ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์มา 5 อย่าง

………เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน

6.1 ซอฟต์แวร์สำเร็จ
………ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (Package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย

2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น Excel เป็นต้น

3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น Access, Dbase

4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์

5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นต้น

6.2 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

………การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
โปรแกรมมีให้ใช้ในหลายรูปแบบ
Package software เป็น ซอฟต์แวร์ชุดสำเร็จใช้กับงานทั่วไป
Custom software เป็น ซอฟต์แวร์พัฒนาเพื่องานเฉพาะด้าน
Shareware ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์แต่ให้ใช้ฟรีในระยะหนึ่ง
Freeware ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ที่ส่วนบุคคล หรือองค์กรผลิต เพื่อให้ใช้ฟรี
Public-domain software เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ให้ใช้ฟรี

………ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามาแล้ว จะเข้าสู่ วัฎจักรของการนำไปใช้งานแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข และย้อนกลับนำมาใช้งานใหม่ ตลอดระยะเวลาการใช้งานซอฟต์แวร์นั้น จนกว่าจะมีซอฟต์แวร์ใหม่มาแทนที่ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีวัฎจักรเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่า วัฎจักรของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่การปรับปรุงแก้ไข แต่จะเป็นการซ่อมบำรุงให้ใช้งานต่อไปได้ ซอฟต์แวร์ต่างกับผลิตภัณฑ์ตรงที่ไม่มีส่วนสึกหรอ การปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ อาจเกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ ที่ยังหลงค้างอยู่ หรือจากข้อกำหนดของเงื่อนไขภายในซอฟต์แวร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บภาษีของระบบบัญชี ต้องแก้ไขเงื่อนไขในซอฟต์แวร์ใหม่ ตามปกติซอฟต์แวร์ที่พัฒนามาแล้ว มักมีการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ เพราะเป้าหมายความต้องการของผู้ใช้งานมักจะเปลี่ยนแปลงภายหลังการทดลองใช้ไประยะหนึ่ง
ปัญหาสำคัญของการปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผู้ปรับปรุงแก้ไขเป็นคนละคนกับผู้พัฒนา ดังนั้นผู้ปรับปรุงจะต้องศึกษาโปรแกรมและเอกสารประกอบให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนจึงจะสามารถปรับปรุงได้ ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร และถ้าโปรแกรมและเอกสารประกอบไม่ได้มีรูปแบบโครงสร้างที่ดีพอแล้ว ผู้ปรับปรุงซอฟต์แวร์จะประสบปัญหากับการแก้ไขมากยิ่งขึ้น จนบางครั้งต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใหม่ เหตุการณ์เช่นนี้พบเห็นกันอยู่เสมอ ๆ
………ตามปกติระยะเวลาที่ใช้เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์จะน้อยกว่าระยะเวลาของการปรับปรุงแก้ไขเพราะเมื่อซอฟต์แวร์นำไปใช้งานแล้วจะมีการย้อนกลับมา ปรับปรุงแก้ไขได้ตลอดเวลา การปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว หากมีการเตรียมการตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยพยายามศึกษาวิเคราะห์และออกแบบให้ละเอียดและให้เอื้อต่อการนำไปแก้ไขปรับปรุงได้ง่ายในภายหลัง
ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์
………การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้กันทั่วไป จะแบ่งออกเป็นขั้นตอน ดังนี้ การวิเคราะห์ การออกแบบ การเขียนโปรแกรม หรือการสร้างชิ้นงานจริง และการตรวจสอบซอฟต์แวร์
1) การวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นสองตอน ตอนแรกจะเป็นการสำรวจความต้องการ และเหตุผลของการตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงานให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ตอนที่สองจึงเป็นการวิเคราะห์ระบบงานที่ใช้อยู่ปัจจุบัน หากนำระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยงานจะตอบสนองความต้องการได้อย่างไร ข้อมูลที่ใช้และระบบซอฟต์แวร์จะต้องกำหนดได้อย่างเด่นชัด ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ จะทำให้เราได้ชุดของข้อกำหนดของระบบเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบซอฟต์แวร์ต่อไป
2) การออกแบบ ในการออกแบบซอฟต์แวร์ จะเป็นงานพัฒนาทางด้านเทคนิคเพื่อแบ่งแยกงานให้เป็นหน่วยย่อยเรียก มอดูล (module) ที่สามารถแยกจัดการเฉพาะส่วนได้โดยง่าย การนำระบบใหญ่มาแบ่งย่อยเป็นส่วนเล็ก ๆ และสามารถนำมาเชื่อมรวมกันเป็นระบบใหญ่ถือเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยให้งานใหญ่สำเร็จลงได้ เพราะการสร้างระบบซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่แต่เพียงลำพัง เป็นเรื่องสุดวิสัยเหนือกำลังของคนคนเดียว การแยกส่วนแบ่งงานกันทำจะทำให้ผู้พัฒนาแต่ละคนสามารถทำงานเฉพาะในส่วนของตนได้ดี ขณะเดียวกันจะง่ายแก่การบำรุงรักษาในอนาคตอีกด้วย
3) การเขียนโปรแกรมหรือการสร้างชิ้นงานจริง เป็นขั้นตอนของการสร้างหรือเขียนโปรแกรม การสร้างแฟ้มข้อมูลและการพัฒนาฐานข้อมูล การออกแบบซอฟต์แวร์เป็นหน่วยย่อยหลาย ๆ มอดูลทำให้สามารถแบ่งงานเขียนโปรแกรมหรือสร้างชิ้นงานให้กับนักเขียนโปรแกรมหลาย ๆ คนทำพร้อมกันได้
4) การตรวจสอบซอฟต์แวร์ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการตรวจสอบซอฟต์แวร์ว่าทำงานได้ครบถ้วนตามต้องการหรือไม่ โดยมีการตรวจแก้ไขซอฟต์แวร์เป็นชุดมอดูล และตรวจสอบการทำงานร่วมกันของมอดูลต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องพิถีพิถันกระทำการตรวจสอบอย่างละเอียด
การพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่จำเป็นต้องดำเนินตามขั้นตอนที่กล่าวแล้วข้างต้น เพื่อให้ได้ระบบซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ในทุกขั้นตอนควรเขียนเอกสารประกอบอย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ เข้าใจและทำงานร่วมกันได้

การใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงานในชั้นเรียน
ในชั้นเรียนมีกิจกรรมที่นักเรียนจะต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการทำงาน ดังนี้
1. การพิมพ์เอกสาร
การพิมพ์เอกสาร เช่น รายงาน จดหมาย บทความ เป็นต้น นิยมใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด เวิร์ดสตาร์ และปลาดาว writer เป็นต้น
………โปรแกรมประมวลผลคำมีหลักการ คือ จำลองหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เป็นเหมือนแผ่นกระดาษ มีการกำหนดกั้นหน้า กั้นหลัง ด้านซ้าย-ขวา บน-ล่าง แล้วมีตำแหน่งการพิมพ์บนหน้ากระดาษนั้น ผู้พิมพ์สามารถพิมพ์เอกสารย่อหน้า เว้นวรรค และสร้างภาพประกอบข้อความได้ ลบแก้ไข และคัดลอกเอกสารได้ ดังนั้น ในชั้นเรียนปัจจุบันจึงนิยมใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างงานด้านเอกสารเป็นหลัก

2. การสร้างตาราง
การสร้างตารางเป็นการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกข้อมูลในรูปแบบเป็นแถวและคอลัมน์เพื่อความสะดวกในการคำนวณหรือประมวลผล เช่น บัญชีรายรับ-รายจ่าย บัญชีเงินเดือน และแฟ้มประวัติบุคคล เป็นต้นโปรแกรมตารางงานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Spreadsheet เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล โปรแกรมปลาดาวตารางงาน และโลตัส เป็นต้น
………หลักการทำงานของโปรแกรมประเภทนี้ คือ การสร้างกระดาษทำการ หรือกระดาษคำนวณขนาดใหญ่ขึ้นมา แล้วแบ่งออกเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องสามารถพิมพ์ตัวหนังสือ ตัวเลข สูตรคำนวณต่าง ๆ ดังนั้นการสร้างตารางจึงเหมาะกับงานด้านบัญชี หรือตัวเลขที่นำมาคำนวณประมวลผล

3. การสร้างกราฟ
………กราฟเป็นการนำเสนอข้อมูลในรูปของแผนภาพ ทั้งแบบ 2 มิต และ 3 มิติ ลักษณะของกราฟที่นิยมใช้กัน คือ กราฟแท่ง กราฟวงกลม กราฟเส้น และกราฟแท่งแนวนอน การสร้างกราฟโดยปกติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป คือ ไมโครซอฟต์เอ็กเซล เพราะได้รวมเอาคุณสมบัติที่โดดเด่นของการสร้างกราฟไว้ครบถ้วน ทั้งยังสามารถโอนไฟล์ไปร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้

4. การออกแบบ
………การออกแบบ เช่น ออกแบบบ้าน ออกแบบกล่องใส่ปากกา-ดินสอ ออกแบบเสื้อผ้า ออกแบบโต๊ะ-เก้าอี้ เป็นต้น
การออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์มีโปรแกรมสำเร็จรูปหลายโปรแกรมให้เลือกใช้ เช่น โปรแกรม AutoCad โปรแกรมPhotoShop และโปรแกรม Freehand เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้จะออกแบบหน้ากระดาษให้เป็นพื้นที่ว่าง ๆ และมีเครื่องมือสำหรับออกแบบไว้ให้ผู้ใช้งาน
สามารถนำเครื่องมือมาสร้างแบบเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ตามต้องการ

5. การนำเสนองาน
………การนำเสนองานก็เป็นบทบาทอีกประเภทหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน กล่าวคือ เป็นการนำเสนองานที่ได้สร้างไว้แล้วจากโปรแกรมต่าง ๆ เช่น เอกสารจากโปรแกรม Word ตารางจากโปรแกรมตารางงาน แล้วนำมาเสนอแก่ที่ประชุมหรือเพื่อน ๆ ร่วมห้องให้ทราบโปรแกรมการนำเสนอที่ได้รับความนิยม คือ โปรแกรมไมโครซอฟต์ PowerPoint ลักษณะของโปรแกรมประเภทนี้จะมีเครื่องมือช่วยให้ผู้ใช้สร้างภาพและตกแต่งสไลด์ได้อย่างสวยงาม ใส่ภาพเคลื่อนไหวและบันทึกเสียงประกอบการนำเสนอได้

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอะไรบ้างพร้อมยกตัวอย่าง

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึงข้อใด

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน 2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป

ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปมีอะไรบ้าง

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) มี 2 ประเภท คือ ... .
- ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (word processing software).
- ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software).
- ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software).
- ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software).
- ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย.

ชื่อซอฟต์แวร์ มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างประเภทของซอฟต์แวร์.
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เช่น Windows, iOS..
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เช่น Microsoft Word. ... .
ซอฟต์แวร์เขียนโปรแกรม (Programming Software) เช่น Eclipse. ... .
ซอฟต์แวร์ไดร์เวอร์ (Driver Software) เช่น ... .
ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility Software) เช่น.