วิธีปฏิบัติตนเป็นผู้มีจิตสาธารณะอย่างไรบ้าง

การสร้างจิตสาธารณะ เป็นความรับผิดชอบในตนเอง แม้ว่าจะได้รับการอบรมสั่งสอนถ้าใจตนเองไม่ยอมรับ จิตสาธารณะก็ไม่เกิด ฉะนั้นคำว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" จึงมีความสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสาธารณะถ้าตนเองไม่เห็นความสำคัญแล้วคงไม่มีใครบังคับได้

.....................นอกจากใจของตนเองแล้ว แนวทางที่สำคัญในการจิตสาธารณะยังมีอีกหลายประการถ้าปฏิบัติได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

...................1. สร้างวินัยในตนเอง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย รู้ถึงขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพหน้าที่ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม

....................2. ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักเสมอว่าตนเอง คือส่วนหนึงของสังคมต้องมีความรับผิดชอบในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม ทั้งต่อประเทศชาติ และโลกใบนี้

....................3. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ให้ถือว่าเป็นปัญหาของตนเอง เช่นกันอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ต้องช่วยกันแก้ไข เช่น ช่วยกันดำเนินการให้โรงงานอุตสาหกรรมสร้างบ่อพักน้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

.....................4. ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะหลักธรรมหรือคำสั่งสอนในทุกศาสนาที่นับถือ สอนให้คนทำความดีทั้งสิ้น ถ้าปฏิบัติได้จะทำให้ตนเองมีความสุข นอกจานี้ยังก่ิอให้เ้กิดประโยชน์ต่อสังคมด้วยทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข



ตัวอย่างหลักธรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับตนเอง



..............พระพุทธศาสนา
...............หลักคำสอนในการช่วยเหลือ หรือพึ่งพาตนเอง ที่พุทธศาสนิกชนได้ยินจากพุทธสุภาษิตอยู่เสมอ คืออัตตาหิ อัตตโน นาโถ หรือตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

..............คริสต์ศาสนา
..............หลักคำสอนในศาสนาคริสต์ คือ ต้องรู้จักช่วยเหลือตนเองก่อน แล้วพระเจ้าจะช่วยท่าน

..............ศาสนาอิสลาม
..............หลักคำสอนจะคล้ายกับคริสต์ศาสนา ก็คือ ให้รู้จักช่วยตนเอง และรู้จักเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีเสียก่อนแล้วพระเจ้าจะช่วยท่าน

ซึ่งการมีจิตสาธารณะนี้หากเราเริ่มปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก ก็จะทำให้เด็กสามารถเติบโตขึ้นมาเป็นคนดีของสังคมได้ดี โดยพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถฝึกให้เด็กเริ่มเรียนรู้จากการมีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเอง เรียกว่าเริ่มกันตั้งแต่สิ่งเล็กน้อยใกล้ๆ ตัว ทำให้เด็กค่อยๆ รู้จักการเรียนรู้จากสิ่งที่เรียกว่ากฎของธรรมชาติการอยู่ร่วมกันที่ผ่านการสอนและฝึกฝนมาจากตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กด้วย ก็จะทำให้เด็กเหล่านี้โตขึ้นมากลายเป็นผู้มีจิตสาธารณะของสังคมนั่นเอง

การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้านจิตสาธารณะกับบุคคลต่างๆ ให้มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคมหรือสาธารณะ จะเป็นการสร้างพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม ให้เกิดขึ้นกับบุคคล โดยทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน รวมทั้ง ประชาชนทั่วไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจาก ภายในกายของคน  “จิตสาธารณะ” เป็นความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนรู้จัก การ เสียสละ การร่วมแรงร่วมใจร่วมมือในการทำประโยชน์เพื่อสังคมและส่วนรวม อีกทั้งจะช่วยลด ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคม การช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต อันจะเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต เป็นการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขกับสังคมอย่างได้ผลเป็นเชิงประจักษ์ได้ ดังนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 หมวด 1 บททั่วไปที่ว่าด้วยความมุ่งหมายและหลักการ มาตราที่ 7 ได้แสดงถึงความพยายามที่จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคน ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ว่า ในกระบวนการเรียนรู้ต้อง มุ่งปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศ์รีความเป็นมนุษย์มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้รักษา ผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

วัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปีเป็นระยะที่สำคัญ ที่สุดของการพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์จิตใจ สังคม และบุคลิกภาพ เป็นวัย ที่เรียกว่าช่วงแห่งพลังการเจริญเติบโตงอกงามสำหรับชีวิต แนวความคิดเหล่านี้เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากการมองเด็กในทัศนะของการที่เด็กมีพัฒนาการด้านต่างๆ แตกต่างจากเด็กวัยอื่นๆ ในช่วงชีวิตของความเป็นมนุษย์ดังนั้นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาจิตสำานึกสาธารณะสำาหรับเยาวชน เป็นแนวทางที่หลากหลายเน้นกระบวนการของการ จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ภายใต้เงื่อนไขปฏิรูปการศึกษาพัฒนา คุณภาพสื่อ ร่วมมือกันทำงาน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้อย่างหนึ่งของเยาวชน สรุปว่าการสร้างจิตสาธารณะ มี 4 ขั้นตอน คือ

  1. ปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของจิตสาธารณะ ซึ่งเกิดจากการที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจากครอบครัวและสถานศึกษาและสร้างจิตสำนึกโดยผ่านกิจกรรมที่ให้การช่วยเหลือและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
  2. การเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายจิตใจ ด้านความรู้และการติดต่อสื่อสาร การที่บุคคลจะเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการต่างของสถานศึกษาหรือการให้บริการในชุมชน ความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น การยิ้มแย้ม ทักทาย การทำงานเป็นทีมร่วมกัน เป็นปัจจัยสำคัญ
  3. การสร้างความเชื่อมั่นในตน การจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองที่เกิดจิตสาธารณะของตนเองควรมีกิจกรรมที่เป็นการช่วยเหลือและทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในการทำความดี การช่วยเหลือผู้อื่น โดยเริ่มจากงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น การช่วยถือของ การช่วยผู้ปกครองทำกิจกรรมต่างๆ ที่บ้าน เป็นต้น
  4. การเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์ต่อการพัฒนาด้านจิตสาธารณะ คือ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทำให้ได้รับการพัฒนาให้เป็นคนเก่ง คนดีและใช้ชีวิตอย่างมี ความสุขและเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

ในภาพรวมประเทศต้องพยายามสร้างให้ประชาชนเป็น คนดี  ที่เก่ง รอบรู้ มีสุขภาพดี คนดี คือคนที่เห็นแก่ส่วนรวม มีจิตอาสา มีเหตุผล อยากช่วยผู้อื่น ฯลฯ การจะเป็นคนดีได้ต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก โดยบิดา มารดา ครู สังคม ฯลฯ ให้มีการสอนเรื่องจิตอาสา การทำประโยชน์ให้ส่วนรวมในทุกโรงเรียน ในสังคม ชุมชน เพื่อปลุกระดมจิตวิญญาณอาสาสมัครให้เกิดขึ้นในสังคมไทยในวงกว้างอย่างยั่งยืน ทั้งในและนอกระบบ ต้องมีบุคคลตัวอย่างที่ดี เช่น บิดา มารดา ครู ผู้นำประเทศ นักกีฬา นักดนตรี นักแสดง ฯลฯ มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมจิตอาสาดีๆ ต่างๆ ให้ประชาชน เด็ก เยาวชนเห็น เช่น เมื่อมีการรณรงค์การบริจาคโลหิต อวัยวะ การไปทำความสะอาดวัด ชุมชน สร้างห้องสมุด ทาสีโรงเรียน ฯลฯ ทางสื่อมวลชน วิทยุ หนังสือพิมพ์ ทีวี ฯลฯ ตลอดเวลา มีการยกย่อง ให้รางวัล แก่ผู้มีจิตอาสา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงการมีจิตอาสา กระทำความดี ซึมซับเข้าไปในสมอง รวมทั้งความสุขที่เกิดขึ้นต่อทั้งผู้ให้และผู้รับ