สิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในหน่วยงานใด *

โครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๑) สำนักบริหารกลาง ๒) สำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย ๓) สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ๔) สำนักวิจัยและนิติธรรม ๕) กลุ่มงานตรวจสอบภายใน ๖) กลุ่มงานอำนวยการกิจการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ๗) สำนักวินิจฉัยและคดี๘) สำนักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เป็นหน่วยงานที่ได้รับการยกย่องให้เป็นองค์การตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นหน่วยกลางที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนกว้างขวางมากที่สุด

2. กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรม  เป็นหน่วยงานที่จะทำหน้าที่อบรมสั่งสอน

ศึกษาวิจัย และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อให้สาธารณชน โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษาได้รับรู้และช่วยกันส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

3. กระทรวงมหาดไทย  มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น จดทะเบียน คนเกิด จดทะเบียนบ้าน และย้ายบ้าน ทำบัตรประจำตัวประชาชน จดทะเบียนคนตาย เป็นต้น

4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองมิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนและดำเนินคดีกับบุคคลที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

5. หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ที่ใช้อำนาจในการส่งเสริม และดูแลเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นครั้งคราว เช่น กรมประชาสงเคราะห์ กรมป่าไม้  กรมที่ดิน เป็นต้น

              หน่วยงานของเอกชน  หน่วยงานของเอกชน มีเป็นจำนวนมาก ทั้งหน่วยงานขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ บางหน่วยงานเกิดจากการรวมตัวกันของคนไทยด้วยกันเอง เช่น สภาสตรีแห่งชาติ มูลนิธิเด็ก และสมาคมส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ส่วนองค์การบางองค์การของเอกชนก็ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศให้เคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น องค์การสงเคราะห์ผู้ลี้ภัย องค์การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย  เป็นต้น

การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  

            การมีส่วนร่วมสามารถกระทำได้ดังนี้

1. ประชาชนทุกคนต้องใช้สิทธิมนุษยชน เพื่อคุ้มครองตนเองมิให้ถูกละเมิดสิทธิ

2. ป้องกันและต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเมืองที่สำคัญ เช่น การชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ

3. ประชาชนต้องเคารพในสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น และปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างเสมอภาคไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม

สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปได้ แต่บางครั้งสิทธิมนุษยชนอาจถูกจำกัด เช่น ถ้าคุณทำผิดกฎหมาย หรือกระทำการที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ เช่น ความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรมเท่านั้น เพราะสิทธิมนุษยชนคือแนวคิดที่ได้รับการนิยาม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

 

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights)

ในปี 2491 หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง องค์การสหประชาชาติได้กำหนดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

 

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แบ่งสิทธิและเสรีภาพออกเป็น 30 หมวด เช่น สิทธิในการแสวงหาที่ลี้ภัย สิทธิในการมีเสรีภาพจากการทรมาน สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการศึกษา

 

ไม่มีใครสามารถพรากสิทธิและเสรีภาพนี้ไปจากเราได้ เพราะสิทธิและเสรีภาพนี้เป็นของพวกเราทุกคน

 

นับตั้งแต่มีการกำหนดปฏิญญานี้ขึ้นเมื่อเจ็ดสิบปีที่แล้ว ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ถูกใช้เป็นรากฐานของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทุกฉบับ

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

 

 

 

สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

สิทธิมนุษยชนมีคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชาคมโลก ดังนี้

 

มีความเป็นสากล: สิทธิมนุษยชนเป็นของมนุษย์ทุกคน

 

พรากไปไม่ได้: สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปจากเราได้

 

ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เพราะสิทธิทุกสิทธิล้วนเกี่ยวข้องกัน: รัฐบาลไม่สามารถเลือกที่จะเคารพสิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ สิทธิทุกสิทธิต้องได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน

 

ทำไมคุณต้องสนใจสิทธิมนุษยชน?

สิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงแค่กฎหมาย แต่สิทธิมนุษยชนคือการตัดสินใจ และสิ่งที่เราประสบพบเจอในแต่ละวัน

 

ถ้าเรารู้สึกไม่ชอบใจในสิ่งที่รัฐบาลทำ ส่วนใหญ่แล้วพวกเราคงไม่รีรอที่จะเอาไปพูดกับเพื่อนไม่ว่าจะในอินเตอร์เน็ต หรือในร้านเหล้า การกระทำนี้อาจดูไม่มีความหมาย แต่มันคือสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก

 

โดยส่วนใหญ่แล้วคนจะไม่ให้ความสำคัญมื่อมีการเคารพสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น เด็กๆ หลายคนไม่ยอมตื่นนอนไปโรงเรียนทั้งๆ ที่พวกเขาได้รับสิทธิในการศึกษา แต่เด็กๆ ที่ต้องอพยพออกจากประเทศตัวเอง และถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการศึกษาคงมีความสุขที่ได้ไปโรงเรียนทุกวัน


สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว จำนวน 7 ฉบับ จากทั้งหมด 9 ฉบับ ทําให้ประเทศไทยมีพันธะผูกพันในการปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมไปถึงข้อตกลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประชุมระดับโลก โดยองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่หลักในการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย คือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ได้ระบุถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้หลายมาตราด้วยกัน เช่น ในมาตรา 4 นั้นระบุว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" และ ในหมวดที่ 3 ซึ่งเป็นหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตราที่ 25 ถึง 49 ยังได้บรรยายขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในหลายด้านด้วยกัน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ เสรีภาพในการแสดงออก การไม่ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เป็นต้น


นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดทำ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งจัดทำฉบับแรกในปี 2551 ในขณะที่ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 3 พ.ศ.2557-2561 โดยรัฐบาลได้จัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนนําไปใช้ในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิของประชาชนในประเทศต่อไป

 

การต่อสู้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

พวกเรามักละเลยความสำคัญของสิทธิมนุษยชน เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการเรื่องความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ หลายครั้งเราจะลุกขึ้นมาต่อสู้และให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนก็ต่อเมื่อสิทธิของเราถูกละเมิด

 

ในความเป็นจริง สิทธิมนุษยชนนั้นถูกละเมิดตลอดเวลา ยังมีคนนับพันทั่วโลกที่ไม่ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และถูกจำคุกเพียงเพราะความคิดหรือความเชื่อบางอย่างของพวกเขา อีกทั้ง พลเมืองยังตกเป็นเป้าโจมตีในสงคราม เด็กๆถูกบังคับให้ออกไปรบ การข่มขืนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายคน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงไม่ควรละเลยความสำคัญของสิทธิมนุษยชน และทำไมสิทธิมนุษยชนจึงควรถูกคุ้มครองตามกฎหมาย เพื่อที่เราจะได้เอาผิดและดำรงความยุติธรรมเมื่อรัฐหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชน

หน่วยงานที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

โครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๑) สำนักบริหารกลาง ๒) สำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย ๓) สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ๔) สำนักวิจัยและนิติธรรม ๕) กลุ่มงานตรวจสอบภายใน ๖) กลุ่มงานอำนวยการกิจการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ๗) สำนักวินิจฉัยและคดี๘) สำนักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

หน่วยงานใดมีบทบาทเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมากที่สุด

1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ได้รับการยกย่องให้เป็นองค์การตาม รัฐธรรมนูญ จึงเป็นหน่วยกลางที่มีบทบาทอ านาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนกว้างขวางมากที่สุด

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนคืออะไร

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลในระบบสหประชาชาติซึ่งจัดตั้งขึ้นแทนหน่วยงานเดิม คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on Human Rights หรือ UNCHR) ด้วยข้อมติ A/RES/60/251 ในปี พ.ศ.2549 ปัจจุบัน UNHRC สังกัดอยู่กับ ...

กระทรวงใดมีหน้าที่ในการดูแลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานหลักในการจัดท า ประสาน ขับเคลื่อน และติดตามการด าเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 โดยการประสาน การดาเนินงานร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย สานักงานคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษย ...