ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีความสําคัญต่อสุขภาพอย่างไร

ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)

                 ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียก

ระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมไร้ท่อจะต้องมีปริมาณพอดีกับร่างกาย และมีฤทธิ์มากพอที่จะทำให้เกิด

พฤติกรรมต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ถ้าปริมาณฮอร์โมนมีมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น โรคเบา

หวาน โรคคอพอก หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นต้น

 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย

ต่อมไร้ท่อในร่างกายของเรา มีดังนี้

                1. ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กรูปร่างกลม อยู่ใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary หรือ adenohypophysis) และต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary หรือ neurohypophysis) เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก และสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้ปัสสาวะเป็นปกติ และการบีบตัวของมดลูกในเพศหญิงขณะคลอดบุตรด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รวมไปถึงควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของคนเรา

                 2. ต่อมหมวกไต (adrenal gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างค่อนข้างแบนคล้ายหมวดครอบอยู่ส่วนบนของไตแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ซึ่งมีคุฯสมบัติเหมือนสารที่หลั่งจากปลายประสาทอัตโนมัติ โดยจะกระตุ้นร่างกายทุกส่วนให้เตรียมพร้อม หลอดเลือดทั่วไปหดตัวและทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ส่วนชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร(cortisol) ตลอดจนฮอร์โมนควบคุมการดูดซึมเหลือที่ไต (aldosterone)

                 3. ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) เป็นต่อมที่มีลักษณะเป็นพู เชื่อมต่อกัน เป็นต่อมที่อยู่ติดกับกล่องเสียงและหลอดลม ต่อมนี้จะมีขนาดโตขึ้นตามอายุ เพศ และภาวะโภชนาการ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้ดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม

                 4. ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็ก มี 2 คู่ อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

                 5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans) เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน เพราะไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บไว้ในกล้ามเนื้อหรือในตับได้

                 6. รังไข่ (ovary) ในเพศหญิง และอัณฑะ (testis) ในเพศชาย โดยที่รังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศ คือ ฮอร์โมนเอสโทรเจนกับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงเล็กแหลม สะโพกผาย การขยายใหญ่ของอวัยวะเพศ และเต้านม เป็นต้น ส่วนอัณฑะทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน เพื่อควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย เช่น เสียงแตกห้าว ลูกกระเดือกแหลม มีขนขึ้น บริเวณหน้าแข้ง รักแร้ และอวัยวะ เป็นต้น

                 7. ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิดแบนทางข้าง มี 2 กลีบขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไปตามอายุ มีขนาดใหญ่ในทารกแรกเกิด และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของรางกาย

การควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกตินั้น เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและระบบ

ต่อมไร้ท่อที่ทำงานร่วมกัน การทำงานของระบบประสาทนั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเส้นประสาทที่เชื่อมโยงต่อเนื่องตลอดร่างกาย จึงทำให้การตอบสนอง

ต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เพราะต่อมไร้ท่อไม่มี

ทางขนส่งสำเลียงฮอร์โมนไปยังเป้าหมายโดยตรงต้องอาศัยไปกับกระแสหมุนเวียนของโลหิต ซึ่งต้องผ่านอวัยวะอื่น ๆ ก่อนจะถึงเป้าหมาย ซึ่งการทำงานของร่าง

กายจะมีข้อดีที่ว่า ถ้าไม่ใช่อวัยวะซึ่งเป็นเป้าหมายของฮอร์โมนแล้วอวัยวะนั้น ๆ จะไม่ถูกกระตุ้น ดังนั้นการควบ

2 ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System)

     ระบบต่อมไร้ท่อ ( Endocrine System ) มีความสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกี่ยวกับกระบวนการ เมแทบอลิซึม (Metabolism) ต่างๆ ในร่างกาย การควบคุมปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ การลําเลียงสาร เข้า - ออก เซลล์ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโต การใช้พลังงาน การสืบพันธุ์ ตลอดจนการตอบสนอง ทางด้านอารมณ์

