ให้ นักเรียน เขียน องค์ประกอบ ใน การนำ เสนอ ของ โครง งาน มา ให้ ครบถ้วน ถูก ต้อง

การนำเสนอผลงาน

   การนำเสนอผลงานโครงงาน อาจทำได้ในแบบต่าง ๆ กัน เช่น การแสดงในรูป นิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการรายงานปากเปล่า ไม่ว่าการนำเสนอผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญคือ มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องในเนื้อหา

   การแสดงผลงานจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงาน เรียกได้ว่า เป็นงานขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการแสดงผลิตผลของงาน ความคิด และ ความพยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไป และเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ถึงผลงานนั้น ๆ มีผู้กล่าวว่าการวางแผนออกแบบเพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสำคัญเท่า ๆ กับ การทำโครงงานนั่นเอง ผลงานที่ทำขึ้นจะดียอดเยี่ยมเพียงใด แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดี ก็เท่ากับไม่ได้แสดงความดียอดเยี่ยมของผลงานนั่นเอง

ประเด็นสำคัญที่ควรจัดให้ครอบคลุม

    การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การแสดงในรูปนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการ จัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบ หรือในรูปแบบของการรายงานปากเปล่า ไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรจัดทำให้ ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

   1. ชื่อโครงงาน
   2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
   3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
   4. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน
   5. วิธีดำเนินการ
   6. การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง
   7. ผลการสังเกตและข้อมูลเด่น ๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน

ข้อคำนึงถึงในการจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
   1. ความปลอดภัยของการจัดแสดง
   2. ความเหมาะสมกับเนื้อที่ที่จัดแสดง
   3. คำอธิบายที่เขียนแสดง ควรเน้นเฉพาะประเด็นสำคัญและสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้น โดยใช้ ข้อความกะทัดรัด ชัดเจน และเข้าใจง่าย
   4. ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชม โดยใช้รูปแบบการแสดงที่น่าสนใจ ใช้สีที่สดใสเน้นจุดสำคัญ หรือใช้วัสดุต่าง ๆ ในการจัดแสดง
   5. ใช้ตาราง และรูปภาพประกอบ โดยจัดวางอย่างเหมาะสม
   6. สิ่งที่แสดงทุกอย่างและการเขียนข้อความต้องถูกต้อง ไม่มีการสะกดผิด หรืออธิบาย หลักการที่ผิด
   7. ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

ข้อคำนึงถึงในการอธิบายหรือรายงานปากเปล่า ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
   1. ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบายเป็นอย่างดี
   2. คำนึงถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับระดับผู้ฟัง ควรให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
   3. ควรรายงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม
   4. พยายามหลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน แต่อาจจดหัวข้อสำคัญ ๆ ไว้เพื่อช่วยให้การรายงาน เป็นไปตามขั้นตอน
   5. อย่าท่องจำรายงาน เพราะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ
   6. ขณะที่รายงาน ควรมองตรงไปยังผู้ฟัง
   7. เตรียมตัวตอบคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
   8. ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้ถาม
   9. หากติดขัดในการอธิบาย ควรยอมรับโดยดี อย่ากลบเกลื่อนหรือหาทางเลี่ยงเป็นอย่างอื่น
   10. ควรรายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
   11. ควรใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ประกอบการรายงานด้วย เช่น แผ่นโปร่งใส หรือสไลด์ เป็นต้น

การแสดงผลงานโครงงานด้วยโปสเตอร์ โปสเตอร์โครงงานที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
   1. มีข้อมูลที่กระชับและชัดเจน
   2 .มีหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ
   3. แสดงให้เห็นสิ่งที่ค้นพบหรือสิ่งที่พัฒนา
   4. แสดงกระบวนการ / วิธีการ ที่พัฒนา
   5. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย
   6. เรียงเรื่องให้อ่านตามได้เข้าใจ
   7. ตัวหนังสืออ่านได้ชัดเจน
   8. ทำงานประณีต เรียบร้อย ไม่มีคำผิดเลย
   9. จัดส่วนประกอบต่าง ๆ ได้เหมาะสม ไม่แน่นเกินไป
   10. นำเสนอได้น่าสนใจ
   11. มีภาพและงานกราฟิกประกอบ ทำให้ข้อมูลชัดเจนขึ้น
   12. ใช้สีสันที่สมดุล
   13. มีหลักฐานอ้างอิง

