อุปสรรคทางการค้า Trade Barrier คืออะไร


มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers/Non-tariff Measures) หมายความถึงมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐบาลที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศได้แก่ มาตรการกึ่งภาษีอากร การควบคุมราคา การควบคุมปริมาณข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าบางชนิด การตรวจสอบคุณภาพสินค้า การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า
มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non- tariff barriers) นั้น มักจะ ไม่ชัดเจนแต่มีผลกระทบต่อการค้าได้มากกว่าการจัดเก็บภาษีขาเข้า ในปี ค.ศ.1986 พบว่ามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีนั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อมูลค่าการนำเข้า ผลิตภัณฑ์อาหารในตลาดโลก ได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์
มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non- tariff barriers) มีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่
1. การเรียกเก็บภาษี ที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (Non- tariff barriers) เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) ภาษีธุรกิจ (business taxes) ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีที่นอกเหนือไปจากภาษีศุลกากร (customs duties) ที่มีการเรียกเก็บกันโดยปกติของการค้าระหว่างประเทศ
2. การจำกัดปริมาณนำเข้า (Quantitative restrictions on imports) รวมถึงการออกใบอนุญาตนำเข้า (non-automatic licensing) การกำหนดสัดส่วนของชิ้นส่วนภายในประเทศ (local content requirements) การห้ามการนำเข้า(prohibited imports) การกำหนดโควตาการนำเข้า (trade quotas) และการจำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ (voluntary export restrictions)
3. การกำหนดเกี่ยวกับสุขอนามัยและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (sanitary and phytosanitary regulations)
4. การห้ามนำเข้า (Import Prohibitions)
5. การกำหนดเกี่ยวกับการปิดฉลากสินค้า
6. การกำหนดมาตรฐานสินค้าที่มีความแตกต่างไปจากมาตรฐานสากลที่เป็นบรรทัดฐานของการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศ คู่ค้าที่มีมาตรฐานการผลิตอยู่บนพื้นฐานของระบบมาตรฐานสากลระหว่างประเทศไม่สามารถส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในตลาดของประเทศตนได้
มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีประเทศสหรัฐอเมริกา
การส่งสินค้าออกของประเทศคู่ค้าต่างๆ ไปยังตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหานานาประการ เช่น ค่าธรรมเนียมศุลกากร และค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตนำเข้า ซึ่งสหรัฐฯ ได้กำหนดขึ้นและเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่สินค้าส่งออกของประเทศคู่ค้า กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกามีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เช่น Helms-Burton Act และ Section 301 อันเป็นนโยบายการค้าแต่เพียงฝ่ายเดียว และมีการนำมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นประเทศคู่ค้าไม่ให้มีทางเลือก นอกเสียจากว่าการเจรจาต่อรองที่มีพื้นฐานอยู่บน เงื่อนไขซึ่งกำหนดขึ้นมาโดยสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
สหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานของสินค้าที่แตกต่างไปจากบรรทัดฐานของการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลให้สินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศคู่ค้าซึ่งมีบรรทัดฐานอยู่บนมาตรฐานสากลระหว่างประเทศไม่สามารถเข้าไปจำหน่ายภายในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ปัญหาทางการค้าที่ก่อความยุ่งยากอื่นๆ ได้แก่ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปิดฉลากสินค้ารวมทั้งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชการปิดฉลากสินค้า
ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการกำหนดการปิดฉลากสินค้าต่าง ๆ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barrier to Trade : TBT) ดังต่อไปนี้ การปิดฉลากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
สหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องหนังที่นำเข้ามาจำหน่ายภายในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา จะต้องมีการปิดฉลากเพื่อแสดงชื่อของประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด (country of origin) ของผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องหนัง นั้น
ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอทุกประเภทที่มีการนำเข้ามาจำหน่ายภายในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องมีการแสดงชื่อ (generic name) ของเส้นใยที่ใช้เป็น วัตถุดิบด้วยจำนวนตัวเลขสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของส่วนประกอบเส้นใยที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอนั้น ถ้าหากว่าเส้นใยดังกล่าวมีสัดส่วนผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์มากเกินกว่า 5.0 เปอร์เซ็นต์
กฎหมาย Wool Products Labelling Act of 1939 กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ ผ้าขนสัตว์ (wool products) ที่มีส่วนประกอบของเส้นใยจากขนสัตว์ (woollen fibre) จะต้องแสดงเครื่องหมายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ ยกเว้นผลิตภัณฑ์ ดังต่อไปนี้ คือ
พรม (carpets) ผ้าห่มชนิดหนา (rug) พรมผืนเล็กๆ สำหรับปูหน้าเตียงหรือหน้าเตาผิง เสื่อ พรมเช็ดเท้า(mat) เครื่องผ้าและเครื่องหนังต่างๆ (upholster) ที่ใช้ในการตกแต่งบ้าน เช่น หนังหุ้มเก้าอี้และเครื่องเบาะ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ผ้าขนสัตว์ที่มีอายุการผลิตนานเกินกว่า 20 ปี ก่อนที่จะมีการนำเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าขนสัตว์เพื่อกันหนาว (fur product) ก็จะต้องได้รับการปิดฉลากให้ถูกต้องเช่นเดียวกันตามกฎหมาย Fur Products Labelling Act การปิดฉลากสินค้ารถยนต์
American Automobile Labelling Act
เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์โดยสารและยานพาหนะอื่นๆ จะต้องมีการปิดฉลากเพื่อแสดงสัดส่วนของชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีการผลิตขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมถึงแหล่งสุดท้ายที่รถยนต์ได้รับการประกอบอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้รถยนต์โดยสารยังต้องได้รับการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของเครื่องยนต์ (engines) และเครื่องถ่ายกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังล้อรถ (gearboxes)การปิดฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร
การปิดฉลากผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการ เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการวางจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Food and Drug Administration (FDA) ซึ่งดำเนินการดูแลเกี่ยวกับ คุณภาพของอาหารเพื่อความปลอดภัยต่อการบริโภคและการปิดฉลากผลิตภัณฑ์อาหารอย่างถูกต้องเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคชาวอเมริกัน สำหรับบทบาทและหน้าที่ของ FDA มีโดยย่อดังต่อไปนี้ คือ
ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ FDA ได้แก่ เนื้อสุกร เนื้อปลา และ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ปีกน้อยกว่า 3% หรือประกอบด้วยเนื้อวัวอย่างน้อย 5%
ผลิตภัณฑ์อาหารที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อผ่านการตรวจสอบของด่านศุลกากรแล้ว ก็จะมีการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดย FDA ก่อนที่สินค้าดังกล่าวจะมีการวางจำหน่ายในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ผ่านการตรวจสอบทาง FDA มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ก. แจ้งให้ผู้นำเข้าทราบถึงการกักกันสินค้าและให้ผู้นำเข้าแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 60 วัน โดยที่ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
ข. ทำลายสินค้านั้น ถ้าหากว่าการเก็บรักษาไว้จะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง เช่น มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ FDA จะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการวางจำหน่ายอยู่ในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าตรวจพบสินค้าที่มีการปิดฉลาก ไม่ถูกต้องก็จะดำเนินการสั่งห้ามจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในตลาดต่อไปข้อกำหนดเกี่ยวกับการปิดฉลากผลิตภัณฑ์อาหารของ U.S.A.
ฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการวางจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องประกอบด้วยข้อความต่อไปนี้ ได้แก่
ก. ชื่อของผลิตภัณฑ์อาหาร
ข. ชื่อและที่อยู่ของ ผู้ผลิต ผู้บรรจุหีบห่อ หรือ ผู้แทนจำหน่าย
ค. ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์อาหาร
ง. รายงานส่วนประกอบของอาหาร (Ingredient list)
จ. คุณค่าทางโภชนาการของอาหาร (Nutrition Facts)
การอุดหนุนการส่งออก
ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดโครงการอุดหนุนและส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยนโยบายการส่งออกต่างๆ เช่น กฎหมาย Farm Bill, Market Promotion Program (MPP) และ ฯลฯ
Export Enhancement Program (EEP) เป็นโครงการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ผู้ส่งออกสินค้าของสหรัฐฯ สามารถขอเงินชดเชยในการผลิตสินค้า แข่งขันกับสินค้าส่งออกของประเทศคู่ค้าอื่นๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับเงินชดเชยการส่งออกจากรัฐบาลของประเทศนั้น
Dairy Export Incentive Program (DEIP) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์นมของประเทศสหรัฐอเมริกา
Market Access Program เป็นโครงการที่รัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเสนอให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินทุนเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการตลาดสำหรับ ผลิตภัณฑ์เกษตรในตลาดส่งออกที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะ
Farm Bill เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รัฐบาลสหรัฐฯ มีสิทธิที่จะจัดสรรเงินเพื่ออุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 1996-2002 เป็นจำนวนเงินเท่ากับ 90 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี
Emerging Market Program เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้กฎหมาย Farm Bill ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (technical assistance) ในการส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 1996-2002 เป็นจำนวนเงินเท่ากับ 10 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี
Export Credit Guarantee Program เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเป็นผู้รับรองสินเชื่อระยะปานกลางและสินเชื่อระยะสั้นให้แก่ธนาคารพาณิชย์ผู้ให้บริการด้านสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่มีการกู้ยืมกันโดยปกติของธนาคารพาณิชย์ โครงการนี้มีเป้าหมายในการรับรองสินเชื่อให้แก่ประเทศที่มีศักยภาพในการชดใช้หนี้สินคืนแก่สถาบันการเงินผู้ให้บริการด้านสินเชื่อ และนับว่าเป็นนโยบายหลักในการส่งออกสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา (USDA)
Export Credit Guarantee Program แบ่งออกเป็น 2 โครงการ ได้แก่
GSM-102 เป็นโครงการเงินกู้ระยะสั้นที่มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ภายในระยะเวลา 6 เดือนถึง 3 ปี
GSM -103 เป็นโครงการเงินกู้ระยะปานกลาง (medium term) ที่มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ภายในระยะเวลา 3 ปี ถึง 10 ปี
การห้ามนำเข้า (Import Prohibitions)
ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์บางประเภทด้วยเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ผลิตภัณฑ์ปลาทูนา
กฎหมาย MMPA (The Marine Mammal Portection Act of 1972) ของประเทศสหรัฐอเมริกามีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แก่ ปลาโลมา
สหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการในการป้องกันการเสียชีวิตของปลาโลมาจากการจับปลาทูนาให้มีผลบังคับใช้ต่อผู้ประกอบการจับปลาทูนาในทะเลแถบมหาสมุทรแปซิฟิค ชายฝั่งด้านตะวันออก (Eastern Tropical Pacific (ETP) Ocean) และสหรัฐอเมริกาจะห้ามการนำเข้าปลาทูนาครีบเหลืองจากประเทศอื่นๆ ที่มีมาตรฐานการคุ้มครอง ชีวิตปลาโลมาต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยประเทศสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาได้นำเอาข้อตกลงการอนุรักษ์ปลาโลมาระหว่างประเทศ (Agreement on the International Dolphin Conservation Program, IDCP) มาใช้นับตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 1999 เป็นต้นมา โดยที่สหรัฐอเมริกาจะอนุญาตให้มีการนำเข้าปลาทูนาที่จับได้จากการประมงซึ่งปฏิบัติตามข้อตกลง IDCP และไม่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของปลาโลมาจากวิธีการจับปลาทูนา
นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ปลาทูนาซึ่งผลิตขึ้นมาโดยใช้ปลาทูนาที่จับได้จากขบวนการประมงและไม่ก่อให้เกิดการทำลายชีวิตของปลาโลมา จะต้องมีการปิดฉลากเพื่อแสดงข้อความบนฉลากของผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ "dolphin-safe"
สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งระบบการออกใบรับรองแหล่งกำเนิด (Certificates of Origin) ของปลาทูนาครีบเหลืองที่จับได้จากทะเลในแถบมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันออกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 1992 เป็นต้นมาผลิตภัณฑ์กุ้ง
ตามกฎหมาย (section 609 of Public Law 101-162 n) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศผู้ส่งออกที่ไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่ามีการใช้แหอวนในการจับกุ้งอย่างมีความสอดคล้องกับมาตรการอนุรักษ์เต่าทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น การจับกุ้งโดยมีการคัดแยกเต่าทะเลออกไป (sea turtle excluder program) หรือการประมงเพื่อการจับกุ้ง (fishing for cold water shrimp only)ผลิตภัณฑ์นม (Dairy Products)
ประเทศสหรัฐอเมริกาห้ามไม่ให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมซึ่งผลิตจากน้ำนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าทำลายเชื้อโรคด้วยวิธีการพาสเจอร์ไรซ์ (unpasteurised milk) เช่น เนยแข็ง (soft cheese) และ ฯลฯ
Import Milk Act เป็นกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ห้ามไม่ให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์นม (fresh dairy products) บางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว (yoghurts) เป็นต้น
โครงการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตร
(Pre-clearance inspection programme)
โครงการนี้จัดตั้งขึ้นด้วยกฎหมาย (Code of Federal Regulations of 1996, Title 7, Subtitle B, Ch. III, 319-56-2r) เป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อให้มีการรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกษตรประเภทผลไม้เป็นสินค้าที่ปราศจากแมลงศัตรูพืช เช่น แมลงกินใบของผลไม้จำพวกลูกแพร์ (pear leaf blister moth) และผลิตภัณฑ์เกษตรประเภทผลไม้ที่สามารถส่งเข้ามาจำหน่ายภายในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกาได้จะต้องเป็นผลไม้ที่ปราศจากแมลงที่ไม่มีปรากฎอยู่ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือเป็นผลไม้ที่ปราศจากแมลงศัตรูพืชที่ไม่มีการแพร่ระบาดอยู่ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา
การกำหนดเขตปลอดเชื้อโรค
(Pathogen free regions)
เป็นการกำหนดเขตปลอดเชื้อโรค ภายใต้กฎหมาย (Code of Federal Regulations of 1996, Title 7, Subtitle B, Ch III, 319-56-2) นี้ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้มีการนำเข้าผลไม้และผักได้เฉพาะผลไม้และผักที่เพาะปลูกมาจากพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลอดเชื้อโรค (pathogen free areas) และจะห้ามการนำเข้าผลไม้และผักจาก พื้นที่เพาะปลูกการเกษตรที่มีการแพร่ระบาดของโรคพืชและแมลงศัตรูพืช เช่น การห้ามนำเข้ามะเขือเทศจากเมือง Brittany ประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากว่ามีการแพร่ระบาดของ Mediterranean Fruit Fly ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนส่วนที่เป็นชายฝั่งของประเทศฝรั่งเศส
Non-comminglement เป็นมาตรการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่นำเข้ามาจำหน่ายภายในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกาได้จะต้องเป็นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากประเทศผู้ส่งออกที่ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกาว่าเป็นประเทศที่ปราศจากโรคสัตว์ ซึ่งกำหนดขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้การนำเข้า ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์จากประเทศที่ปราศจากโรคสัตว์จะต้องเป็นสินค้าที่ไม่มีการปะปนกับเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากประเทศที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกาว่าเป็นเขตปลอดโรคสัตว์การกำหนดแหล่งกำเนิดของสินค้าสิ่งทอ(Origin Rules)
สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการทบทวนกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดของสินค้าสิ่งทอและผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 1996
กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดของสินค้าสิ่งทอและผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มนี้ได้กำหนดให้มีการปิดฉลากเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่นำเข้ามาจำหน่ายภายในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปนำเข้าผ้าไหม(silk) ผ้าใยสังเคราะห์ และผ้าผืน (grey cloth made of cotton) เพื่อดำเนินการย้อมและพิมพ์สีให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มในรูปแบบต่างๆ ภายในสหภาพยุโรปแล้ว จึงได้ส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเหล่านี้ไปจำหน่ายยังตลาดภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ ดังกล่าวนี้ ผู้ผลิตของสหภาพยุโรปไม่สามารถกำหนดแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์บนฉลากสินค้าได้ว่าเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสหภาพยุโรป แต่จะต้องกำหนดแหล่งกำเนิดของสินค้าไว้บนฉลากด้วยข้อความที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศผู้ผลิตสิ่งทอเหล่านั้น
การกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าสิ่งทอของสหรัฐอเมริกามีผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอของประเทศคู่ค้าในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ เช่น สหภาพยุโรปนำเข้าผ้า ที่ผลิตขึ้นมาด้วยวัตถุดิบประเภทฝ้าย ไหม หรือใยสังเคราะห์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้วนำมาย้อมสีและพิมพ์ลวดลายบนเนื้อผ้า พร้อมทั้งดำเนินการตัดเย็บให้เป็นผ้าพันคอ(scarves) ผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอที่สหภาพยุโรปผลิตขึ้นมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปจากวัตถุดิบซึ่งนำเข้ามาจากประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอดังกล่าวไปจำหน่ายยังตลาดภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอนี้จะต้องมีการปิดฉลากเพื่อแสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้าด้วยข้อความบนฉลากดังต่อไปนี้ คือ "Made in China" การเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมนอกจากภาษีขาเข้ารถยนต์ (Automotive)
สหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้มีการเรียกเก็บภาษีจากการจำหน่ายรถยนต์ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีที่นอกเหนือไปจากภาษีอากรขาเข้าตามวิธีปฏิบัติด้านการค้าระหว่างประเทศโดยปกติทั่วไป
การเรียกเก็บภาษีจากการจำหน่ายรถยนต์ภายในตลาดของประเทศสหรัฐ อเมริกามีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. Luxury Tax เป็นการเรียกเก็บภาษีอากรโดยมีหลักเกณฑ์ในการเรียกเก็บภาษีอากรจากมูลค่าของรถยนต์ที่มีราคาสูงกว่าราคาขั้นสูงที่ได้กำหนดไว้ ในปี ค.ศ.1999 ได้มีการกำหนดให้รถยนต์ที่มีราคาสูงกว่า 36,000 ดอลล่าร์สหรัฐ จะต้องมีการเสียภาษีในอัตรา 6 เปอร์เซ็นต์ และอัตราภาษีจะลดลงตามลำดับดังต่อไปนี้ ค.ศ. Luxury Tax (เปอร์เซ็นต์) 2000 5 2001 4 2002 3
Luxury Tax จะถูกยกเลิกไปในปี ค.ศ. 2003
2. Corporate Average Fuel Economy (CAFE) Payment เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ผลิตรถยนต์ หรือผู้นำเข้ารถยนต์ ซึ่งเป็นรถยนต์ที่มีการประหยัดเชื้อเพลิงต่ำกว่าระดับที่ได้กำหนดไว้ โดยในปี ค.ศ. 1999 รัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้รถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนโดยการใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่มากกว่า 27.5 ไมล์ต่อแกลลอน รถยนต์ดังกล่าวจะต้องถูกเรียกเก็บ CAFE Payment