    ต่อมไร้ท่อจะขับสารคัดหลั่ง ซึ่งเป็นสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormone) ออกมา และซึม เข้าสู่ระบบกระแสเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้อวัยวะเป้าหมายต่างๆ ภายในร่างกาย สามารถทํางานได้ตามปกติ ซึ่งในระบบต่อมไร้ท่อนี้มีโครงสร้างที่ทําหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกัน

    ๒.๑ โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ

ในระบบต่อมไร้ท่อนี้มีโครงสร้างที่ทําหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป ซึ่งจะนําเสนอ ในส่วนที่สําคัญ ดังนี้

1) ต่อมใต้สมองหรือต่อมพิทูอิทารี (Pituitary Gland) เป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก และมีความสําคัญมากที่สุด แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ

        1.1) ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary) ทําหน้าที่ในการผลิต ฮอร์โมนต่างๆ ดังนี้ แผนภาพแสดงที่ตั้งของต่อมไร้ท่อภายในร่างกาย

ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีความสําคัญต่อสุขภาพอย่างไร

        (1) โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการ เจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นปกติ ซึ่งหากมีการผลิตฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทําให้ร่างกาย สูงใหญ่ผิดปกติ และอาจทําให้หัวใจโต เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ในผู้ใหญ่ แต่ถ้าหากมีการ ผลิตฮอร์โมนนี้น้อยเกินไป จะทําให้ร่างกายเตี้ย แคระแกร็น การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ หยุดชะงักลงได้

        (2) ทรอฟิกฮอร์โมน (Trophic Hormone) เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมปฏิกิริยา ของต่อมอื่นๆ ซึ่งจะหลั่งออกมาก็ต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนที่ผลิตจากไฮโพทาลามัส โดย ในจํานวนนั้นจะมีฮอร์โมนบางชนิดทําหน้าที่ไปกระตุ้นการทํางานของต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และบางชนิดจะไปกระตุ้นการทํางานของต่อมเพศให้เป็นปกติ

        (3) ฮอร์โมนโพรแลกติน (Prolactin Hormone) ทําหน้าที่กระตุ้นการเจริญ เติบโตของเต้านมและต่อมน้ํานมให้สร้างน้ํานมในขณะที่มารดากําลังตั้งครรภ์ และผลิตน้ํานม ออกมาหลังการคลอดบุตร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สําคัญของทารก

ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีความสําคัญต่อสุขภาพอย่างไร

            1.2) ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Pituitary) จะทํางานตรงกันข้ามกับ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า คือ จะไม่ผลิตฮอร์โมนออก มาเอง แต่จะมีการเก็บฮอร์โมนที่ไฮโพทาลามัส ผลิตขึ้น ได้แก่

            (1) ออกซิโทซิน (Oxytocin) เป็นฮอร์โมนที่จะมีผลต่อการไป กระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบของมดลูกบีบตัว เมื่อครบกําหนดคลอด และช่วยกระตุ้นการหลั่ง ของน้ํานมในขณะที่เด็กดูดนมต่อมใต้สมอง

             (2) วาโซเพรสซิน (Vasopressin) เป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการ ตําแหน่งที่ตั้งของต่อมใต้สมอง ทํางานของไต โดยทําหน้าที่ในการควบคุมปริมาณน้ําในร่างกาย ระบบขับถ่ายปัสสาวะ และช่วย เพิ่มความดันโลหิต

 2) ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของ ร่างกายมีจํานวน 2 ต่อม อยู่ด้านข้างส่วนบนของหลอดลมตรงลําคอบริเวณลูกกระเดือกข้างละ 1 ต่อม โดยทําหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนแคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งทําหน้าที่ควบคุมปริมาณ แคลเซียมในเลือด และฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxin) มาควบคุมกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร ในร่างกาย การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ การแลกเปลี่ยนน้ําและเกลือแร่ การควบคุมกรดไขมัน และเปลี่ยนกรดอะมิโน (Amino acid) เป็นกลูโคส (Glucose)

