พ่อค้าประเภท full service หมายถึงข้อใด

Marketing from halato

สถาบันการตลาด และช่องทางการจำหน่าย

สถาบันการตลาด (Marketing Institution) หมายถึง หน่วยงานธุรกิจซึ่งทำหน้าที่ทางการตลาดทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนเพื่อทำให้สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม

ประเภทของสถาบันการตลาด

สถาบันการตลาดมีอยู่ 3 ประเภทคือ
1. สถาบันการค้าปลีก (Retailing Institution) ได้แก่พ่อค้าปลีกประเภทต่าง ๆ
2. สถาบันการค้าส่งหรือสถาบันที่ประกอบธุรกิจการค้าส่ง (Wholesaling Institution)
3. สถาบันที่ทำหน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกทางการตลาด (Facilitators) ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวกับ
วิจัยตลาด ตัวแทนโฆษณา ที่ปรึกษาทางการตลาด ขนส่ง คลังสินค้า ธนาคาร การเงิน ประกันภัย เป็นต้น
ประโยชน์ของสถาบันการตลาด

1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายและช่วยลดเวลาในการติดต่อ
2. ช่วยในการจำหน่ายสินค้าของผู้ผลิตให้เข้าถึงตลาดเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
3. รับภาระความเสี่ยงซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่องทางการจำหน่าย
4. รวบรวมและจัดสรรสินค้าให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้บริโภค
สถาบันการค้าส่ง (Wholesaling Institution)

การค้าส่ง หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าหรือบริการให้กับบุคคลหรือสถาบันซึ่งซื้อไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำส่งสินค้าหรือบริการนั้นไปขายต่อหรือนำไปใช้ในธุรกิจ
ประเภทของสถาบันการค้าส่ง
กลุ่มที่ 1 พ่อค้าขายส่ง (Merchant Wholesalers)

1.1 ผู้ค้าส่งที่ให้บริการอย่างเต็มที่ (Full-service Wholesalers)
ผู้ค้าส่งประเภทนี้จะให้การบริการ 3 ประการคือ ช่วยเก็บรักษาสินค้า ให้สินเชื่อส่งมอบสินค้าและให้ความช่วยเหลือในด้านการบริหาร มีอยู่ 2 ประเภท คือ ผู้ค้าส่งและผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม

1.1.1 ผู้ค้าส่ง (Wholesale Merchants)
ผู้ค้าส่งประเภทนี้ส่วนใหญ่จะขายสินค้าให้ผู้ค้าปลีก โดยจัดให้มีการบริการอย่างเต็มที่ แบ่งเป็น

1. ผู้ส่งสินค้าทั่วไป (General Merchandise Wholesalers) จะมีสินค้าอยู่หลายชนิด
2. ผู้ค้าส่งสายผลิตภัณฑ์เดียว (Single-line Wholesalers) จะมีสินค้าอยู่เพียงสายผลิตภัณฑ์เดียว หรือ 2 สายผลิตภัณฑ์
3. ผู้ค้าส่งสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Wholesalers) เป็นผู้ค้าส่งที่มีความชำนาญในการจำหน่ายสินค้า เฉพาะบางอย่างเท่านั้น

1.1.2 ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Distributors)
เป็นผู้ค้าส่งซึ่งขายสินค้าให้กับผู้ผลิตมากกว่าที่จะขายให้กับผู้ค้าปลีก

1.2 ผู้ค้าส่งที่ให้การบริการอย่างจำกัด (Limited-service Wholesalers)
ผู้ค้าส่งประเภทนี้จะให้การบริการแก่ผู้จัดการจำหน่ายและลูกค้าเพียงบางอย่างเท่านั้น มี 6 ประเภทคือ

1.2.1 ผู้ค้าส่งแบบซื้อสดและรับไปเอง (Cash and Carry Wholesalers) จำหน่ายแก่ผู้ค้าปลีกเป็นเงินสด โดยให้ลูกค้าขนสินค้าไปเอง

