โครงงานคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

คือผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจความถนัดและความสามารถของผู้เรียนโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นเจ้าคัญโดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจรวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสมโดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้ค้าแนะนำความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์


โครงงานคอมพิวเตอร์มืองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้

                -เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์

             

                -นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าพัฒนาด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความเสามารถ

             

                -นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้าตลอดจนการพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้นรวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยมีครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา

             

                  การทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีขอบเขตกว้างขวางมากตั้งแต่เรื่องที่ง่าย ๆ ไปจนถึงเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนโครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องอาจใช้เวลาสั้นในการพัฒนาจนถึงเรื่องที่ใช้เวลาเป็นภาคเรียนหรือปีการศึกษาโครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยจนถึงนับพันบาทนักเรียนจึงควรศึกษารายละเอียดและงบประมาณต่างๆของโครงงานก่อนจึงค่อยเลือกทำโครงงานที่เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถและความสนใจของนักเรียนโดยทั่ว ๆ ไปการทำโครงงานคอมพิวเตอร์จัดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ทุกระดับการศึกษาโดยอาจจะทำเป็นกลุ่มหรือทำเป็นรายบุคคลทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักเรียนแต่ละคนแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ

               

                  จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ไม่ให้อยู่ที่การส่งเข้าประกวดเพื่อรับรางวัลแต่เป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหาประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงผลงานของตนเองเพื่อให้นักเรียนผู้ปกครองและผู้ที่สนใจในชุมชนเมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียนหรืองานอื่น ๆ



ประโยชน์ของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

1.       ได้เรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำโครงงาน

2.        ส่งเสริมกระบวนการคิดการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ

3.        ได้รับประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหา  

4.       ส่งเสริมให้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์และสร้างสรรค์

หลักการสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงงาน

1.       ต้องเกิดจากความอยากรู้ของผู้เรียนผู้เรียนมีความสนใจหรือต้องการคำตอบในเรื่องนั้นๆ

2.       ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิธีการเรียนและแหล่งการเรียนรู้

3.       ผู้เรียนวางแผนปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบมีวัตถุประสงค์ชัดเจนและปฏิบัติตามขั้นตอน

4.       มีการใช้กระบวนการต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และผู้เรียนเป็นผู้สรุปองค์ความรู้

5.       ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

6.       ผู้เรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้อื่น

7.       ต้องมีการนำเสนอเพื่อรายงานผลการศึกษาจากการทำโครงงาน

8.       ต้องมีการประเมินผลเพื่อให้เกิดการพัฒนางาน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน

1.       ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานประสานงานการวางแผนการทำงาน

2.       ทำให้เจ้าคิดกล้าแสดงออกต่อที่ประชุมอนมากขึ้น

3.       ทำให้รู้จักหน้าที่และมีความรับผิดชอบมากขึ้น

4.       ทำให้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ

5.       ทำให้รู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

6.       ทำให้เกิดการพัฒนาความคิดและรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

7.       ทำให้รู้จักการแบ่เวลาและการตรงต่อเวลา

8.       ทำให้รู้จักการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

9.       ทำให้รู้วิธีการทํางานต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการทํางาน


คุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

1.       สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง

2.       เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทันนาแกะแดะความสามารถตามศักยภาพของตนเอง  

3.       เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้อีกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ

4.       ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาการตัดสินใจรวมทั้งการสื่อสารระหว่างวัน

5.       กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้

6.       ส่งเสริมให้นักเรียนให้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์การ

7.       สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชนรวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