        หากร่างกายผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป ก็จะทําให้การเผาผลาญสารอาหาร ต่างๆ ภายในร่างกายสูงขึ้น คือ จะหิวเร็ว กินเก่ง แต่น้ำหนักตัวลด หัวใจเต้นเร็ว และใจสั่น แต่ถ้าหากผลิตน้อยเกินไป ระบบเผาผลาญสารอาหารในร่างกายก็จะทํางานผิดปกติ ทําให้ร่างกาย เตี้ย แคระแกร็น ปัญญาอ่อน มีผิวหนังที่หยาบกร้าน

        นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลที่ขาดธาตุไอโอดีนซึ่งมีมากในอาหารทะเลนั้น จะผลิตฮอร์โมน ไทรอกซินได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทํางานหนักและมีขนาดใหญ่ขึ้น จนกลายเป็น โรคคอพอก

3) ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่เล็กที่สุด มีจํานวน 2 คู่ อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ ทําหน้าที่ผลิตพาราฮอร์โมน (Para Hormone) เพื่อไปควบคุม ระดับแคลเซียม (Calcium) และฟอสเฟต (Phosphate) ในกระแสเลือด หากต่อมพาราไทรอยด์ มีการผลิตฮอร์โมนมากเกินไป ฮอร์โมนก็จะไปละลายแคลเซียมและฟอสเฟตออกจากกระดูกเข้าสู่ กระแสเลือด ทําให้เลือดมีระดับแคลเซียมสูงมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลทําให้เกิดนิ่วในไต กระดูกพรุน ปวดกระดูกและข้อได้ แต่ถ้ามีการผลิตฮอร์โมนที่น้อยเกินไป ก็จะทําให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ํา ซึ่งมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทได้ เช่น มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก เป็นต้น

4) ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) มี ๒ ต่อม อยู่ข้างบนและข้างหน้าที่ปลาย ด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง โดยต่อมหมวกไตด้านขวาจะมีรูปร่างคล้ายพีระมิด ส่วนด้านซ้ายมีขนาด ใหญ่และอยู่สูงกว่า มีรูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งแต่ละส่วนก็มีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ดังนี้

ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีความสําคัญต่อสุขภาพอย่างไร

5) ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) เป็นต่อมเล็กๆ ที่ช่วยสร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ทําหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของต่อมเพศในช่วงระยะก่อนวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่ช่วง วัยรุ่นอาจมีผลต่อการตกไข่ และประจําเดือนในเพศหญิง ซึ่งหากต่อมไพเนียล มีการผลิตฮอร์โมน ออกมามากเกินไป จะส่งผลทําให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ แต่ถ้าหากต่อมไพเนียลถูกทําลาย เช่น เกิดเนื้องอกในสมอง ก็จะทําให้เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกว่าปกติ

6) ต่อมไทมัส (Thymus Gland) อยู่บริเวณด้านหน้าทรวงอก ซึ่งมีขนาดที่ เปลี่ยนแปลงไปตามอายุ โดยในระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาต่อมนี้จะมีขนาดใหญ่มาก และจะ มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่ออายุ 5 ปี จากนั้นก็จะเจริญช้าๆ และค่อยๆ หายไป

7) ตับอ่อน (Pancreas) เป็นต่อมขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งต่อมมีท่อ และ ต่อมไร้ท่อ ทําหน้าที่ ดังนี้

    7.1) ต่อมมีท่อ (Duct Gland) ทําหน้าที่สร้างน้ําย่อยขึ้นมาเพื่อใช้ย่อยอาหาร

    7.2) ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland) เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนของตับอ่อน ได้แก่ ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon) ออกมา ซึ่งแต่ละฮอร์โมนจะมีหน้าที่ ดังนี้

    (1) อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมปฏิกิริยาทางเคมีของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ซึ่งหากร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ จะทําให้ปริมาณน้ําตาลในเลือดสูงผิดปกติ ปริมาณ กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น มีปัสสาวะมากกว่าปกติ