1.2.2 ผู้ค้าส่งโดยรถบรรทุก (Truck Wholesalers or Truck Jobbers) ทำหน้าที่ขายส่งและส่งมอบสินค้าประเภทกึ่งเสียง่าย ขายเฉพาะเงินสดแก่ร้านขายของชำ

1.2.3 ผู้ค้าส่งโดยสินค้าไม่ผ่านมือ (Drop Shipper or Desk Jobber) ผู้ค้าส่งประเภทนี้จะไม่มีสินค้าเก็บไว้ เมื่อเขาแสวงหาคำสั่งซื้อได้เขาก็จะไป หาผู้ผลิตซึ่งจะเป็นผู้ส่งสินค้าไปให้ลูกค้าโดยตรง

1.2.4 ผู้ค้าส่งพร้อมจัดการ (Rack Jobbers) ผู้ค้าส่งยังคงเป็นเจ้าของสินค้าและ จะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อผู้ค้าปลีกขายได้เท่านั้น ผู้ค้าส่งจะเป็นผู้กำหนดราคา และจัดสินค้าในชั้นวางของให้ รวมถึงการแตกต่างชั้นวางสินค้าด้วย

1.2.5 สหกรณ์ผู้ผลิต (Producer?s Cooperatives)

1.2.6 ผู้ค้าส่งทางไปรษณีย์ (Mail Order Wholesalers)

เขียนโดย modal ที่ 17:20

พ่อค้าประเภท full service หมายถึงข้อใด

ผู้ค้าปลีกจำเป็นต้องรู้จักหน้าที่ที่มีผู้ต่อผู้บริโภค และผู้ค้าส่งจำเป็นต้องรู้จักหน้าที่ที่มีต่อผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก

- ลักษณะของการค้าปลีก

1. วิธีการค้าปลีก ได้แก่ โดยร้านค้าปลีก โดยทางจดหมาย โดยใช้พนักงานขายตามบ้าน และโดยใช้

เครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ

2. อาชีพการค้าปลีก จำเป็นจะต้องมีความรอบรู้มีความสามารถในการด้านการจัดการ การบริหาร

การขาย การตัดสินใจ การบัญชี การบริหารสินค้า สินค้าคงเหลือ การวิจัย การเงิน การตลาด การ

โฆษณา การจัดวางสินค้า การแสดงสินค้า และการส่งเสริมการขาย

3. โอกาสในการประกอบอาชีพ

ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่มักจะแบ่งการทำงานเป็นด้านต่าง ๆ ประมาณ 5 ด้านด้วยกัน คือ งาน

ด้านการสินค้า งานด้านการส่งเสริมการจำหน่าย งานด้านการบริหารร้านค้า งานด้านการ

ควบคุมทางการเงิน และงานด้านการบริหารบุคคล

- แนวโน้มการค้าปลีกในประเทศไทย

ในอนาคตเทรดเซ็นเตอร์ (Trade Center) ห้างสรรพสินค้าแต่ละแห่งเริ่มแตกสาขาเป็นร้านแบบ

ลูกโซ่ดักคนอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ

- ลักษณะของการค้าส่ง

เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับช่องทางการจำหน่ายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคมีบทบาททางด้านข้อมูล

ข่าวสารโดยเป็นสื่อกลางในการสะท้อนความต้องการของผู้บริโภคให้กับผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิต ผลิต

สินค้าได้ตรงตามความต้องการ

- แนวโน้มการค้าส่งในประเทศไทย

ความสำคัญของผู้ค้าส่งเริ่มลดลงเมื่อผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกต่างมีขนาดใหญ่มากขึ้น ประกอบกับผู้ค้า

ปลีกขนาดใหญ่ได้นำเอาระบบการค้าปลีกแบบลูกโซ่ และระบบสิทธิทางการค้า (Chain and

Franchise System) เข้ามาใช้ดังนั้น ผู้ค้าส่งควรที่จะปรับปรุงการให้บริการที่ตรงกับความ