การพูดต่อหน้ากลุ่มคน
   แม้นว่าสิ่งที่จะพูด เป็นสิ่งที่ผู้ทำโครงงานรู้แล้วเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ในการพูดให้ผู้อื่นฟัง ผู้ทำโครงงานต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเตรียมสาระที่พูดให้เหมาะสมกับผู้ฟัง มีเป้าหมายในการพูด และพูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจอยากฟัง การพูดที่ดี ต้องมีการเตรียมตัว ดังนี้
   1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่จะพูด
   2. วางแผนสิ่งที่จะพูด
   3. เตรียมสื่อที่ใช้ประกอบการพูด
   4. เขียนโน้ตช่วยจำ
   5. ฝึกพูดหลาย ๆ ครั้ง
   6. เลือกประเด็นสำคัญเพียง 4 - 5 อย่างเท่านั้น เพราะ ...คนเราจำอะไรไม่ได้มากนักจากการฟังคนอื่นพูด !!!
   7. เตรียมประเด็นข้อมูลที่จะพูดให้ตรงกับผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังอาจเป็น กรรมการตัดสินโครงงาน , ครูอาจารย์โรงเรียนอื่น ๆ , เพื่อนนักเรียน หรือ บุคคลทั่วไป เป็นต้น

ให้ นักเรียน เขียน องค์ประกอบ ใน การนำ เสนอ ของ โครง งาน มา ให้ ครบถ้วน ถูก ต้อง

ที่มาของภาพ : https://www.youtube.com/watch?v=SFBQf5e3n3Y

การวางแผนสิ่งที่จะพูด
   ผู้ทำโครงงานต้องวางแผนการพูด โดยวางโครงร่างของสิ่งที่จะพูด เพื่อให้รู้ล่วงหน้าถึงลำดับของสิ่งที่จะพูด โดยแบ่งส่วนที่จะพูดออกเป็น 3 ส่วน
   --> ส่วนเริ่มต้น
      - บอกว่าเป็นใคร...ชื่ออะไร
      - บอกชื่อโครงงานที่ทำ
      - กล่าวนำสั้น ๆ ถึงสิ่งที่จะพูด ด้วยวิธีการที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง
      - โชว์ภาพ ตั้งคำถามผู้ฟัง
      - แสดงส่วนที่น่าสนใจของโปรแกรมที่พัฒนา
   --> ส่วนสาระสำคัญ
      - แบ่งสาระสำคัญที่จะพูดเป็นประเด็น ๆ
      - เรียงลำดับประเด็นไว้
      - แต่ละประเด็นพูดนำด้วยประโยค 1 ประโยค
      - พยายามเชื่อมโยงสิ่งที่พูดในแต่ละประเด็นให้ใกล้ตัวผู้ฟัง
   --> ส่วนสรุป
      - บอกประโยชน์ของสิ่งที่ค้นพบ / โปรแกรมที่พัฒนา
      - เสนอแนวคิดในการพัฒนาหรือต่อยอดโครงงาน
      - จบลงด้วยสิ่งสรุปที่สร้างความประทับใจผู้ฟังและทำให้ผู้ฟังจดจำไว้ได้

การฝึกพูด
   - ฝึกพูดก่อนวันพูดจริง
   - จำประเด็นสำคัญที่จะพูด
   - ฝึกพูดให้เป็นธรรมชาติ
   - ฝึกพูดให้ชัดเจน
   - รู้จังหวะเน้น
   - ไม่พูดเร็ว

ให้ นักเรียน เขียน องค์ประกอบ ใน การนำ เสนอ ของ โครง งาน มา ให้ ครบถ้วน ถูก ต้อง

ที่มาของภาพ :https://www.scholarship.in.th/4-practices-english-speaking/

การเตรียมสื่อประกอบ
ในการนำเสนอด้วยการพูด ผู้ทำโครงงานต้องเตรียมสื่อที่จะช่วยให้ผู้ฟังสนใจฟัง และเข้าใจในสิ่งที่พูดได้โดยง่าย แต่สื่อที่ใช้ไม่ควรสลับซับซ้อน ควรเป็นสื่อง่าย ๆ ใช้ภาพนิ่ง หรือ ภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ แสดงกราฟ โมเดล หรือสาธิตประกอบได้ถ้าโครงงานจำเป็นต้องทำเช่นนั้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสถานที่ที่จะนำเสนอด้วย เช่น อุปกรณ์ที่มีให้ แสงในห้อง ขนาดห้อง ฯลฯ

สื่อนำเสนอที่ดี
   - มีตัวหนังสือน้อย
   - มีเฉพาะประเด็นสำคัญ
   - ตัวหนังสือมีขนาดโตพอที่ผู้ชมอ่านได้
   - ใช้ตัวอักษรสีเข้ม เช่น สีดำ สีน้ำเงินเข้ม
   - ออกแบบการนำเสนอให้เรียบง่าย
   - ไม่พูดโดยการอ่านจากสิ่งที่เขียน