นาฏศิลป์พื้นเมือง หมาย ถึง อะไร แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท

นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการแสดงประกอบดนตรี เช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียก และมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ แต่ละภาคมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ภาคเหนือ

ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะเร็วท่าหยาบนุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ

นาฏศิลป์ของภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนชมเดือน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง

(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น

ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก (กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว)

ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคนี้โดยทั่วไปมักเรียกว่าภาคอีสาน ภาคอีสาน ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก  และขยัน อดทน คนอีสานมักไปขายแรงงานในท้องที่ภาคกลางหรือภาคใต้ เพลงพื้นเมืองอีสานจึงมักบรรยายความทุกข์ ความยากจน ความเหงา ที่ต้องจากบ้านมาไกล ดนตรีพื้นเมืองแต่ละชิ้นเอื้อต่อการเล่นเดี่ยว การจะบรรเลงร่วมกันเป็นวงจึงต้องทำการปรับหรือตั้งเสียงเครื่องดนตรีใหม่เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่เข้ากันได้ทุกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม คนอีสานก็พยายามหาความบันเทิงในทุกโอกาส เพื่อผ่อนคลายความไม่สบายใจหรือสภาพความทุกข์ยากอันเนื่องจากสภาพธรรมชาติ

เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน เช่น พิณ แคน โหวด โปงลาง หืน ซอ  ปี่ไม้ซาง กลองตุ้ม กลองยาว

เป็นต้น ทำนองเพลงพื้นเมืองอีสานมีทั้งทำนองที่เศร้าสร้อย และสนุกสนาน เพลงที่มีจังหวะเร็วนั้นถึงจะสนุกสนานอย่างไรก็ยังคงเจือความทุกข์ยากลำบากในบทเพลงอยู่เสมอ ทำนองเพลงหรือทำนองดนตรีเรียกว่า "ลาย" เช่น ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก  ลายนกไส่บินข้ามท่ง  ลายลมพัดพร้าว  ลายน้ำโตนตาด  เป็นต้น

การขับร้องเรียกว่า "ลำ" ผู้ที่มีความชำนาญในการลำเรียกว่า "หมอลำ" ลำมีหลายประเภท เช่น ลำกลอน

ลำเพลิน ลำเรื่องต่อกลอน ลำผญา (ผะหยา) ลำเต้ย เป็นต้น ส่วนบทเพลงหรือลายบรรเลงก็มาจากภูมิปัญญาชาวที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรีโปงลาง เช่นอาจารย์ทรงศักดิ์ ปทุมสิน ซึ้งเป็นผู้เชี่ยวทางด้านโหวด และอาจารย์ทองคำ ไทยกล้า เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านแคน

ภาคใต้

ภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตก และตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ขนบประเพณีวัฒนธรรม และบุคลิกบางอย่างคล้ายคลึงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด การแต่งกาย การแสดง เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก นาฏศิลป์ของชาวไทยภาคใต้ เช่น มโนราห์ ลิเกป่า ลิเกฮูลู หน้งตะลุง รองเง็ง เพลงบอก ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่

ระบำกรีดยาง รำซัดชาตรี  รำมโนราห์บูชายัญ มาลีสี่ถิ่นไทย เป็นต้น

ภาคกลาง

ภาคกลางได้ชื่อว่าอู่ข้าวอู่น้ำของไทย มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย จึงมีเวลาที่จะคิดประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงามได้มาก และมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่างๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาล และตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือการร่ายรำที่ใช้มือ แขน และลำตัว

นาฏศิลป์พื้นเมือง from ดวงฤทัย ช่วงชัย

                   ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า "เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ" เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า "เรือม หรือ เร็อม" เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรม ของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน

นาฏศิลป์พื้นเมือง หมายถึง ศิลปะการแสดงร่ายรำประกอบดนตรี ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อนต่าง ๆ ที่นิยมเล่นกัน และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละท้องถิ่น  เป็นมรดกท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

วัตถุประสงค์

ด้านความรู้

- รู้และเข้าใจรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือและภาคกลาง

ด้านทักษะและกระบวนการ

- อธิบายรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือและภาคกลาง

ด้านคุณลักษณะ

- ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน

- เห็นคุณค่าและความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย

การวัดผลและประเมินผล

การประเมินผล

1 วิธีการ

1.1 ตรวจแบบทดสอบ

1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

  2 เครื่องมือ

2.1 แบบประเมินทักษะและกระบวนการนำความรู้ไปใช้

2.3 แบบทดสอบ

3 เกณฑ์

3.1 ทำแบบทดสอบได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป

3.2 มีทักษะอยูในระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไปร้อยละ 80

3.1 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับคุณภาพดีขึ้นไป ร้อยละ 80

นาฏศิลป์พื้นเมืองแบ่งออกเป็นกี่ภาค อะไรบ้าง

นาฏศิลป์พื้นเมือง แบ่งออกเป็น 4ประเภท คือ • นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ • นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน • นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง

นาฏศิลป์พื้นเมืองมีอะไร

นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น

นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือแบ่งได้กี่ประเภท มีอะไรบ้าง

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่ - ฟ้อนผีมด ฟ้อนผีเม็ง เป็นการบูชาผีบรรพบุรุษ - ฟ้อนกิงกะหลา เป็นการฟ้อนเรียนแบบนก มีลักษณะเป็นการรำคู่ เกี้ยวพาราสีหรือหยอกล้อเล่นหัวกัน - ฟ้อนผีนางดัง เป็นการฟ้อนของชาวล้านนา นิยมเล่นในเทศกาลตรุษสงกรานต์ - ฟ้อนเจิง เป็นการฟ้อนที่แสดง ถึงศิลปะการป้องกันตัวด้วยมือเปล่า

นาฏศิลป์พื้นเมืองสื่อความหมายในเรื่องใด

นาฏศิลป์พื้นบ้าน หมายถึง ศิลปะการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ให้มีลีลาอันงดงาม ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อนต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมเล่นหรือแสดงกันในท้องถิ่น ในภาษาไทย เรามีคำว่า "ระบำ" "รำฟ้อน" ที่ใช้ในความหมายของการแสดงลีลานาฏศิลป์ไทย แต่ในท้องถิ่นภาคเหนือ จะใช้คำว่า "ฟ้อน" เป็นศัพท์เฉพาะท้องถิ่น