ชีวจริยธรรม มีความสําคัญต่อการศึกษาทางชีววิทยาอย่างไร

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในการวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ ถ้าจะสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญก็พอจะกล่าวได้ว่ามีอยู่สองเรื่องใหญ่ ๆ เรื่องที่หนึ่งก็คือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลและเงื่อนไขเพื่อปกป้องผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง (interest, incentive, information) และอีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาการพิจารณาสถานภาพในความมีชีวิตหรือความเป็นมนุษย์ของตัวอ่อน (moral standing of the embryo)

1. “ใครได้ ใครเสียประโยชน์ และใครควรถูกคุ้มครอง?”
ปัญหาการรักษาผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องนั้น มุ่งพิจารณากรณีที่ผู้วิจัยได้รับบริจาคตัวอ่อนมาจากผู้ป่วยที่ตั้งใจมารักษาการมีบุตรยาก ซึ่งควรมีเงื่อนไขในทางจริยธรรมกำกับในเรื่องนี้ เช่น (ร่าง) แนวปฏิบัติฯ ของไทยที่จัดทำโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติระบุว่า ตัวอ่อนที่ใช้ในการวิจัยเพื่อเป็นแหล่งที่มาของสเต็มเซลล์จะต้องเป็นตัวอ่อนที่เกินจากความต้องการที่ใช้ในการทำให้เกิดบุตร โดยจะต้องไม่มีการชี้ชวน หรือจ่ายเงินใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวอ่อนนั้น อีกทั้งจะต้องปราศจากการชี้นำของบุคคลใด ๆ ที่จะเป็นผู้ได้รับเซลล์นั้นในฐานะคนไข้หรือผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ที่ได้รับจากตัวอ่อน ส่วนทางด้านผู้วิจัยจะต้องจัดทำข้อตกลงในการสร้างตัวอ่อนขึ้นมาเพื่อรักษาการมีบุตรยาก และข้อตกลงในการบริจาคตัวอ่อนที่เหลือจากความต้องการสำหรับใช้ในงานวิจัยที่ต้องการสเต็มเซลล์ แยกกันคนละฉบับ รวมทั้งจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่จะทำให้บ่งชี้ได้ว่าผู้ที่บริจาคไข่หรือตัวอ่อนเป็นใคร
ในกรณีที่การวิจัยเสต็มเซลล์นั้นอาจมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ คำยินยอมที่ให้ผู้บริจาคฯ ลงชื่อจะต้องระบุว่าผู้บริจาคจะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินตอบแทนหรือผลประโยชน์อันจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาสเต็มเซลล์ดังกล่าวในทางการค้า
การจัดการกับปัญหาจริยธรรมในข้อแรกนี้ ดูเหมือนว่ามีความคล้ายคลึงกับการจัดการเกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์และนักวิจัย ที่มีจัดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีผลประโยชน์ทับซ้อน การแสวงประโยชน์ด้วยการชี้นำ และการเสียเปรียบเพราะขาดโอกาสรับรู้ข้อมูลที่เพียงพอ

