ทักษะความรู้ตามสาขาอาชีพ-hard skills ตัวอย่าง

คนทำงานหลายคนในปัจจุบันเลือกทำงานไม่ตรงกับสาขาที่ตัวเองเรียนจบมา ด้วยปัจจัยต่าง ๆ อย่างสายงานที่เรียนจบมีคู่แข่งเยอะ รู้สึกไม่อยากทำงานในสิ่งที่เรียนจบมา หรือเคยทำงานตรงสายมาแล้วแต่รู้สึกสนใจสายงานอื่น ๆ แทน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดเพราะเราทุกคนต่างได้เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา เรื่องที่เราเคยชอบก็อาจไม่ใช่อีกแล้ว

ซึ่งถ้าอยากย้ายสายงานจริง ๆ ความท้าทายอย่างนึงที่ต้องเจอแน่ ๆ ก็คือเรื่องของทักษะในการทำงาน เพราะแต่ละสายงานก็ต้องใช้ทักษะที่ต่างกัน JobThai เลยอยากชวนคนทำงานมาดูทักษะ Hard Skills ของตัวเองกันว่าสิ่งที่มีอยู่สามารถเอาไปต่อยอดเป็นอาชีพอะไรได้บ้าง

Hard Skills คืออะไร?

หากจะอธิบายความหมายของ Hard Skills ง่าย ๆ ก็คือทักษะและความรู้ในการทำงานที่สามารถมองเห็นหรือวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดจากการศึกษา เรียนรู้ และฝึกฝน ซึ่งเป็นทักษะเฉพาะทางสำหรับวิชาชีพ เช่น การออกแบบ การคำนวณ หรือทักษะทางด้านภาษา ซึ่งเราจะเรียกทักษะเหล่านี้รวม ๆ ว่า Hard Skills ทักษะหลักเพื่อใช้เป็นข้อได้เปรียบในการสมัครงาน

ในปัจจุบันการถ่ายรูปหรือถ่ายคลิปวิดีโอเพื่อลงในโซเชียลมีเดียเป็นสิ่งที่หลายคนทำได้ดี แต่ถ้าทักษะนี้เป็นทักษะที่โดดเด่นของเรา ก็มีสายงานที่รองรับอยู่เช่นกัน อย่างช่างภาพหรือช่างวิดีโอ แต่หากว่าเราจะสมัครงานในสายงานนี้ เราอาจต้องออกไปถ่ายภาพหรือวิดีโอเพื่อสะสม Portfolio เข้าคอร์สเพิ่มเติม หรือเก็บใบ Certificate ก่อนสมัครงาน นอกจากนี้ถ้าเราสนใจทางด้านนี้จริง ๆ การเรียนรู้ทักษะการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ หรือตัดต่อวิดีโอ ก็จะได้ช่วยให้เราโดดเด่นมากขึ้นในการสมัครงาน

ตำแหน่งงานที่สามารถต่อยอดได้

การออกแบบ เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สามารถต่อยอดไปได้หลายช่องทางและสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ คอมพิวเตอร์กราฟิก หรืออนิเมชัน ซึ่งทักษะนี้อาจต้องมีพื้นฐานทางด้านศิลปะ การจับคู่สี หรือการจัดวางองค์ประกอบ ซึ่งถ้าเรามีทักษะนี้และต้องการย้ายสายงาน การมี Portfolio ที่เราออกแบบไว้ รวมถึงการลงเรียนเพิ่มเติมสำหรับบางสายอาชีพที่ต้องมีการออกแบบที่ค่อนข้างเฉพาะทางอย่างเช่น UX/UI Designer ก็จะช่วยให้เราได้เปรียบในการสมัครงาน

ตำแหน่งงานที่สามารถต่อยอดได้

ภาษา เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลก ซึ่งคนที่มีทักษะทางด้านนี้ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ หรือภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน ก็ล้วนมีตำแหน่งงานที่รองรับอยู่เช่นกัน แต่ถ้าเราจะใช้ทักษะทางด้านภาษาเพื่อสมัครงาน แค่การพูดปากเปล่าว่าเรามีทักษะด้านภาษาอาจยังไม่พอ สิ่งที่ควรมีคือผลการทดสอบระดับภาษาก่อน เช่น คะแนน TOEIC, IELTS สำหรับภาษาอังกฤษ ระดับ HK สำหรับภาษาจีน หรือระดับ N สำหรับภาษาญี่ปุ่น ถ้าเรามีทักษะด้านภาษาไทย ก็อย่าลืมเก็บรวบรวมคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่เราเขียนเองเอาไว้เพื่อใช้สำหรับการสมัครงาน

ตำแหน่งงานที่สามารถต่อยอดได้

ด้านซอร์ฟแวร์และการเขียนโปรแกรม เป็นอีกหนึ่งทักษะเฉพาะทางและเป็นอีกสายงานที่สามารถสร้างรายได้ให้เรามาก ถ้าเราสนใจสายงานในด้านนี้และรู้สึกว่าตัวเองชอบจริง ๆ ก็สามารถฝึกฝนด้วยตัวเองโดยการเรียนออนไลน์ฟรีจากช่องทางต่าง ๆ และทำ Portfolio ไว้ใช้ในการสมัครงานได้ หรือถ้าพร้อมที่จะลงทุนเพื่อซื้อความรู้ก็สามารถหาคอร์สเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม ซึ่งข้อดีก็คือจะทำให้เราเรียนได้ตรงประเด็นและได้ใบรับรองการอบรมเพื่อใส่ในเรซูเม่อีกด้วย

ตำแหน่งงานที่สามารถต่อยอดได้

การเงินและตัวเลข เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราแทบจะตลอดเวลา แต่การนำความรู้และทักษะด้านตัวเลข การลงทุน หรือการเงิน มาใช้ในการทำงานไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำได้ เพราะนอกจากเรื่องของตัวเลขแล้ว ยังต้องใช้ทักษะอื่น ๆ มาประกอบการทำงานอีก อย่างความละเอียดรอบคอบหรือการจัดการเอกสารต่าง ๆ แต่ถ้าเรามีทักษะทางด้านการเงิน การจัดการสินทรัพย์ ระบบบัญชี ภาษีอากร หรือความเข้าใจในการคำนวณตัวเลขต่าง ๆ การเปลี่ยนสายงานมาทางด้านนี้ก็อาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

ตำแหน่งงานที่สามารถต่อยอดได้

เราทุกคนมีทักษะในการเขียนอยู่แล้ว ซึ่งการเขียนเป็นอีกทักษะสำคัญที่ต้องใช้ในการทำงานทุกสายงาน อย่างการเขียนอีเมล การติดต่อสื่อสาร หรือการทำเอกสารต่าง ๆ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีทักษะการเขียนที่ดีในระดับที่ใช้ในการทำงานเขียนโดยเฉพาะ เช่น เขียนได้ตรงประเด็น ถูกหลักการใช้ภาษา หรือเขียนได้เหมาะสมกับรูปแบบและจุดประสงค์ที่ต้องการสื่อสาร ซึ่งหากเราเป็นคนที่มีทักษะการเขียนที่ดีมากกว่าการใช้ในการทำงานพื้นฐานทั่วไป สายงานที่สามารถใช้ทักษะนี้ไปต่อยอดได้ก็คือ งานการตลาดในสายที่ต้องใช้การเขียนเป็นหลัก หรืองานประเภทเกี่ยวกับการเขียนโดยตรง

ตำแหน่งงานที่สามารถต่อยอดได้

การเปลี่ยนสายงานหรือเลือกสมัครงานในสายที่ตัวเองไม่ได้เรียนจบมาอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเราต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ตัวเองก่อน ไม่ว่าจะเป็นการสะสมผลงานเพื่อทำ Portfolio การไปฝึกอบรม หรือเข้าคอร์สเพื่อเรียนรู้ Hard Skills ในสายงานที่ตัวเองอยากทำเพิ่มเติม นอกจากนี้ความรู้ที่เราเรียนมาหรือความรู้จากงานเก่าก็ไม่ใช่ว่าจะต้องทิ้งไป เพียงแค่เราต้องมองหาจุดเด่นในเรื่อง Hard Skills และ Soft Skills ของตัวเองและนำมาปรับใช้กับการสมัครงาน ซึ่งถ้าเราตั้งใจและอยากทำสายงานนั้นจริง ๆ  เราจะไปถึงจุดหมายนั้นในสักวันแน่นอน ใช้ Soft Skills หางานแบบไหนได้บ้าง