ต้องการของลูกค้า และพยายามหาทางตอบสนองความต้องการเหล่านั้นด้วยแนวคิดทางการตลาด

สมัยใหม่ เช่น ใช้เทคนิคการส่งเสริมการขายโดยขอความร่วมมือจากผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก

1.2 การจัดตั้งและการหาทุนในการดำเนินงาน

ประเภทเงินทุนสำหรับกิจการเริ่มก่อตั้ง

ประเภทของเงินทุนที่กิจการต้องการเมื่อเริ่มธุรกิจ จะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจที่ต้องการ

ทำ โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใด ความต้องการเงินทุนสามารถแยกได้เป็นดังนี้คือ

1. เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ได้แก่ เงินสด หลักทรัพย์เปลี่ยนมือง่าย ลูกหนี้ สินค้า เป็นต้น

2. เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร รถยนต์ เป็นต้น

3. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในระยะก่อนเริ่มและระยะแรกเริ่ม ได้แก่ค่าดอกเบี้ย ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเช่าสำนักงาน เงินเดือน ค่าแรงค่าซื้อวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

4. เพื่อไว้ใช้ส่วนตัวและครอบครัวของผู้ประกอบการ การวางแผนจัดทำเงิ ควรจัดเตรียมไว้สำหรับการใช้ส่วนตัวของเจ้าของและครอบครัวในช่วงการดำ เนินงานในระยะแรก ไม่ควรเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจ

แหล่งเงินทุน

เงินทุนที่จะทำการจัดหามาดำเนินธุรกิจสำหรับกิจการเพิ่งเริ่มก่อตั้งนั้น สามรถจัดหาได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้คือ

1. เงินออมของตนเอง เป็นเงินทุนจากแหล่งของเจ้าของในปริมาณสูง ก่อน จากการ กู้ยืม ชวนคนอื่นเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือจากการขายหุ้น ทำให้ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ร่วม ลงทุนหรือหุ้นส่วน จะได้แน่ใจว่าเงินจากส่วนของเจ้าของมีปริมาณสูงพอที่จะรับภาระหนี้สินของกิจการได้

2. เงินกู้นอกระบบ ส่วนใหญ่ได้แก่ การกู้ยืมจากญาติหรือเพื่อนหรือนายทุนเงินกู้

3. เงินกู้ยืมจากสถาบันทางการเงิน เป็นการกู้ยืมจากตลาดการเงินในระบบ ภายใน ขอบเขตของตัวบทกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ตามที่กฎหมายระบุ สถาบันการเงินในประเทศไทย มีดังนี้คือ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม กิจการประกันชีวิต สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โรงรับจำนำ เป็นต้น

4.สินเชื่อการค้า เกิดขึ้นระหว่างธุรกิจกับธุรกิจที่ทำการติดต่อซื้อขายกัน โดยผู้ซื้อ สามารถชะลอเวลาการชำระเงินค่าสินค้าออกไปได้ระยะหนึ่ง เช่น 30วัน 60 วัน แล้วแต่จะตกลงกัน

5.ขายหุ้น ในกรณีที่ธุรกิจถูกจัดตั้งในรูปของบริษัท กิจการอาจทำการระดมทุนโดย การออกหุ้น ซึ่งหุ้นที่สามารถจัดจำหน่าย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ หุ้นสามัญ (Common Stock ) และหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)

6. ชวนคนอื่นเป็นหุ้นส่วน การจัดหาเงินทุนมาจัดตั้งกิจการด้วยวิธีชวนคนอื่นมาเป็น หุ้นส่วน โดยตนเองเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ส่วนหุ้นส่วนที่ ถูกชักชวนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ซึ่งไม่สามารถเป็นผู้ จัดการได้

