ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพที่สําคัญคืออะไร

  1. หน้าหลัก
  2. บทความสุขภาพ
  3. ภาวะสมองเสียหายจากแอลกอฮอล์

ภาวะสมองเสียหายจากแอลกอฮอล์

ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพที่สําคัญคืออะไร

HIGHLIGHTS:

  • ภาวะสมองเสียหายจากสุราในระยะยาวจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ อารมณ์แปรปรวน และนำไปสู่สภาวะความจำเสื่อมได้
  • แอลกอฮอล์ส่งผลต่อสมองของเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากความแตกต่างของฮอร์โมนเพศ น้ำหนัก ปริมาณไขมันในร่างกาย
  • ภาวะสมองเสียหายจากสุรา เป็นภาวะที่รักษาให้ดีขึ้นและยับยั้งความเสียหายเพิ่มเติมได้ หากได้รับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสม

ผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมอง

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพสมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งเรื่องความจำ ความคิด ความเข้าใจ การใช้เหตุผล พฤติกรรมการแสดงออก การเคลื่อนไหว บุคลิก อารมณ์ มีรายงานพบว่า อาการความจำเสื่อมเป็นผลจากการใช้แอลกอฮอล์ในระยะยาวมากถึง 9-24% * โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลา ปริมาณ ชนิดของเครื่องดื่มซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์แตกต่างกันไป เช่น รูปแบบของการดื่ม ช่วงงดเว้นการดื่ม

ทั้งนี้ปริมาณแอลกอฮอล์ที่สามารถดื่มได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสมอง คือ ไม่เกิน 3 วันใน 1 สัปดาห์ โดยปริมาณการดื่มไม่เกิน 14 ดื่มมาตรฐาน (7 pints of beer หรือ เบียร์ 4 ขวด, 1 pint of beer เทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ 8 กรัม) ต่อสัปดาห์ในผู้หญิง และ 21 ดื่มมาตรฐานในผู้ชาย

ผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมอง

แอลกอฮอล์ที่ดื่มหลังจากดูดซึมแล้ว สามารถซึมผ่านหลอดเลือดเข้าไปทำลายเซลล์สมองได้โดยตรง ทำให้การกำจัดของเสียในเซลล์สมองแย่ลง การสร้างสารสื่อประสาทน้อยลง เนื้อสมองเสียหายและตายเร็วกว่าปกติ เกิดเนื้อสมองฝ่อ รวมถึงไปทำลายเซลล์พี่เลี้ยงของสมองที่ช่วยในการทำงาน  นอกจากนี้แอลกอฮออล์ยังไปรบกวนการดูดซึมและกระบวนการนำวิตามินบี 1 ไปใช้ ทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินบี 1 ซี่งหากพบร่วมกับภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้กระบวนการทำลายของสมองเร็วยิ่งขึ้น

  • อาการในระยะเฉียบพลัน: สูญเสียการควบคุมตัวเอง สูญเสียความจำระยะสั้นในด้านความคิด การใช้เหตุผลลดลง เสียการควบคุมการเคลื่อนไหวทรงตัวได้ไม่ดี ถ้าได้รับแอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำให้กดการหายใจ ระดับความรู้สึกตัวลดลงได้
  • อาการในระยะยาว: บุคลิกภาพและอารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีภาวะความจำเสื่อม มีปัญหาการเรียนรู้และจดจำ รวมไปถึงมีการเติมความจำด้วยข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องลงไป

แอลกอฮอล์ส่งผลต่อสมองของเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากความแตกต่างในหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยจากฮอร์โมนเพศ น้ำหนัก ปริมาณไขมันในร่างกาย

นอกจากแอลกอฮอล์จะส่งผลต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางแล้ว ยังส่งผลต่อระบบประสาทส่วนอื่นๆ ได้แก่

  • เส้นประสาทควบคุมการสั่งการเคลื่อนไหว (Motor nerve) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของแขนขา
  • เส้นประสาทที่ควบคุมการรับความรู้สึก (Sensory nerve) ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการชา คล้ายเข็มทิ่มปลายมือเท้า มีอาการเดินเซควบคุมการทรงตัวลำบาก
  • เส้นประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nerve) ทำให้การควบคุมความดันระหว่างการเปลี่ยนท่า การเต้นของหัวใจ ผิดปกติ การหลั่งของเหงื่อ น้ำลาย น้ำย่อยในทางเดินอาหารผิดปกติ ส่งผลทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้

การตรวจภาวะสมองเสียหายจากแอลกอฮออล์

แพทย์จะซักประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ชนิด ปริมาณ รูปแบบการดื่ม รวมถึงโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมกับตรวจร่างกายเพื่อดูการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ รีเฟล็กซ์ การทรงตัว รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การควบคุมระดับความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ทำการทดสอบเกี่ยวกับความจำของผู้ป่วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจระดับโปรตีนแอลบูมินในเลือด ค่าการทำงานของตับ ระดับวิตามินบี ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รวมถึงภาพวินิจฉัยทางสมอง แล้วรวบรวมข้อมูลประเมินระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น

บางครั้งผู้ป่วยที่ภาวะสมองเสียหายจากสุรา มักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอาการของโรคอัลไซเมอร์ แต่ภาวะสมองเสียหายจากสุรา เป็นภาวะที่รักษาให้ดีขึ้นและยับยั้งความเสียหายเพิ่มเติมได้ การตรวจเพิ่มเติมที่เหมาะสมจะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว

การรักษาภาวะสมองเสียหายจากแอลกอฮออล์

สิ่งสำคัญที่สุด คือ การหยุดดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะลดปริมาณสารพิษที่เข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง ทำให้เซลล์สมองฟื้นตัวได้ การรักษาภาวะขาดวิตามินบี 1  ด้วยการให้วิตามินบี 1 เข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะให้ผลตอบสนองดี ถ้าสมองได้รับความเสียหายไม่มาก โดยสมองส่วนที่ยังไม่ถูกทำลายจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ดี รวมถึงรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดร่วมกัน เช่น ภาวะขาดสารอาหาร น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

การให้วิตามินบี 1 แบบฉีดขนาดสูง ติดต่อกัน 5-7 วัน จะให้ผลดีมากในผู้ที่มีภาวะสมองถูกทำลายจากการขาดวิตามินบี 1

หากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในปริมาณที่มากและรู้สึกมีอาการผิดปกติของร่างกายตามที่กล่าวมา แนะนำให้มาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดี

แพทย์หญิง จิตรลดา สมาจาร

สาขาประสาทวิทยา

ดูประวัติ

บทคัดย่อ
ผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้อื่น (Alcohol’s Harm to Others) เป็นมิติหนึ่งในผลกระทบทั้งหมดที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ความสนใจผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นนอกจากผู้ดื่ม ซึ่งมักมีลักษณะตามรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดื่มกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น กรณีผู้ดื่มเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือคนแปลกหน้า ผลกระทบมีหลากหลายระดับ ครอบคลุมตั้งแต่ความรุนแรงในระดับเล็กน้อย เช่น การรู้สึกรำคาญใจ จนถึงผลกระทบที่รุนแรงมาก เช่น การถูกทำร้ายเสียชีวิต ข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้อื่นของประเทศไทย มีการศึกษาและรวบรวมอยู่ใน ๓ ลักษณะ ได้แก่ การสำรวจผลกระทบในประชากร การรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาต้นทุนทางสังคม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวยังมีข้อจำกัดอยู่มากทั้งในประเด็นขอบเขตของปัญหาและวิธีการศึกษา โดยมีเฉพาะบางประเด็นที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ความรุนแรงในครอบครัว หรือการนำเสนอเป็นสัดส่วนของเหตุการณ์ที่มีแอลกอฮอล์เกี่ยวข้อง จึงยังไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ของผลกระทบของการดื่มต่อผู้อื่นในภาพรวมอย่างแท้จริง แต่มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจศึกษาต่ออีกหลายประเด็น เช่น ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตร่างกายและจิตใจ หรือทรัพย์สินที่เสียหายของคนรอบข้างผู้ดื่ม ผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนจากการดื่มของคนในครอบครัว ผลกระทบในสถานที่ทำงานต่อเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านาย ข้อมูลเชิงประจักษ์ของสถานการณ์และความรุนแรงของผลกระทบเชิงลบของแอลกอฮอล์ที่เกิดต่อสาธารณะนี้ถือว่ามีความสำคัญและประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนานโยบายควบคุมแอลกอฮอล์ การติดตามผล รวมถึงการสร้างตระหนักต่อสังคมของประเทศได้


บทคัดย่อ
Study on Alcohol’s Harm to Others (HTO) is an innovative paradigm for revisiting the whole range of alcohol-related problems. It comprehensively focuses on the negative consequences of alcohol drinking to non-drinkers. Patterns of relationship between drinker and non-drinkers play a major role for this harm. Problems emerged from drinking by family member, relative, friend, colleague or stranger in society can be vastly different in terms of magnitude and pattern. The range of HTO covers from the less severe such as mere annoyance to the most severe such as assault and death. HTO-related national data were only available from social cost study, population survey and data of service system such as the hospital, the police and court cases. But due to methodological or conceptual constraints, the data might not best reflect the real situation. While Thai society may recognize alcohol-related traffic accident and domestic violence as HTO, other problems have been largely ignored. Other HTO issues have not been covered such as quality of life, impact on physical, mental health and belonging of people surrounding drinker, impact to children and youth from parents and caretakers as well as impact on co-workers in workplace. Comprehensive HTO data could demonstrate panoramic magnitude and severity of negative impacts to the public, support alcohol policy development, and raise public awareness.

ฉบับเต็ม

ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพที่สําคัญคืออะไร

ชื่อ: hsri_journal_v8n2 ...

ขนาด: 232.4Kb

รูปแบบ: PDF