    (2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทําหน้าที่กระตุ้นไกลโคเจน (Glycogen) ที่สะสมอยู่ในตับให้เปลี่ยนเป็นกลูโคสเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต และกระตุ้นเบต้าเซลล์ (Beta Cell) ให้หลั่งอินซูลินที่ลําไส้เล็กและกระเพาะอาหาร หากขาดฮอร์โมนนี้ก็จะไม่มีผลกระทบที่จะทําให้ เกิดโรค เนื่องจากยังมีฮอร์โมนอีกหลายชนิดที่สามารถทําหน้าที่แทนได้

  8 ) ต่อมเพศ (Gonad)  ต่อมเพศในเพศชาย คือ อัณฑะ และในเพศหญิง คือ รังไข่

         8.1) อัณฑะ (Testest) มีหน้าที่สร้างตัวอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายและสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งทำหน้าที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเพศชายในวัยหนุ่ม เช่น เสียงห้าว มีหนวดเครา มีกล้ามเนื้อเป็นมัด มีขนขึ้นตามแขน ขา รักแร้ อวัยวะเพศ และมีความรู้สึกทางเพศ เป็นต้น

         8.2) รังไข่ (Ovary) ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร

ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีความสําคัญต่อสุขภาพอย่างไร

2.2 ความสําคัญของระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบอวัยวะภายในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท และ มีความสําคัญต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่นเช่นเดียวกับระบบประสาท โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้

1) ระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ ระบบต่อมไร้ท่อมีความสําคัญและส่งผลต่อ สุขภาพของวัยรุ่น ดังนี้

    1.1) ควบคุมการทํางานของอวัยวะภายในของร่างกาย ระบบต่อมไร้ท่อมีหน้าที่ ในการผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมให้อวัยวะเป้าหมายสามารถทํางานได้อย่างเต็มที่ โดยการทํางาน ของระบบต่อมไร้ท่อจะเกิดจากการกระตุ้นของระบบประสาท ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

    1.2) ควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งเกิดจาก การทํางานร่วมกันของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาท หากการทํางานของระบบใดระบบหนึ่ง เกิดความบกพร่อง จะเกิดความไม่สมดุลของสารละลายต่างๆ ในร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ตามมา ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายที่เหมาะสม ระบบต่อมไร้ท่อจะมีหน้าที่ใน การผลิตฮอร์โมนต่างๆ ที่มีความสําคัญต่อการทํางานของร่างกาย โดยพบว่าในวัยรุ่น การทํางาน ของต่อมเพศที่เหมาะสม จะทําให้สรีระร่างกาย มีการเจริญเติบโตไปตามวัย

2) ระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ระบบต่อมไร้ท่อจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของวัยรุ่น ดังนี้

    2.1) กระตุ้นการใช้สารอาหารและผลิตพลังงานภายใน ร่างกายเพื่อการเจริญเติบโต ทําให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายนั้นได้รับ สารอาหารอย่างเพียงพอ และก่อให้เกิดพลังงานในการดําเนินชีวิต ซึ่งจะ ช่วยให้การเจริญเติบโตของร่างกายเป็นไปตามวัย

    2.2) กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย ระบบต่อมไร้ท่อ จะมีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า โกรทฮอร์โมน ซึ่งมีหน้าที่ช่วยใน การเจริญเติบโตของร่างกาย โดยไปกระตุ้นให้เซลล์ทุกส่วนของร่างกาย ให้มีการเพิ่มขนาดและจํานวน ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้น กระดูกแขน ขา มีการเจริญเติบโตมากขึ้น หากขาดฮอร์โมนดังกล่าวนี้ จะมีผลทําให้การเจริญเติบโตนั้นผิดปกติ เป็นผู้ใหญ่ที่มีรูปร่างเตี้ยแคระ หรือถ้าหากมีโกรทฮอร์โมนมากเกินไป ก็อาจทําให้ คนแคระที่เกิดจากการขาดโกรทฮอร์โมน จะมีลักษณะ รูปร่างใหญ่โตเกินกว่าคนปกติได้ร่างกายที่เตี้ยเล็ก ผิดปกติ

