ยูทิลิตี้ทั่วไป มีอะไรบ้าง

บางครั้งแหล่งข้อมูล Oracle Essbase จะมีมิติข้อมูลพิเศษที่ใช้ในการแทนค่าเปรียบเทียบ เช่น “ตามจริง” และ “ตามงบประมาณ” หรือ “ปีปัจจุบัน” และ “ปีก่อนหน้า” มิติข้อมูลเหล่านี้คือมิติยูทิลิตี้และมักตั้งค่าไว้เป็น “สถานการณ์” หรือ “ปี” ตัวอย่างเช่น สมาชิกของมิติข้อมูล “สถานการณ์” ได้แสดงไว้ด้านล่าง

ยูทิลิตี้ทั่วไป มีอะไรบ้าง

ในมุมมองด้านบน คุณจะเห็น “ยอดขายตามจริง” “ยอดขายตามงบประมาณ” และอื่นๆ แต่หากคุณต้องการเปรียบเทียบ “ยอดขายตามจริง” กับ “ยอดขายตามงบประมาณ” ด้วยกราฟที่มีสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยล่ะ เช่นนั้นแล้วคุณจะต้องตั้งให้ใช้มิติข้อมูล “สถานการณ์” เป็นมิติยูทิลิตี้ เมื่อคุณตั้งมิติข้อมูลเป็นมิติยูทิลิตี้คุณจะสามารถเจาะจงได้ว่าจะใช้สมาชิกตัวใดของมิติยูทิลิตี้สำหรับการวัดผลแต่ละอันในมุมมอง ตัวอย่างเช่น ด้านล่างคือกราฟที่มีสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยแสดงถึงยอดขายตามจริงและยอดขายตามงบประมาณตามภูมิภาค

ยูทิลิตี้ทั่วไป มีอะไรบ้าง

คุณจะเห็นได้ว่ามีการใช้การวัดผล “ยอดขาย” สองครั้งในมุมมอง ครั้งหนึ่งเพื่อแสดงยอดตามจริงและอีกครั้งเพื่อแสดงยอดตามงบประมาณ

การใช้มิติข้อมูลเป็นมิติยูทิลิตี้ให้ทำดังนี้

  1. คลิกขวาที่มิติข้อมูลในแผงข้อมูลและเลือก ตั้งค่าเป็นมิติยูทิลิตี้

    ยูทิลิตี้ทั่วไป มีอะไรบ้าง

    มิติข้อมูลในแผงข้อมูลนั้น (ในตัวอย่างนี้คือ “สถานการณ์”) จะไม่สามารถใช้เป็นฟิลด์มิติข้อมูลในมุมมองได้อีก พื้นที่ “การวัดผล” ของ “แผงข้อมูล” ระบุว่ามีมิติยูทิลิตี้อยู่ (ในตัวอย่างนี้ (ที่ “สถานการณ์”) ระบุว่าเป็นมิติยูทิลิตี้)

              – ช่องที่ 4 : กด start เพื่อเริ่มปล่อย wifi ค่ะ ปุ่ม start จะเปลี่ยน stop เมื่อเรากดแล้ว ถ้าหากว่าผู้ใช้ ต้องการหยุดปล่อย wifi ก็สามารถกดปุ่ม stop ได้เลยค่ะ หลังจากนั้นก็ใช้สมาร์ทโฟนหรือ  โน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นค้นหา wifi ที่เราตั้งค่าปล่อยไว้ได้เลยค่ะ เจอแน่นอน

    โปรแกรม หมายถึงโปรแกรมที่ช่วยจัดการระบบทางด้านต่าง ๆ รวมไปถึงดูแลรักษาและซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์  และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 ได้มีการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อใช้สำหรับดูแลรักษาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกทั้งทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาให้คอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงข้อแนะนำและแนวทางแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยเครื่องมือเหล่านี้ถูกต้องอยู่ในกลุ่มของคำสั่ง System Tools ใน Accessory

    โดยหน่วยนี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้งานโปรแกรมเหล่านี้ และประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อเรียกใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้หัวข้อคำสั่ง  System Tools

    โปรแกรม  Scandisk

    โปรแกรม  Scandisk เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของหน่วยสำรองข้อมูลประเภทฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์ ว่ามีส่วนที่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ รวมถึงตรวจสอบโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่ามีความถูกต้องหรือไม่หากพบปัญหาเกิดขึ้นโปรแกรม Scandisk จะทำการแก้ไขโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการแก้ไขให้ผู้ใช้งานทราบ

     

                    หน้าที่ของโปรแกรมยูทิลิตี้

                    ตัวอย่างโปรแกรมยูติลิตี้                                                                                                     ชนิดของโปรแกรมยูติลิตี้มีหน้าที่ต่างๆ กัน และมีผลิตภัณฑ์ยี่ห้อรุ่นต่างกันมากมาย ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างหน้าที่และผลิตภัณฑ์ตัวอย่างของโปรแกรมยูติลิตี้ที่มีใช้กันอยู่มากและเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน

    ฟอร์แมตเตอร์ – Formatter                                                                                                                              โปรแกรมฟอร์แมตเตอร์เป็นโปรแกรมสำหรับการเตรียมรูปแบบการบันทึกข้อมูลบนดิสก์ เนื่องจากดิสก์เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายรุ่นและระบบปฏิบัติการไม่เฉพาะเจาะจง ก่อนที่จะใช้ดิสก์เป็นข้อมูลสำหรับระบบปฏิบัติการแบบใดจำเป็นต้องจัดรูปแบบการการจัดเก็บข้อมูลไฟล์และโครงสร้างที่เกี่ยวกับการจัดเก็บไฟล์และแบ่งไดเร็กทอรี่หรือโฟลเดอร์ตามรูปแบบที่ระบบปฏิบัติการนั้นกำหนด การจัดรูปแบบที่เรียกว่าดิสก์ฟอร์แม็ต จะต้องทำกับทั้งอาร์คดิสก์และฟล๊อปปี้ดิสก์ก่อนที่จะใช้ดิสก์นั้นเก็บข้อมูลครั้งแรก ซึ่งระบบปฏิบัติการทุกระบบจะเตรียมโปรแกรมยูติลิตี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดฟอร์แม็ตดิสก์ใหม่ เช่น ในเอ็มเอสดอส ใช้คำสั่ง FORMAT.COM ในวินโดว์ก็มีคำสั่ง Format… ในกลุ่มเมนู File เมื่อเราเลือกไอคอนแสดงดิสก์ในระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่คำสั่งในการจัดฟอร์แม็ตจะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานได้ใช้คำสั่งเช่นนี้กับฮาร์ดดิสก์ของระบบ ผู้ที่สามารถใช้คำสั่งนี้ได้จะเป็นผู้ดูแลระบบเท่านั้นและอาจจะต้องเข้าสู่โหมดในการจัดการระบบก่อนที่จะทำการฟอร์แม็ตได้ เนื่องจากการฟอร์แม็ตดิสก์ใหม่จะทำให้โปรแกรม และข้อมูลที่ถูกติดตั้งและบันทึกอยู่ถูกลบล้างหายไปทั้งหมด จึงเป็นคำสั่งที่จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง แม้แต่ในเครื่องพีซีที่ใช้งานส่วนบุคคลก็จะต้องระวังไม่ให้ใช้คำสั่งนี้ผิดพลาด เช่นเลือกฟอร์แม็ตดิสก์ผิดตัว เป็นต้น