7. การเล่นแชร์ เป็นวิธีการช่วยเหลือทางการเงินโยอาศัยความเชื่อใจกันเป็นสาระสำคัญ โดยผู้เล่นแชร์หรือที่เรียกว่าลูกวง ต่างลงเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันเป็นรายงวด ซึ่งอาจเป็นสัปดาห์ ครึ่งเดือน หรือเป็นเดือน จำนวนงวดจะมีจำนวนเท่ากับจำนวนลูก วงและเจ้ามือหรือเรียกว่า เท้า ในงวดแรกของการเริ่มเล่น เท้าจะเป็นผู้ได้เงินไปใช้ ก่อนโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ส่วนในงวดต่อๆ ไปจะมีการประมูลให้ดอกเบี้ยกันในระหว่างบรรดาลูกวง

1.3 ประเภทของร้านค้าปลีกค้าส่ง

ประเภทของร้านค้าปลีก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

กลุ่มที่ 1 ร้านค้าปลีกแบ่งตามลักษณะกรรมสิทธิ์

กลุ่มที่ 2 ร้านค้าปลีกแบ่งตามกลยุทธ์การดำเนินงานของร้านค้า

กลุ่มที่ 3 ร้านค้าปลีกแบ่งตามรูปแบบของร้านค้า

กลุ่มที่ 1 ร้านค้าปลีกแบ่งตามลักษณะกรรมสิทธิ์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ ได้แก่

1. ร้านค้าปลีกอิสระ ( Indendent Store ) การจัดการต่าง ๆ อาจขึ้นอยุ่กับบุคคลคนเดียว หรือบุคคลภายในครอบครัวหรือเพื่อนมากกว่า 80% ร้านค้าปลีกในลักษณะนี้มีให้เห็นกันทั่วไป เช่น ร้านเสริมสวย ร้านขายยาร้านขายของชำทั่วไป

2. ร้านค่าปลีกแบบลูกโซ่ (Cooperate Chain Store ) เป็นร้านค้าที่มีการเปิดสาขามากกว่าหนึ่งสาขาขึ้นไป ต้องมีระบบแบบแผนการดำเนินการเดียวกัน จะต้องมีมาตนฐานทั้งภาพลักษณ์ของร้านค้าหรือการบริการแบบเดียวกัน ในประเทศไทย ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เดอะมอลล์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ร้านรองเท้าบาจา ร้านสุกี้หรือร้านอาหารต่าง ๆ

เป็นต้น

3. ร้านค้าปลีกแบบแฟรนไชส์ ( Franchise Store ) เป็นร้านที่มีการทำสัญญา ในเรื่องรายละเอียดของร้านค้าและวิธีการจัดการให้เหมือนกับร้านค้าปลีก เจ้าของกิจการต้นตำรับ เป็นการใช้ระบสิทธิทางการค้า

4.ร้านค้าปลีกแบบเช่าเฉพาะพื้นที่หรือฝากขาย (Leased Department หรืConsigment ) เจ้าของสินค้าเข้ามาขอเช่าสถานที่ในบริเวณห้างสรรพสินค้า เพื่อเปิดดำเนินการจำหน่าย โดยผู้ให้เช่าจะได้รับค่าเช่าตอบแทนตามแต่จะตกลงกัน ร้านค้าปลีกประเภทนี้ในวงการการค้าปลีกนิยมเรียกกันว่าการ ฝา กขาย (Consignment ) เช่น บู้ทขายเครื่อสำอาง สินค้าประเภทเครื่อง แต่งกาย ร้านทำกุญแจ ชั้นสวนสนุกหรือศุนย์อาหาร เป็นต้น

5. ร้านค้าปลีกแบบสหกรณ์ร้านค้า (Retail Consumer Cooperative) จะมีกา ขายหุ้นให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป ผู้ซื้อหุ้นของสหกรณ์ถือว่าเป็นสมาชิก และเป็นเจ้าของร้านค้าด้วย สมาชิกจะได้รับส่วนแบ่งผลกำไรโดยการจัดสรร มาจากเงินปันผล ซึ่งผลกำไรที่สมาชิกได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับอัตร การซื้อของแต่ละคน เช่น สหกรณ์พระนคร สหกรณ์กรุงเทพฯ