ปัจจุบันปี 2020 แม้ว่าอัตราการว่างงานของประเทศไทยจะอยู่เพียงแค่ 0.9% แต่กว่า 40% ของคนที่มีงานนั้นไม่มีความสุขกับงานปัจจุบัน สาเหตุเกิดจากปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้คนไม่มีความสุขกับงานปัจจุบัน เช่นเงินเดือน ลักษณะงาน ระบบองค์กร เพื่อนร่วมงาน หรือสวัสดิการ ปัจจัยเหล่านี้นั้นส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่เรามีทักษะในด้านต่างๆไม่เพียงพอ ทำให้เรามีตัวเลือกงานน้อย เราจึงไม่สามารถเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเองได้ ดังนั้นในอนาคตหากเราอยากเป็นผู้ที่สามารถเลือกงานที่เราทำแล้วมีความสุขได้ เราควรจะเรียนรู้ทักษะอนาคตในปี 2020 เป็นต้นไป ในด้านล่างนี้ให้ได้มากที่สุด

ทักษะความรู้ตามสาขาอาชีพ-hard skills ตัวอย่าง

ทักษะความรู้ตามสาขาอาชีพ-hard skills ตัวอย่าง

10 ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills)

Hard skills คือความรู้หรือทักษะทางด้านวิชาชีพที่สามารถถูกถ่ายทอดจากผู้อื่นได้ ซึ่งโดยปกติแล้วเราสามารถเรียนรู้จากโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือออนไลน์ Hard skills ที่เรามีจะเป็นตัวกำหนดว่าเราสามารถและมีโอกาสสำเร็จในการทำงานประเภทไหนได้บ้าง ทำให้ฝ่ายบุคคลใช้ Hard skills นี้ในการตัดสินรับคนเข้ามาทำหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆในองค์กร เรามาดูกันว่า Hard skills ที่ได้รับความนิยมในปั 2020 เป็นต้นไปมีอะไรบ้าง

  1. Cloud Computing

Cloud Computing คือระบบหรือทรัพยากรคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากของผู้ให้บริการ ที่รองรับการทำงานของผู้ใช้ในหลากหลายด้าน เช่นการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก และอื่นๆ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์เพื่อใช้งานแต่เพียงแค่เชื่อมต่อกับระบบ Cloud Computing ผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้นผู้ใช้สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่นทุกวันนี้เราสามารถใช้ Google Drive ผู้ให้บริการการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ (Cloud Storage) เพื่อจัดเก็บ แลกเปลี่ยนไฟล์งานต่างๆ หรือทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆในไฟล์เดียวกันในเวลาเดียวกันได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ Cloud Coumputing เริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและหลากหลายบริษัทต้องการนักพัฒนา วิศวกรหรือผู้ที่ชำนาญในด้านนี้เข้ามาร่วมทีมเป็นอย่างมาก

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เข้าใจระบบเครื่อข่าย (Networking), Distributed Computing, และภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น Python

  1. Artificial Intelligence (AI)/ Machine Learning Engineers

Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ คือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่มีจุดประสงค์ให้คอมพิวเตอร์มีพฤติกรรมและความสามารถคล้ายมนุษย์ คิดเองได้ และเรียนรู้ที่จะฉลาดได้ด้วยตัวมันเอง AI นั้นเกิดขึ้นมาเพื่อทำงานเพื่อมนุษย์ โดยดำเนินการอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความเป็นไปได้ในความผิดพลาด ตัวอย่างการใช้ AI ในปัจจุบันเช่น ยานพาหนะไร้ขนขับโดย Tesla ใช้ AI เขียนข่าวโดย Knowhere หรือแม้แต่ตัดต่อหนังโดย IBM

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น Python, เชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ เช่น Linear Algebra, Differential calculus และ Statistics

  1. Analytical Reasoning

ในยุคที่มีข้อมูลมากมายเข้าถึงง่ายทำให้เรามีข้อมูลให้เลือกวิเคราะห์ล้นมือ และเป็นยุคเดียวกันที่การแข่งขันสูงและอะไรๆก็รวดเร็วไปหมด ดังนั้นการใช้ข้อมูลที่มีเพื่อตัดสินใจที่หลักแหลม แม่นยำและรวดเร็วนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ด้วยเหตุนี้การใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์จึงสำคัญมาก เพราะว่าการวิเคราะห์ลักษณะนี้จะเข้ามาช่วยในการเชื่องโยงข้อมูล ตัวแปร และแตกย่อยปัญหาใหญ่ออกมาในระดับที่จัดการได้เพื่อสรรหาทางออกและทางแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีพัฒนาทักษะนี้: ยอมรับความไม่รู้, ตั้งคำถาม, วางระบบกระบวนการคิด

