นักเรียนจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไร

นักเรียนจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไร

แนวทางปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

โลกของเราเกิดขึ้นมาจากองค์ประกอบหลาย ๆ องค์ประกอบร่วมกัน จนกระทั่งกลายมาเป็นโลกที่มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด ธรรมชาติได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อทำให้โลกของเรานั้น มีความเหมาะสมต่อการเติบโต อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ต่าง ๆ แต่แล้วจากความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ จึงทำให้ธรรมชาติเหล่านั้นถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาการปล่อยควันพิษ อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การขับรถจากการใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง, การปล่อยควันเสียออกจากโรงงาน, การทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลองต่าง  ๆซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งมีชีวิตสัตว์น้ำ และพืชน้ำ เพราะฉะนั้นโลกในยุคปัจจุบันนี้จึงถึงคราวตื่นตัว หันมาดูแลใส่ใจอนุรักษ์ธรรมชาติกันมากยิ่งขึ้น โดยทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ทั้งนั้น

นักเรียนจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไร

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อโลกของเรา

การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านรวมเข้าด้วยกัน เริ่มจากต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วให้มีต่อไป และมีมากขึ้นในอนาคต ควบคุมการปล่อยของเสียสู่ธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรู้คุณค่า ควบคุมจำนวนประชากรคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นใหม่ที่เกิดมานั้นจะต้องมีคุณภาพ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การควบคุมจำนวนประชากร ก็ยังเป็นการควบคุมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมนุษย์อีกด้วย ลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก และให้หันมาศึกษาวิธีทางธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการกำจัดศัตรูพืชแทน

แนวทางการปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีความเหมาะสม ได้แก่…

  • การอนุรักษ์ คือ การทำนุบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ให้คงอยู่สืบต่อไป เช่น ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนการสร้างกระดาษที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักนั้น จะมีพื้นที่ที่ทางเอกชนจัดตั้งขึ้นมา เพื่อนำมาใช้ปลูกต้นไม้และนำไปผลิตกระดาษโดยเฉพาะ ทำให้ไม่ได้ใช้ต้นไม้จากธรรมชาติที่มีอยู่แล้วนำมาปลูกกระดาษ
  • วางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องคำนึงถึงในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองรวมทั้งชีวิตของประชากรในสังคมอีกด้วย เพราะว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน ไม่อาจที่จะมีองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง มากกว่าองค์ประกอบอื่น เพราะก็อาจจะทำให้เกิดการเสียสมดุล
  • ปลูกฝังความรักในสิ่งแวดล้อม และทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความตระหนักรู้ แท้จริงแล้วธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่อยู่ผูกพันกับมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งโบราณ และจะต้องอยู่ผูกพันต่อไปในอนาคตอีกยาวไกล เพราะฉะนั้นควรปลูกฝังตั้งแต่ประชากรยังเป็นเด็ก โดยบุคคลในครอบครัว ก็จำเป็นที่ต้องปลูกฝังด้วยเช่นกัน เช่น สอนการคัดแยกขยะ, สอนการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีความคุ้มค่า, สอนการใช้พลังงานน้ำให้มีความคุ้มค่า, ลดละเลิกการใช้ถุงพลาสติกไม่จำเป็น หันมาใช้ถุงผ้า หรือเลือกใช้หลอดทำจากยาง, เยื่อไม้ไผ่ และอื่น ๆ เป็นต้น รวมทั้งปลูกจิตสำนึกทางสังคม เช่น ไม่ทิ้งขยะมั่วซั่ว, ไม่ทิ้งขยะลงทะเล ถึงแม้ว่าอาจจะดูเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ แต่ถ้าทุกคนร่วมแรงร่วมใจพร้อมใจกันทำ จะทำให้ธรรมชาตินั้นค่อย ๆ ฟื้นฟูตัวเองและกลับมาเป็นธรรมชาติอันสมบูรณ์ betflik123

สุดท้าย คือ ทำให้ผู้คนเกิดความตระหนักรู้ว่า แท้จริงแล้วส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยความสำคัญของธรรมชาติ บางครั้งมนุษย์อาจหลงลืมรากเหง้าความเป็นมา จึงทำให้คิดว่าตนเองนั้นต้องเอาชนะธรรมชาติเท่านั้น แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เราได้รู้แล้วว่า การดำเนินชีวิตให้มีความสมดุล กลมกลืนผสมผสานเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ที่สามารถดำเนินไปพร้อม ๆ กับรักษาธรรมชาติ เป็นสิ่งที่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง และในอนาคตอันใกล้เราคงจะเห็นนวัตกรรมใหม่ ๆ สร้างขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติโดยแท้

  1. หน้าแรก/
  2. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน/
  3. 7 วิธีช่วยรักษ์สิ่งแวดล้อม เด็กๆ ก็ทำได้!

นักเรียนจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างไร

เด็กๆ อาจจะยังเล็กและทำอะไรไม่ได้มาก แต่การปลูกฝังเด็กๆ ตั้งแต่ยังเล็กนี่แหละ จะเป็นการสร้างทรัพยากรที่มีค่าเพื่อให้เด็กในวันนี้เป็นผู้ใหญ่ที่ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไปในวันข้างหน้า เรามาดู 7 วิธีช่วยรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เด็กๆ ก็ทำได้กันดีกว่า

1. มอบหมายการเป็น “ผู้ควบคุมไฟ” ในบ้าน

ช่วยกันประหยัดพลังงานโดยการปิดไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง เด็กๆ ชอบได้รับการมอบหมายให้ทำสิ่งต่างๆ ค่ะ ลองแต่งตั้งตัวเล็กที่บ้านให้เป็น “ผู้ควบคุมไฟ” ในบ้านดูสิคะ หน้าที่ของผู้ควบคุมไฟ คือการคอยปิดไฟหรือเครื่องไฟฟ้าต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้งาน ประหยัดพลังงานและประหยัดเงินค่าไฟอีกด้วย

2. ทำให้การรีไซเคิลเป็นเรื่องสนุกใกล้ตัว

เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะจัดของให้เข้าพวก และแยกแยะวัสดุต่างๆ นั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาตรรกะด้านคณิตศาสตร์ที่สำคัญทีเดียว การจัดการแยกแยะขยะประเภทต่างๆ เช่น กระดาษ แก้ว หรือ พลาสติก ถือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมอง แถมเป็นประโยชน์ต่อการสร้างนิสัยพฤติกรรมการรีไซเคิลอีกด้วย เราสามารถทำได้โดยแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ออกมา แล้วให้เด็กๆ เล่นเกมส์รีไซเคิล ใส่วัสดุประเภทเดียวกันลงในภาชนะที่ถูกต้อง

3. ประหยัดน้ำ

เพียงแค่สมาชิกในครอบครัวปิดน้ำทุกครั้งระหว่างการแปรงฟันเช้า – เย็น เราก็สามารถประหยัดน้ำได้มากทีเดียว พูดคุยกับเด็กๆ ถึงความสำคัญของน้ำ ว่าในชีวิตประจำวัน เราพึ่งพาน้ำมากแค่ไหน ลองให้เด็กๆ ช่วยคิด และ ทำเป็นรายการออกมาว่าเราใช้น้ำทำอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ ดื่มน้ำ รดน้ำต้นไม้      เมื่อเขาเข้าใจว่าน้ำนั้นมีความสำคัญแค่ไหน เขาก็จะมีแนวโน้มที่จะปิดน้ำทุกครั้งที่แปรงฟัน รวมไปถึงการใช้น้ำอย่างประหยัดในกรณีอื่นๆ ด้วย นอกจากเป็นการถนอมน้ำ ยังนับว่าเป็นการถนอมเงินค่าน้ำ ถึงจะเป็นจำนวนไม่มาก แต่หลายเดือน หลายปีผ่านไป รับรองว่าจะเป็นการประหยัดเงินที่ไม่น้อยเลย

4. ใช้กระเป๋าผ้า

หากระเป๋าผ้าสวยๆ ซักใบใช้แทนถุงพลาสติกเวลาออกไปซื้อของที่ตลาด หรือ ซุปเปอร์มาร์เกต เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกน้อย อธิบายว่าพลาสติกนั้นเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก เป็นการสร้างขยะมากเกินความจำเป็น หากเป็นไปได้ให้ใช้กระเป๋าผ้าแทนจะดีกว่า เราอาจหาถุงผ้าเล็กๆ ให้เขาช่วยถือ และให้ลูกเป็นคนบอกแม่ค้า หรือ คนคิดเงินว่า “ไม่รับถุงพลาสติกครับ/ค่ะ”

5. ใช้กระดาษ 2 ด้าน

เด็กๆ ทุกคนชอบขีดชอบเขียน การสอนลูกว่ากระดาษนั้นมี 2 ด้าน และให้เขาใช้กระดาษทั้ง 2 ด้านก่อนที่จะเริ่มวาดบนกระดาษแผ่นใหม่     การกระทำแค่นี้เหมือนจะไม่สำคัญ แต่คิดดีๆ แล้วเป็นการลดปริมาณการใช้กระดาษได้ตั้งเท่าตัว

6. เล่นนอกบ้าน

เราควรสนับสนุนให้เด็กๆ วิ่งเล่นนอกบ้าน นอกจากเด็กจะได้เล่นสนุกและออกกำลังกายแล้ว เราก็ยังช่วยลดการใช้เครื่องไฟฟ้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทีวี หรือ คอมพิวเตอร์      การที่เราปิดเครื่องใช้ไฟฟ้ายังเป็นการเปิดโลกทรรศ์ให้เด็กๆ มีปฎิสัมพันธ์กับโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น แทนที่จะเล่นกับไอแพด หรือดูละคร ชวนเด็กๆ ออกไปวิ่งเล่นจับ แมลงเรียนรู้ธรรมชาติ  หรือ เล่นกับเพื่อนข้างบ้านเพิ่มพัฒนาการด้านสังคมกันดีกว่ามีประโยชน์มากกว่าการปิดตัวขลุกอยู่ในบ้าน แถมต้องเปิดใช้ไฟฟ้ากว่าเป็นไหนๆ

7. ปลูกต้นไม้กันเถอะ

การสอนให้ลูกเรียนรู้และรักต้นไม้นั้นมีประโยชน์มากมายนัก การปลูกต้นไม้ ตั้งแต่การฝังเมล็ดลงดิน พรวนดิน รดน้ำ เพิ่มปุ๋ย ล้วนเป็นการสอนให้เด็กมีความละเอียดอ่อน รักธรรมชาติ และสอนให้เขามีความรับผิดชอบที่จะดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอีกด้วย ลองให้ลูกเริ่มจากการปลูกถั่วเขียว แล้วค่อยๆ เพิ่มเป็น ปลูกดอกไม้สวยๆ สมุนไพร พืชผักสวนครัว หรือต้นไม้ที่ออกลูกออกผล เด็ดมาตกแต่งบ้าน หรือเก็บมาทานประกอบอาหาร นอกจากปลอดภัยไร้สารพิษ ยังเป็นการสร้างความทรงจำดีๆ ในครอบครัวอีกด้วยนะคะ 

ที่มา: http://peaceinyourhome.com | http://www.njmomsguide.com