ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยมีความสำคัญอย่างไร

อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นการส่งเสริมสุขภาพการทำงานให้คงไว้ซึ่งสุขภาพกาย ใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการ เบี่ยงเบนด้านสุขภาพที่มีสาเหตุจากการทำงานของคนทำงานในทุกอาชีพ โดยการดูแลสภาพแวดล้อม เครื่องมือ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพกาย และจิตใจของคนทำงาน โดยการปรับงานแต่ละงานให้เข้ากับคนแต่ละคน

Show

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้นิยามโรคจากการประกอบอาชีพและโรคเนื่องจากงานตามสาเหตุปัจจัยไว้ดังนี้

  1. โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) หมายถึง โรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ทำงาน ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากการทำงานเป็นเวลานาน โรคจากการประกอบอาชีพบางโรคอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกตามสุขภาพ รวมทั้งโอกาสหรือ วิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส(โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารตัวทำละลายต่างๆ (Organic solvent toxicity) เป็นต้น
  2. โรคเนื่องจากงาน (Work-related Diseases) หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน และการทำงานในอาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็นอักเสบได้ง่าย ดังนั้นลักษณะการท างานในอาชีพ หากมีการ ออกแรงซ้ำๆ หรือมีท่าทางการท างานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะแสดงอาการขึ้น เป็นต้น
  3. โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (Environmental Diseases) หมายถึงผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้อน ในดิน น้ำ อากาศ ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

การป้องกันโรค

  1. การรู้สาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ รู้ว่าโรคปอดที่ทำให้คนงานและผู้อาศัยใกล้เคียงโรงงานโม่หินที่มีฝุ่นหินทรายฟุ้งกระจายนั้นเป็นโรคปอดอักเสบจากฝุ่นซิลิกา การป้องกันคือคนทำงานต้องใส่เครื่องป้องกันฝุ่น และต้องกำจัดฝุ่นหินนั้นไม่ให้คนไปสัมผัส โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เป็นต้น

        2.การรู้การกระจายของโรค โดยใช้วิธีการทางระบาดวิทยา เพื่อให้ทราบกลุ่มบุคคลที่เกิดโรค พื้นที่เกิดโรคและเวลาในการเกิดโรค (person, place, time) จะได้ควบคุมป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกันต้องมีการอบรมสุขศึกษาและความรู้เรื่องโรคต่างๆให้กับพนักงานเพื่อทราบจะได้ป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธีด้วย

  1. การรู้ธรรมชาติของการเกิดโรค เนื่องจากโรคแต่ละโรคและกลุ่มโรคจะมีการดำเนินของโรคที่ต่างกันออกไป ซึ่งมีผลต่อการกำหนดวิธีการป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ การป้องกันระยะที่เริ่มได้รับปัจจัยก่อโรค ระยะสะสมที่ยังไม่แสดงอาการ ระยะปรากฏอาการเริ่ม ระยะโรครุนแรง และระยะหายของโรคที่อาจตายหรือปรากฏความพิการ เป็นต้น

“เมื่อรู้ถึงสาเหตุของโรคแล้วก็จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรการการป้องกันที่รอบคอบชัดเจน เพราะการป้องกันที่ดีจะนำมาซึ่งสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย ทำให้คนทำงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจะทำให้งานที่ออกมานั้นได้ประสิทธิภาพ เป็นผลดีกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง”

           โรงไฟฟ้าในเครือกลุ่มเอ็กโกมีการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการฉุกเฉินประจำปี ซึ่งประกอบด้วย การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ การซ้อมแผนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ การฝึกซ้อมสารเคมีหกรั่วไหล การฝึกซ้อมการระงับอุบัติภัย น้ำมันหกรั่วไหล และการกำจัดคราบน้ำมัน รวมทั้งแผนฉุกเฉินตอบโต้กรณีน้ำท่วม

ความปลอดภัยในการทำงาน Occupational health and safety ความปลอดภัยในการทำงานทุกองค์กรถือเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยื่น

ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ เรียกกันได้อีกอย่างคือ ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน (OHS) เป็นสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย สุขภาพ ของพนักงานในองกรค์ ป้องไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตราย อุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการทำงาน

ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตกว่า 2.78 ล้านคนอันเป็นผลมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ส่งผลให้ทุกๆ 15 วินาที จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และ มีการบาดเจ็บที่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอีก 375 ล้านคนต่อปี ทำให้องค์กรดังกล่าวนั้นต้องศูนย์เสียพนักงานและเงินชดเชยต่างๆเป็นจำนวนมากต่อการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง

ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยมีความสำคัญอย่างไร

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนมัยโลก WHO ได้จำกัดความร่วมกันถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย 3 หลักที่ในองค์กรนั้นควรจัดให้มี

1.มีการส่งเสริมด้านสุภาพของพนักงาน

2.มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้พื้นที่การทำงานนั้นเกิดความปลอดภัย

3.มีการเสริมสร้างวัฒธรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานภายในองค์กร และ สนับสนุนในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้ปลอดภัยโดยให้พนักงานทุกคนนั้นมีส่วนร่วม มีการออกนโยบายจากผู้บริหารเพื่อแสดงจุดยืนด้านความปลอดภัยขององค์กร มีการสนับสนุนในด้านการฝึกอบรมความปลอดภัย

อันตรายจากการทำงาน Workplace hazards

แม้ว่าการทำงานจะให้ผลประโยชน์กับนายจ้างและทางเศษรกิจอื่นๆอย่างมากมาย แต่การทำงานก็แฝงไปด้วยอันตรายในสถานที่ทำงานที่มากมายด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เช่น สารเคมี สารก่อให้เกิดภูมิแพ้ สารชีวภาพ อันตรายจากการรับสัมผัสสารเคมีอันตรายในที่ทำงาน ได้แก่ สารพิษต่อระบบประสาท สารเคมีที่ทำมีผลต่อภูมิคุ้มกัน สารเคมีที่ทำลายผิวหนัง สารเคมีประเภทก่อมะเร็ง สารก่อโรคหอบหืด เป็นต้น ปัจจัยอันตรายทางกายภาพ สภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ อันตรายการจากสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังซึ่งพบบ่อยที่สุดในประเทศสหัฐอเมริกาโดยมีพนักงานประมาณ 22 ล้าน คนที่สัมผัสกับเสียงดังเกิดมาตรฐาน

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (occupational health and safety) จึง หมายถึง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่ง รวมถึงการป้องกันอันตรายและส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพ ร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบ อาชีพทั้งมวล

งานอาชีวอนามัยมีความสำคัญอย่างไร

อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นการส่งเสริมสุขภาพการทำงานให้คงไว้ซึ่งสุขภาพกาย ใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการ เบี่ยงเบนด้านสุขภาพที่มีสาเหตุจากการทำงานของคนทำงานในทุกอาชีพ โดยการดูแลสภาพแวดล้อม เครื่องมือ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพกาย และจิตใจของคนทำงาน โดยการปรับงานแต่ละงานให้ ...

ความปลอดภัยมีความสําคัญอย่างไร

1.ลดความสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของพนักงาน 2.การมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อพนักงานทุกคนมีความปลอดภัย ย่อมจะทำให้พนักงานมั่นใจในการทำงาน ไม่ต้องหวาดระแวงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น 3.การมีกำไรเพิ่มมากขึ้น เมื่อผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้กำไรของโรงงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดอยู่ในวิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งเป็นกระบวนเรียนรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพอนามัย ในผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ รวมทั้งยังจัดการดูแลผลกระทบอันเกิดมาจากการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อทำให้การดำเนินงานของผู้ประกอบอาชีพ ได้รับความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ยังต้องได้รับการคุ้มครองตลอดจนได้ ...