  1. Mobile Application Development

ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำให้พฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีของเราเปลี่ยนไป จากใช้ คอมพิวเตอร์และแล็ปท็อปเป็นมือถือ ซึ่งปริมาณของผู้ใช้มือถือและความถี่ในการใช้มือถือของเรานั้นเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้หลากหลายบริษัทพัฒนาโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อเป็นเครื่องมือและช่องทางในการเพิ่มยอดขาย ทำการตลาด เข้าถึงลูกค้า และขยายการบริการ ดังนั้นนักพัฒนา Application สำหรับมือถือจึงเป็นที่ต้องการมากในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างมาก

วิธีพัฒนาทักษะนี้: User Interface(UI), backend computing, เข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์เช่น C# หรือ Java

  1. UX Design

User eXperience (UX) คือประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ต่อการใช้งานระบบ ดังนั้น UX Design คือการออกแบบระบบและทุกปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กรหรือสินค้าให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีและเกิดความพึงพอใจ ตัวอย่างเช่นเหมือนซุปเปอร์มาเก็ตทีเปิดเพลงเพราะๆให้เราใช้เวลาในร้านนานๆ มาเป็นร้านค้าออนไลน์ที่มีฟิลเตอร์ให้เลือกหาสินค้าที่ต้องการได้แม่นยำขึ้น และด้วยปี 2020 โลกดิจิตอลนั้นกลายเป็นส่วนหลักในชีวิตประจำวันของเรา ทำให้การค้าขายแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นเวลาและทุกขณะของเราในโลกดิจิตอลในฐานะลูกค้าหรือผู้ใช้นั้นยิ่งสำคัญต่อบริษัทเหล่านั้นขึ้นไปอีก บริษัทต่างๆจึงต้องการคนที่สามารถออกแบบให้สินค้าหรือบริการที่อยู่บนโลกดิจิตอลมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับลูกค้ามากที่สุด

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เข้าใจกลุ่มผู้ใช้หรือลูกค้า, ออกแบบ วาดเขียนเป็น, เข้าใจภาษาคอมพิวเตอร์เช่น HTML/CSS หรือ Javscript

  1. Video Production

ด้วยจำนวนการบริโภครูปแบบเนื้อหาที่เปลี่ยนไปของเรา จากข้อความ รูป เป็นวีดีโอ ซึ่งในปัจจุบัน กว่า 70% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกเลือกบริโภคเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ ทำให้วีดีโอกลายเป็นสื่อหลักสำหรับบริษัทหรือบุคคลต่างๆในการโฆษณา แสดงความคิดเห็น หรือเผยแพร่ข่าวสาร ด้วยเหตุนี้เองผู้ชำนาญในการถ่ายวีดีโอ การตัดต่อ การเขียนสคริปต์ การจัดแสง การจัดองค์ประกอบภาพ เป็นที่ต้องการมากขึ้นทุกวันในปัจจุบัน

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เข้าใจวิธีใช้กล้องและเลนส์, การตัดต่อ, การวางแผนเขียนบท, การจัดแสง

  1. Sales Leadership

การขายเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ธุรกิจนั้นเกิดผลกำไร ดังนั้นการที่มีความสามารถด้านการขายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือผู้นำการขาย จากสถิติของ Harvard Business Review พบว่ามากกว่า 69% ของคนที่ทำงานด้านการขายที่สามารถทำยอดทะลุเป้า กล่าวว่าพวกเขามีหัวหน้าที่ดีกว่าทั่วไป ซึ่งหัวหน้าที่ดีและเก่งจะสามารถผลักดันบุคลากรในทีม สร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลการขาย และวางกลยุทธ์แบบแผนที่ชัดเจนให้บริษัทมียอดขายมากขึ้น

วิธีพัฒนาทักษะนี้: ตั้งเป้าหมายและระยะเวลาที่ชัดเจน, เข้าใจวิธีพูดและการโน้มน้าว, สร้างวัฒนธรรมแบบเปิดโอกาส

  1. People Management

คนคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถ ความคิด และพฤติกรรมของคนนั้นจะเป็นตัวแปรหลักว่าธุรกิจหรือบริษัทจะเติบโตและสำเร็จได้มากแค่ไหน ดังนั้นความสามารถและความเชี่ยวชาญในการบริหารคน ไม่ว่าจะเป็นการหาคนที่เหมาะสมกับงาน การดึงความมีประสิทธิภาพในการทำงาน การทำให้คนมีความสุขกับการทำงาน การทำให้คนในทีมทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี หรือการแนะแนวและเสริมสร้างศักยภาพของตัวบุคคล ยิ่งในยุคนี้ที่พฤติกรรมคนทำงานเปลี่ยนไปมาก และความรู้ ความสามารถที่สำคัญในปัจจุบันอาจไม่เป็นที่ต้องการในอนาคต การบริหารคนให้พวกเขามีอนาคตที่มั่นคงในการงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เอาใจใส่ผู้อื่น, สร้างสัมพันธ์, เป็นผู้ฟังที่ดี, ส่งเสริมและผลักดัน