3. Gas Guzzler Tax เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากรถยนต์ที่มีคุณสมบัติด้านการประหยัดพลังงานไม่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดขององค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (US Environmental Protection Agency, EPA) ซึ่งในปี ค.ศ.1999 ได้มีการกำหนดให้รถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนโดยการใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่มากกว่า 22.5 ไมล์ต่อแกลลอน จะต้องถูกเรียกเก็บ Gas Guzzler Tax อัตราภาษีจะอยู่ในช่วงระหว่าง 1,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อรถยนต์หนึ่งคัน เป็นขั้นต่ำจนถึงอัตราภาษีขั้นสูงสุดเท่ากับ 7,700 ดอลล่าร์สหรัฐต่อรถยนต์หนึ่งคัน
Foreign Comparative Test (FCT) เป็นการทดสอบคุณภาพสินค้าสำหรับพิจารณาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการผลิตขึ้นภายในประเทศสหรัฐอเมริกาการอุดหนุนภายใน
รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการเพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการประเภทต่างๆ ภายในประเทศให้มีศักยภาพมากเพียงพอใน การแข่งขันกับสินค้าที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยการกำหนดนโยบายดังต่อไปนี้
Buy America Act (BAA) เป็นพระราชบัญญัติที่กำหนดการใช้เงินในการซื้อสินค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น การห้ามหน่วยงานของรัฐบาลซื้อสินค้าและใช้บริการที่มีแหล่งผลิตจากต่างประเทศ หรือกำหนดให้หน่วยงานของรัฐบาลจะต้องจัดซื้อสินค้าที่มีส่วนประกอบภายในประเทศอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์
กระทรวงคมนาคมของประเทศสหรัฐอเมริกา (Department of Transportation, DOT) ได้กำหนดพระราชบัญญัติขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับ Buy America Act ได้แก่ Highway Administration Act, Urban Mass Transit Act และ Airports Improvements Act เป็นต้น
นอกจากนี้รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่างๆ ยังได้กำหนดนโยบาย Buy America หรือ "buy local" เช่นกัน ตัวอย่างเช่น รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐนิวเจอร์ซี่ (New Jersey State) กำหนดให้โครงการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ใช้งบประมาณของรัฐบาลท้องถิ่น (State Funds) จะต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่มีแหล่งกำเนิดภายในรัฐนิวเจอร์ซี่ เช่น การใช้ปูนซีเมนต์ที่ผลิตขึ้นภายในรัฐ ในกรณีที่เป็นการก่อสร้างใน โครงการที่ใช้เงินงบประมาณจากรัฐบาลกลาง (federal funding) เช่น โครงการขนส่งมวลชนและทางด่วน (mass transit and highway projects) การใช้งบประมาณให้ดำเนินการไปตามพระราชบัญญัติ Buy America Act การให้ความช่วยเหลือต่อธุรกิจขนาดย่อม (Set - aside for small businesses)
รัฐบาลกลาง (Federal Government) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้พยายามสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจขนาดย่อมภายในประเทศ เช่น การจัดหาเงินกู้ (loans & grants) การจัดตั้งโครงการพัฒนาธุรกิจขนาดย่อม การกำหนดเงื่อนไขพิเศษสำหรับธุรกิจขนาดย่อมในการดำเนินธุรกิจด้วยการกำหนดข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษจาก ข้อกำหนดของรัฐบาลกลาง (Government Procurement Agreement, GPA)
Small Business Act of 1953 เป็นพระราชบัญญัติกำหนดให้การว่าจ้างหรือการทำสัญญาว่าจ้างของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (US Federal Government Contracts) ให้มีการพิจารณาว่าจ้างธุรกิจขนาดย่อมในกรณีที่การว่าจ้างหรือการทำสัญญาว่าจ้างนั้นมีมูลค่าไม่สูงมากนัก
การกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของธุรกิจขนาดย่อมโดยรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา มีดังต่อไปนี้
ธุรกิจขนาดย่อม (Small Businesses) หมายความถึง องค์กรธุรกิจที่มีสถานประกอบการอยู่ภายในอาณาเขตของประเทศสหรัฐอเมริกาและเกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แก่ธุรกรรม ดังต่อไปนี้ คือ การเสียภาษี การใช้วัตถุดิบ การใช้ผลิตภัณฑ์ และ การว่าจ้างแรงงาน