2. “ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นเมื่อไหร่?”
ส่วน ปัญหาสถานภาพในความมีชีวิตหรือความเป็นมนุษย์ของตัวอ่อน เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน ที่แม้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันจะให้ข้อมูลที่สามารถนำมาเป็นเกณฑ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่แม้ในระดับสากลก็มิได้มีข้อสรุปที่ลงตัว คงเป็นเรื่องที่แต่ละประเทศไปจัดการตั้งกฎหมาย กฎเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติกันเองต่าง ๆ กันไป
ด้วยความรู้ปัจจุบัน เราทราบว่ากระบวนการพัฒนาไปเป็นตัวอ่อน (development) เริ่มขึ้นตั้งแต่ เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่และสเปอร์ม) ผสมกัน นำเอาสารพันธุกรรมจากพ่อและแม่อย่างละครึ่งมารวมกันเป็นเซลล์ที่มีโครโมโซมอยู่ 23 คู่ นี่คือไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว (fertilized egg หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า zygote) จากนั้นเป็นต้นไปเซลล์นี้จะแบ่งตัวไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาประมาณสองสัปดาห์ นักชีววิทยาการสืบพันธุ์บางคนเสนอให้ใช้คำว่า pre-embryo สำหรับเรียกตัวอ่อนในระยะนี้มากกว่าใช้คำว่า embryo ด้วยเหตุผลในทางปฏิบัติมากกว่าเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรก็ตาม ในระยะแรกนี้เซลล์จะแบ่งตัวเป็นสอง สี่ แปดเซลล์ หากเราแยกเซลล์ที่แบ่งตัวอยู่นี้ออกจากกัน แต่ละเซลล์ก็จะยังสามารถพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนได้ด้วยตัวของมันเอง (นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดครรภ์แฝด)
แต่เมื่อถึงระยะ 16 เซลล์ จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มเซลล์เล็ก ๆ นี้ จากที่เคยเหมือนกันทุก ๆ เซลล์ก็จะเริ่มมีบางเซลล์ที่พัฒนาตัวเองแตกต่างออกไป (differentiate) พร้อมกันนี้ ความสามารถของแต่ละเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนได้ด้วยตัวเองก็จะลดลง บางเซลล์เริ่มปรากฏหน้าที่เฉพาะของเซลล์เอง เช่น เซลล์ที่อยู่ภายนอกจะเริ่มรับรู้ว่าตนเองอยู่ “ด้านนอก” และเตรียมตัวพัฒนาไปเป็นรกและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่ห่อหุ้มและปกป้องตัวอ่อนที่จะเติบโตต่อไปภายใน
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่สอง กลุ่มเซลล์ทั้งหมดนี้จะหลุดออกมาจากเปลือกของเซลล์ไข่ และฝังตัวติดกับผนังมดลูกของมารดา ร่างกายของมารดาจะรับรู้การมีอยู่ของตัวอ่อนเป็นครั้งแรกและเริ่มการตั้งครรภ์เพื่อหล่อเลี้ยงตัวอ่อน แต่กลุ่มเซลล์ที่อยู่ “ข้างใน” ตัวอ่อนนั้น แต่ละเซลล์ยังมีความสามารถที่จะกลายไปเป็นอวัยวะทุก ๆ อย่างในร่างกายได้ หรือแม้กระทั่งแตกตัวออกกลายเป็นตัวอ่อนหลายตัวเกิดเป็นครรภ์แฝดก็เป็นไปได้ ในระยะนี้เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเซลล์ที่อยู่ข้างในนี้ เซลล์ไหนจะกลายเป็นส่วนของร่างกายมนุษย์ และเซลล์ไหนจะกลายเป็นรก (ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์) แต่เมื่อถึงวันที่สิบสาม ระยะเวลาช่วงที่นักปฏิบัติบางคนเรียกว่าระยะ pre-embryo ก็จะหมดลง
นับจากวันที่สิบสี่หรือวันที่สิบห้าเป็นต้นไป กลุ่มเซลล์ส่วนน้อยกลุ่มหนึ่งที่อยู่ภายในตัวอ่อนจะเริ่มพัฒนาไปเป็น fetus ที่จะกลายเป็นมนุษย์ ผู้ศึกษาวิจัยจะเริ่มมองเห็นความแตกต่างของเซลล์แต่ละเซลล์ และพบว่าเซลล์กลุ่มหนึ่งพัฒนาขึ้นเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า primitive streak ซึ่งเป็นระยะแรกของเส้นประสาทและกระดูกสันหลัง นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของพัฒนาการของตัวอ่อน เพราะว่าจากวันนี้เป็นต้นไปจะไม่มีการแยกตัวออกเป็นแฝดอีกต่อไป ตัวอ่อนอายุสิบห้าวันหนึ่งตัว จะกลายเป็นมนุษย์หนึ่งคน (ถ้าไม่แท้งเสียก่อน) ไม่มากไปกว่านั้น
จากจุดนี้ไปตัวอ่อนจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในการสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 ตัวอ่อน embryo ก็จะกลายเป็น fetus เราจะเริ่มเห็นสิ่งที่คล้ายแขน ขา และอวัยวะอื่น ๆ ของมนุษย์…

ปัญหาจริยธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการวิจัยด้านสเต็มเซลล์นั้น เป็นเพราะในกรณีที่นักวิจัยต้องการสกัดเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์มักจะใช้ตัวอ่อนที่มีอายุ 5-7 วันหลังปฏิสนธิ (เรียกว่า blastocyst) ซึ่งมีกลุ่มมวลเซลล์ภายใน (inner cell mass) ที่เหมาะจะเป็นแหล่งของสเต็มเซลล์ที่นักวิจัยต้องการ และผลของการสกัดเซลล์นี้ออกมาคือ ตัวอ่อนนั้นถูกทำลายมิให้เจริญเติบโตต่อไปได้นั่นเอง
จากความรู้ที่กล่าวมาข้างต้น ข้อกำหนดของหลายประเทศจึงมักจะมีแนวทางให้ปฏิบัติกับตัวอ่อนอย่างระมัดระวัง (และให้ความเคารพระดับหนึ่ง) โดยห้ามมิให้ใช้เซลล์จากตัวอ่อนภายหลังระยะ 14 วันหลังปฏิสนธิ
การกำหนดระยะเวลาหลังปฏิสนธิที่จะนำตัวอ่อนมาใช้ได้หรือไม่ได้นี้ แม้ว่าจะอ้างอิงอยู่บนฐานของความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพัฒนาการของตัวอ่อนมนุษย์ในครรภ์ดังที่กล่าวมาแล้ว (โดยอาศัยเกณฑ์ที่ว่าในวันที่ 14 ตัวอ่อนต้องยังไม่มีพัฒนาการของสิ่งที่ใกล้เคียงกับระบบประสาทหรือความรับรู้ใด ๆ) แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากว่า ตัวอ่อนเริ่มเป็นมนุษย์เมื่อใด
คำตอบชัด ๆ ในเรื่องนี้คงจะไม่สามารถอิงอยู่กับความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว มิใช่ว่าข้อมูลวิทยาศาสตร์ไม่ชัดเจนเพียงพอ หากแต่เป็นเพราะมนุษย์เองมีความเห็นเกี่ยวกับการตีความหมายของคำว่า “ชีวิต” แตกต่างกันไป ทำให้ปัญหาเรื่องนี้ถูกนำไปพิจารณาในระดับปรัชญาและความเชื่อทางศาสนา ในเมื่อความเห็นในเรื่อง “ชีวิต” ยังต่างกันบนพื้นฐานความเชื่อ ความศรัทธา และการตัดสินใจทางการเมืองของแต่ละประเทศ “การปฏิบัติต่อตัวอ่อนด้วยความเคารพ” จึงมีความเข้มงวดไม่เท่ากัน ดังตัวอย่างที่จะนำเสนอต่อไปนี้

แนวทางขององค์การ UNESCO
องค์การ UNESCO ได้จัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมชีวการแพทย์ (International Bioethics Committee – IBC) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 ให้มีหน้าที่พิจารณาประเด็นและแง่มุมทางจริยธรรมของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการใช้ประโยชน์ด้านชีววิทยาการแพทย์ เพื่อเป็นแนวทางร่วมกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ให้การพิจารณาและหาข้อสรุป ซึ่ง IBC ก็ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อหาข้อสรุปทางด้านจริยธรรมที่พึงกระทำเกี่ยวกับการวิจัยในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านสเต็มเซลล์ด้วย
คณะทำงานด้านสเต็มเซลล์ของ IBC ซึ่งมี Alexander McCall Smith อาจารย์ทางกฎหมายจากสก็อตแลนด์ และ Michel Ravel นักพันธุศาสตร์จากอิสราเอลร่วมเป็นเลขานุการ ได้พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้ตัวอ่อนมนุษย์เป็นแหล่งของสเต็มเซลล์สำหรับการศึกษาวิจัย (รวมทั้งการใช้ประโยชน์ต่อไปเมื่อการวิจัยได้รับผลสำเร็จ) รายงานของคณะทำงานชุดนี้มีข้อเสนอหลายประการ แต่สุดท้ายก็มิได้ระบุว่า คณะทำงานเห็นว่าการวิจัยโดยใช้สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในทางจริยธรรมหรือไม่ ใจความสำคัญของรายงานมีว่า การวิจัยสเต็มเซลล์ที่มาจากตัวอ่อนเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคเป็นสิ่งที่สมควรกระทำ แต่การดำเนินการของแต่ละประเทศให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสังคมในประเทศนั้น ๆ และแต่ละประเทศควรถเถียงกันอย่างกว้างขวางและเปิดเผยในประเด็นนี้ ที่สำคัญควรจะระบุให้ชัดเจนถึงฐานะของตัวอ่อน (moral standing of the embryo) ในบริบทของแต่ละประเทศ โดยรัฐจำเป็นต้องออกกฎเกณฑ์และมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด

อังกฤษ ผู้นำของการวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านตัวอ่อนและการเจริญพันธุ์
เป็นที่ทราบกันดีว่าอังกฤษเป็นประเทศที่อยู่ในระดับแนวหน้าของการวิจัยเกี่ยวกับตัวอ่อนและเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เห็นได้จากการที่ประเทศอังกฤษให้กำเนิดเด็กหลอดแก้ว (เกิดด้วยกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือ in vitro fertilisation – IVF) รายแรกของโลกที่ชื่อหลุยส์ บราวน์ เมื่อปี ค.ศ. 1978
จากนั้นเรื่องของเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และความเหมาะสมของการวิจัยเกี่ยวกับตัวอ่อนก็เป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวางในสังคม จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1982 รัฐบาลก็ได้มอบหมายให้คณะกรรมการชุดหนึ่งที่มีชื่อว่า The Warnock Committee ศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชน สรุปและจัดทำข้อเสนอแนะเป็นรายงานต่อรัฐบาลที่ชื่อว่า The Warnock Report (1984) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่นำไปสู่การออกกฎหมาย Human Fertilisation and Embryology Act ในปี ค.ศ. 1990
กฎหมายฉบับนี้มอบอำนาจแก่หน่วยงานอิสระที่ชื่อว่า Human Fertilisation and Embryology Authority (HFEA) ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1991 ให้เป็นองค์กรระดับชาติที่ควบคุมดูแล และออกใบอนุญาตแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านตัวอ่อนมนุษย์และการเจริญพันธุ์ ภายใต้บทบังคับของกฎหมายฉบับนี้นักวิจัยอังกฤษสามารถใช้ตัวอ่อนที่มีอายุไม่เกิน 14 วันในการวิจัย (ด้านสเต็มเซลล์ ฯลฯ) หรือแม้แต่สร้างตัวอ่อนขึ้นเพื่อการวิจัยก็ได้ แม้ว่าต่อมาในปี ค.ศ. 2001 อังกฤษได้ออกกฎหมายเพิ่มเติมอีกฉบับหนึ่งชื่อว่า Human Reproductive Cloning Act ทำให้การโคลนมนุษย์เพื่อเจริญพันธุ์เป็นสิ่งผิดกฎหมายและมีบทลงโทษทางอาญาที่ชัดเจนก็ตาม แต่ก็มิได้ห้ามการโคลนมนุษย์เพื่อ (สร้างสเต็มเซลล์สำหรับ) บำบัดรักษา ทำให้นักวิจัยอังกฤษมีอิสระค่อนข้างมากในการวิจัย (ดูตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 สถิติเกี่ยวกับตัวอ่อนมนุษย์ในอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1991 ถึง 1999

ข้อมูลจากรายงานประจำปีของ HFEA และรายงานจาก Select Committee ของ House of the Lords
อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันการที่มีหน่วยงานเฉพาะทางที่มีอำนาจควบคุมดูแลตามกฎหมายเช่นนี้ เปิดโอกาสให้มีการระงับการวิจัยในอนาคต (เมื่อมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ) ที่อาจเข้าข่ายผิดจริยธรรมได้โดยทันทีด้วยการเพิกถอนใบอนุญาต ไม่ต้องรอให้มีการออกกฎหมายหรือกฎระเบียบใหม่ จึงถือได้ว่าเป็นระบบที่ทั้งเข้มงวดและยืดหยุ่นในเวลาเดียวกัน