  1. Translation

ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว กฏหมายที่เปิดโอกาสและสนับสนุนให้เกิดการค้าและการจ้างแรงงามข้ามประเทศมากขึ้นทุกปี ทำให้บุคลากรที่สามารถเข้าใจและสื่อสารภาษาต่างๆเป็นที่ต้องการมาก และยิ่งหากรู้คำคัพท์เทคนิคเฉพาะทางในสายงานต่างๆก็จะเป็นที่ต้องการอย่างมากขึ้นไปอีก

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เรียนรู้วิธีการเขียน, เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี, เข้าใจความต่างของวัฒนธรรม

  1. Social Media Marketing

Social Media คือสังคมออนไลน์ที่ปัจจุบันเรานิยมใช้เพื่อการสื่อสาร รับและแบ่งปันข่าวสารความรู้ และความบันเทิง ซึ่งทุกวันนี้เราคนไทยแทบทุกคนใช้เวลาส่วนมากบน Social media เช่น Facebook Twitter หรือ Instagram สูงถึงกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้บริษัทต่างๆต้องปรับตัวเพื่อแย่งชิงความสนใจของว่าที่ลูกค้าหรือลูกค้าในโลกออนไลน์ให้ได้มากที่สุด ดังนั้นผู้ที่สามารถวางแผน วิเคราะห์ ประกาศ สื่อสารหรือแสดงคุณค่าขององค์กรผ่านข่องทางออนไลน์ต่างๆอย่างเชี่ยงชาญและมีประสิทธิภาพจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในปัจจุบันและอนาคต

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เข้าใจจุดเด่นของ Platforms ต่างๆ, ติดตาม อัพเดทเทรนด์อยู่ตลอด, มีความคิดสร้างสรรค์

ทักษะความรู้ตามสาขาอาชีพ-hard skills ตัวอย่าง

10 ทักษะทางด้านอารมณ์และสังคม (Soft Skills)

Soft skills คือตัวตน นิสัยของเราหรือการเข้าหาคนที่มีผลและอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน ซึ่ง Soft skills นั้นเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าเราจะสำเร็จในองค์กรๆหนึ่งหรือไม่ เพระว่า Soft skills จะเป็นตัวกำหนดว่าเราเข้ากับเพือนร่วมงาน ลักษณะการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรได้ดีแค่ไหน ทำให้ฝ่ายบุคคลหรือเจ้าของบริษัทใช้ทักษะประเภทนี้เป็นหลักการตัดสินหลักในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน ดังนั้นเรามาดูกันว่า Soft skills ที่สำคัญสำหรับปี 2020 มีอะไรบ้าง

  1. ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

เมื่อพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ หลายๆคนคงจะคิดถึงทักษะสำหรับคนในวงการศิลปะ แต่จริงๆแล้วความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น วิศวกร นักการตลาดหรือแม้กระทั่งนักคณิตศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์คือกระบวนการคิดที่หลากหลายที่ทำให้เกิดไอเดียการแก้ปัญหาในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งทักษะนี้เหมาะกับโลกแห่งอนาคตที่ไม่มีความแน่นอน โลกที่มีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้เราต้องสรรหาวิธีการแก้ไขใหม่ๆ ตัวอย่างเช่นหากเราเป็นครูภาษาไทยที่ต้องการให้นักเรียนแต่งกลอนเป็น เราอาจบอกความคล้ายของการแต่งกลอนและแร็พซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันแก่นักเรียน เพื่อทำให้เกิดความอยากรู้และเป็นแรงกระตุ้นให้นักเรียนเล่นการสัมผัสเสียงและแต่งกลอนได้ดีขึ้น

วิธีพัฒนาทักษะนี้: ผนวกสิ่งที่เรียนรู้มา, ท้าทายกระบวนการคิด, เสี่ยงที่จะลงมือ

  1. ทักษะการโน้มน้าวต่อรอง (Negotiation and Persuasion)