    2.3) กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเพศ ระบบต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะต่อมเพศ มีหน้าที่สําคัญในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะที่มีความเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ให้มีการ

เจริญเติบโต และมีความพร้อมในการทําหน้าที่ ของตนเอง เช่น มีการผลิตอสุจิในเพศชาย และมีการตกไข่ในเพศหญิง เป็นต้น

3) ระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อ พัฒนาการ ระบบต่อมไร้ท่อมีความสําคัญและ ส่งผลต่อพัฒนาการของวัยรุ่น ดังนี้

    3.1) เกิดพัฒนาการที่ เหมาะสมกับวัย โดยระบบต่อมไร้ท่อจะทํางาน ร่วมกับระบบประสาททําให้อวัยวะต่างๆ มีความ พร้อมในการทําหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้เกิด พัฒนาการที่ถูกต้องตามมา ดังรายละเอียดที่ กล่าวไปแล้วข้างต้น

    3.2) กระตุ้นให้เกิดพัฒนาการ เพศหญิงและเพศชายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น จะมีพัฒนาการ

ทางเพศที่เหมาะสม โดยระบบต่อมไร้ท่อจะผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการทํางานของระบบ การหลั่งฮอร์โมนที่ผลิตโดยระบบต่อมไร้ท่อสืบพันธุ์ออกมา ให้ทําหน้าที่ในการกระตุ้น เซลล์สืบพันธุ์ และยังกระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนของต่อมเพศ ซึ่งมีผลต่อส่วนต่างๆ ของอวัยวะเพศและอวัยวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เจริญเติบโตและทํางานได้อย่างสมบูรณ์ ทําให้ วัยรุ่นเกิดพัฒนาการทางเพศที่สอดคล้องกับเพศของตนเอง เช่น เพศชายจะมีเสียงห้าว มีหนวดเครา มีกล้ามเนื้อเป็นมัด มีขนขึ้นตามแขน ขา รักแร้ อวัยวะเพศ เป็นต้น ในขณะที่ เพศหญิงจะมีเสียงแหลม ผิวพรรณเปล่งปลั่ง เต้านมเจริญเติบโต สะโพกผาย มีขนบริเวณรักแร้ และอวัยวะเพศ มีประจําเดือน เป็นต้น

 2.3 การดูแลรักษาระบบต่อมไร้ท่อให้ทํางานตามปกติ

        การดูแลรักษาระบบต่อมไร้ท่อให้สามารถทํางานได้ตามปกตินั้น มีข้อแนะนํา ดังนี้

    1. หมั่นสํารวจและดูแลสุขภาพตนเองอย่างสม่ําเสมอในการวัดอัตราการเจริญเติบโต ของร่างกายให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงการทําหน้าที่ประสานงานร่วมกันของ ระบบต่างๆ ในร่างกาย อันเป็นผลมาจากการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อทางเพศที่แตกต่างกันไปอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก

    2. ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ เพื่อช่วยทําให้ร่างกายแข็งแรง โดยในระหว่างที่ ร่างกายได้ออกกําลังกาย ต่อมไร้ท่อบางอย่าง เช่น ต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง จะถูกกระตุ้นให้ หลั่งฮอร์โมนมากขึ้น ร่างกายจะสะสมกลูโคส เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นพลังงาน สํารองไว้สําหรับใช้ในระหว่างการออกกําลังกาย สําหรับวิตามินซีจะถูกเก็บไว้ในต่อมหมวกไต โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยทําให้ระบบต่อมไร้ท่อ ทํางานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    3. เลือกรับประทานอาหารที่มี ประโยชน์ต่อร่างกาย และได้สัดส่วนที่เหมาะสม

    4. ควรดื่มน้ำสะอาด วันละ 6-8 แก้ว และน้ำผลไม้ แทนเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม ตลอดจนหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มน้ําสะอาด หรือการดื่มน้ำผลไม้เป็นประจํา จะช่วย ต่างๆ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนเสริมสร้าง ประสิทธิภาพการทํางานที่ดีของระบบต่อมไร้ท่อ