สหรัฐอเมริกา ประกาศนโยบายไม่สนับสนุนการวิจัยที่ใช้ตัวอ่อน
ในยุคของประธานาธิบดีคลินตัน ได้มีการร่างแนวปฏิบัติ (guidelines) เพื่อพิจารณาให้ทุนวิจัยด้านสเต็มเซลล์จากรัฐบาลกลางโดยผ่านทาง National Institutes of Health (NIH) แนวปฏิบัติที่ร่างไว้นี้มีหลักการที่มีพื้นฐานทางจริยธรรมอยู่ว่า ตัวอ่อนที่ใช้ในการวิจัยจะต้องได้มาโดยเหลือใช้จากการสร้างตัวอ่อนขึ้นมาเพื่อการเจริญพันธุ์ โดยเจ้าของตัวอ่อนต้องเป็นสามีภรรยากัน ได้รับการแจ้งให้ทราบจุดประสงค์ของการนำตัวอ่อนไปใช้และให้ฉันทานุมัติโดยไม่มีสิ่งจูงใจทางการเงินใด ๆ
แต่ทว่าเมื่อถึงยุคของประธานาธิบดีบุช ไม่ทันที่จะนำแนวปฏิบัติที่ร่างเอาไว้มาใช้ในการพิจารณาให้ทุนนโยบายการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยของรัฐบาลก็เปลี่ยนไป โดยมีการประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2001 ห้ามมิให้ใช้งบประมาณของรัฐบาลในการสนับสนุนการวิจัยสเต็มเซลล์ที่มีการทำลายตัวอ่อน
นโยบายนี้มีผลทำให้แนวปฏิบัติเดิมที่ร่างไว้ต้องถูกยกเลิกไป และนักวิจัยในสหรัฐที่ขอรับทุนวิจัยจากรัฐบาล จะต้องใช้สเต็มเซลล์ไลน์ที่มีการพัฒนาขึ้นไว้แล้วก่อนวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2001 เท่านั้นเป็นวัสดุสำหรับการวิจัย ห้ามสร้างตัวอ่อนขึ้นใหม่ และห้ามสนับสนุนแม้กระทั่งการนำตัวอ่อนเหลือใช้จากการทำ IVF ที่มีอยู่เป็นจำนวนนับแสนมาใช้ในการวิจัยสเต็มเซลล์ กล่าวได้ว่าเป็นนโยบายที่อยู่บนหลักการความเชื่อในทางจริยธรรมที่เข้มงวดที่สุดอันหนึ่ง แม้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้จะถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากผู้เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่นักวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัยรายเอกชน มหาวิทยาลัย และผู้ป่วยที่รอความก้าวหน้าทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคของพวกเขา ในจำนวนผู้คัดค้านนี้มีนายจิม คลาร์ค ผู้ก่อตั้งบริษัท Silicon Graphics และเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของสถาบันวิจัยทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง และนาย Christopher Reeves ดาราภาพยนตร์ผู้ป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากประสบอุบัติเหตุที่ทำให้กระทบกระเทือนสันหลัง
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลสหรัฐยังคงให้อิสระ ในการทำวิจัยกับตัวอ่อนในภาคเอกชน และไม่มีกฎหมายใด ๆ ที่ห้ามในเรื่องนี้ จึงเกิดสถานการณ์ที่แปลกประหลาดว่า ขณะที่ด้านหนึ่งปิดกั้นการวิจัยในภาครัฐ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ปล่อยงานวิจัยที่อยู่ในมือบริษัทให้ดำเนินต่อไป ทำให้กลุ่มศาสนา ฯลฯ ที่สนับสนุนการออกกฎหมายห้ามวิจัยตัวอ่อนโดยเด็ดขาด หันมาต่อต้านนโยบายนี้เช่นกัน ว่าเป็นการดำเนินนโยบายสองมาตรฐาน
พร้อมกับการประกาศนโยบายของประธานาธิบดีบุช รัฐบาลสหรัฐก็ได้เปิดเผยรายชื่อของสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีสเต็มเซลล์ที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นเซลล์ไลน์แล้ว และสนับสนุนให้นักวิจัยใช้เซลล์จากแหล่งที่มีอยู่แล้วเหล่านี้  ท่ามกลางความเป็นห่วงของนักวิจัยว่า เซลล์เหล่านั้นอาจไม่ได้คุณภาพ (ขาดเสถียรภาพในความเป็นเซลล์ไลน์) หรือแม้เมื่อรวมกันแล้วก็ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมไม่เพียงพอในการศึกษาวิจัยโรคบางอย่าง และไม่หลากหลายพอสำหรับเป็นตัวเลือกในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้เข้ากันได้กับคนไข้ที่ต้องการนำเนื้อเยื่อไปปลูกถ่าย (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 แหล่งสเต็มเซลล์ไลน์ที่รัฐบาลสหรัฐประกาศ และจำนวนเซลล์ไลน์ที่มีอยู่ในแต่ละแหล่ง

