วัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สรุป

5)      โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นโครงการของรัฐที่ส่งเสริมให้ชุมชนระดับรากหญ้าผลิตสินค้าออกสู่ตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งสินค้าประเภทหนึ่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางด้านหัตถกรรมก็ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปกรรมต่างๆ ให้ดำรงอยู่คู่ชุมชน และจัดว่ามีความสวยงามจนเป็นที่นิยมแก่ผู้ซื้อทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมาก

     4. ทาส   ชนชั้นต่ำสุดในสังคมไทย ไม่มีอิสระในการดำเนินชีวิต ชีวิตขึ้นอยู่กับนายทาส แบ่งเป็น ทาสเชลย  ทาสในเรือนเบี้ย  ทาสสินไถ่  ทาสได้มาแต่บิดามารดา  ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย  ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑ์โทษ และทาสท่านให้  ทาสที่ทำความดีความชอบต่อบ้านเมืองสามารถเลื่อนฐานะตนเองสูงขึ้นเป็นขุนนางได้ ส่วนขุนนางที่ทำผิดก็สามารถลดฐานะลงเป็นทาสได้เช่นกัน

สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑ - ๓ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๙๔)
สังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกันสังคมไทยสมัยอยุธยา และสมัยธนบุรี เป็นสังคมศักดินา มีการแบ่งชนช้้นของคนในสังคมแบ่งออกเป็น ๖ กลุ่ม
๑.  พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขสูงสุดของอาณาจักรทรงเป็นเสมือน "เจ้าชีวิต" และ "เจ้าแผ่นดิน" ของบรรดาผู้คนและแผ่นดินในสังคมไทย
๒.  พระราชวงศ์ หมายถึง บรรดา "เจ้านาย" ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือญาติของพระมหากษัตริย์บางทีเรียกว่า "พระบรมวงศานุวงศ์" มี ๒ ประเภท คือ สกุลยศ กับ อิสรยศ
  • สกุลยศ คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และ หม่อมเจ้า
  • อิสริยศ คือ กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ และกรมสมเด็จพระ
๓.  ขุนนาง คือ กลุ่มบุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่งเป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ ยศของขุนนางมี ๘ ลำดับ ได้แก่ พัน หมื่น ขุน หลวงพระ พระยา เจ้าพระยา และสมเด็จเจ้าพระยา
๔.  พระสงฆ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับความเคารพนับถือจากสังคมและคนทุกชนชั้น ไม่ถูกเกณฑ์แรงงานเหมือนไพร่สามัญชน และไม่มีศักดินาเหมือนชนชั้นอื่น ๆ
๕.  ไพร่ คือ ราษฎรสามัญชนที่เป็นชายฉกรรจ์ในสังกัดของมูลนาย ไพร่มี ๒ ประเภท คือ
  • ไพร่หลวง คือ ไพร่ของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานให้แก่กรมกองต่าง ๆ ถ้าไพร่หลวงคนใดส่งเงินหรือสิ่งของมาแทนการเข้าเวรรับราชการจะเรียกว่า "ไพร่ส่วย"
  • ไพร่สม คือ ไพร่ในสังกัดของมูลนาย (พระบรมวงศานุวงศ์ หรือ ขุนนาง)
๖.  ทาส คือ กลุ่มคนที่มีฐานะต่ำสุดในสังคมไทย ไม่มีกรรมสิทธิ์ในชีวิตของตนเอง มีหน้าที่รับใช้แรงงานให้นายโดยไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทน นายเงินเจ้าทาสจะลงโทษแต่ห้ามมิให้ถึงตาย ทาสมีศักดินาได้ ๕ ไร่ ทาสเพิ่มจำนวนขึ้นมากส่วนใหญ่เกิดจากการมีหนี้สินจนต้องขายตัวเอง หรือบุตรภรรยาลงเป็นทาส เช่น ได้รับอนุญาตจากนายเงินเจ้านายของทาสให้บวชเป็นพระสงฆ์ หรือตกเป็นภรรยาและลูกกับเจ้าของทาส

ลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศ
สมัยรัชกาลที่่ ๔ อังกฤษได้ส่งทูตมาเจรจาทำสัญญากับไทยคือ เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียเปรียบฝ่ายอังกฤษอยู่หลายประการ จึงมีผลให้ไทยต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณีชีวิตความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว

สมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยหลายด้าน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
          ๑.  การยกเลิกระบบไพร่ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ โปรดเกล้าฯ ให้ออกกฎหมายเกณฑ์ทหาร (พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔) ให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุครบ ๑๘ ปี บริบูรณ์ต้องเข้ารับราชการเป็นทหาร ๒ ปี จึงถือว่าเป็นกฎหมายที่ยกเลิกระบบไพร่ของประเทศไทยโดยสมบูรณ์
          ๒.  การเลิกทาส ทรงดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ตรากฎหมายเลิกทาสทั่วพระราชอาณาจักร (พระราชบัญญัติทาส ร.ศ. ๑๒๔) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ห้ามมิให้มีการซื้อขายทาสอีกต่อไป
          ๓.  การปฏิรูปการศึกษา รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนและระบบการศึกษาแผนใหม่ตามแบบสังคมตะวันตก เพื่อเตรียมคนเข้าสู่ระบบราชการสมัยใหม่และเป็นกำลังพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ดังนี้
  • จัดตั้งโรงเรียนหลวงในพระบรมมหาราชวัง มีชื่อว่า "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" (โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ)
  • จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรสามัญชน โรงเรียนแห่งแรก คือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
  • จัดตั้งกรมศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๔๓๐ เพื่อดูแลจัดการศึกษาของชาติ เช่น จัดทำหลักสูตร การเรียนการสอน จัดทำหนังสือแบบเรียน
สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงปฏิรูปการศึกษาต่อมา เช่น การประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษาปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ซึ่งเป็นการบังคับให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษา

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยในสมัยประชาธิปไตย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปภายใต้ระบบรัฐธรรมนูญ ไม่มีสังคมศักดินา ไพร่ และทาส ทุกคนในสังคมไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ การจำแนกระเบียบสังคมมิได้แยกออกตามฐานะของระบบศักดินา แต่จำแนกออกตามฐานะของอาชีพ ได้แก่ ข้าราชการ พ่อค้า นักธุรกิจ ผู้ประกอบการสาขาอาชีพต่าง ๆ ปัญญาชน เช่น ครู อาจารย์ นักวิชาการต่าง ๆ กรรมกร และชาวไร่ชาวนา

ศิลปวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ ๑ - ๓ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๙๔) เป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นใหม่นอกจากนี้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ ๆ ให้กับวัฒนธรรมในยุคนี้ด้วย

ลักษณะศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่สำคัญมีดังนี้
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการทำนุบำรุงทางด้านศิลปกรรม
๑.  ด้านสถาปัตยกรรม
          รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นอกจากนี้ยังให้จัดสร้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

วัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สรุป


          รัชกาลที่ ๒ ทรงสนพระทัยในการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่าง ๆ โปรดให้สร้าง "สวนขวา" ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม แต่สร้างสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ ๓

วัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สรุป


          รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างวัดเทพธิดา วัดราชนัดดา วัดบวรนิเวศวิหาร วัดกัลยาณมิตร และวัดประยูรวงศ์ นอกจากนี้ให้สร้างเรือสำเภาซึ่งก่อด้วยอิฐที่วัดยานนาวา

วัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สรุป


๒.  ด้านประติมากรรม
           รัชกาลที่ ๑ พระองค์มิใคร่จะได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปสัมฤทธิ์โบราณที่ทิ้งไว้ทรุดโทรมที่เมืองเหนือลงมาบูรณะปฏิสังขรณ์ถึง ๑,๒๐๐ องค์เศษ
          รัชการที่ ๒ พระพุทธรูปมักมุ่งเอาความสวยงามทางลวดลาย
          รัชการที่ ๓ เครื่องประดับของพระพุทธรูปเป็นหลัก

๓.  ด้านจิตรกรรม
ภาพเขียนในสมัยนี้คงความศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย แต่มีศิลปะจีนอยู่บ้าง ภาพเขียนบนฝาผนังโบสถ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๓ มักใช้สีและปิดทองลงบนภาพเขี้ยน
          รัชกาลที่ ๑ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร วัดระฆังโฆษิตาราม
          รัชกาลที่ ๓ ภาพเขียนพระอุโบสถ และพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามและในพระอุโบสถวัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ

วัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สรุป


๔.  ด้านประณีตศิลป์
งานประณีตศิลป์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคงทำตามรูปแบบอยุธยาตอนปลาย เช่น งานแกะสลักบานประตูไม้สัก (ลายจำหลักไม้) วัดสุทัศน์เทพวราราม ฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

๕.  ด้านนาฏศิลป์
          รัชกาลที่ ๑ ส่งเสริมทางด้านการดนตรีและการฟ้อนรำ มีการจัดตั้งโขนทั้งวังหลวง และวังหน้าของตนเอง
          รัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะแทละท่ารำต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง
          รัชกาลที่ ๓ พระองค์ไม่ทรงโปรดให้มีการแสดงละครภายในพระบรมมหาราชวัง แต่ก็มีผู้มีฐานะมีตระกูลให้ความสนใจกับศิลปะประเภทนี้

๖.  ด้านวรรณกรรม
          รัชกาลที่ ๑ ทรงสนพระทัยในด้านวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ และแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น สามก๊ก และราชาธิราช

วัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สรุป


          รัชกาลที่ ๒ เป็นยุคทองของวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ งานพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ บทละครเรื่องอิเหนา
          รัชกาลที่ ๓ พระองค์ทรงสนับสนุนวรรณคดีทางศาสนาและประวัติศาสตร์ พระองค์ทรงสนับสนุนการแปลและเรียบเรียงวรรณคดีของประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา เช่น เรื่อง "มิลินทปัญญา"

การเปลี่ยนแปลงศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างให้ทันสมัยตามแบบอย่างของชาติตะวันตก มีดังนี้
๑.  ด้านสถาปัตยกรรม สถานที่ราชการและพระราชวังเริ่มนิยมสร้างแบบศิลปะตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์ และพระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี
๒.  ด้านจิตรกรรม จิตรกรสมัยนี้เริ่มเขียนภาพเหมือนจริง มีแรเงา และมีรูปทรงความลึก ความกว้าง ตามแบบศิลปะตะวันตก จิตรกรคนแรกที่เขียนภาพแบบนี้คือ พระภิกษุ "ขรัวอินโข่ง" แห่งวัดราชบูรณะ
๓.  ด้านประณีตศิลป์ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือพายพระที่นั่ง "อนันตนาคราช" โดยหัวเรือทำเป็นพญานาคเจ็ดเศียร
๔.  ด้านวัฒนธรรมประเพณี โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่างที่ล้าสมัย เช่น ทรงอนุญาตให้ชาวต่างประเทศนั่งเก้าอี้เวลาเข้าเฝ้าและแสดงความเคารพโดยการถวายคำนับ และทรงประกาศให้เจ้านายและขุนนางสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า เป็นต้น

การปรับปรุงศิลปวัฒนธรรมให้ทันสมัยในสมัยรัชกาลทีี่ ๕
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีการปรับปรุงด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทยให้ทันสมัย ดังนี้
๑.  ด้านสถาปัตยกรรม ผลงานที่สำคัญ คือ พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นศิลปะแบบตะวันตกสร้างด้วยหินอ่อน และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ก่อสร้างเป็นตึกมีลักษณะเป็นศิลปแบบไทยผสมกับตะวันตก
๒.  ด้านวรรณกรรม โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "หอพระสมุดวชิรญาณ" เป็นสถานที่เก็บรวบรวมหนังสือและเอกสารต่าง ๆ ซึ่งได้พัฒนามาเป็นหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน
๓.  ด้านวัฒนธรรมประเพณี โปรดเกล้าฯ มีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่น ยกเลิกประเพณีหมอบคลานเวลาเข้าเฝ้าของเจ้านายและขุนนางไทย แต่ให้ยืนหรือนั่งเก้าอี้ตามแบบชาวตะวันตก ยกเลิกผมทรงมหาดไทยของข้าราชการชายในราชสำนัก แต่ให้เปลี่ยนมาไว้ผมทรงสากลแบบฝรั่ง ยกเลิกการนุ่งผ้าโจงกระเบนของข้าราชการฝ่ายทหารทุกกรมกรอง แต่ให้สวมกางเกงขายาว สวมถุงเท้าและรองเท้า เป็นเครื่องแบบทหารตามแบบอย่างทหารในยุโรป
๔.  ด้านประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชที่มีมาแต่เดิมและทรงสถาปนาตำแหน่ง "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร" ขึ้นแทน

