทยามองมนุษย์แตกต่างกัน 3 ลักษณะ คือ เกิดมาเลวและเกิดมาไม่ดีไม่เลว การเป็นคนดี คนเลว อาจติดมาโดยกำเนิดหรือเกิดจากสิ่งแวดล้อม 
แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ของนักสังคมวิทยา 
               นักสังคมวิทยาเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์คือสัตว์สังคม ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอยู่รวมกันจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาทางสังคม เพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม กฎเกณฑ์ดังกล่าว เรียกว่า ปทัสถานทางสังคม (norms) ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ 
               1. วิถีประชา (folkways) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลควรปฏิบัติ เช่น การบวชก่อนการแต่งงาน 
               2. จารีตประเพณี (mores) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลต้องปฏิบัติ หากฝ่าฝืนถือเป็นการกระทำผิดทางศีลธรรม เช่น การเลี้ยงดูพ่อแม่ยามเฒ่า 
               3. กฎหมาย (laws) คือ ระเบียบแบบแผนที่บุคคลต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถ้าฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษตามกฎหมายถ้าบุคคลปฏิบัติตามปทัสถานของสังคมก็จะได้รับการยกย่องชมเชย สังคมยอมรับ และทำให้คนในสังคมอยู่กันอย่างสันติ 
               กลุ่มสังคมจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพความเป็นอยู่ทางธรรมชาติ แบบอย่างของพฤติกรรมและความสัมพันธ์ กลุ่มต่าง ๆ ดังกล่าวมีดังนี้ 
               1. กลุ่มญาติพี่น้อง เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันจากความสัมพันธ์ทางสายเลือดจะพบปะกันเสมอ มีความสนใจ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมคล้ายกันมาก มีความผูกพันกันมาก จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระดับสูง 
               2. กลุ่มเพื่อนบ้าน ในชนบทมีความสำคัญมาก จะมีความสัมพันธ์กันฉันญาติมิตร คอยให้ความช่วยเหลือกันโดยมีได้หวังผลตอบแทน ส่วนกลุ่มเพื่อนบ้านในเมืองใหญ่จะไม่ค่อยมีลักษณะแบบนี้ 
               3. กลุ่มเพื่อนร่วมงาน จะเป็นกลุ่มมารวมกันในเวลาทำงานเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับมนุษย์สัมพันธ์ในองค์การนั้น ๆ   
               4. กลุ่มความสนใจ เกิดจากการความสนใจคล้าย ๆ กัน เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มทางการเมืองกลุ่มทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นการรวมตัวกันเพื่อสนองความต้องการความสนใจในสิ่งเดียวกัน 

ระดับจริยธรรม 
               ระดับที่ 1.
 ระดับก่อนเกณฑ์สังคม (pre conventional level ) อายุ 2-10 ปี การที่เรียกระดับนี้ว่าก่อนเกณฑ์สังคม เพราะว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์สังคม แต่จะรับกฎเกณฑ์ข้อกำหนดว่าอะไรดี ไม่ดี จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น พ่อแม่ ครู หรือ เด็กที่โตกว่า จริยธรรมในระดับนี้ คือ หลีกเลี่ยงการลงโทษและคิดถึงผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ เช่น การแสวงหารางวัล 
               ระดับที่ 2.
 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (conventional morality) ช่วงอายุระหว่าง 10-20 ปี ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ส่วนใหญ่สามารถที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สังคมเพราะรู้ว่าเป็นกฎเกณฑ์ 
               ระดับที่ 3.
 ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์สังคม (post conventional level) โดยปรกติคนจะพัฒนาขึ้นมาถึงระดับนี้ หลังจากอายุ 20 ปี แต่จำนวนไม่มากนัก จริยธรรมระดับนี้จะอยู่เหนือกฎเกณฑ์สังคม กล่าวคือคนจะดีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณของตนเอง วิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน โดยคำนึกถึงความสำคัญและประโยชน์เสมอภาคในสิทธิมนุษยชน โดยปรกติคนจะพัฒนาถึงระดับนี้มีจำนวนไม่มากนัก 

 จรรยาบรรณ 
               ในวงงานวิชาชีพนั้น จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่สำคัญ วิชาชีพที่กำหนดจรรยาบรรณจะเป็นอาชีพที่ต้องศึกษาด้วยศาสตร์ชั้นสูง มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพนั้น ๆ เป็นอาชีพที่มีองค์กรหรือสมาคมรองรับ เช่นคุรุสภาเป็นองค์กรของวิชาชีพครู เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องเป็นวิชาชีพที่มีการจัดสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งด้านทฤษฏีและด้านปฏิบัติ จนผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีประสบการณ์อย่างสมบูรณ์ในศาสตร์สาขานั้นๆ 
ความหมายของจรรยาบรรณ 
จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลลดความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่าง กำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2538 : 214 ) 
              

จรรยาบรรณ หมายถึง จริยวิชาชีพ จรรยาวิชาชีพ หรือจริยธรรมวิชาชีพ (professional ethics) จริยธรรมวิชาชีพจะครอบคลุมในทุกเรื่องทุกประการที่เป็นข้อควรประพฤติสำหรับกลุ่มวิชาชีพอันรวมถึงข้าราชการด้วย (พระเมธีธรรมาภรณ์, 2538 : 3) 
               จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึง ประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติ เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพ โดยที่ข้อบัญญัตินั้นอาจจะเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือบอกกล่าวด้วยวาจาในสังคมวิชาชีพนั้นก็ได้ ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณจะต้องได้รับโทษ โดยการว่ากล่าวตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพได้ (วัลลภา เทพหัวดิน ณ อยุธยา, 2541 : 4) 
               จรรยาบรรณจึงเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นศาสตร์ชั้นสูง มีองค์กรหรือสมาคมรองรับ จะต้องปฏิบัติเพื่อการครองตนและครองงาน อันเป็นทางที่จะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ และบรรลุความสำเร็จของงาน วิชาชีพที่มีการกำหนดจรรยาบรรณจะแตกต่างจากอาชีพธรรมดา คนที่มีอาชีพธรรมดามุ่งที่การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ แต่ไม่ใช่วิชาชีพ (profession) เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ไม่จัดเป็นวิชาชีพชั้นสูง ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องศึกษาศาสตร์ เฉพาะชั้นสูงที่มีจรรยาบรรณนั้นถือว่าเป็นผู้ทำหน้าที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 
               1. เป็นอาชีพที่ต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนระดับสูง 
               2. มีการคัดเลือกสรรหาบุคคลเข้ามาในวงการวิชาชีพนั้น 
               3. มีจรรยาบรรณหรือจริยธรรมของผู้ที่อยู่ในวงการของวิชาชีพนั้น 
               4. มีสมาคมวิชาชีพที่คอยควบคุมกำกับดูแล 
จุดมุ่งหมายของการกำหนดจรรยาบรรณ
               1. ให้คนที่อยู่ในวิชาชีพนั้นมีประสิทธิภาพในการทำงาน 
               2. ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการให้บริการ 
               3. รักษาชื่อเสียงเกียรติ ศักดิ์ศรีของผู้อยู่ในวงการวิชาชีพนั้น ๆ 
               4. การกำหนดจรรยาบรรณเป็นลายลักษณ์อักษร จะช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพตระหนักในความสำคัญของวิชาชีพตน และให้ผู้รับบริการรับรู้และเข้าใจ 
               ในส่วนจรรยาบรรณของนักบริหารการศึกษานั้น แม้ไม่มีระบุเป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาจจะพิจารณารับจากจรรยาบรรณและวินัยของข้าราชการครู และจริยธรรมของข้าราชการรวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานของผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา พ.ศ. 2540 มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนดังนี้ 

ตามที่คุรุสภาได้กำหนดไว้มี 9 ประการดังนี้

1.             ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาอกเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

2.             ครูต้องอบรมสั่งสอนฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้อง ดีงามให้แก่ศิษย์เต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

3.             ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

4.             ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

5.             ครูต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปรกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์แก่ตนโดยมิชอบ

6.             ครูย่อมพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

7.             ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

8.             พึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

9.             พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

วินัยครู 10 ประการ

1.             ครูต้องสนับสนุนและปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลด้วยความบริสุทธิ์ใจ

2.             ครูต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตนด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวังผลประโยชน์ของสถานศึกษา