แหล่งข้อมูล: Monitoring Stem Cell Research: A Report of The President’s Council on Bioethics

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษจะเห็นได้ว่า สหรัฐไม่มีหน่วยงานกลางที่ได้รับมอบอำนาจทางกฎหมายให้ควบคุมในเรื่องจริยธรรมของการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับตัวอ่อน ทำให้แต่ละมลรัฐต่างก็มีนโยบายและการออกกฎหมายควบคุมการวิจัยตัวอ่อนมนุษย์ในหลากหลายระดับต่าง ๆ กันไป แต่ขณะนี้มีกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลกลางจัดตั้งหน่วยงานลักษณะดังกล่าวขึ้นเพื่อควบคุมการวิจัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ในทำนองเดียวกับหน่วยงานควบคุมการบินของรัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Aviation Administration) ที่เกิดขึ้นเพราะความก้าวหน้าและความเสี่ยงของเทคโนโลยีการบินทำให้จำเป็นต้องมีการควบคุมด้วยมาตรฐานเดียวกัน

ชีวจริยธรรมมีความสําคัญอย่างไร

ชีวจริยธรรม (bioethics) หมายถึงการปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีคุณธรรม ไม่ทำร้าย หรือทำอันตรายต่อสัตว์หรือมนุษย์เพื่อการศึกษาหรือการวิจัย จรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลอง สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานวิจัย งานสอน งานทดสอบ และงานผลิตชีววัตถุไว้ดังนี้

เหตุใดจึงต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับชีวจริยธรรมในการเรียนชีววิทยา

จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การศึกษาทางชีววิทยามีประโยชน์อย่างมาก แต่เนื่องจากการศึกษาชีววิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดังนั้นการนำความรู้ด้านชีววิทยาไปใช้ ย่อมส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตโดยตรงจึงต้องคำนึงถึงจริยธรรม เช่น การใช้สัตว์ทดลอง นักเรียนจึงต้องหลีกเลี่ยงการทรมานสัตว์ตามข้อกำหนดจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง โดยผู้ใช้ ...

ชีวจริยธรรม มีอะไรบ้าง

ชีวจริยธรรม (bioethics).
ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตสัตว์.
ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงความแม่นยำของผลงานโดยใช้สัตว์จำนวนน้อยที่สุด.
การใช้สัตว์ป่าต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์ป่า.
ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์.

ชีวจริยธรรม (Bioethics) หมายถึงอะไร ยกตัวอย่างประกอบ

ชีวจริยธรรม (bioethics) หมายถึง การปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีคุณธรรม ไม่ทำร้าย หรือทำอันตรายต่อ สัตว์ หรือมนุษย์เพื่อการศึกษาหรือการวิจัย เช่น จรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลอง อาวุธชีวภาพ