คำพูดนั้นเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีอิทธิผลต่อมุมมอง ความคิดและการกระทำของเราอย่างมหาศาล ในโลกธุรกิจหากเราสามารถโน้มน้าวความคิดของอีกฝ่ายให้คิดในสิ่งที่เราคิดหรือมองในมุมมองที่เราต้องการให้มองได้ อีกฝ่ายก็จะยินดีที่จะช่วยเหลือหรือตอบรับสิ่งที่เราร้องขออย่างเต็มใจ ซึ่งเราก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือธุรกิจได้มากที่สุด เช่นการต่อรองเงินเดือน โดยปกติฝ่ายบุคคลจะต้องทำ KPI โดยการจ่ายต่อหัวให้น้อยที่สุด แต่เราต้องการรับเงินสูงสุดที่จะเป็นไปได้ ซึ่งทางฝ่ายบุคคลก็จะใช้กลยุทธ์ในการพูดต่างๆให้เราคิดเหมือนเขาเช่น ประสบการณ์ไม่พอ สวัสดิการบริษัทดี ทำงานกับคนเก่งหรือบริษัทมีชื่อเสียง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้น้ำหนักของเงินเดือนที่เป็นประเด็นหลักดูเล็กลง กลับกันหากเรามั่นใจว่ามีฝีมือ รู้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ในตลาดน้อย และทางบริษัทต้องการคนอย่างเร่งด่วน เราสามารถใช้ประเด็นเหล่านี้สื่อสารออกไปด้วยวิธีต่างๆให้ฝ่ายบุคคลคล้อยตามได้ ซึ่งหากเราสำเร็จเราก็จะได้เงินเดือนที่มากกว่าข้อเสนอแรกหรือสูงเท่าที่เราต้องการได้ จะเห็นได้ว่าทักษะการโน้มน้าวต่อรองเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในด้านหน้าที่การงานอย่างมาก

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เข้าใจหัวข้อและผู้เจรจาให้ได้มากที่สุด, ฝึกฟัง, ฝึกพูดในสถานการณต่างๆ, มีความมั่นใจ

  1. ทักษะการจัดการเวลา (Time Management)

“ทุกนาทีมีค่า” คำคมที่เหมาะกับเราทุกคน เพราะเวลาคือสิ่งที่จำกัด หมดแล้วหมดเลย และเราทุกคนใช้ชีวิตอยู่บนกฏนี้เหมือนกัน หากเรามองไปรอบๆตัว เพื่อนๆที่อายุและพื้นฐานเท่ากัน บางคนใกล้ที่จะประสบความสำเร็จ บางคนเพิ่งเริ่มต้น สถานการณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการจัดสรรและวิธีใช้เวลาของพวกเขาในอดีต ปี 2020 เป็นปีที่มีทั้งสิ่งเร้าที่ทำให้เราใช้เวลาแบบสิ้นเปลืองอยู่มาก แต่ก็มีอุปกรณ์และกรณีศึกษาที่ช่วยให้เราใช้เวลาอย่างคุ้มค่าไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้นหากเราต้องการที่จะประสบความสำเร็จในด้านต่างๆให้เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ เราก็ควรจะวางแผนและกลยุทธ์การใช้เวลาในรูปแบบต่างๆให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด เช่นการกำจัดสิ่งเร้า ทำ Time Boxing หรือใช้เทคนิค Pomodoro เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาในแต่ละวันของเรา

วิธีพัฒนาทักษะนี้: ตั้งเป้าหมายเรียงลำดับความสำคัญ, วางแผน, มีวินัย

  1. ทักษะความสงสัยใคร่รู้ (Curiosity) / Learn to learn

ปี 2020 เป็นต้นไปจะเป็นยุคที่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ทำให้อุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือแนวทางในการทำงานในปัจจุบันดูจะล้าหลังได้ในบางที ดังนั้นความสงสัยใคร่รู้จึงเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เราพบเจอเทคโนโลยี วิธี หรือโอกาสในการทำงานใหม่ๆ ทำให้เรามีประสิทธิภาพในด้านต่างๆอยู่ตลอดไม่ว่าอะไรๆจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วแค่ไหนก็ตาม เราอยู่ในยุคที่มีข้อมูลมหาศาล มีทรัพยากรฟรีๆให้ใช้บนอินเทอร์เน็ตมากมาย ซึ่งโชคดี การพัฒนาองค์ความรู้และความสามารถจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และง่ายขึ้น แต่โชคร้าย เราอยู่ในยุคที่ข้อมูลและวิธีการต่างๆเยอะและเข้าถึงสะดวกเกินไป ทำให้บางครั้งเราคิดว่าการค้นสิ่งต่างๆเจอบน Google เท่ากับเราเข้าใจรู้วิธีทำส่งเหล่านั้นแล้ว เราจึงหยุดเรียนรู้เพื่อความเชี่ยวชาญ ติดกับดัก Dunning–Kruger effect ดังนั้นการแก้ไขคือควรจะรู้วิธีเรียน เช่น การตั้งเป้าหมาย การลำดับความสำคัญ การแตกและจับประเด็นกับสิ่งที่จะเรียนรู้

