กิจกรรมการพยาบาลความเครียด

£ ตรวจเยี่ยมให้คำปรึกษากับผู้ป่วยและครอบครัวให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการรักษาและประสานกับแพทย์พร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับโรคและการรักษาตัดสินใจร่วมกับแพทย์

£ทักทายผู้ป่วยทุกครั้งที่เข้าไปให้การพยาบาล  เพื่อประเมินพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง                         

£ แนะนำการเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น  การฝึกหายใจ  การทำจิตใจให้สงบ อ่านหนังสือ ฟังเพลง              ไหว้พระ สวดมนต์                              

£ ใช้เทคนิคการพยาบาลช่วยปรับเปลี่ยนความคิด และการรับรู้ที่มีต่อปัญหาให้เป็นเชิงบวก                                       

£ ให้ผู้ป่วยได้พูดคุย ระบายความรู้สึกเกี่ยวกับประสบการณ์การปรับตัวของผู้ป่วยในอดีต

£ แนะนำให้ผู้ป่วยได้รู้จักกันและพูดคุย             แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย

£ กระตุ้นให้ญาติมีส่วนร่วมในการให้กำลังใจ/กิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย  พร้อมทั้งส่งเสริม ช่วยเหลือผู้ป่วยในการปฏิบัติตัว

£ ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยพักผ่อน ลดสิ่งรบกวนต่างๆ

£ ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา

£ รายงานแพทย์ในกรณีผู้ป่วยวิตกกังวลเพิ่มขึ้นหรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาคลายเครียดเพิ่มเติม

£ ประเมิน พร้อมบันทึกข้อมูลหลังให้การพยาบาลทุกเวร

£ ประเมินความวิตกกังวล หลังให้การพยาบาลพร้อมบันทึกทุกเวรพบว่า    ดีขึ้น/คงเดิม/ไม่ดีขึ้น  ได้ให้การพยาบาลต่อเนื่องโดย.............................

บุคคลจะพยายามปรับสภาวะด้วยการปรับตัวรูปแบบต่างๆ เพื่อรักษาความสมดุลไว้ ในชีวิตประจำวันบุคคลจะต้องเผชิญกับสภาวะเครียดอยู่มากบ้างน้อยบ้าง ผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัวได้ดีย่อมรักษาสภาวะสมดุลได้ในเวลาอันรวดเร็ว ผู้ที่เผชิญกับสภาวะเครียดมาก และไม่สามารถปรับตัวได้ในเวลาอันรวดเร็วหรือปรับตัวไม่ได้ ระดับความเครียดอาจเพิ่มสูงขึ้น จนมีผลกระทบถึงสุขภาพทางกายและสุขภาพจิต จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชต้องปฏิบัติงานกับผู้ที่มีปัญหาและล้มเหลวในการปรับตัว ผู้ที่เต็มไปด้วยภาวะความเครียด หากพยาบาลสามารถใช้เทคนิคการขจัดความเครียดในผู้มีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนทางในการนำไปสู่ความสำเร็จในการพยาบาล

ความหมายและสาเหตุของความเครียด

  • Webster (1976) กล่าวว่า ความเครียดเป็นสภาวะที่ถูกกดดันหรือแรงกดดัน
  • Selye (1976) กล่าวว่า ความเครียดเป็นกลุ่มอาการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่มาคุกคามบุคคล โดยสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ และมีต้นเหตุมาจากสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งร่างกาย จิตใจ สิ่งแวดล้อม และสังคมที่บุคคลประเมินแล้วว่าเป็นอันตรายต่อตนเอง
  • Luckman and Sorensen (1987) กล่าวว่า ความเครียดเป็นสิ่งที่มาคุกคามหรือพยายามทำลายบุคคลหรือสิ่งที่ทำให้บุคคลประสบความไม่พึงพอใจในสิ่งที่ต้องการเป็นสิ่งที่ขัดขวางพัฒนาการด้านร่างกาย และจิตใจของมนุษย์ ทำให้เกิดสภาวะขาดสมดุล

ต้นเหตุของความเครียดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของบุคคลจะมีลักษณะดังนี้

  1. ต้นเหตุของความเครียดเดียวกัน จะมีผลต่อบุคคลต่างกัน
  2. เมื่อบุคคลต้องพบกับสถานการณ์ความเครียด บุคคลจะพยายามปรับตัวต่อสถานการณ์นั้นๆ
  3. ต้นเหตุของความเครียดหนึ่งๆ อาจก่อให้เกิดความเครียดอื่นๆ อีกได้
  4. ไม่มีต้นเหตุของความเครียดเดียวหรือปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค แต่ต้องมีหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน
  5. ความเครียดไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตาม ถ้าเกิดเป็นเวลานานๆ และจำนวนมากๆ ในที่สุดบุคคลจะไม่สามารถปรับตัวได้

Neuman (2001) ได้กล่าวถึงต้นเหตุของความเครียดว่า หมายถึง สิ่งที่ำทำให้เกิดเป็นปัญหาหรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลในระบบของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นด้านสรีระ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม พัฒนาการ และจิตวัญญาณ ซึ่งอาจจะคุกคามบุคคลอย่างเดียวหรือหลายอย่างพร้อมกันก็ได้ ต้นเหตุของความเครียดแบ่งออกเป็น 3 ประิเภท คือ

  1. ต้นเหตุของความเครียดภายในบุคคล ได้แก่ ความสามารถในการทำงาน ทัศนคติ ค่านิยม ความคาดหวัง รูปแบบพฤติกรรม วิธีการปรับตัว อายุ และพัฒนาการ เป็นต้น
  2. ต้นเหตุของความเครียดระหว่างบุคคล ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร ความสัมพันธ์กับบุคคลนั้นๆ เป็นต้น
  3. ต้นเหตุของความเครียดภายนอกบุคคล ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ เป็นต้น

โดยสรุป ความเครียดคือ สภาวะกดดันในบุคคลที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมา คุกคามก่อให้เกิดความไม่สมดุลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวัญญาณของบุคคล รวมถึงพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของบุคคลด้วย หรืออาจกล่าวว่าสภาวะเครียดเป็นกลไกการป้องกันตัวที่เกิดขึ้นเมื่อมีภยันตรายจากภายนอกมารบกวน

เราดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุไทยที่มีภาวะสมองเสื่อม และผู้สูงอายุที่ประสบภาวะถดถอยทางร่างกายแต่ละท่าน ให้ผู้สูงอายุทุกท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นกว่าเดิม

กิจกรรมการพยาบาลความเครียด

อัลไซเมอร์คืออะไร?

อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) หรือโรคความจำเสื่อมเป็นภาวะความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสมอง ส่งผลให้สมรรถภาพสมองของผู้ป่วยเสื่อมถอยโดยเฉพาะในเรื่องความคิด ความจำ ความรอบรู้ การใช้ภาษา การตัดสินใจ และการใช้เหตุผล ตลอดจนส่งผลให้บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65-80 ปีจะมีแนวโน้มการเกิดโรคนี้มากขึ้น ซึ่งจากผลงานวิจัยของ ดร. ลักษณา อินทร์กลับ รองศาสตราจารย์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ในหัวข้อ เข้าใจและเข้าถึงผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่า ความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มเป็นเมื่ออายุมากกว่า 65 ปี และจะพบอัตราการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว เมื่ออายุเพิ่มขึ้นทุก 5 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 85 ปี จะพบอัตราการเป็นอัลไซเมอร์ถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว

แหล่งที่มา

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

ศ. นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม สาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ศึกษาวิจัยและตีพิมพ์บทความวารสาร ในหัวข้อรับมือ…ภาวะสมองเสื่อม ในปี 2556 ซึ่งผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของการเกิดภาวะสมองเสื่อมนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ อาทิ อายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรม ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะหรืออุบัติเหตุทางสมอง รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคซึมเศร้า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

ระยะของโรคอัลไซเมอร์

อ. สมทรง จุไรทัศนีย์ อาจารย์พยาบาลและกรรมการสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ทำการศึกษาและตีพิมพ์บทความ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยรวบรวมองค์ความรู้ทั้งจากเอกสารตำราและประสบการณ์ในการปฏิบัติดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จากผลการศึกษาพบว่า โรคอัลไซเมอร์ สามารถแบ่งระยะโรคได้ 3 ระยะ ได้แก่

  • สมองเสื่อมระยะแรก – ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาในการจดจำ ไม่สามารถจดจำข้อมูลใหม่ได้ และเริ่มหลงลืม เช่น ลืมปิดประตู ลืมปิดน้ำ ลืมชื่อบุคคล แต่ยังสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ รวมถึงความคิดในการสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ลดลง การตัดสินใจช้าลง ไม่มีสมาธิในการทำงาน ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ การใช้คำศัพท์ไม่คล่อง จึงทำให้เริ่มมีปัญหาในการพูด การเขียนหนังสือและการใช้ภาษาแย่ลง แต่ยังสามารถสื่อสารบอกความคิดพื้นฐานตนเองได้
  • สมองเสื่อมระยะปานกลาง – ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืมมากขึ้น ลืมสถานที่หรือสิ่งที่คุ้นเคย อาจทำกิจกรรมเดิมซ้ำ ๆ เริ่มพูดและการใช้ภาษาไม่ถูกต้อง นึกคำพูดไม่ออก เนื่องจากไม่สามารถนึกหาคำศัพท์มาใช้ได้ ปัญหาความจำของผู้ป่วยจะแย่ลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถจำญาติสนิทได้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป บางรายอาจมีอาการซึมเศร้า ในขณะที่บางคนอาจมีอาการหงุดหงิดโมโหง่าย บางคนก้าวร้าวมีอารมณ์แปรปรวน เช่น ร้องไห้ และแสดงพฤติกรรมบางอย่างโดยไร้เหตุผล เป็นต้น
  • สมองเสื่อมระยะสุดท้าย – ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำในระยะสั้นและยาว หลงผิด เกิดภาพหลอน ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองจึงต้องพึ่งพาและได้รับการดูแลตลอดเวลา โดยอาการหลงลืมจะรุนแรง ลืมแม้กระทั่งการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ลืมวิธีรับประทานอาหาร ลืมวิธีการพูดสื่อสารจนไม่สามารถพูดคุยได้ แต่แม้ผู้ป่วยจะไม่สามารถโต้ตอบเป็นภาษาได้ แต่ก็ยังคงสามารถเข้าใจคำพูดได้โดยการตอบสนองกลับด้วยการแสดงอารมณ์ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภาวะไร้อารมณ์และมีอาการอ่อนเพลีย มวลกล้ามเนื้อลดลงจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้จนสุดท้ายกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง

แหล่งที่มา

แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

นพ. ชีวิน ขาวประภา แพทย์ประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลสกลนคร ได้มีการศึกษาและตีพิมพ์บทความในหัวข้อ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เพื่อเป็นการมอบความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์แก่ประชาชนและครอบครัวทั่วไป โดยผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวทำได้เพียงประคับประคองอาการไม่ให้แย่ลงโดยมีแนวทางดังนี้

  • พูดให้ช้าลง ใช้คำพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่กำกวม ออกเสียงชัดเจน พยายามเรียกชื่อผู้ป่วยบ่อย ๆ ร่วมกับการใช้ภาษากายหรือสิ่งของประกอบการพูดเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย หลีกเลี่ยงการตะโกน

  • เล่าเรื่องในอดีตให้ผู้ป่วยฟัง เช่น เรื่องครอบครัว สถานที่ที่เคยไป สิ่งที่ผู้ป่วยชอบ หรืองานที่ผู้ป่วยทำ

  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมดูแลตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น การอาบน้ำ การเข้าห้องน้ำ รับประทานอาหารตามขีดความสามารถของผู้ป่วย

  • จัดกิจกรรมเพื่อชะลอความเสื่อมของสมอง เช่น ทายภาพสมาชิกในครอบครัว บวกเลขง่าย ๆ ชวนผู้ป่วยร้องเพลง

  • หากผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ให้สื่อสารกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ไม่ข่มขู่ ไม่โต้เถียง พยายามเบี่ยงเบนให้ผู้ป่วยไปสนใจเรื่องอื่นแทน

  • หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดหรือแสดงพฤติกรรมใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยโกรธ เสียใจ หรือเกิดความเครียด เช่น การต่อว่า การตะคอกผู้ป่วย และไม่ควรทำโทษผู้ป่วยโดยเด็ดขาด

  • สวมสร้อยหรือกำไลข้อมือที่ระบุข้อความว่าผู้ป่วยมีปัญหาด้านความจำ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ของญาติหรือผู้ดูแลในกรณีที่ผู้ป่วยอาจพลัดหลงหรือออกจากบ้านไปโดยไม่มีใครรู้เพื่อให้ผู้พบเห็นสามารถติดต่อญาติได้

  • ในการรักษาผู้ป่วยอาจจำเป็นจะต้องใช้ยาร่วมด้วย ควรดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ

  • สังเกตและบันทึกพฤติกรรม อาการผิดปกติของผู้ป่วย และแจ้งให้แพทย์ทราบ หากพบว่ามีอาการผิดปกติมาก เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือมีอาการทางจิตอื่น ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

ศูนย์การแพทย์อายุวัฒน์เนอร์สซิ่งโฮมบริการบ้านพักและสถานที่ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ รับดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมแบบองค์รวมเพื่อยืดอายุของสมองผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมให้ได้ยาวนานที่สุดและส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองภายในสถานดูแลผู้สูงอายุสะดวก ปลอดภัย กว้างขวาง เป็นธรรมชาติ ร่มรื่น ผ่อนคลายภายใต้มาตรฐานสถานดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์คุณภาพระดับสากล บริการด้วยใจและพร้อมใส่ใจผู้สูงอายุเปรียบเสมือนคนในครอบครัว ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุ พร้อมทั้งมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยอัลไซแมอร์มืออาชีพคอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมงทั้งทีมแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด ในราคาที่สมเหตุสมผล

ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม

“คุณภาพชีวิตที่ดี”

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่ง โฮม มีแนวคิดในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ท่านมีชีวิตที่สุขสบายเหมือนอยู่บ้าน ขณะที่มาพักกับเรา โดยจะส่งเสริมให้ท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่ง โฮม พยายามให้ท่านรักษาและคงความสามารถในการทำกิจวัตรประวัตรประจำวันเองให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิต

พญ. รุ่งทิพย์ ชัยธีรกิจ ศูนย์สมองและประสาท โรงพยาบาลนครธน ได้ศึกษาค้นคว้าและตีพิมพ์บทความในหัวข้อ ภาวะสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ มีอาการแบบไหน รักษาได้หรือไม่ จากงานวิจัยพบว่า โดยปกติแล้วเมื่ออายุ 60 ปี สมองของคนเรามักจะถดถอยตามวัย โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ป่วยอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ถดถอยขึ้นทุกวัน เราจึงต้องเน้นการส่งเสริมพัฒนาการของผู้มีภาวะอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมโดยการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง แนวทางที่เราใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