มาตราส่วน 1 : 150 000 บนแผนที่ หมายความว่าอย่างไร

มาตราส่วน  (map scale) 
      มาตราส่วนหมายถึง สิ่งแสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางที่ปรากฏจริงบนผิวโลก

เนื่องจากแผนที่เป็นภาพย่อส่วนของพื้นโลก จึงจำเป็นต้องมีมาตราส่วนกำกับไว้ในแผนที่ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ทราบ

ว่ามาตราส่วนในแผนที่นั้นใช้แทนระยะทางบนพื้นผิวโลกมากน้อยเพียงใด มาตราส่วนที่นิยมใช้มีอยู่ 3 ขนิด ดังนี้

          1) มาตรส่วนคำพูด (verbal scale) คือมาตราส่วนที่บอกโดยตรงว่าระยะทางในแผนที่ 1 หน่วย แทนระยะทางใน

พื้นที่จริงเท่าไร เช่น "1 เซนติเมตร เท่ากับ 20 กิโลเมตร"
          2) มาตราส่วนเส้น (graphic scale) หรือมาตราส่วนรูปแท่ง (bar scale) คือมาตราส่วนที่แสดงด้วย

เส้นตรงหรือรูป

แท่งที่มีตัวเลขกำกับไว้เพื่อบอกความยาวบนแผนที่แทนระยะทางจริงบนพื้นโลก โดยมีหน่วยความยาวที่นิยมใช้ คือ

 กิโลเมตรและไมล์ ซึ่งผู้ใช้แผนที่สามารถหาระยะทางจริงได้โดยใช้ไม้บรรทัดวัดระยะต่างๆที่ต้องการทราบ แล้วนำ

ไปเปรียบเทียบกับมาตราส่วนที่กำหนดไว้ในแผนที่นั้น 
          3) มาตราส่วนแบบเศษส่วน (representative fraction) คือมาตราส่วนที่แสดงด้วยตัวเลขอัตราส่วน เช่น 

เช่น เศษ 1 ส่วน 50,000 หรือ 1: 50,000 หรือหมายความว่าระยะทาง 1 หน่วยเท่ากับระยะทาง 50,000 หน่วยบนพื้นโลก


5. ชื่อภูมิศาสตร์ (geographic name) คือตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่มีความสำคัญในแผนที่ รูปแบบชื่อภูมิศาสตร์

ที่นิยมใช้ในแผนที่ทั่วไป มีดังนี้
          1) ทวีป ประเทศ รัฐ เกาะใหญ่ และคาบสมุทร นิยมใช้ตัวตรงภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เช่น
                    ทวีปเอเชีย                 ASIA
                    ประเทศไทย               THAILAND
                    คาบสมุทรมลายู         MALAY PENINSULA
          2) เมืองหลวง เมืองใหญ่ นิยมใช้ตัวตรง ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น
                    กรุงเทพฯ                    Krung Thep
                    เป่ย์จิง                         Beijing
                    วอชิงตัน ดี.ซี.            Washington, D.C.
          3) มหาสมุทร อ่าวใหญ่ ทะเลใหญ่ ทะเลสาบใหญ่ ภูเขา ทุ่งหญ้า ทะเลทรายใหญ่ ที่ราบสูง นิยมใช้ตัวเอน

 ภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เช่น
                    มหาสมุทรแปซิฟิก      PACIFIC OCEAN
                    ทะเลจีนใต้                 SOUTH CHINA SEA
                    ที่ราบสูงโคราช          KHORAT PLATEAU
          4) แม่น้ำ ลำธาร อ่าวขนาดเล็ก เกาะ ช่องแคบ ทะเลทรายขนาดเล็ก โอเอซิส ที่ลุ่ม นิยมใช้ตัวเอน

ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น
                    แม่น้ำโขง                  Mekong River
                    อ่าวบ้านดอน            Ao Bandon
                    ช่องแคบมะละกา      Strait of Malacca
          5) เขื่อน ถนน ท่อน้ำ ท่อก๊าซ แหล่งอารยธรรมโบราณ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ นิยมใช้ตัวเอนขนาดเล็ก

ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหย่ และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น

                    เขื่อนสิริกิติ์                   Sirkit Dam

                    ทางหลวงสายเอเชีย    Asian Highway

                    บ้านเชียง                     Ban Chiang

   6. สัญลักษณ์ (symbol) และคำอธิบาย

สัญญลักษณ์ (legend)เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่าและแปลความ

หมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ

สัญญลักษณ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

         1) สัญญลักษณ์ที่เป็นจุด (point symbol) เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แทนสถานที่ และกำหนดสถานที่ตั้ง เช่น วัด

 โรงเรียน สนามบิน ตัวเมือง ลักษณะจุดที่แสดงอาจเป็นรูปร่างทรงเรขาคณิต หรือรูปร่างต่างๆก็ได้

          2) สัญญลักษณ์ที่เป็นเส้น (line symbol) เป็นสัญญลักษณืที่ใช้แทนสิ่งต่างๆที่เป็นเส้นมีระยะทาง เช่น

แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ เส้นแบ่งเขตการปกครอง ลักษณะเส้นที่แสดงอาจมีรูปร่าง สีต่างๆกันก็ได้

          3) สัญญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ (ared symbol) เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แสดงบริเวณพื้นที่ของสิ่งต่างๆที่ปรากฏ

ในภูมิประเทศ เช่น พื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ดินเค็ม ลักษณะพื้นที่ที่แสดงอาจให้มีรูปร่างและสีที่แตกต่าง

กันออกไปก็ได้

7. สี (color)

          สีที่ใช้เป้นมาตรฐานในแผนที่มี 5 สี คือ

     1) สีดำ ใช้แทนสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน และใช้แทนเส้นกริดและเลขกำกับเส้นกริด

     2) สีแดง ใช้แทนถนนและรายละเอียดพิเศษอื่นๆ

     3) สีน้ำเงิน ใช้แทนบริเวณที่เป็นน้ำ เช่น ทะเล มหาสมุทร

     4) สีน้ำตาล ใช้แทนความสูง เช่น เส้นชั้นความสูง เลขกำกับชั้นความสูง

     5) สีเขียว ใช้แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกาตร

       สีอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้แทนรายละเอียดต่างๆ บางอย่าง ซึ่งจะอธิบายไว้ในคำอธิบายสัญญลักษณ์

8.ความสูงและทรวดทรงของภูมิประเทศ
       พื้นผิวโลกมีระดับสูงและต่ำของภูมิประเทศแตกต่างกัน การเขียนแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ จึงต้องแสดงระ

ดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกัน

       8.1 การบอกระดับภูมิประเทศ ใช้ระดับทะเลปานกลาง (mean sea-level) ซึ่งมีตัวย่อว่า รทก.(msl)เป็นเกณฑ์

กำหนดความสูง แผนที่แสดงระดับความสูงนิยมแสดงแตกต่างกัน 4 รูปแบบ ดังนี้

            1) เส้นชั้นความสูง (contour line) คือเส้นสมมติที่ลากผ่านบริเวณต่างๆ ของภูมิประเทศที่มีความสูงเท่ากัน

 และมีตัวเลขกำกับค่าของเส้นชั้นความสูงนั้นๆเสมอ
             2) การใช้แถบสี (layer tinting) คือการจำแนกความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ ทั้งที่เป็นพื้นดินและ

พื้นน้ำโดยใช้แถบสี สีที่นิยมใช้ในแผนที่เพื่อแสดงความสูง-ต่ำ ของภูมิประเทศ มีดังนี้
พื้นดิน กำหนดสีแสดงลักษณะภูมิประเทศไว้ ดังนี้

            สีเขียว                  แสดงที่ราบ ที่ต่ำ

            สีเหลือง               แสดงเนินเขาหรือที่สูง

            สีเหลืองแก่          แสดง ภูเขาสูง

            สีน้ำตาล              แสดง ภูเขาสูงมาก

            สีขาว                   แสดง ภูเขาที่มีหิมะปกคลุม

พื้นน้ำ สีที่นิยมใช้เพื่อบอกความลึกของแหล่งน้ำในแผนที่ มีดังนี้

            สีฟ้าอ่อน             แสดง ไหล่ทวีป หรือเขตทะเลตื้น

            สีฟ้าแก่                แสดง ทะเลลึก
            สีน้ำเงิน               แสดง ทะเล หรือมหาสมุทรลึก
            สีน้ำเงินแก่          แสดง น่านน้ำที่มีความลึกมาก

           3) เส้นลายขวานสับ หรือเส้นลาดเขา(hachure) เป็นเส้นขีดสั้นๆ เรียงกันตามทิศทางลาดของพื้นดิน