วิธีพัฒนาทักษะนี้: ตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลา, กล้าทำในสิ่งที่ไม่ถนัด, ขยันอย่างสม่ำเสมอ

  1. ทักษะการปรับตัว (Adaptability)

การปรับตัวเป็นทักษะแห่งการอยู่รอดที่อยู่กับสิ่งมีชีวิตบนโลกมานาน ซึ่งโลกแห่งธุรกิจในปัจจุบัน ทักษะนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นทักษะที่จะทำให้ผู้ครอบครองอยู่รอด แต่ยังเป็นทักษะที่ช่วยให้ผู้ครอบครองกอบโกยโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ปี 2020 เป็นยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี พฤติกรรม หรือกฏหมาย การปรับตัวเพื่อเข้ากับสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนไปอย่างตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้ Internet of Things (IOT) เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นๆ ซึ่งเราคนทำงานควรจะเริ่มมองว่าการเข้ามาของ IOT จะช่วยบริษัทหรือชีวิตการทำงานอย่างไรบ้าง เราในยุคสมัยนี้จึงต้องผลักดันตัวเองให้ก้าวหน้าไม่ล้าหลังเพื่อที่จะสร้างคุณค่าให้กับตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพได้ตลอดเวลา

วิธีพัฒนาทักษะนี้: คอยสังเกตุสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป, ยอมรับการเปลี่ยนแปลง, เปิดใจเรียนรู้

  1. ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytical and Critical Thinking)

หลายปีที่ผ่านมาเข้าปี 2020 จะเห็นได้ว่าปริมาณข้อมูลข่าวสารที่มีให้เรามาบริโภคนั้นเพิ่มขึ้นทุกวัน ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นข้อคิดเห็น ใครๆก็สามารถนำเสนอข้อมูลได้ อีกทั้งเราสามารถหาคำตอบได้ง่ายเกินไปเพียงแค่กดค้นหา คนส่วนมากในปัจจุบันจึงมีความรู้ที่หลากหลาย แต่ด้วยปัจจัยอย่างเวลาและข้อมูลที่มหาศาล ทำให้เราเลือกที่จะรับและเชื่อข้อมูลโดยปราศจากการไตร่ตรองอย่างรอบคอบจนเป็นนิสัย ทำให้การคิดวิเคราะห์ของเราส่วนมากอาจจะพัฒนาช้าหรือมีคุณภาพที่ต่ำลงไป ทำให้เราจับประเด็นไม่เก่ง ตั้งคำถามไม่เป็น ซึ่งเป็นผลทำให้เราขาดความมั่นใจ และพูดไม่มีน้ำหนัก ดังนั้นการหากเราต้องการแก้ปัญหาเหล่านี้เราสามารถเริ่มจากการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์

วิธีพัฒนาทักษะนี้: ยอมรับความไม่รู้, ตั้งคำถาม, วางระบบกระบวนการคิด

  1. ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving)

ปัจจุบันความไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน ไม่มีรูปแบบ เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีความซับซ้อนมาก เป็นเหตุให้ผลกระทบที่ตามมายังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนจึงเกิดขึ้นและถูกให้ความสำคัญในปี 2020 ทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนคือ กระบวนการค้นหาวิธีจัดการปัญหาอย่างเด็ดขาดโดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ความสัมพันธ์ และรูปแบบที่สร้างปัญหาขึ้นมา

วิธีพัฒนาทักษะนี้: ระบุปัญหาให้ชัดเจน, รวบรวมข้อมูล, จัดลำดับความคิด, ออกแบบแนวทางแก้ไข

  1. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)

