ปัจจุบันกรมสรรพากรสังกัดอยู่ในกระทรวงใด

  1. หน้าหลัก
  2. รวมลิ้งค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องฯ

รวมลิงก์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องฯ

กรมในสังกัด

สำนักงานรัฐมนตรี

สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

กรมบัญชีกลาง

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

กรมสรรพากร

กรมสรรพสามิต

กรมศุลกากร

กรมธนารักษ์

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

รัฐวิสาหกิจในสังกัด

ธนาคารกรุงไทย

ธนาคารออมสิน

ธกส.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

SME Bank

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

บสย. SBCG

บตท. SMC

สลากกินแบ่งรัฐบาล

บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์

องค์การสุรา

การยาสูบแห่งประเทศไทย

โรงงานไพ่

หน่วยงานอิสระ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

กลต. sec.or.th

คปภ. oic.or.th

หน่วยงานในกำกับ

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

สวค. fpri.or.th

กบข. gpf.or.th

กยศ. studentloan.or.th

สพพ. NEDA

กอช. nsf.or.th

article

ไม่ว่ารัฐบาลจะเบิกงบประมาณชาติ (กรมบัญชีกลาง) ผลิตเหรียญออกมาใช้ (กรมธนารักษ์) เก็บภาษีประชาชน (กรมสรรพากร) ฯลฯ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเงินของชาติมักต้องอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลังทั้งนั้น เพราะกระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเงินการคลังของแผ่นดิน เช่น การเก็บภาษีอากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจ การบริหารพัสดุของภาครัฐ และทรัพย์สินของแผ่นดิน ฯลฯ

ดังนั้นภาษีคนไทยถือเป็นรายได้หลักของประเทศ โดยกระทรวงการคลังจะมอบหมายให้กรมสรรพากรต้องเก็บภาษีอากรประมาณ 60% ของรายได้ทั้งประเทศ (ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นทุกปี) อย่างไรก็ตามภายใต้กระทรวงการคลังแบ่งหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีเป็น 3 ส่วนได้แก่

  1. กรมสรรพสามิต รับผิดชอบในการเก็บภาษีสินค้าบางประเภทที่ผลิตในประเทศไทย รวมถึงเก็บภาษีสินค้าบางอย่างที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีสถานบริการ ฯลฯ และมีมาตรการปราบปรามคนที่ทำผิดกฎด้วย
  2. กรมศุลกากร    รับผิดชอบเก็บภาษีศุลกากร จากการค้าระหว่างประเทศ เช่น ภาษีอากรขาเข้า-ขาออก ซึ่งหน่วยงานนี้สามารถเก็บภาษีแทนกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกระทรวงมหาดไทย รวมถึงมีมาตรการป้องกัน ปราบปรามไม่ให้คนลักลอบหนีภาษี
  3. กรมสรรพากร   รับผิดชอบการเก็บภาษีตามประมวลรัษฏากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงเกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป แบ่งเป็นภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และเก็บภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีปิโตรเลียม และอากรแสตมป์

ทั้งนี้กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่สร้างรายได้ภาษีหลัก จึงมีอำนาจในการกำกับ ตรวจสอบ ติดตามและเร่ง (ให้คนจ่าย) ภาษีอากรค้าง รวมถึงมีอำนาจในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและระบบการจัดเก็บภาษี ไปจนถึงการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการออม การลงทุน ช่วยให้แข่งขันกับต่างประเทศ และใช้ภาษีเพื่อกระจายรายได้ ที่สำคัญต้องสร้างให้คนไทยสมัครใจในการเสียภาษี

ปัจจุบันกรมสรรพากรสังกัดอยู่ในกระทรวงใด

ปี 2562 สรรพากรตั้งเป้าเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท

ปีงบประมาณ 2562 (เริ่มเดือนต.ค. 2561-ก.ย.2562) ภาครัฐตั้งเป้าหมายให้กรมสรรพากรต้องจัดเก็บภาษี 2,000,000 ล้านบาท ภายใต้การส่งออกไทยโต 8% GDP โต 4% (ปีงบประมาณ 2561 ยอดเก็บภาษีจริงอยู่ที่ 1,915,456 ล้านบาท)

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร บอกว่า ปีงบประมาณ 2562 คาดว่าจะเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย โดยครึ่งปีแรกงบประมาณปีนี้ (ณ มี.ค. 2562) เก็บภาษีได้แล้ว 823,000 ล้านบาท ถือว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้

ทั้งนี้เฉพาะเดือนมี.ค. 2562 กรมสรรพากรเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ สาเหตุที่เก็บภาษีได้น้อยลงมาจากผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลง และนักลงทุนชะลอการลงทุน

ที่ผ่านมากรมสรรพากร รายได้ภาษีจะมาจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ประมาณ 40% รองลงมาคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)

สรุป

เรียกว่ากรมสรรพากรมีหน้าที่หารายได้ภาษีเข้าภาครัฐให้ได้ตามเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ ทำธุรกิจ หรือซื้อของในชีวิตประจำวันก็เสียภาษีให้สรรพากรทั้งนั้น

ที่มา BU, Postoday, กรมสรรพากร

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Share this:

  • Tweet

Related

Chutinun Sanguanprasit (Liu)

จากนักข่าวการเงินหนังสือพิมพ์ธุรกิจย่านประชาชื่น ผันตัวเข้าโลกออนไลน์ ความท้าทายครั้งใหม่คือการเล่าเรื่องเงินให้เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง