องค์ความรู้ของวิทยาการข้อมูล(Data Science) มีกี่ข้อ

ทุกวันนี้มีหลายอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากนวัตกรรมสุดล้ำที่เข้ามาอำนวยความสะดวกในการทำงาน ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ถ้าจะพูดถึงงานที่น่าจับตามองและมาแรงแห่งยุคต้องมีอาชีพ Data Scientist ติดอันดับแน่นอน จากข้อมูลของเว็บไซต์ Glassdoor ได้สำรวจอาชีพที่มีรายได้สูงสุดในสหรัฐอเมริกา ปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่า Data Scientist มีรายได้สูงถึง $97,027 ต่อปี หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 3,059,261 บาท อาชีพนี้จึงเป็นที่ต้องการขององค์กรยักษ์ใหญ่ทั่วโลกที่พร้อมจะอัดฉีดเงินเดือนสูงๆ ให้สมกับความรู้ความสามารถที่เป็นกำลังสำคัญให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว

องค์ความรู้ของวิทยาการข้อมูล(Data Science) มีกี่ข้อ

Data Scientist คืออะไร

Data Scientist หรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ฟังชื่อแล้วหลายคนอาจจะสงสัยว่าตกลงอาชีพ Data Scientist คืออะไรกันแน่? ทำหน้าที่เหมือนนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิเคราะห์ข้อมูลหรือเปล่า จริงๆ แล้วชื่อเรียกก็มาจากลักษณะงานของอาชีพนี้โดยตรง ที่ทำงานวิเคราะห์ Big Data หรือข้อมูลจำนวนมหาศาลในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ สร้างสรรค์โปรโมชั่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ และยังช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น  แต่ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้ ก็ต้องผ่านขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน ทดลอง และหาผลลัพธ์ ซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ (Scientist) โดยรวมแล้วบทบาทความรับผิดชอบของอาชีพ Data Scientist นั้นค่อนข้างกว้าง ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละองค์กร บางคนอาจจะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเพียงอย่างเดียว ขณะที่บางองค์กรต้องการคนที่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ 

กระบวนการทำงานของอาชีพ Data Scientist คือ

ตั้งสมมติฐาน → ค้นคว้าหาข้อมูล → วิเคราะห์ข้อมูล → สร้างแบบจำลอง → สื่อสารผลลัพธ์

ทักษะที่จำเป็น

  Data Scientist คืออาชีพที่บูรณาการองค์ความรู้หลายด้าน ทั้งทักษะทางตรง (Hard skill) และ ทักษะทางอ้อม (Soft skill) ประกอบไปด้วย

  • ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ

  Data Scientist คือบุคคลที่มีความรู้คณิตศาสตร์เชิงลึกและสถิติ เพื่อนำมากลั่นกรองและตีความผลลัพท์ของข้อมูล เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองของโปรแกรมต่างๆ (Machine Learning) การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) หรือพีชคณิต (Algebra) 

  • การเขียนโปรแกรม

มีความชำนาญการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการเขียนโค้ด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และสร้างแบบจำลองในการพัฒนาระบบหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงทักษะการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Visualization) สื่อสารข้อมูลออกเป็นกราฟหรือภาพที่เข้าใจได้ง่าย

  • ความรู้ด้านธุรกิจและการตลาด

ทักษะนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาขาที่เรียนได้ อาจอาศัยประสบการณ์การทำงานร่วมด้วย ความรู้ด้านธุรกิจและทักษะการตลาดเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่แพ้ความรู้เฉพาะทางเลย เพราะจะช่วยให้ Data Scientist เข้าใจกลไกทางธุรกิจและคาดการณ์เทรนด์การตลาดได้  โดยพื้นฐานแล้วต้องเป็นผู้ที่สนใจโซเชียลมีเดียและสนใจเรื่องในกระแสสังคม เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ

  • ทักษะการสื่อสาร

การสื่อสารอาจเป็นทักษะที่ถูกมองข้าม ทั้งที่จริงแล้วเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะ Data Scientist 

คือคนที่ต้องสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานฝ่ายอื่นๆ เช่น ฝ่ายการตลาด ธุรกิจ เซลส์ ที่อาจไม่มีความรู้ด้าน Data โดยตรง พูดง่ายๆ ก็คือสามารถอธิบายเรื่องยากให้คนทั่วไปเข้าใจได้ โดยการเลือกวิธีนำเสนอที่เหมาะสมกับข้อมูลแต่ละประเภท ข้อมูลบางอย่างอาจจะเหมาะทำเป็นกราฟ แผนภูมิ หรือ Infographics 

 

เรียน Data Scentist ได้ที่ไหน

โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ทำงานด้าน Data Scientist ในไทย จะจบการศึกษาปริญญาโทจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ สารสนเทศข้อมูล และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นคณะที่สอนคณิตศาสตร์ขั้นสูงและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยไทยที่เปิดสอนมีดังต่อไปนี้

1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล

2. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
3.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการข้อมูล มหาวิทยาลัยศิลปากร
5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการข้อมูล 

ถึงแม้ Data Sceintist จะเป็นอาชีพที่องค์กรต้องการตัวและพร้อมยื่นข้อเสนอค่าตอบแทนสูงลิ่ว แต่ในไทยกลับมีผู้ประกอบอาชีพนี้ในหลักร้อยเท่านั้น ถือว่ายังเป็นที่ขาดแคลนของตลาดแรงงาน ซึ่งสำหรับใครที่สนใจเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล และจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์หรือไอทีอยู่แล้ว ถ้าอยากจะผันตัวมาเป็น Data Scientist ก็ควรศึกษาต่อเฉพาะทางเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เพราะในโลกธุรกิจอาชีพนี้ยังคงเป็นที่ต้องการตัวสูงอีกหลายปีเลย คลิกสมัครงาน Data Scientist ที่นี่

#ให้ก้าวแรกของการหางานกำหนดเส้นทางชีวิตคุณ
#่jobsDB

องค์ความรู้ของวิทยาการข้อมูล(Data Science) มีกี่ข้อ

หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจาก jobsDB ทั้ง iOS และ Android โหลดเลย

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากcampus-star.com , brandbuffet.in.th

data scientist  hard skill  soft skill  การเขียนโปรแกรม  คณิตศาสตร์และสถิติ  นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

บทความยอดนิยม

Three Distinct Types of Essays to Choose From When Writing Your Essay

An essay is usually, in essence, a composed piece...

องค์ความรู้ของวิทยาการข้อมูล(Data Science) มีกี่ข้อ

ทำไมงานใหม่ถึงเป็นอีกหนึ่งทางออกของเงินเฟ้อที่ดีที่สุด?

ถ้าใครได้มีโอกาสอ่านหรือฟังข่าวเศรษฐกิจหรือได้ฟังผ่าน ๆ จากการพูดคุยในวงสนทนากับเพื่อนหรือสไลด์ข่าวผ่าน ๆ ในโซเชียลมีเดี...

องค์ความรู้ของวิทยาการข้อมูล(Data Science) มีกี่ข้อ

ขั้นตอนการยื่นประกันสังคมออนไลน์ สำหรับนายจ้าง ฉบับอัปเดต 2022

หลังจากเดือนก่อนหน้าว่าด้วยบทความขั้นตอนการยื่นประกันสังคมสำหรับผู้ว่างงานกันไปแล้ว คราวนี้ JobsDB ขอปรับมุมมอง เปลี่ยนม...

องค์ความรู้ของวิทยาการข้อมูลมีกี่ข้อ อะไรบ้าง

ประการ โดยองค์ความรู้สำหรับวิทยาการข้อมูลมีการบูรณาการจากความรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้ด้าน คณิตศาสตร์และสถิติ ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และความรู้เฉพาะทาง ให้นักเรียนทำการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในกระบวนการของวิทยาการข้อมูล

วิทยาการข้อมูลใช้องค์ความรู้ใดบ้าง

วิทยาการข้อมูล เป็นสหสาขาวิชาที่ผสานองค์ความรู้ทางด้าน คณิตศาสตร์และ สถิติศาสตร์ (Mathematics and Statistics) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Com- puter Science) และความรู้เฉพาะด้านของสาขาที่เกี่ยวข้อง (Domain Exper tise) เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ความรู้ทั้ง 3. ด้านนี้ได้ด้วยแผนภาพในภาพ 1.3.

คุณสมบัติ ของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล มี อะไร บ้าง

7 ลักษณะนิสัยของ “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” ที่ดี (Data Scientist) มีอะไรบ้าง ?.
1. มีกรอบแนวความคิดเชิงสถิติ ... .
2. ความอยากรู้อยากเห็น ... .
3. เป็นคนช่างสังเกต ... .
4. มีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ... .
5. มีความคิดสร้างสรรค์ ... .
6.มีความอดทน ... .
7.ความสามารถในการสื่อสาร.

วิทยาการข้อมูลมีความสําคัญอย่างไร

วิทยาศาสตร์ข้อมูลช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ค้นพบรูปแบบและความสัมพันธ์ใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงองค์กรได้ สามารถเปิดเผยการเปลี่ยนแปลงการจัดการทรัพยากรในต้นทุนต่ำเพื่อสร้างผลกระทบสูงสุดต่ออัตรากำไร ตัวอย่างเช่น บริษัทอีคอมเมิร์ซใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลแล้วค้นพบว่ามีการสอบถามจากลูกค้ามากเกินไปหลังเวลาทำการ การตรวจสอบพบว่า ...