3.             ครูต้องสุภาพเรียบร้อย เชื่อฟังและไม่กระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป ยกเว้น ผู้บังคับบัญชาเหนือคนสั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งชั่วคราว

4.             ครูต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่สถานศึกษา จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

5.             ครูต้องประพฤติตนอยู่ในความสุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความชื่อสัตย์ เที่ยงธรรม

6.             ครูต้องรักษาชื่อเสียง มิใช่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามมิให้ประพฤติการใดๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์และชื่อเสียงครู เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพเครื่องดื่มของเมาจนไม่สามารถครองสติได้ มีหนี้สินรุงรัง หมกมุ่นในการพนัน การกระทำผิดอาญา ประพฤติประเวณีต่อบุคคลหรือคู่สมรสของผู้อื่น กระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอันใดอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่แห่งตน

7.             ครูต้องประพฤติให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ และไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใดๆ

8.             ครูต้องปฏิบัติตามธรรมเนียมของสถานศึกษา

9.             ครูต้องรักษาความสามัคคีระหว่างครู และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน

10.      ครูต้องรักษาความลับของศิษย์ ผู้ร่วมและสถานศึกษา

การกระทําที่เป็นจริยธรรมมีอะไรบ้าง

 จรรยาบรรณของข้าราชการ 
                สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ตราข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537 เพื่อให้ข้าราชการถือปฏิบัติ ดังมีสาระสำคัญดังนี้ 
                โดยทีข้าราชการพลเรือนมีหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ฉะนั้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนมีความประพฤติดี สำนึกในหน้าที่ สามารถประสานงานกับทุกฝ่าย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงสมควรมีข้อบังคับ ก.พ.ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้เป็นประมวลความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียง เกียรติคุณ เกียรติฐานะของข้าราชการพลเรือน อันจะยังผลให้ผู้ประพฤติเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธา และยกย่องของบุคคลโดยทั่วไป 
                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8(5) และมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2525 จึงออกข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้ดังต่อไปนี้ 

จรรยาบรรณต่อตนเอง 

ข้อ 1 ข้าราชการพลเรือนพึงเป็นผู้มีศีลธรรมอันดีและประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ

ข้อ 2 ข้าราชการพลเรือนพึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์และไม่แสวงหา

ประโยชน์โดยมิชอบ ในกรณีที่วิชาชีพกำหนดไว้ก็พึงปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพนั้นด้วย 

ข้อ 3 ข้าราชการพลเรือนพึงมีทัศนคติที่ดี และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรมจริยธรรมรวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำงานเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น 
จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน 
                ข้อ 4 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาคและปราศจากอคติ 
                ข้อ 5 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถรอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้อง สมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ 
                ข้อ 6 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลาและใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่ 
                ข้อ 7 ข้าราชการพลเรือนพึงดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินทางราชการอย่างประหยัด คุ้มค่า โดยระวังมิให้เสียหาย หรือสิ้นเปลื้องเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอ

จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน 

การกระทําที่เป็นจริยธรรมมีอะไรบ้าง

ข้อ 8 ข้าราชการพลเรือนพึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน การให้ความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่ม