8.       เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน

ตัวอย่างชื่อโครงงานในประเภทต่างๆ

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

                   1. โปรแกรมดนตรีไทยแสนสนุก

                   2. โปรแกรมความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

                   3. โปรแกรมฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ

                   4.  โปรแกรมสำนวนไทยพาสนุก

                   5.  โปรแกรมสนุกไปกับตารางธาตุ

                   6.  โปรแกรมเรียนรู้คณิตศาสตร์

โครงงานพัฒนาเครื่องมือ

                    1. โปรแกรมการค้นหาคำภาษาไทย

                     2. โปรแกรมอ่านอักษรไทย

                     3. โปรแกรมวาดภาพสามมิติ

                     4. โปรแกรมเข้าและถอดรหัสข้อมูล

                     5. โปรแกรมบีบอัดข้อมูล

                     6. โปรแกรมประมวลผลคำไทยบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

                     7. โปรแกรมการออกแบบผังงาน

                     8. เครื่องช่วยคนพิการแขนอ่านหนังสือ

                     9. การส่งสัญญาณควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

โครงงานจำลองทฤษฎี

                     1. การทดลองปัจจัยต่างๆในการเลี้ยงปลานิลด้วยคอมพิวเตอร์

                     2. การทดลองปัจจัยต่างๆในการเพาะปลูกแก้วมังกรด้วยคอมพิวเตอร์

                     3. การทำนายอุณหภูมิจากข้อมูลที่ผ่านมา

                     4. การทดลองผสมสารเคมีต่างๆด้วยคอมพิวเตอร์

                     5. ปัจจัยต่างๆกับการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน

                     6. ผลการปลูกข้าวในสภาวะแวดล้อมที่ต่ำงกัน

                     7. การเปรียบเทียบเทคนิคของการย่อขนาดแฟ้มข้อมูล

                     8. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดเบื้องต้น

โครงงานประยุกต์ใช้งาน

                     1. โปรแกรมระบบงานการกีฬา

                     2. โปรแกรมสารบรรณสำเร็จรูป: Readymade Archivist

                     3. โปรแกรมระบบฐานข้อมูลทางการแพทย์เบื้องต้น

                     4. เครื่องป้องกันการขโมยรถจากโทรศัพท์มือถือ

                     5. เครื่องช่วยคนพิการแขนอ่านหนังสือ

                     6. เครื่องรดน้ำต้นไม้และให้อาหารปลาผ่านโทรศัพท์มือถือ

                     7. เครื่องให้อาหารใกไข่อัตโนมัติ

                     8. ระบบจองตั๋วรถไฟบนอินเทอร์เนต

โครงงานประยุกต์ใช้งาน

                     1. ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียนของโรงเรียน

                     2. ระบบจัดการข้อมูลการเงินส่วนบุคคล

                     3. ระบบจองตั๋วรถไฟบนอินเทอร์เน็ต

                     4. ระบบแนะนำเส้นทางเดินรถประจำทาง

                     5. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงสำหรับคนตาบอดบนรถประจำทาง

                     6. โปรแกรมออกและตรวจข้อสอบ

                     7. โฮมเพจส่วนบุคคล

                     8. โปรแกรมช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น

                     9. โปรแกรมพจนานุกรมไทย-อังกฤษ

โครงงานพัฒนาเกม

1.       เกมผจญภัยกับพระอภัยมณี

2.       เกมอักษรเขาวงกต

3.       เกมเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

4.       เกมผจญภัยกับภาษาอังกฤษ 

5.       เกมหมากฮอส

6.       เกมบวกลบและแสนเสนุก

7.       เกมศึกรามเกียรติ์

8.       เกมมวยไทย

การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ

                    โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักจะได้มาจากปัญหาคำถามหรือความสนใจในเรื่องต่างๆจากการสังเกตสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือสิ่งต่างๆรอบตัวปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆกันดังนี้

1.       การอ่านค้นคว้าจากหนังสือเอกสารหนังสือพิมพ์หรือวารสารต่างๆ

2.       การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ

3.       การฟังบรรยายทางวิชาการรายการวิทยุและโทรทัศน์รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ

4.       กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน

5.       งานอดิเรกของนักเรียน

6.       การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์


โครงงานคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง



ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะน้ามาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้

1.       นักเรียนเป็นผู้เลือกอย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ศึกษาค้นคว้าตามความถนัดและค้านึ่งความพร้อมความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม

2.       เลือกโครงงานที่มีคุณค่าและเป็นปัญหาใหม่ๆคระดับความสามารถและความรู้ของตนเอง

3.       คำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องความปลอดภัยเวลารับประมาณและกำลังของตน

4.       คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำโครงงาน

5.       สามารถวางแผนการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆไว้ส่วหน้าเห็นทางที่จะทำได้สำเร็จ

6.       สามารถหาเครื่องมือหรือเคว้าเครื่องมือที่มีคุณภาพเพื่อรวบรวมข้อมูลได้

7.       มีความตั้งใจที่จะทำใครลงานให้ประสบผลสำเร็จได้ผลรานที่นำไปใช้ได้จริง

8.       เป็นเรื่องที่มีอยู่จริงและเป็นไปได้มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

9.       นักเรียนมีประสบการณ์อยู่บ้านกะเป็นเรื่องที่มีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

10.   เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมมือกันในการทำใครมฐาน

11.   เป็นเรื่องที่ใกให้ด้วไม่กว้างเกินไปจนทำให้ไม่สามารถศึกษาใกลงไปในรายละเอียดได้ 

12.   เป็นเรื่องที่นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมอื่นๆ

13.   เป็นกิจกรรมการศึกษาที่ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาใครยานนั้นๆหรือจากประคบการณ์และกิจกรรมต่างๆที่ได้พบเห็นมาแล้ว 1

14.   เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ความเขามารถของนักเรียนตามวัยแสเคดีปัญญารวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วย

15.   นักเรียนเป็นผู้แทนอโครงงานรายละเอียดของโครงลานแผนปฏิบัติงานและการแปลผลรายงานผลต่อครูที่ปรึกษาเพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้


ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล

                     การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูลซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการก้าหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นรวมทั้งให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดาเป็นการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า

1.       จะทำอะไร

2.       ทำไมต้องทำ

3.       ต้องการให้เกิดอะไร

4.       ทําอย่างไร

5.       ใช้ทรัพยากรอะไร

6.       ทำกับใคร

7.       เสนอผลอย่างไร

                     เค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์คือรายละเอียดเพื่อขอแสนอทำโครงงานคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

                     1. ชื่อโครงงาน  ควรเขียนให้ตรงกับเรื่องที่จะทำเขียนให้สั้นกะทัดรัดชัดเจนกระชับไม่ควรยาวเกินไปและใช้ข้อความที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงว่าจะศึกษาอะไรระบุให้ชัดเจนสื่อความหมายได้ใจความตรงกับเรื่องตรงกับงานที่นักเรียนกำลังศึกษาเมื่ออ่านชื่อเรื่องแล้วสามารถบอกได้ว่าเรื่องนั้นมีลักษณะอย่างไรเป็นประโยคที่สมบูรณ์มีประธานกริยากรรมและไม่ควรเป็นประโยคคำถามเพราะไม่ใช่คำเทามหรือปัญหาชื่อควรเร้าความสนใจแต่ต้องไม่ผิดเพี้ยนไปจากเนื้อเรื่องของโครงงาน

                    2. ชื่อผู้ทำโครงงาน / คณะทำงาน (ระบุรายชื่อคณะนักเรียนที่ทำโครงงาน)

                    3. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน (ระบุชื่อครูที่ให้คำแนะนำปรึกษา) อาจจะเป็นครูประจํารายวิชาหรือครูท่านอื่นหรือผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาได้

                   4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน  การอธิบายถึงความเจ้คัญและเหตุผลในการเลือกพัฒนาโครงงานและประโยชน์ของโครงงานความเป็นมาเกี่ยวกับปัญหาที่สนใจจะศึกษานี้ว่ามีหลักการความเป็นมามีเหตุผลความจําเป็นอย่างไรแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจเหตุใดจึงได้เลือกทำโครงงานนี้มีเหตุจูงใจอะไรที่ทำให้เจนใจเป็นกรณีพิเศษโครงงานนี้มีคุณค่ามีความเส้าคัญอย่างไรประโยชน์ที่จะได้จากการจัดทำโครงงานนี้ดีอย่างไรทำไมจึงต้องทำมีข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีหรือหลักวิขาการหรือตัวแขนสถิติที่มีความเกี่ยวข้องปรากฏเด่นชัดควรจัดระบบเพิ่มเติมลงไปด้วยเพื่อแสดงว่าโครงงานนี้มีความสำคัญเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าไว้บ้างแล้วเพื่อขยายปรับปรุงหรือทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล

                     5. วัตถุประสงค์  เป็นการระบุความต้องการในการศึกษาซึ่งอาจเขียนเป็นข้อๆโดยเขียนให้ผู้อื่นทราบว่าเราจะทำการศึกษาอะไรอย่างไรแต่ไม่ใช่น้าเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานมาเขียนเป็นจุดมุ่งหมายส่วนการระบุวัตถุประสงค์ของโครงงานนั้นจัดว่าเป็นการเขียนวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้าหรือเป็นวัตถุประสงค์ของการทดลองวัตถุประสงค์ที่ดีควรมีความเฉพาะเจาะจงเป็นสิ่งที่สามารถวัดได้บอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจนและไม่เขียนอยู่ในรูปของประโยคคำถามที่สำคัญคือต้องสอดคล้องกับชื่อของโครงงาน

                     6. ขอบเขตของโครงงาน ระบุว่าโครงงานที่ทำขึ้นนี้ศึกษาเรื่องเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างและใช้โปรแกรมอะไรในการสร้างชิ้นงานโครงงาน

                     7. แผนการดำเนินงาน  ระบุขั้นตอนการดำเนินงานระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่วันที่เริ่มทำโครงงานระยะเวลาดำเนินงานแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติศใช้จ่ายหรืออธิบายการเริ่มงานการจัดทำการจัดรูปแบบออกแบบทดเจองอะไรเก็บข้อมูลอะไรบ้างอย่างไรและเมื่อใดขั้นตอนการดำเนินงานเป็นอย่างไร

                     8. ผลที่คาดว่าจะได้รับเป็น  การกล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโครงงานจะมีอะไรเกิดขึ้นมีปริมาณมากน้อยเพียงใดมีประสิทธิภาพหรือคุณภาพอย่างไรจะได้รับประโยชน์หลายลักษณะหรือรักษณะใดลักษณะหนึ่งจากการทำโครงงานครั้งนี้อย่างไรทั้งกับตนเองเพื่อนๆและบุคคลทั่วไป

                     9. อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน  ระบุว่าเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาโครงงานใช้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มีอะไรบ้างมีขนาดเท่าใดวัสดุอุปกรณ์มาพากใหนสิ่งใดที่ต้องซื้อและสิ่งใดที่ต้องขอยืมสิ่งที่ต้องจัดทำเองมีอะไรบ้าง


การปฏิบัติโครงงาน

                     เมื่อเค้าโครงงานผ่านความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษาโครงงานแล้วต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้โดยปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานอาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมจากแผนงานที่วางไว้ในตอนแรกบ้างก็ได้อยู่ภายใต้การดูแลกำกับติดตามและแนะนำอย่างใกล้ชิดของครูที่ปรึกษาควรปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานตลอดจนคำนึงถึงสภาพแวดล้อมมีการบันทึกผลการปฏิบัติเป็นระยะๆเพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงงาน

                     การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และวัสดุอื่นๆที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วยและควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไรได้ผลอย่างไรมีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไรรวมทั้งข้อสังเกตต่างๆที่พบการลงมือพัฒนา

                    ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้นจัดระบบการทํางานโดยท้าส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆให้แล้วเสร็จก่อนจึงค่อยทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้นและถ้ามีการแบ่งงานกันทำให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วยพัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบและบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน

                     การตรวจสอบความถูกต้องของผลงานเป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานให้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.       เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือปฏิบัติ

2.       มีสมุดบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรไปได้ผลอย่างไรมีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร

3.       ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความรอบคอบและบันทึกข้อมูลไว้ให้เป็นระเบียบและครบถ้วน

4.       คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน

5.       พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ในตอนแรกแต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบ้างหลังจากที่ได้เริ่มต้นทำงานไปแล้วถ้าคิดว่าจะทำให้ผลดีขึ้น

6.       ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อยๆและทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่นต่อไป

7.       ควรทำงานเส่วนที่เป็นหลักเจ้คัญๆให้เสร็จจึงทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือเส่วนแสริมเพื่อตกแต่ง