ธุรกิจขนาดย่อมในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้ากำหนดให้มีการว่าจ้าง แรงงานไม่มากเกินกว่า 500 คน หรือน้อยกว่า 500 คน แต่ธุรกิจขนาดย่อมในอุตสาหกรรมบางประเภทกำหนดให้มีการว่าจ้างแรงงานได้มากกว่า 500 คน แต่ไม่มากเกินกว่า 750 คน ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าต่างๆ คือ เยื่อกระดาษ (pulp) กล่องกระดาษ (paper boxes) ภาชนะแก้ว (glass containers) หม้อแปลงไฟฟ้า (transformers) สะพานไฟ (switchgear) ระบบการนำร่องในการเดินเรือ (navigation guidance systems) และ ฯลฯ
ธุรกิจขนาดย่อมในอุตสาหกรรมบางประเภทกำหนดให้มีการว่าจ้าง แรงงานได้มากเกินกว่า 750 คน แต่ไม่มากกว่า 1,000 คน ได้แก่ อุตสาหกรรมผู้ผลิต สินค้าดังต่อไปนี้ สารเคมี และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี (chemicals and allied products) ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ (tyres and inner tubes) ผลิตภัณฑ์กระจก (flat glass) ผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม (gypsum products) เหล็กกล้า (steel) ผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า (steel products) เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computers) เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generators) โทรศัพท์ มอเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์โทรเลข และ ฯลฯ
Harbour Maintenance Tax กรมศุลกากรของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการเรียกเก็บภาษี (Harbour Maintenance Tax, HMT) สำหรับสินค้าทุกประเภททุกชนิดที่นำเข้าและส่งออกโดยทางน้ำ (waterborne imports) เป็นภาษีที่เรียกเก็บตามมูลค่าในอัตรา 0.125% ของมูลค่าสินค้า เงินภาษีที่เก็บได้นี้จะถือว่าเป็นรายได้ของกองทุนเพื่อการพัฒนาท่าเรือและร่องน้ำ (Harbour Maintenance Trust Fund) ซึ่งจะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และจัดการท่าเรือ และร่องน้ำเพื่อการเดินเรือในบริเวณปากอ่าวของท่าเรือ
สำนักพัฒนานโยบาย มาตรการและระบบสารสนเทศ
กรมการค้าต่างประเทศ--จบ--
-อน-
มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีประเทศสหรัฐอเมริกา
สำนักพัฒนานโยบาย มาตรการ และระบบสารสนเทศกรมการค้าต่างประเทศ
คำนำ
การส่งสินค้าออกของประเทศคู่ค้าต่างๆ ไปยังตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหานานาประการ เช่น ค่าธรรมเนียมศุลกากร และค่า ธรรมเนียมในการขออนุญาตนำเข้า ซึ่งสหรัฐฯ ได้กำหนดขึ้นและเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่สินค้าส่งออกของประเทศคู่ค้า กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกามีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เช่น Helms-Burton Act และ Section 301 อันเป็นนโยบายการค้าแต่เพียงฝ่ายเดียว และมีการนำมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นประเทศคู่ค้าไม่ให้มีทางเลือก นอกเสียจากว่าการเจรจาต่อรองที่มีพื้นฐานอยู่บน เงื่อนไขซึ่งกำหนดขึ้นมาโดยสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
สหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานของสินค้าที่แตกต่างไปจากบรรทัดฐานของการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลให้สินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศคู่ค้าซึ่งมีบรรทัดฐานอยู่บนมาตรฐานสากลระหว่างประเทศไม่สามารถเข้าไปจำหน่ายภายในตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ปัญหาทางการค้าที่ก่อความยุ่งยากอื่นๆ ได้แก่ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปิดฉลากสินค้ารวมทั้งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
นโยบายด้านการค้าของสหรัฐอเมริกาเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการเปิดตลาด ความโปร่งใส และเคารพต่อข้อกำหนดด้านกฎหมาย ซึ่ง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์พื้นฐานขององค์การการค้าโลก การศึกษานโยบายและ ข้อกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศของไทย ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญในตลาดโลก
สำนักพัฒนานโยบาย มาตรการและระบบสารสนเทศกรมการค้าต่างประเทศมกราคม 2543
มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีประเทศสหรัฐอเมริกา
สารบัญ หน้า มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี 1 การปิดฉลากสินค้า 3 การอุดหนุนการส่งออก 6 การห้ามนำเข้า 9 การอุดหนุนภายใน 15