งานของตนทั้งในด้านการให้ความคิด การช่วยทำงาน และการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานในความรับผิดชอบด้วย 
                ข้อ 9 ข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พึงดุแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ขวัญ กำลังใจ สวัสดิการ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาตลอดจนปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม 
                ข้อ 10 ข้าราชการพลเรือนพึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในบรรดาผู้ร่วมงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม 
                ข้อ 11 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานตลอดผู้เกี่ยวข้องด้วยความสุภาพมีน้ำใจและมนุษย์สัมพันธ์อันดี 
                ข้อ 12 ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นจากการนำผลงานของคนอื่นมาเป็นของตน 
จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม 
                ข้อ 13 ข้าราชการพลเรือนพึงให้บริการประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ และใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน เมื่อเห็นว่าเรื่องใดไม่สามารถปฏิบัติได้หรือไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนจะต้องปฏิบัติ ควรชี้แจงเหตุผลหรือแนะนำให้ติดต่อหน่วยงานหรือบุคคลซึ่งตนทราบว่ามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆต่อไป 
                ข้อ 14 ข้าราชการพลเรือนพึงประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป 
                ข้อ 15 ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยที่วิญญูชนจะให้กันโดยเสน่หาจากผู้มาติดต่อราชการ หรือผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น หากได้รับแล้วและทราบภายหลังว่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่รับไว้มีมูลค่าเกินปกติวิสัย ก็ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว เพื่อดำเนินการตามสมควรแกกรณี 
เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา ของคุรุสภา พ.ศ. 2540 
                เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา ของคุรุสภา พ.ศ. 2540 นับเป็นฉบับแรกที่คุรุสภาจัดทำขึ้นโดยยึดถือแนวคิดและความเชื่อที่ว่าผู้บริหารการศึกษาเป็นผู้จัดการทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ในกาพัฒนาคนและการพัฒนาในรูแบอื่นๆเกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษามีอยู่ 12 ข้อ(ดูรายละเอียดในภาพผนวก) 
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา 
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาบุคคลผู้เรียนชุมชน 
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ 
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนงานขององค์กร ให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง 
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ 
มาตรฐานที่ 6 ปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร 
มาตรฐานที่ 7 รายงานคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ 
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์ 
มาตรฐานที่ 10 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา 
มาตรฐานที่ 11 เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ 
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสในการพัฒนาทุกสถานการณ์ 
                ผู้บริหารการศึกษาที่จะประสบความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ประสบความสำเร็จ และประสบความสุข นอกจากจะมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเป็นผู้มีค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม เป็นค่านิยมที่พึงประสงค์ และเป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีหลักปฏิบัติทั้งในฐานะเป็นข้าราชการและในฐานะเป็นครู หรือแม้จะอยู่ในองค์การหน่วยงานใดก็ตามก็ต้องศรัทธาต่อวิชาชีพนั้นๆ ต้องรักและภาคภูมิใจในวิชาชีพนั้นๆ เห็นความสำคัญของวิชาชีพนั้นด้วยความชื่นชม ธำรงปกป้องรักษาเกียรติภูมิของวิชาชีพ เพื่อไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ ทำให้ตนเองต้องมัวหมอง โดยเฉพาะผู้บริหารจะต้องอยู่ในฐานะที่ผู้คนรอบข้าง ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความเคารพนับถืออย่างจริงใจ เพื่อการคนบริหารคนบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี จึงจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องครองตนให้สมกับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ

การกระทำที่แสดงให้เห็นถึงจริยธรรมมีอะไรบ้าง

จริยธรรม (Ethics) ๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว ๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา ๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท ๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง

จริยธรรมมีความสําคัญอย่างไร

จริยธรรมมีความสำคัญสำหรับเป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติสำหรับตนเองและสังคมโดยรวม ซึ่งเมื่อบุคคลได้นำมาปฏิบัติแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์สุข มีความสงบและเจริญก้าวหน้า องค์การใดหรือหมู่คณะใด ได้ประพฤติปฏิบัติในหลักของจริยธรรมแล้ว ย่อมเป็นสังคมแห่งอารยะ คือ สังคมแห่งผู้เจริญอย่างแท้จริง โดยมีผู้กล่าวถึงความสำคัญของ ...

ลักษณะของผู้ที่มีจริยธรรมมีอะไรบ้าง

๑) ผู้ที่มีคุณธรรมและมีจริยธรรม หมายถึง ผู้ที่มีสติปัญญาดี มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเมตตา กรุณา คือ มีความรัก มีความสงสาร ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข มีหิริโอตตัปปะ มีความละอายต่อบาป มีความเกรงกลัวต่อบาป มีขันติโสรัจจะ มีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่คิดชั่ว ไม่พูดชั่ว ไม่ใช้กาย วาจา ไปท าให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะกลัวว่าจะ ...

ยกตัวอย่างคุณธรรมมีอะไรบ้าง

คุณธรรมที่เป็นปัจจัยแรงผลักดัน ๑. ความมีวินัย ๒. ความอดทนอดกลั้น ๓. ความขยันหมั่นเพียร คุณธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง ๔. ความซื่อสัตย์ซื่อตรง ๕. ความรับผิดชอบ คุณธรรมที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้ง ๖. ความมีสติ ๗. ความพอเพียง คุณธรรมที่เป็นปัจจัยสนับสนุน ๘. ความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ๙. ความกตัญญูกตเวที ๑๐. ความเสียสละ