การปรับปรุงศิลปวัฒนธรรมให้ทันสมัยรัชกาลที่ ๖
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีการเปลี่ยนแปลงด้านศิลปวัฒนธรรมไทยให้เข้าสู่ความทันสมัย ดังนี้
๑.  ด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณกรรมไว้หลายประเภท เช่น บทละคร (เวนิสวาณิช) และงานค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เป็นต้น
๒.  ด้านวัฒนธรรมประเพณี มีการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยตามแบบอย่างชาติตะวันตก เช่น
  • กำหนดให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติ
  • ตราพระราชบัญญัตินามสกุล เพื่อให้คนไทยมีนามสกุล
  • กำหนดคำนำหน้านาม เช่น เด็กชาย เด็กหญิง นาย นาง และนางสาว
  • กำหนดให้ใช้ พ.ศ. (พุทธศักราช) และให้ยกเลิก ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ศก)
  • ยกเลิกการนับเวลาเป็นทุ่มและโมง แต่ให้ใช้คำว่า "นาฬิกา" แทน
การเปลี่ยนแปลงด้านประเพณีวัฒนธรรม
๑.  ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ ดังนี้คือ
  • ยกเลิกพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา แต่มาเริ่มขึ้นอีกในรัชกาลปัจจุบัน
  • ให้ข้าราชการนุ่งกางเกงขายาวแทนนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน
๒.  นโยบายสร้างชาติทางวัฒนธรรมของหลวงพิบูลสงคราม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ดังนี้คือ
  • เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" มาเป็น "ไทย" ใน พ.ศ. ๒๔๘๒
  • ยกเลิกบรรดาศักดิ์ข้าราชการพลเรือน เช่น เจ้าพระยา พระยา พระหลวง ขุน หมื่น พัน (เมื่อนายควง  อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ยกเลิกคำประกาศของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วคืนบรรดาศักดิ์ให้ข้าราชการดังเดิมใน พ.ศ. ๒๔๘๘
  • ตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้น ใน พ.ศ. ๒๔๘๕
  • ประกาศรัฐนิยมต่าง ๆ ถึง ๑๒ ฉบับ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตาม เช่น ให้ใช้ช้อนส้อมแทนการเปิบข้าวด้วยมือ ไม่ส่งเสียงอื้อฉาวบนสะพาน สวมหมวก เสื้อนอก กางเกงขายาว นุ่งกระโปรง สวมรองเท้า เลิกกินหมาก
  • ยกย่องฐานะสตรีให้ทัดเทียมกับชาย
  • เปลี่ยนแปลงการนับวันขึ้นปีใหม่ ๑ เมษายน เป็น ๑ มกราคม
  • ปรับปรุงตัวอักษรไทยใหม่ โดยตัดสระออก ๕ ตัว พยัญชนะออก ๑๓ ตัว คงเหลือพยัญชนะเพียง ๔๔ ตัว ตัวที่ตัดคือตัวที่มีเสียงซ้ำกัน จึงทำให้การเขียนเปลี่ยนไปด้วย เช่น กระทรวง เขียนเป็น กระซวง ฤทธิ์ เขียนเป็น ริทธิ์ ให้ เขียนเป็น ไห้ ทหาร เขียนเป็น ทหาน เป็นต้น
  • ให้ใช้เลขสากล (อารบิก) แทน เลขไทย
๓.  ในสมัยจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ (๒๕๐๖ - ๒๕๑๐) ได้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญของชาติ ดังต่อไปนี้คือ
  • พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา จัดให้มีพิธีเสด็จพระราชดำเนินตรวจงานสวนสนามของนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และตกแต่งโคมไฟตามสถานที่ราชการและบ้านเรือน และกำหนดให้วันนี้ คือ ๕ ธันวาคม เป็นวันชาติไทย แทนวันที่ ๒๔ มิถุนายน
  • พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา
  • พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้ากฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
  • พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหายาตราทางสถลมารค (การเสด็จเลืยบเมืองทางบก)
๔.  ในสมัยจอมพลถนอม  กิตติขจร (๒๕๐๖ - ๒๕๑๖) ได้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญของชาติ ดังนี้คือ
  • พระราชพิธีรัชดาภิเษก ในวโรกาสที่รัชกาลที่ ๙ ครองราชย์ครบ ๒๕ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔
  • พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๕ นับเป็นครั้งที่ ๓ ในประวัติศาสตร์ไทย
๕.  ในสมัยพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. ๒๕๒๒ - ปัจจุบัน) ได้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญของชาติ ดังนี้คือ
  • การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๒๐๐ ปีใน พ.ศ. ๒๕๒๕
  • การเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ ๖๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๒๕๓๐
  • พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดของชาติไทย เมื่อ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
วรรณกรรมและศิลปกรรม
๑.  หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ รูปแบบวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมมากในสังคมไทย คือ นวนิยาย เรื่องสั้น และสารคดี
๒.  นวนิยายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการเลียนแบบตะวันตก มาเป็นแนวคิดของตนเองมากขึ้น และมิได้มุ่งความไพเราะงดงามอย่างเดียว แต่มุ่งถึงคุณค่าแก่ชีวิตด้วย
๓.  นักเขียนมีชื่อในระยะแรก ได้แก่ ศรีบูรพา ยาขอบ แม่อนงค์ ดอกไม้สด สดกูรมะโรหิต ศรีรัตน์ สถาปนวัฒน์ ฯลฯ
๔.  สถาปัตยกรรม มักนิยมสร้างตัวอาคารแบบตะวันตก แต่หลังคาทรงไทย เช่น
  • วัดพระศรีมหาธาตุ (บางเขน)
  • หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หอประชุมคุรุสภา
  • โรงละครแห่งชาติ
  • หอสมุดแห่งชาติ
  • ศาลากลางจังหวัดต่าง ๆ ฯลฯ
ส่วนอาคารแบบตะวันตก เช่น
  • อาคารถนนราชดำเนิน
  • พระราชวังไกลกังวล
  • ศาลาเฉลิมกรุง
  • สะพานพระพุทธยอดฟ้า
  • กระทรวงยุติธรรม
  • สะพานพระราม ๖
  • กรีฑาสถานแห่งชาติ
  • ไปรษณีย์กลาง
  • โรงแรมรัตนโกสินทร์
ประติมากรรม ที่สำคัญ ได้แก่
  • อนุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๘
  • อนุสาวรีย์พระนารายณ์
  • อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน
  • อนุสาวรีย์พ่อขุนรามฯ
  • อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร
  • อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน ฯลฯ
  • พระพุทธรูปปางลีลา
  • พระพุทธรูป ภ.ป.ร.
จิตรกรรม ที่สำคัญได้แก่
  • ภาพรามเกียรติ์ที่ระเบียงรอบอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  • ภาพพระราชพงศาวดารสมัยสมเด็จพระนเรศวรผนังวัดสุวรรณดารามพระศรีอยุธยา

ที่มา : กฤษณา  วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๕๖ - ๖๔

วัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีอะไรบ้าง

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการฟื้นฟูนาฏศิลป์ เช่น โขน ละคร ระบํา หุ่นและหนัง ให้เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงให้การสนับสนุนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้มี การฝึกโขนทั้งในวังหลวง วังหน้าตลอดจนเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่โปรดให้ประชุมครูละคร เพื่อจัดทําตําราท่ารํา

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาเเละวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์.
ได้แก่ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านคติความเชื่อ ด้านการดำเนินชีวิต ด้านศิลปวัฒนธรรม ... .
ในสังคมต่างๆ จะต้องมีระบบกฎเกณฑ์บังคับให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตาม เพื่อให้สมาชิกทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข ... .
2 ความเชื่อ คือ คติความเชื่อในพระพุทธศาสนาและคติความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ.

ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง

ศิลปะรัตนโกสินทร์.
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
พระปรางค์วัดอรุณ.
วัดเทพธิดาราม สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เรียกว่า แบบพระราชนิยม.
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท.
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์.
จิตรกรรมฝาผนังวัดไชยทิศ.
จิตรกรรมฝาผนังแห่งวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร.

ศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นรับอิทธิพลมาจากสมัยใด

2.5) ด้านนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงรับแบบอย่างจากสมัยอยุธยา โดยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกหัดโขนขึ้นทั้งในวังหลวงและวังหน้า และให้ประชุมครูละครเพื่อจัดทำตำราท่ารำขึ้นใหม่แทนตำราที่สูญหายไปเมื่อครั้งเสียงกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 งานฟื้นฟูนาฏศิลป์มีความรุ่งเรืองมาก พระอง๕ ...