    5. พักผ่อนอย่างเพียงพอด้วยการนอนหลับ หรือการหากิจกรรมนันทนาการเพื่อ คลายเครียด เช่น การทํางานอดิเรก หรือการท่องเที่ยวพักผ่อน เป็นต้น

    6. ในกรณีที่เกิดความผิดปกติของร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์และปรึกษาแพทย์ทันที

2. ความสัมพันธ์ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ

- ระบบประสาทกับระบบต่อมไร้ท่อนั้นทํางานร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ โดยอาจเรียกระบบของ การทํางานที่มีความสัมพันธ์กันของทั้งสองระบบนี้ว่า ระบบประสานงาน โดยพบว่าระบบประสาท จะทําหน้าที่เป็นตัวสั่งการให้ต่อมไร้ท่อทํางาน เนื่องจากระบบประสาทไม่สามารถสั่งหรือควบคุม ให้อวัยวะหรือร่างกายบางส่วนให้ทํางานได้โดยตรง แต่ต้องอาศัยระบบต่อมไร้ท่อที่จะสร้างฮอร์โมน เพื่อไปกระตุ้นหรือบังคับอวัยวะเป้าหมายให้ทํางาน หรือให้เกิดการปรับสมดุลของร่างกายขึ้นการทําให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลอยู่เสมอนั้นเป็นสิ่งจําเป็น โดยกระบวนการดังกล่าวจะเกิด จากฮอร์โมนที่ต่อมไร้ท่อสร้าง ซึ่งจะซึมเข้าสู่หลอดเลือดฝอยที่มาเลี้ยงต่อมไร้ท่อแล้วเข้าสู่ระบบ ไหลเวียนเลือดของร่างกายไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ในขณะเดียวกันพบว่าเซลล์ประสาทและ ระบบประสาทก็จะทําหน้าที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อด้วยเช่นกัน โดยพบว่าระบบ ประสาทสามารถทํางานในลักษณะของการประสานงานกับต่อมไร้ท่อได้ใน 2 ทาง คือ

    1) ทางตรง พบได้ในกลุ่มของต่อมไร้ท่อที่เจริญมาจากกลุ่มเนื้อเยื่อประสาท จึงมี ระบบประสาทมาควบคุมโดยตรง เมื่อถูกกระตุ้นโดยระบบประสาทก็จะมีการหลั่งฮอร์โมนทันที ได้แก่ ส่วนหลังของต่อมใต้สมองและส่วนในของต่อมหมวกไต

    2) ทางอ้อม พบว่ามีการสร้างสารจากเซลล์ประสาทในสมองบางส่วนส่งมาเก็บไว้ ตามเส้นใยประสาท แล้วปล่อยเข้าสู่กระแสโลหิต เมื่อมีการกระตุ้นกระแสประสาทจากส่วนของ สมองที่เกี่ยวข้องไปควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ ได้แก่ การควบคุมการหลั่งฮอร์โมน จากส่วนหน้าของต่อมใต้สมอง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าระบบต่อมไร้ท่อนั้นจะมีการกระจายอยู่ทั่วร่างกาย ทําให้มีขีด ความสามารถในการสั่งการหรือช่วยในการทํางานของอวัยวะได้ดีกว่าระบบประสาทที่มีแค่เพียง เส้นประสาทมาทั่วร่างกาย แต่ศูนย์สั่งการอยู่ที่สมองและไขสันหลังเท่านั้น

ดังนั้นการทํางานของระบบประสาทจึงต้องอาศัยระบบต่อมไร้ท่อช่วยทํางาน แต่ในทาง กลับกัน ก็พบว่าการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อจะไม่สามารถทําหน้าที่ของตนเองได้สมบูรณ์แบบ หากขาดการสั่งการจากระบบประสาท ซึ่งจะสามารถเห็นได้จากความสําคัญของระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น ดังที่ได้กล่าว ไปแล้วข้างต้น