กลุ่มที่ 2 ร้านค้าปลีกแบ่งตามกลยุทธ์การดำเนินงานของร้านค้า แบ่งได้เป็น 8 ลักษณะดังนี้

1. ห้างสรรพสินค้า (Department Store ) เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีสินค้าไว้บริการแก่ลูกค้าจำนวนมาก การจัดวางสินค้าจะแบ่งออกเป็นแผนกอย่างชัดเจนสินค้าที่อยู่ในสายผลิตภัณฑ์เดียวกันก็จะถูกจัดไว้รวมกันหรือใกล้กัน มีพนักงานประจำแต่ละแผนกเพื่อคอยบริการแก่ลูกค้าอย่างเต็มที่ เช่น เซ็นทรัลโรบินสัน เดอะมอลล์ เป็นต้น

2 ร้านสรรพาหารหรือซูเปอร์มาร์เก็ต ( Supermarket ) เป็นร้านค้าปลีกที่เน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน โดยให้ความสำคัญที่ความสด ใหม่ และความหลากหลายของอาหาร สินค้าที่ขายส่วนใหญ่ได้แก่ อาหารสด เครื่องกระป๋อง ของชำและสิ่งจำเป็นที่ใช้ในบ้าน เป็นการขายแบบบริการตนเอง ( Self service ) สำหรับประเทศไทยจะเห็นร้านค้าแบบซูเปอร์มาร์เก็ตอยู่ภายในห้างสรรพสินค้าหรืออยู่บริเวณชั้นล่างหรือชั้นใต้ดิน ร้านที่ไม่ได้รวมกับห้างสรรพสินค้า เช่น ฟู้ดแลนด์( Food Land )

3. ซูเปอร์สโตร์ ( Superstore ) เป็นร้านที่มีการพัฒนามาจากซูเปอร์มาร์เก็ตประกอบด้วยซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนหนึ่ง และอีกร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 25 ของการขาย จะเป็นสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องไฟฟ้า เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มมาวางขายเพิ่มเติม

4. ไฮเปอร์มาร์ท ( Hyper mart ) หรือ Warehouse Store เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่เป็นการรวมเอาหลักการของร้านค้าแบบซูเปอร์สโตร์และร้านค้าแบบ (Discount Store ) มาเข้าด้วยกัน ไฮเปอร์มาร์ทแตกต่างจากซูเปอร์สโตร์คือ ขนาดใหญ่กว่ามาและสินค้าหลากหลายทั้งชนิด ขนาดและราคาถูกกว่า การจัดเรียงสินค้าจัดวางแบบคลังสินค้า (Warehouse ) การจัดการขายเป็นแบบบริการตนเอง เช่น แม็คโคร (Makro)

5. ร้านค้าสะดวกซื้อ ( Convenience Store ) เป็นร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน รวมทั้งจำหน่ายอาหารเครื่องดื่มประเภทฟาสต์ฟู้ด (Fast Food ) คืออาหารและขนมทีสั่งได้เร็ว ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท เป็นต้น

6. ร้านค้าปลีกแบบเน้นสินค้าราคาถูก ( Discount Store ) โดยทั่วไปจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในราคาถูก มุ่งไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับกลางไปถึงระดับต่ำ การจัดวางสินค้าให้เหมาะสม เพื่อให้สินค้าโฆษณาขายตัวมันเอง (Product sell itself ) ซึ่งอาจใช้วัสดุโฆษณา ณ จุดขาย (Point of sales material )

7. มินิมาร์ทหรือร้านสรรพาหารขนาดย่อม ( Mini-mart หรือ Superette) เป็นร้านที่ย่อส่วนของร้านซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งด้านพื้นที่ ชนิดและปริมาณของสินค้าที่จำหน่าย โดยยังคงวิธีการดำเนินงานและประเภทสินค้าที่จำหน่ายไว้เช่นเดียวกับร้านซูเปอร์มาร์เก็ต จากการสภาพการคมนาคาที่แออัดมาก พื้นที่ในเมืองหายากและมีราคาสูง แนวโน้มประชากรเริ่มกระจายออกสู่ชานเมืองมากขึ้น มินิมาร์ทจึงเหมาะที่จะแทรกตามตัวเมืองหรือชานเมืองที่ชุมขนยังไม่หนาแน่น

8. ร้านขายของชำหรือโชห่วย ( Grocery Store ) เป็นร้านค้าแบบดั้งเดิม จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ดำเนินงานภายในครอบครัวหรือเพื่อน จัดได้ว่ามีจำนวนมากที่สุดในบรรดาร้านค้าปลีกแบบต่าง ๆ

กลุ่มที่ 3 ร้านค้าปลีกแบ่งตามรูปแบบของร้านค้า สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ

1. การค้าปลีกแบบมีร้านค้า ( Store operation )

2. การค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้า ( Nonstore operatio)

1. การค้าปลีกแบบมีร้านค้า ได้แก่ร้านค้าปลีกแบบต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าว ไว้แล้วในเรื่องร้านค้าปลีกแบ่งตามลักษณะกรรมสิทธิ์และร้านค้าปลีกแบ่งตามกลยุทธ์การดำเนินงานของร้านค้า

2. การค้าปลีกแบบไม่มีร้าน ได้แก่การขายแบบใช้ตู้อัตโนมัติ การขายโดยผ่านเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เช่นทางโทรศัพท์ ทางไปรษณีย์ ทาง โทรทัศน์ โดยผ่านพนักงานขาย

ประเภทของร้านค้าส่ง

ผู้ค้าส่งสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. พ่อค้าขายส่ง ( Merchant Wholesalers )

2. ตัวแทนและนายหน้า ( Agent and Broker )

3. สาขาและสำนักงานขายของผู้ผลิต เป็นหน่วยงานที่ผู้ผลิตลงทุนสร้าง เพื่อมุ่งทำการค้าค้าส่งด้วยตนเอง โดยแยกหน่วยงานออกมาต่างหากจาก โรงงานผลิต

พ่อค้าส่งพร้อมจัดการ หมายถึงข้อใด

1.2.4 ผู้ค้าส่งพร้อมจัดการ (Rack Jobbers) ผู้ค้าส่งยังคงเป็นเจ้าของสินค้าและ จะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อผู้ค้าปลีกขายได้เท่านั้น ผู้ค้าส่งจะเป็นผู้กำหนดราคา และจัดสินค้าในชั้นวางของให้ รวมถึงการแตกต่างชั้นวางสินค้าด้วย

การขายประเภทบริการตนเอง คือข้อใด

- การขายแบบบริการตนเอง Self-Service ได้แก่การซื้อสินค้าจากตู้ขายสินค้าอัตโนมัติในร้าน Super Market ซึ่งทาให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และรู้สึกมีอิสระในการเลือกซื้อ

คนกลางที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้าคือข้อใด

2. นายหน้าและตัวแทน (Broker and Agent) เป็นคนกลางที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า 2.1 นายหน้า (Broker) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่นำผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกันและเจรจาให้เกิดการซื้อขาย 2.2 ตัวแทน (Broker) เป็นคนกลางที่จำหน่ายสินค้าให้กับผู้ผลิต

การค้าส่งมีความหมายว่าอย่างไร

ธุรกิจค้าส่ง คือ ธุรกิจที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค รวมถึงบริการต่างๆ ให้แก่ผู้ซื้อในปริมาณมาก โดยผู้ซื้อในที่นี้คือ “ผู้ค้าปลีก (Retailer)” ที่มีจุดประสงค์เพื่อนำสินค้าไปขายต่อให้กับผู้บริโภคทั่วไปนั่นเอง