 เพื่อแสดงรูปทรงของภูมิประเทศนั้น หากเป็นพื้นที่ชัน สัญญลักษณ์ในแผนที่ภูมิประเทศจะแสดงด้วยเส้นขีดที่สั้นหนา

และชิดกัน หากเป็นพื้นที่ลาดเท มักแสดงด้วยเส้นขีดยาว บาง และห่างกัน เส้นลายขวานสับแสดงให้ทราบเฉพาะ

ความสูงของภูมิประเทศ ส่วนความสูงที่แผนที่กำหนดขึ้นเป็นตัวเลข ไม่นิยมแสดงไว้ในแผนที่ที่ใช้เครื่องหมายเส้นลาย

ขวานสับ

4) การแรเงา (shading) เป็นการแสดงความสูงของภูมิประเทศอย่างหยาบๆ โดยเขียนหรือแรเงาพื้นที่ให้มีลักษณะเป็น

ภาพสามมิติหรือมีทรวดทรงขึ้น

            8.2 การอ่านเส้นชั้นความสูง

             แผนที่ภูมิประเทศที่ใช้เส้นชั้นความสูงของผิวโลก ได้แก่ รูปร่าง ความลาดเท และความสูงของภูเขาหรือเนินเขา

เส้นชั้นความสูงจะแสดงไว้เป็นช่วงๆ อย่างเป็นลำดับ โดยใช้หน่วยเดียวกัน เช่น หน่วยความยาวเป็นเมตร จึงอาจสมมติ

ให้ช่วงของเส้นชั้นความสูงห่างกัน 50 เมตร ได้แก่ 0 50100 150 200 หรือหน่วยความยาวเป็นฟุต อาจกำหนดให้ชั้นความ

สูงให้ห่างกัน 1,000 ฟุต ได้แก่ 0 1,000  2,000  3,000

             ความสูงของภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศมีความหมายดังนี้

                 1) เส้นความสูงที่มีรูปร่างคล้ายวงกลม แสดงว่าลักษณะภูมิประเทสจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นเนินเขา

หรือภูเขารูปกรวย

                 2) เมื่อไม่มีเส้นชั้นความสูงปรากฏในวงกลมหรือสี่เหลี่ยมด้านในของแผนที่ภูมิประเทศ แสดงว่าลักษณะ

ภูมิประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นที่ราบสูง

                 3) เมื่อเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศแสดงไว้ชิดกันมากในบริเวณใด แสดงว่าลักษณะภูมิ

ประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศของบริเวณนั้นเป็นหน้าผา

Team Photos


มาตราส่วนแผนที่ 1 : 50,000 หมายความว่าอย่างไร

ตัวอย่าง ในกรณีของแผนที่ภูมิประเทศระบุขนาดมาตราส่วนแผนที่เป็น 1:50,000 หน่วยบนพื้นภูมิประเทศจริง ถ้าหากการวัดระยะในแผนที่มีหน่วยการวัดเป็นเซนติเมตร ระยะทางซึ่งยาว 1 เซนติเมตรในแผนที่จะแทนขนาดความยาว 50,000 เซนติเมตร (หรือ 500 เมตร) ในพื้นที่ภูมิประเทศจริง

มาตราส่วน กิโลเมตร มีความหมายว่าอย่างไร

หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง โดยกำหนดให้ระยะทางในแผนที่เป็น 1 หน่วย เมื่อ มาตราส่วน 1 : 50,000 หมายความว่า ถ้าวัดระยะในแผนที่ได้ 1 หน่วย ระยะในภูมิประเทศจะเท่ากับ 50,000 หน่วย เช่น

แผนที่มาตราส่วน 1: 1,000,000 หมายความว่าอย่างไร

- ถ้าใช้มาตราส่วน 1 : 1,000,000 หมายความว่า ระยะทางในแผนที่ 1 เซนติเมตร เท่ากับระยะทางจริง 10 กิโลเมตร

มาตราส่วนของแผนที่หมายถึงอะไร

มาตราส่วนแผนที่ ( Map Scale ) คือ อัตราส่วนระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริงที่ตรงกันในภูมิประเทศ มาตราส่วนแผนที่อาจเขียนได้เป็นสูตรดังนี้ คือ มาตราส่วนแผนที่ = ระยะทางในแผนที่ ระยะทางในภูมิประเทศ Map Scale = Map Distance ( MD )