    โปรแกรมช่วยค้นหาไฟล์ข้อมูล – Find File                                                                                                 การเก็บข้อมูลไฟล์ในระบบที่มีหน่วยบันทึกข้อมูลความจุสูงที่ใช้กันทุกวันนี้มีความสามารถเก็บข้อมูลได้นับหมื่นไฟล์ การเก็บข้อมูลมีการแบ่งโครงสร้างเป็นโฟลเดอร์ที่สามารถแตกออกไปได้หลายชั้น ด้วยจำนวนไฟล์ที่มีมาก และสามารถจัดแบ่งโฟลด์เดอร์ที่เก็บข้อมูลย่อยๆ บางครั้งเป็นการยากที่เราจะค้นหาไฟล์ข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้งานว่ามีอยู่หรือไม่และจัดเก็บไว้ในตำแหน่งใดโปรแกรมค้นหาไฟล์ข้อมูลเป็นยูติลิตี้ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้ว่ามีไฟล์ที่ต้องการเก็บอยู่หรือไม่และหากมีไฟล์นั้นอยู่มี่ตำแหน่งใด โดยระบุเงื่อนไขของไฟล์ที่ต้องการได้หลายเงื่อนไข เช่นกำหนดชื่อไฟล์หรือระบุเฉพาะบางส่วนของชื่อไฟล์ ชนิดของข้อมูลที่บรรจุอยู่ในไฟล์ ช่วงวันที่ที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลล่าสุด หรือระบุข้อมูลหรือข้อความที่อยู่ในไฟล์นั้น

    ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FINDFILE ในโนเวลล์เน็ตแวร์ คำสั่ง Find Files or Folders … ของวินโดว์ 98 เป็นต้น

    โปรแกรมช่วยลดขนาดไฟล์ในการจัดเก็บบันทึกให้เล็กลง – File Compression

    การจัดเก็บไฟล์ข้อมูลที่จะฝากเก็บไว้โดยยังไม่ได้ใช้งานสามารถบีบขนาดไฟล์ให้เล็กลงได้โดยใช้กระบวนการบีบอัดข้อมูลที่เรียกว่าดาต้าคอมเพรสชั่น (data compression) ซึ่งขนาดอาจลดลงได้มากถึง 90% คือใช้พื้นที่เก็บข้อมูลเพียง 10% ของขนาดข้อมูลจริง แล้วแต่ว่าข้อมูลนั้นมีความซ้ำกันเพียงใดหากซ้ำกันมากก็สามารถลดขนาดได้มาก ข้อมูลที่ถูกลดขนาดลงไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที หากต้องการนำกลับมาใช้งานจะต้องขยายขนาดข้อมูลกลับมาเท่าเดิมโดยใช้โปรแกรมขยายขนาดกลับมาเรียกว่าดีคอมเพรสชั่น (decompression) ซึ่งโปรแกรมยูติลิตี้ที่ช่วยในการลดขนาดข้อมูล จะมีคำสั่งสำหรับขยายขนาดข้อมูลกลับมาเป็นข้อมูลเท่าเดิมด้วย นอกจากนี้ยังสามารถบีบอัดและรวมข้อมูลหรือโปรแกรมจากหลายๆ ไฟล์เข้ามารวมไว้ในไฟล์เดียวกันเพื่อทำให้สะดวกในการคัดลอกหรือโอนถ่ายข้อมูลและโปรแกรมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอรตัวอย่างโปรแกรมยูติลิตี้สำหรับบีบอัดและขยายข้อมูลที่ถูกใช้งานกันมาก ได้แก่ PKZIP.EXE และ PKUNZIP.EXE เป็นโปรแกรมบีบอัดและขยายที่ทำงานบนเอ็มเอสดอส โปรแกรม WinZip ทำงานบนวินโดว์ โปรแกรม WinRAR เป็นต้น

    โปรแกรมช่วยคืนไฟล์ที่ถูกลบไปแล้ว – File Undelete

    ไฟล์ข้อมูลที่ถูกลบออกแล้วหากยังไม่มีการบันทึกข้อมูลใหม่ทับลงไปยังสามารถเรียกไฟล์เหล่านั้นกลับคืนมาได้ ซึ่งระบบปฏิบัติการในยุคปัจจุบันจะไม่บันทึกข้อมูลใหม่ทับตำแหน่งข้อมูลที่ถูกลบเว้นแต่จะไม่มีพื้นที่บันทึกข้อมูลว่างแล้ว หรือในระบบปฏิบัติการอาจมีวิธีนำข้อมูลที่ถูกลบไปเก็บไว้ในตำแหน่งที่เตรียมไว้ก่อน ซึ่งการเรียกข้อมูลที่ถูกลบทิ้งจะมีคำสั่งหรือโปรแกรมยูติลิตี้ช่วยดำเนินการ แต่ในระบบปฏิบัติการเช่นวินโดว์ 95/98 ได้รวมคำสั่งคืนไฟล์นี้เข้าเป็นคำสั่งของระบบปฏิบัติการตัวอย่างโปรแกรมสำหรับคืนไฟล์ที่ถูกลบ เช่น คำสั่ง UNDELETE.COM ในเอ็มเอสดอส คำสั่ง SALVAGE ในโนเวลล์เน็ตแวร์ หรือการใช้คำสั่ง Restore ใน Recycle Bin (ถังขยะเก็บไฟล์ที่ลบแล้วของวินโดว์)

    โปรแกรมช่วยทำข้อมูลสำรอง และนำคืนข้อมูลสำรอง – Backup and Recovery

    โปรแกรมยูติลิตี้ประเภทนี้จะทำการคัดลอกไฟล์ข้อมูลเก็บลงในสื่อ เช่นฟลอปปี้ดิสก์หรือเทป เพื่อใช้เป็นสื่อข้อมูลสำรองที่สามารถนำข้อมูลกลับคืนมาติดตั้งใหม่หากข้อมูลในหน่วยบันทึกข้อมูลเกิดเสียหายหรือสูญหายไป โปรแกรมสำรองข้อมูลบางโปรแกรมจะบันทึกข้อมูลสำรองแยกเป็นไฟล์ แต่บางโปรแกรมจะรวมข้อมูลที่สำคัญของดิสก์และระบบปฏิบัติการเป็นร่วมกันโดยไม่ได้คำนึงว่าไฟล์ใดบ้างและเก็บร่วมเป็นไฟล์เดียวกัน เรียกว่าดิสก์อิมเมจ (Disk Image) หากหน่วยบันทึกข้อมูลเสียไปก็สามารถถ่ายข้อมูลดิสก์อิมเมจที่สำรองไว้กลับลงมาได้เหมือนสภาพเดิมทันที

    ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Backup ของเอ็มเอสดอส และวินโดว์ 95 หรือ 98 โปรแกรม Norton Backup และ Colorado Backup เป็นต้น

    โปรแกรมช่วยซ่อมไฟล์ข้อมูลหรือพื้นที่ในการเก็บข้อมูลในดิสก์ – File and disk repair

    เมื่อเกิดปัญหาข้อมูลที่ถูกบันทึกในดิสก์เสียหาย หรือระบบการจัดเก็บไฟล์มีบางส่วนเกิดเสียหาย ทำงานไม่ปกติ โปรแกรมยูติลิตี้ด้านการตรวจสอบแก้ไขระบบไฟล์อาจถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาด้านนี้ ซึ่งการทำงานของโปรแกรมประเภทนี้คือจะอ่านแต่ละส่วนของระบบการจัดเก็บไฟล์ที่เรียกว่าไฟล์ซิสเต็ม (File System) เช่น ส่วนจัดเก็บชื่อไฟล์ ส่วนเชื่อมโยงไปยังเนื้อไฟล์ โครงสร้างการแบ่งไดเร็กทอรี่ และการจัดเก็บเนื้อที่ว่างบนดิสก์ หากพบว่ามีส่วนใดผิดปกติไม่ถูกต้อง จะแสดงรายการข้อผิดพลาดและถามให้ผู้ใช้เลือกว่าจะแก้ไขหรือไม่

    ตัวอย่างเช่น Scandisk ที่ทำงานบนเอ็มเอสดอส, Norton disk doctor ในวินโดว์ 95 / 98 เป็นต้น

    โปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส – Anti Virus

    ไวรัส (Virus) คือคำสั่งโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ฝังตัวอยู่ในโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบและจะทำการถ่ายทอดตัวเองไปยังโปรแกรมอื่นๆ และแพร่ตัวเองไปบนระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย แล้วทำให้เกิดความเสียหายแก่ไฟล์หรือดิสก์ของระบบนั้นๆ โดยการทำลายโปรแกรมและข้อมูล หรือไวรัสบางตัวอาจทำลายดิสก์ทั้งหมด ไวรัสจะแพร่หลายโดยการใช้โปรแกรมในดิสก์ร่วมกันหรือการใช้โปรแกรมที่โหลดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือจากอินเตอร์เน็ต

    โปรแกรมตรวจจับไวรัส (Anti-virus Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลทั้งฮาร์ดดิสก์ฟลอปปี้ดิสก์และหน่วยความจำเพื่อตรวจหาโปรแกรมไวรัส โดยโปรแกรมจะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบหากตรวจพบพฤติกรรมของไวรัสและบางโปรแกรมจะทำลายไวรัสให้ทันที

    ตัวอย่างโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้แก่ McAfee Virus Scan, Norton Antivirus, Virus Scan for Windows95 เป็นต้น

    โปรแกรมตรวจเช็คสภาพเครื่องทั้งฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ – System Diagnostic

    โปรแกรมยูติลิตี้ที่ช่วยตรวจสอบการทำงานของฮาร์ดแวร์ ซึ่งรวมถึง ซีพียู, หน่วยความจำ, ระบบแสดงผล, อุปกรณ์มัลติมีเดีย ว่ามีการทำงานเป็นปกติหรือไม่ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบปฏิบัติการว่ายังมีส่วนประกอบครบถ้วนและข้อมูลของระบบปฏิบัติการเองไม่เสียหายไปเนื่องจากระบบปฏิบัติการที่มีความซับซ้อน มีจำนวนไฟล์โปรแกรมและไฟล์ข้อมูลที่ใช้งานประกอบกันเป็นจำนวนมากบางครั้งอาจเกิดความเสียหายเนื่องจากการลบไฟล์ผิด การติดตั้งโปรแกรมใช้งานไม่สมบูรณ์หรือผิดรุ่น ก็อาจมีผลให้ระบบปฏิบัติการทำงานได้ไม่ถูกต้อง

    โปรแกรมตรวจเช็คสภาพเครื่องจึงมีประโยชน์ ใช้งานได้ทั้งในสภาวะปกติที่เราจะตรวจสอบก่อนที่จะเกิดปัญหาและเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เช่น เมื่อโปรแกรมทำงานไม่ได้ตามปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีส่วนของโปรแกรมที่ใช้ช่วยเหลือโปรแกรมต่างๆ ไม่ให้โปรแกรมหยุดทำงานเนื่องจากติดขัดด้วยสาเหตุบางอย่าง

    ตัวอย่างโปรแกรมตรวจสอบระบบ คือ WinCheckIT , และโปรแกรมที่อยู่ในชุดของ Norton Utilities เช่น Crash Guard 2.0 , Win Doctor, System Doctor เป็นต้น

    โปรแกรมตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากร – Resource utilization performance meter

    ยูติลิตี้นี้มีไว้ตรวจสอบว่ามีการใช้งานทรัพยากรของระบบมากเพียงใด โดยจะแสดงในรูปของตัวเลขเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น การใช้ซีพียู 75% หมายความว่าซีพียูถูกใช้งานประมาณ 75% และหยุดรอโดยไม่ทำงาน 25% หรือการใช้หน่วยความจำ 30% หมายความว่ายังมีเนื้อที่ว่างในหน่วยความจำเหลืออยู่อีก 70% เป็นต้น หรือแสดงในรูปกราฟที่ทำให้เราเห็นปริมาณการใช้งานที่ผ่านมาในระยะเวลาต่างๆ และยังอาจเก็บชุดตัวเลขเหล่านี้บันทึกลงในไฟล์เรียกว่าล๊อกไฟล์ (log file) เพื่อนำมาวิเคราะห์ในภายหลังได้ด้วย

    การตรวจสอบประสิทธิภาพจะมีประโยชน์มากกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นแม่ข่ายให้บริการแก่คอมพิวเตอร์อื่นๆ เพื่อจะดูว่าได้ใช้ความสามารถของแม่ข่ายนั้นในระดับใดหากใช้เกินกว่าปริมาณที่สมควร อาจจะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นหากใช้หน่วยความจำสูงมากอาจเพิ่มหน่วยความจำหรือหากใช้ซีพียูสูงตลอดเวลาก็อาจเปลี่ยนไปใช้ซีพียูที่เร็วขึ้นหรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลายซีพียู และอาจจะมีส่วนที่ทำหน้าที่วัดและแสดงปริมาณการใช้ทรัพยากรของระบบรวมถึงการแสดงผลของทรัพยากรที่เหลืออยู่

    ตัวอย่างเช่น Resource Meter, System monitor ในกลุ่มคำสั่ง Accessory ของวินโดว์ Norton System Doctor เป็นต้น

    โปรแกรมช่วยจัดระเบียบข้อมูลในดิสก์ – Disk defragmentation

    หากเป็นฮาร์ดดิสก์ที่เริ่มใช้งานใหม่หลังจากถูกฟอร์แมต ระบบปฏิบัติการจะจัดเก็บข้อมูลของไฟล์ไว้อย่างต่อเนื่องบนเนื้อดิสก์ แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ เช่นมีการลบไฟล์ เพิ่มข้อมูล ฯลฯ ข้อมูลใหม่ของไฟล์จะถูกกระจายไปยังเนื้อที่ว่างที่ยังไม่ได้ถูกใช้งาน ทำให้ข้อมูลในไฟล์ไม่ต่อเนื่องกัน การที่เนื้อหาของไฟล์เดียวกันถูกจัดเก็บกระโดข้ามตำแหน่งกันไม่อยู่ต่อเนื่องทำให้ประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลไฟล์นั้นลดลงเนื่องจากต้องใช้เวลาในการเลื่อนหัวอ่านข้อมูลของดิสก์ข้ามไปมาในระหว่างอ่านชุดของข้อมูล

    การจัดเก็บไฟล์ที่กระโดดข้ามไปมานั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานตามปกติซึ่งเรียกว่า ไฟล์ที่แบ่งแยกออกเป็นชิ้นเล็กน้อย (Fragmented file) คือไฟล์ที่ส่วนต่างๆ ของไฟล์กระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องกันอยู่บนดิสก์ ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลในไฟล์ต้องใช้เวลามากขึ้น

    โปรแกรมรวมรวมจัดระเบียบการจัดเก็บไฟล์ใหม่ (file defragmentation utility) เป็นโปรแกรมยูติลิตี้ที่ทำการจัดตำแหน่งเนื้อที่ในแต่ละไฟล์ให้มาอยู่ต่อเนื่องกัน เพื่อจะเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลในดิสก์ และบางโปรแกรมยังทำการจัดตำแหน่งไฟล์ให้อยู่ในตำแหน่งในดิสก์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยดูจากโอกาสในการถูกใช้งานมากน้อยเพียงใด หากเป็นกลุ่มไฟล์ที่จะถูกเรียกใช้งานบ่อยก็อาจนำมาวางเรียงกันในตำแหน่งใกล้กัน เพื่อไม่ให้หัวอ่านดิสก์ต้องเลื่อนตำแหน่งไปไกลมาก เป็นต้น

    ตัวอย่างเช่น โปรแกรมในชุดโปรแกรม Norton Utility ได้แก่ Speed Disk, Optimization Wizard คำสั่ง Disk Defragmenter ในกลุ่มคำสั่ง Accessory ของวินโดว์ เป็นต้น

    โปรแกรมกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ได้ใชังานในระบบ – Disk cleanup

    การสร้างประสิทธิภาพของการใช้ระบบประการหนึ่งคือการกำจัดข้อมูลที่ไม่ถูกใช้งาน ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่สร้างขึ้นชั่วคราวระหว่างการใช้โปรแกรมแล้วไม่ได้ถูกลบทิ้งเมื่อเลิกใช้ หรือข้อมูลที่มีอยู่ซ้ำซ้อนกันแต่เก็บในต่างตำแหน่งกัน ไฟล์ข้อมูลของระบบปฏิบัติการที่อาจไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งเมื่อมีข้อมูลที่ไร้ประโยชน์เก็บอยู่นอกจากจะทำให้เปลืองเนื้อที่บันทึกในดิสก์โดยเปล่าประโยชน์แล้วยังอาจกระทบต่อการสร้างประสิทธิภาพอื่นๆ เช่น การกระจายของข้อมูลที่เก็บในดิสก์ (fragmented file) การเลื่อนของหัวอ่านดิสก์ที่จะต้องเลื่อนไปในแทรกต่างๆ หากมีการเก็บข้อมูลมากจำนวนแทรกที่มีข้อมูลก็จะมากทำให้หัวอ่านมีโอกาสที่จะต้องเลื่อนไปมาไกลขึ้น

    โปรแกรมกวาดล้างข้อมูลส่วนเกิน (disk cleanup utility) จะตรวจสอบข้อมูลไฟล์ประเภทต่างและให้ผู้ใช้ได้เลือกว่าต้องการลบข้อมูลกลุ่มใดออกจากระบบ หรือให้เลือกแยกเป็นไฟล์ไปว่าไฟล์ใดต้องการลบออกบ้าง โดยจะแสดงชื่อไฟล์ที่น่าจะไม่ได้ถูกใช้งานออกมาให้เลือก

    ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ เช่น Disk Cleanup ในกลุ่ม Accessory ของวินโดว์ โปรแกรม Clean Sweep เป็นต้น

    โปรแกรมกำหนดเวลาทำงานอัตโนมัติให้แก่คอมพิวเตอร์ – Task scheduler

    ในการใช้งานคอมพิวเตอร์บางงานเราสามารถตั้งเวลาเริ่มต้นให้โปรแกรมทำงานได้โดยใช้โปรแกรมกำหนดเวลาทำงานซึ่งมักจะมีวิธีกำหนดได้หลายแบบ เช่นจะให้ทำงานทุกวันตามเวลา หรือทุกสัปดาห์ทุกเดือน ตามวันที่กำหนด (เช่น กำหนดทุกวันศุกร์ หรือทุกวันที่ 15 ของเดือน เป็นต้น) และอาจกำหนดเวลาให้หยุดทำงานได้ ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ เช่น เรียกใช้โปรแกรมตรวจสอบระบบ หรือสำรองข้อมูล โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

    ตัวอย่างเช่น task scheduler ในกลุ่ม Accessory ของวินโดว์ 95 / 98

    โปรแกรมช่วยสร้างขั้นตอนอัตโนมัติ (Script file)

    การสั่งให้โปรแกรมหรือคำสั่งทำงานตามลำดับโดยเราตั้งขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ เอาไว้ก่อนเมื่อต้องการให้เกิดการทำงานตามลำดับขั้นตอนก็จะเรียกเพียงคำสั่งเดียว ขั้นตอนที่ตั้งไว้ก็จะเริ่มทำงานตามลำดับได้โดยอัตโนมัติ

    ตัวอย่างเช่น การใช้ไฟล์ชนิดแบทช์ (Batch file) ในเอ็มเอสดอส สามารถกำหนดขั้นตอนการสั่งให้คำสั่งหรือโปรแกรมทำงานตามลำดับ ในวินโดว์ก็มีโปรแกรม Win Batch หรือในระบบยูนิกซ์ก็สามารถกำหนดไฟล์สคริปต์ได้เช่นเดียวกันกับไฟล์แบทช์ของเอ็มเอสดอส

    โปรแกรมเลียนแบบเทอร์มินอล (Terminal emulator)

    เครื่องพีซีเป็นคอมพิวเตอร์ที่นับว่ามีราคาต่ำและมีความสามารถสูงถูกนำไปใช้งานเพื่อเป็นเทอร์มินอลของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่แทนจอเทอร์มินอลที่ใช้เฉพาะ โดยการใช้โปรแกรมเลียนแบบจอเทอร์มินอล เพื่อทำให้พีซีรวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ยูนิกซ์สามารถต่อเชื่อมเข้ากับโฮสคอมพิวเตอร์โดยผ่านช่องทางอนุกรมตามมาตรฐานอาร์เอส 232 หรือระยะไกลผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์หรือผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งการใช้พีซีเป็นเทอร์มินอลจะมีความสามารถในการทำงานเป็นเทอร์มินอลได้สูงกว่าจอเทอร์มินอลที่ใช้เฉพาะ และยังมีราคาที่ถูกกว่าจอเทอร์มินอลตัวจริงเช่นกราฟิกเทอร์มินอลด้วย เนื่องจากมีปริมาณผลิตมากกว่า

    ตัวอย่างโปรแกรมเลี่ยนแบบเทอร์มินอล เช่น Smart Terminal ในวินโดว์ โปรแกรม Telnet ที่มีใช้ทั้งในระบบพีซีและยูนิกซ์

    โปรแกรมเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ (Computer to computer connection)

    โปรแกรมที่ช่วยสร้างการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ต่อเชื่อมกันระหว่างเครื่องต่อเครื่อง อาจต่อเชื่อมกันผ่านอุปกรณ์โมเด็มและสายโทรศัพท์ หรือต่อกันโดยพอร์ตและสายสัญญาณ ซึ่งอาจเป็นพอร์ตอนุกรมอาร์เอส 232 หรือพอร์ตขนานซึ่งปกติใช้กับเครื่องพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรืออาจใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งควบคุมเครื่องอื่นๆ ในการทำงานจากระยะไกล เป็นต้น

    ตัวอย่างเช่น Direct Cable Connection ในวินโดว์ โปรแกรม PCAnyWhere หรือโปรแกรม Kermit ในระบบยูนิกซ์ เป็นต้น

    โปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen saver)

    สกรีนเซฟเวอร์เป็นยูติลิตี้ช่วยป้องกันความเสียหายของจอภาพจากการแสดงภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลานาน เมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์แต่เปิดเครื่องเอาไว้จอภาพจะแสดงภาพอยู่นิ่งๆ ซึ่งการแสดงภาพเดียวนานๆ จะทำให้เกิดการเสื่อมของสารฟอสฟอรัสที่เคลือบจอนั้น โปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์จะเริ่มทำงานตามอัตโนมัติถ้าภาพที่อยู่บนจอภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะกำหนดได้ โดยจะแสดงภาพต่างๆ บนหน้าจอที่มีการเปลี่ยนแปลงของภาพแทนการแสดงผลเดิม เพื่อให้มีการยิงลำแสงไปที่ทุกจุดบนจอภาพอย่างทั่วถึง ช่วยลดการมัวของจอภาพโดยลดความสว่างของจอภาพลงหรือแสดงภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพ

    ตัวอย่างสกรีนเซฟเวอร์ที่หน้าสนใจได้แก่ After Dark, Corel Reel, Looney Toon, Disney Screen saver เป็นต้น

    ยูทิลิตี้ระบบ มีอะไรบ้าง

    1 โปรแกรมยูทิลิตี้ สําหรับระบบปฏิบัติการ ได้แก่ - ประเภทการจัดการไฟล์ (File Management) - ประเภทถอนการติดตั้ง (Uninstaller) - ประเภทการหาข้อผิดพลาดของดิสก์ (Scandisk) - ประเภทการจัดการพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล (Disk Defragment)

    ยูทิลิตี้แบ่งเป็น 2 ประเภทอะไรบ้าง *

    นิยมเรียกสั้นๆว่า ยูทิลิตี้ (Utility) แบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักๆคือ  ยูทิลิตี้ส าหรับระบบปฏิบัติการ (OS Utility Programs)  ยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand-Alone Utility Programs)

    ข้อใดต่อไปนี้ จัดเป็นโปรแกรมยูทิลิตี้เพื่อการบีบอัดไฟล์

    โปรแกรมบีบอัดไฟล์( File Compression Utility ) เป็นลักษณะของโปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลงนั้นเอง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์นี้บางครั้งนิยมเรียกว่า ซิปไฟล์( zip files ) ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น PKZip, Winzip เป็นต้น และแม้ในตัว Windows XP เองก็มีความสามารถในการบีบอัดไฟล์ ...

    ข้อใดเป็นหน้าที่ของโปรแกรม Defragment

    Disk Defragment คือ การจัดข้อมูลต่างๆ ที่บันทึก ลงไปใน Harddisk ให้เป็นระเบียบ เนื่องจาก เมื่อมีการติดตั้งโปรแกรม เพิ่ม หรือ ลบ ข้อมูลต่างๆ ลงไป ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจาย ใน Harddisk ทำให้การอ่านข้อมูลช้าลง การใช้งาน Defragmenter นั้น จะช่วยให้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นระเบียบ ส่งผลให้ Harddisk เรียกหา ...