8.       อย่าทำงานต่อเนื่องจนเมื่อยล้าจะทำให้ขาดความระมัดระวัง

9.       อย่าทำโครงงานใกล้ถึงวันกำหนดส่งควรวางแผนการทำงานล่วงหน้าให้เป็นระบบ


การเขียนรายงาน


                     การเขียนรายงานเป็นการอธิบายและบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำโครงงานสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิดวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปและข้อแขนอแนะต่างๆเกี่ยวกับโครงงานนั้นในการเขียนรายงานควรใช้ภาษาที่อ่านง่ายชัดเจนกระชับและตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้

                    1. ชื่อโครงงาน

                    2. ชื่อผู้ทำโครงงาน

                    3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

                    4. บทคัดย่ออธิบายถึงที่มาความสำคัญวัตถุประสงค์วิธีคำเนินการและผลที่ได้โดยย่อ

                    5. กิตติกรรมประกาศคำขอบคุณเป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงาน สำเร็จ

                    6. สารบัญ

                            6.1 สารบัญตาราง (ถ้ามี)

                            6.2 สารบัญภาพ (ถ้ามี)


บทที่ 1 บทนำ

                     1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เขียนอธิบายถึงความเป็นมาเกี่ยวกับปัญหาที่เสนใจจะศึกษานี้ว่ามีหลักการความเป็นมามีเหตุผลความจําเป็นอย่างไรแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจเหตุใดจึงได้เลือกทำโครงงานนี้เหตุจูงใจอะไรที่ทำให้สนใจเป็นกรณีพิเศษโครงงานนี้มีคุณค่ามีความสำคัญอย่างไรประโยชน์ที่จะได้จากการจัดทำโครงงานนี้ดีอย่างไรทำไมจึงต้องทำมีข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีหรือหลักวิชาการหรือตัวเลขสถิติที่มีความเกี่ยวข้องปรากฏเด่นชัดควรจัดระบบเพิ่มเติมลงไปด้วยเพื่อแสดงว่าโครงงานนี้มีความสำคัญเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าไว้บ้างแล้วเพื่อขยายปรับปรุงหรือท้าซ้ำเพื่อตรวจสอบผล

                     2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน เป็นการระบุความต้องการในการศึกษาซึ่งอาจเขียนเป็นข้อๆโดยเขียนให้ผู้อื่นทราบว่าเราจะทำการศึกษาอะไรอย่างไรแต่ไม่ใช่นำเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานมาเขียนเป็นจุดมุ่งหมายส่วนการระบุวัตถุประสงค์ของโครงงานนั้นจัดว่าเป็นการเขียนวัตถุประเสงค์ของการศึกษาค้นคว้าหรือเป็นวัตถุประสงค์ของการทดลองวัตถุประสงค์ที่ดีควรมีความเฉพาะเจาะจงเป็นสิ่งที่สามารถวัดได้บอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจนและไม่เขียนอยู่ในรูปของประโยคคำถามที่สำคัญคือต้องเจอดคล้องกับชื่อของโครงงาน

                     3. ขอบเขตของโครงงาน ระบุว่าโครงงานที่ทำขึ้นนี้ศึกษาเรื่องเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างและใช้โปรแกรมอะไรในการสร้างชิ้นงานโครงงาน

โครงงานคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media) 2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) 3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment) 4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)

โครงงานคอมพิวเตอร์มีอยู่ 5 ประเภท อะไรบ้าง

1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media) ... .
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) ... .
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application) ... .
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development).

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

4.ตัวอย่างหัวข้อโครงงานคอมพิวเตอร์.
โปรแกรมการค้นหาคำภาษาไทย.
โปรแกรมอ่านอักษรไทย.
โปรแกรมวาดภาพสามมิติ.
โปรแกรมเข้าและถอดรหัสข้อมูล.
โปรแกรมบีบอัดข้อมูล.
โปรแกรมประมวลผลคำไทยบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์.
โปรแกรมการออกแบบผังงาน.
พอร์ตแบบขนานของไทย.

โครงงานคอมพิวเตอร์ คือข้อใด *

โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรม อิสระที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจ โดยใช้ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เรียนด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ผู้เรียนจะต้องวางแผนดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง