การประเมินคุณภาพของ บทเพลง ควร ประเมิน ด้าน ใด บ้าง

ẹ� (Benjo)  ������ͧ����ջ���������ͧ��� ��蹴����Ըմմ���¹������ ���� �մ������礷��� �������㹡�����ѡ��ͧ �ѡ����ժ������ԡѹ �������������ջ���û���ͧ���§�ͧẹ⨨�����͹�Ѻ˹�ҡ�ͧ��˹ѧ�١��Ǣ֧�Դ���� �Ҵ�ͺ����ǧ�ͺ����������ʹ������� �������˹ѧ�֧����ش�ִ��� �����ǡѺʡյ��� ��ẹ����÷�����������͹�Ѻ�ͪͧ�յ��� ��¢ͧẹ��ըӹǹ����� ���� ��� �·����

การควบคุมคุณภาพเสียงในการขับร้องและการบรรเลง สามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ การควบคุมคุณภาพเสียงในการขับร้อง และการควบคุมคุณภาพเสียงในการบรรเลง

การควบคุมคุณภาพเสียงในการขับร้อง หลักในการพิจารณาประเมินประกอบด้วย คุณภาพเสียง และเทคนิคการร้อง

คุณภาพเสียง สิ่งที่พึงประเมินเกี่ยวกับคุณภาพเสียง ประกอบด้วย

- น้ำเสียงสดใส กังวาน น่าฟัง ไม่เพี้ยน

- ความดังของเสียงสม่ำเสมอ สามารถออกเสียงได้ชัดเจนทุกพยางค์ไม่มีเสียงบอด

- ความถูกต้องด้านอักขรวิธี การออกเสียง "ร" "ล" หรือคำควบกล้ำอื่นๆ

- ความหมายของคำทุกคำต้องถูกต้อง ไม่เพี้ยน

- การขึ้น ลงเสียงเหมาะสม กลมกลืน ไม่โหนเสียง

เทคนิคในการขับร้อง สิ่งที่พึงประเมินประกอบด้วย

- การเอื้อน การออกเสียงคำตามวรรณยุกต์ได้ไพเราะ เหมาะสม ถูกต้อง

- การผ่อนลมหายใจได้เหมาะสม เสียงคำชัดเจนทุกคำ

- การใช้เสียงในการถ่ายทอดอารมณ์เพลงได้อย่างเหมาะสม

การควบคุมคุณภาพเสียงในการบรรเลง หลักในการพิจารณาประกอบด้วย คุณภาพเสียง และเทคนิคในการบรรเลง

คุณภาพเสียง สิ่งที่พึงประเมินเกี่ยวกับคุณภาพเสียง ประกอบด้วย

- เสียงเครื่องดนตรีทุกชิ้นดัง มีระดับเสียงที่ถูกต้อง ไม่เพี้ยน

- ความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรีทุกชิ้นในวง

เทคนิคในการบรรเลง สิ่งที่พึงประเมินประกอบด้วย

- ความสามารถในการใช้เสียงดนตรีถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสมกับบทเพลง

- ความพร้อมเพรียงในการบรรเลง

- การสอดแทรกเทคนิคต่างๆในการบรรเลง ทำให้เพิ่มอรรถรสในบทเพลงได้อย่างเหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป

- การขึ้น ลง รับ ส่งร้องหรือเปลี่ยนเพลงราบรื่น

เกณฑ์ในการประเมินผลงานดนตรี หมายถึง หลักที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินผลงานการแสดงทางดนตรีว่ามีคุณภาพ หรือคุณค่าอย่างไร
การประเมินผลงานดนตรีมีเกณฑ์ ดังนี้
1. คุณภาพของผลงานทางดนตรี พิจารณาจากองค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง ดังนี้
1.พิจารณาทางด้านเสียง เครื่องดนตรีที่ใช้ต้องเหมาะสมกับเสียงขับร้อง คุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงเป็นไปตามอารมณ์เพลง
2.พิจารณาทางด้านจังหวะ จังหวะเพลงแบบใดมีความสอดคล้องกับทำนองเพลงหรือไม่ เครื่องดนตรีเล่นได้ตามจังหวะหรือไม่
3.พิจารณาทางด้านทำนองเพลง เพลงที่ฟังมีเครื่องดนตรีดำเนินทำนองอะไรบ้าง สามารถทำให้ผู้ฟังเข้าใจจังหวะของทำนองเพลงหรือไม่
4.พิจารณาทางด้านการประสานเสียง เสียงประสานเสียงมีความสอดคล้องกันหรือไม่ ทั้งการประสานเสียงของเครื่องดนตรีกับการประสานเสียง
5.พิจารณาทางด้านรูปแบบ รูปแบบของเพลงมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันหรือไม่
6.พิจารณาลักษณะการนำเสนอ ผู้ขับร้องสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สัมพันธ์กับเสียงดนตรี ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจดนตรีมากขึ้นหรือไม่ ถ้าเป็นการบรรเลงดนตรี พิจารณาเทคนิคการนำเสนอ
7.พิจารณาอารมณ์ในการร้อง การถ่ายทอดเพลงผ่านสีหน้า ท่าทางสัมพันธ์กับความหมายของเพลงหรือไม่

2.คุณค่าของผลงานทางดนตรี ดนตรีมีคุณค่าต่อสังคมและวัฒนธรรม ดังนี้
1.คุณค่าของผลงานดนตรีต่อสังคม
– ดนตรีเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงสภาพของคนในสังคม การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
– ดนตรีเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาจิตใจและอารมณ์ของคนในสังคม
– ดนตรีเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบพิธีกรรม และงานประเพณีต่างๆ ให้มีความสนุกสนานรื่นเริง
– ดนตรีทำให้เกิดความสามัคคีในสังคม
2.คุณค่าของผลงานดนตรีต่อวัฒนธรรม
– ดนตรีเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์มีความสำคัญต่อชาติและคนในสังคม
– ดนตรีเป็นสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้นๆ
– ดนตรีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของชาติ กล่าวคือ ดนตรีสามารถบ่งบอกถึงพิธีกรรมทางศาสนา วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มคนของท้องถิ่นนั้นๆ จนกลายเป็นวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชาติได้

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

การประเมินคุณภาพของดนตรีประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

คุณภาพของผลงานทางดนตรี - พิจารณาทางด้านเสียง เครื่องดนตรีที่ใช้ต้องเหมาะสมกับเสียงขับร้อง คุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงเป็นไปตามอารมณ์เพลง - พิจารณาทางด้านจังหวะ จังหวะเพลงแบบใดมีความสอดคล้องกับทำนองเพลงหรือไม่ เครื่องดนตรีเล่นได้ตามจังหวะหรือไม่

การฟังเพลงเป็นบทบาทของดนตรีในด้านใด

การฟังเป็นสื่อสำคัญยิ่งในการทำกิจกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวกับดนตรีเพราะดนตรีเป็น ศิลปะซึ่งอาศัยเสียงเป็นสื่อ โสตประสาทและการรับฟังจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากในการสื่อสารทาง ดนตรี การที่ผู้ฟังผู้หนึ่งผู้ใดจะได้รับอรรถรสจากการฟังมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการฟังของผู้ นั้นและระดับความเข้มข้นในการรับฟังของแต่ละท่านเอง

หลักการประเมินการแสดงนาฏศิลป์ไทยตรงกับข้อใด

หลักการประเมินการแสดงนาฏศิลป์ - นาหลักแห่งความสมดุลมาใช้ โดยใช้เวทีเป็นจุดศูนย์กลางตาแหน่งของผู้แสดง ให้มีสัดส่วนจานวนเท่ากัน ไม่ควรไปรวมกลุ่มอยู่ด้านใดด้านหนึ่งจนมากเกินไป - มีการเคลื่อนไหว การแปรแถวมีความหลากหลายไม่น่าเบื่อ

ทักษะทางด้านดนตรี มีอะไรบ้าง

6 ทักษะที่คนเรียนดนตรีต้องมี.
เชื่อว่า 6 ทักษะต่อไปนี้คือทักษะที่คนเรียนดนตรีมีแล้วจะต้องมีงานทำอย่างแน่นอน.
1.การเล่นที่ดี.
2.การฟังที่ดี.
3.การทำเพลงที่ดี.
4.ความรู้ทฤษฎีดนตรีที่ดี.
5.การรวมวงที่ดี.
6.การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดี.