การอนุรักษ์ ดนตรี นาฏศิลป์ไทย

ใช้เป็นวิชาชีพ ผู้ที่ศึกษาวิชานาฏศิลป์ อย่างจัดเจน ชำนิชำนาญ สามารถยึดเป็นอาชีพได้ เพราะในกิจกรรมต่าง ๆ วิชานาฏศิลป์เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่เสมอ

2. เป็นการบริหารร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะวิชานาฏศิลป์นั้น ในขณะฝึกหัดนัยว่าเป็นการออกกำลังกายอย่างดีเยี่ยม ได้บริหารร่างกายทั่วทุกส่วน


·         ประโยชน์ทางอ้อม

1. นาฏศิลป์ช่วยให้ผู้เรียนมีจิตใจอ่อนโยน มีสติ และมีสมาธิที่ มั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งรอบข้าง ซึ่งทำให้ผู้นั้นมีความสามารถในขณะปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้ผลมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นช่วยผ่อนคลายและความเครียดของจิตใจ ดังจะเห็นได้ว่า ศิลปินในแขนงนี้มีอายุยืนยาว มีสุขภาพดีเป็นส่วนมาก

2. ช่วยปรับปรุงบุคลิกภาพให้งดงามยิ่งขึ้น ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์จะมีลักษณะพิเศษเห็นได้เด่นชัด อาทิ ขณะเวลานั่ง หรือ ยืน จะสง่างาม เพราะได้รับการฝึกฝนวิธีการนั่งยืนมาเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันเป็นผู้ที่รู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ตื่นตระหนก และกล้าที่จะแสดงออก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นผลจากประสบการณ์ในการแสดงทั้งสิ้น



การอนุรักษ์ ดนตรี นาฏศิลป์ไทย

ที่มารูป : https://sites.google.com/site/nangsawkalyasukhci/prayochn-khxng-natsilp




แนวทางการอนุรักษ์นาฏศิลป์

 ๑. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ  ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็น  ภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน 

 ๒. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและ ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและ  วัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์  ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือ  พิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความ  รู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย 

 ๓. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมา  ทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทาง  จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม 

 ๔. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 

๕. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ 

๖. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 

๗. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก 

๘. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่อง

‘เครื่องดนตรีไทย’ จัดเป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของคนไทย ได้สร้างสมเอาไว้ จนกลายเป็นเครื่องหมาย เป็นเอกลักษณ์ อีกอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของชนชาติไทย เฉกเช่นเดียวกับ ภาษา, ศิลปะ, อาหาร รวมทั้งวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นเราถือเป็นลูกหลาน ก็สมควรที่จะเกิดความภาคภูมิใจ พร้อมช่วยกันส่งเสริมรักษาดนตรีไทยไว้ให้ดำรงอยู่สืบไป

แนวทางในการอนุรักษ์ดนตรีไทย ให้คงอยู่สืบต่อไป

สำหรับแนวทางการรักษาดนตรีไทย จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือ ร่วมใจ ของคนไทยทุกคน โดยมีวิธีการ ได้แก่…

  • ศึกษา, ค้นคว้า รวมทั้งวิจัยดนตรีไทยอย่างเจาะลึก เก็บไว้เป็นระเบียบ สามารถนำมาอ่านได้ แบบที่มีการเก็บข้อมูลเอาไว้แล้ว และยังไม่ได้มีการศึกษา เพื่อทำให้ทราบถึงความหมาย รวมทั้งความสำคัญของดนตรีไทย อันเป็นมรดกของไทยอย่างแท้จริง โดยองค์ความรู้ดังกล่าวจัดเป็นรากฐานที่สำคัญของการมองเห็นคุณค่า ก่อให้เกิดการยอมรับ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต
  • ส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย เห็นคุณค่า ช่วยกันรักษาเอกลักษณ์ทางดนตรี อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจ ให้แก่ประชาชนในการยอมรับให้มากขึ้น ด้วยความเหมาะสม
  • รณรงค์ให้ประชาชน เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกัน ตลอดจนประสานงานรื่นเริง รวมทั้งทุนทรัพย์ในการจัดกิจกรรมทางด้านดนตรีไทย
  • ส่งเสริม – แลกเปลี่ยนดนตรีภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
  • เสริมสร้างทัศนคติ, องค์ความรู้, ความเข้าใจว่า ประชาชนทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง, ฟื้นฟู ตลอดจนดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทยอันเป็นสมบัติของชาติ
  • ปลูกฝังความคิดอันดีงามต่อดนตรีไทย ให้แก่กลุ่มประชาชนที่ยังอยู่ในวันเยาว์ ตั้งแต่เด็กเล็ก ไปยันเยาวชนให้พวกเขา มองเห็นว่าดนตรีไทย ไม่ได้เป็นเพียงดนตรีที่ล้าสมัยเท่านั้น หากแต่เป็นดนตรีที่เด็กและเยาวชนไทยทุกคนควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ อันเนื่องจากเป็นสมบัติของประเทศไทยที่มีมาแต่ช้านาน
  • ช่วยกันสร้างสรรค์ไอเดีย พัฒนา พร้อมผสมผสานดนตรีไทยแบบดั้งเดิม ให้เข้ากับเพลงสมัยใหม่ เช่น นำเครื่องดนตรีไทยมาผสมผสานให้เข้ากับเครื่องดนตรีสากล เป็นต้น
  • เผยแพร่ความรู้ในเรื่องของดนตรีไทยในสื่อต่างๆ เช่น สื่อวิทยุ, โทรทัศน์ Internet เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสสัมผัสหรือทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีไทยมากยิ่งขึ้น

สรุปแล้ว แนวทางการอนุรักษ์ พร้อมพัฒนามรดกวัฒนธรรมทางดนตรีไทย, ดนตรีพื้นบ้าน ให้เกิดความบรรลุผลได้อย่างดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพลังของทุกคนผู้เป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรม โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นพลังคนรุ่นใหม่ของชาติ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติไทย เมื่อเยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจ ร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ก็เท่ากับเป็นการรักษาให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็งตามไปด้วย