การทำงานร่วมกันผู้อื่นเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นในนามเพื่อนร่วมงาน ผู้จ้าง ผู้ถูกจ้างหรือแม้กระทั่งคู่ค้า หากเรามีเป้าหมายเดียวกันเราต้องทำงานร่วมกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การทำงานร่วมกัน ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เปิดกว้าง ตั้งแต่ปี 2020 เราจะที่มีโอกาสสูงที่จะต้องทำงานร่วมกับคนต่างวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา ตำแหน่ง และเพศกันมากขึ้น สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลทำให้ความคิด มารยาททางสังคมและวิธีการแสดงออกต่างกัน ซึ่งหากเราต้องการให้ผลลัพท์จากการทำงานร่วมกับคนอื่นออกมาดี เราควรจะเข้าใจเปิดรับมุมมอง ไอเดีย หรือวิธีการลงมือทำที่แตกต่าง เพื่อแสดงความเคารพในสิทธิและความคิดเห็นที่สามารถนำมาต่อยอดสู่ผลลัพท์ที่คาดหวังไว้

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เคารพและยอมรับความคิดเห็น, เรียนรู้ความแตกต่าง, ให้ความไว้วางใจและเชื่อถืิอ

  1. ทักษะการตัดสินใจ (Decision Making)

แต่ก่อนบริษัทส่วนมากอำนาจการตัดสินใจจะอยู่ในระดับบริหารเท่านั้น แต่ในปัจจุบันบริษัทต่างๆเริ่มปรับโครงสร้างขององค์กรให้แบนราบลงเพื่อให้การทำงานนั้นดำเนินได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับเปลี่ยน ทำให้อิสรภาพในการทำงานและอำนาจในการตัดสินใจเข้าถึงทุกระดับในองค์กร ซึ่งการตัดสินใจอาจจะอยู่ในรูปแบบมติเพื่อหาเอกฉันท์หรือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้วยเหตุที่ยุคนี้สิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ส่วนใหญ่องค์กรต้องตอบสนองตาม และยกอำนาจการตัดสินใจส่วนหนึ่งให้พนักงานระดับต่างๆ ดังนั้นคนที่มีทักษะการตัดสินใจที่ดีจึงเป็นที่ต้องการมากในปัจจุบัน

วิธีพัฒนาทักษะนี้: เข้าใจวิธีรวบรวมข้อมูล, รู้จักการประเมินความคุ้มค่าและความเสี่ยง, ตรวจสอบทางเลือกต่างๆ

  1. ทักษะการสื่อสาร (Communication)

การสื่อสารเป็นหนึ่งสิ่งที่ทำให้คนอื่นรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร คิดอะไร ต้องการอะไร การพูดสามารถสร้างความเข้าใจและสร้างความสับสนได้ การนำข้อมูลและความคิดที่อยู่ในหัวสื่อออกไปตามลำดับอย่างถูกต้องและกระชับเข้าใจง่ายเป็นสิ่งที่สำคัญต่อองค์กรในปี 2020 เพราะว่าเราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างเร็วไปหมด ทำให้ความอดทนของเราน้อยลงและเราโดยส่วนมากยังเร่งรีบในการทำงาน ซึ่งการสื่อสารที่ดีจะช่วยลดความผิดพลาด ประหยัดเวลาของทั้งเราและอีกฝ่าย และแก้ไขปัญหาได้มีประสิทธิภาพขึ้น

Hard Skills มีความสําคัญอย่างไร

Hard skill มีความสำคัญเป็นอย่างมากในชีวิตการทำงาน เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคของพนักงาน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับสาขาอาชีพนั้น ๆ ทีม HR ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับทักษะเหล่านี้ เพราะเป็นตัวที่สามารถกำหนดความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญของผู้สมัครและระบุว่าผู้สมัครงานเหล่านั้นมีประสบการณ์และความ ...

Soft SKILและHard Silll มีอะไรบ้าง

Soft Skills คือความคิดสร้างสรรค์ แต่ Hard Skills คือความรู้วิชาการของการทำงานในกระบวนการนั้น ๆ โดยตรง Soft Skills คือการทำงานร่วมกับผู้อื่น แต่ Hard Skills คือการบริหารจัดการคนในองค์กร

Interpersonal Skills มีอะไรบ้าง

ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ยังรวมถึงทักษะความเข้าใจผู้อื่น ความมีน้ำใจ ความเห็นอกเห็นใจ การเข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ต้องสื่อสารกับผู้อื่นเข้าใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Hard Skills และ Soft Skills คืออะไร

hard skill นั้นหมายถึงความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ขณะที่ soft skill จะเป็นทักษะด้านอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับวิชาชีพแต่เป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น หากคุณทำงานเป็นพนักงานฝ่ายบัญชี คุณต้องมี hard skill ในเรื่องของ วิธีการทำบัญชี วิธีการใช้ excel ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับบัญชี ส่วน ...